แบบฝึกหัดคัดวันและเดือน แจกฟรีแบบฝึกหัดให้ลูกฝึกเขียน ดาวน์โหลดเลย!

undefined

theAsianparent Thailand ขอนำแบบฝึกหัดดี ๆ มาแบ่งปันให้เหล่าคุณพ่อคุณแม่และผู้ปกครองทั้งหลายได้โหลดไปใช้กับ แบบฝึกหัดคัดวันและเดือน แบบฝึกหัด วัน เดือน ปี ภาษาอังกฤษ เหมาะสำหรับเด็ก ๆ ที่กำลังอยากฝึกเขียนและกำลังจะเข้าโรงเรียน แบบฝึกหัดนี้เหมาะมาก ๆ ค่ะ คุณแม่อย่าลืมโหลดไปให้เด็ก ๆ ได้ลองเขียนนะคะ

 

ดาวน์โหลดเลย แบบฝึกหัดคัดวัน

แบบฝึกหัดคัดวันและเดือน

แบบฝึกหัดคัดวันและเดือน

แบบฝึกหัด วัน เดือน ปี ภาษาอังกฤษ

แบบฝึกหัดคัดวันและเดือน

แบบฝึกหัด คัดวันและเดือน

 

ดาวน์โหลดเลย แบบฝึกหัดคัดเดือน

แบบฝึกหัดคัดวันและเดือน

แบบฝึกหัดคัดวัน และเดือน

ที่มาของวันที่

ทราบกันหรือไม่ว่าที่มาของวันที่มาจากไหน วันนี้เรามีคำตอบค่ะ โดยคำว่า ปฏิทิน ในภาษาอังกฤษ คือ “calendar” ซึ่งเป็นคำที่มาจากภาษาละติน โดยมาจากคำพูดของชาวกรีกโบราณที่ชื่อว่า “Kalend” ซึ่งมีความหมายในภาษาอังกฤษว่า “I cry” สาเหตุที่ใช้คำนี้เพราะมีที่มาว่า ในสมัยโบราณจะมีคนคอยร้องบอกชาวเมือง เพื่อบอกกล่าวเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นล่วงหน้า รวมถึงประกาศวันขึ้นเดือนใหม่ เพื่อให้ลูกหนี้จ่ายเงินที่คั่งค้าง ต่อมาสังคมเริ่มสลับซับซ้อนมากขึ้น ปฏิทินจึงได้ถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อแทนคนร้องบอกข่าว ปฏิทินจึงนับว่าเป็นสิ่งบอกเวลา และกลายเป็นสิ่งสำคัญในวิถีชีวิตประจำวันไปในที่สุด ต่อมามนุษย์จึงได้ริเริ่มบันทึก วัน เวลา ขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษร หรือที่เรียกกันว่า “ปฏิทิน” นั่งเอง

 

ในอดีตประเทศไทยใช้ปฏิทินจันทรคติตั้งแต่สมัยสุโขทัยโดยนับปีตามปีมหาศักราชและจุลศักราชตามลำดับ จนกระทั่งในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯ เปลี่ยนจากปฏิทินจันทรคติมาใช้ปฏิทินสุริยคติ ในปีจุลศักราช 1240 ซึ่งตรงกับปี พ.ศ. 2431 โดยใช้แบบสากลตามปฏิทินเกรกอเรียน โดยเดือนแรกของปีคือเดือนเมษายน และเดือนสุดท้ายของปีคือมีนาคม และปรับมาใช้รัตนโกสินทรศก และพุทธศักราชตามลำดับจนกระทั่งในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้มีการปรับเปลี่ยนปฏิทินอีกครั้งโดยปรับให้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่และเป็นวันเริ่มต้นของปีแทนที่รูปแบบเดิม โดยวันขึ้นปีใหม่ในรูปแบบนี้เริ่มใช้ในปี พ.ศ. 2484

การพิมพ์ปฏิทินมีขึ้นเป็นครั้งแรกในเมืองไทย เมื่อ วันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2385 (ปลายสมัย รัชกาลที่ 3) ต่อมาในรัชกาลที่ 4 ทรงฯโปรดให้พิมพ์ปฏิทินภาษาไทย ในสมัยรัชกาลที่ 5 ปฏิทินที่พิมพ์ในเมืองไทยได้แก่ “ประนินทิน” แจ้งราคาขายไว้เล่มละ 4 บาท การพิมพ์ปฏิทินเล่มยังมีการจัดทำต่อมา ในหลายรูปแบบ ซึ่งมีบอกสถาพของน้ำขึ้น-น้ำลง ดิถีดวงจันทร์ และปฏิทินภาษาจีนร่วมด้วย และมีช่องว่างให้บันทึกเล็กน้อย ในรูปแบบของ ไดอารี่ หรือ “สมุดบันทึกประจำวัน” ก็สามารถอนุโลมให้เป็นปฏิทินได้ โดยไดอารี่ที่มีชื่อเสียงได้แก่ ไดอารี่ของรัชกาลที่ 5 ซึ่งเมื่อตีพิมพ์เผยแพร่มีชื่อเรียกว่า “จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน”

บทความที่เกี่ยวข้อง : แนะนำ 10 ดินสอ คุณภาพดี น่าซื้อใช้ พร้อมเคล็ดลับเลือกดินสอให้เหมาะกับลูก

 

แบบฝึกหัดคัดวันและเดือน

แบบฝึกหัดคัดวันและเดือน

พัฒนาการของเด็ก

เพื่อเตรียมพร้อมให้ลูกฝึกทักษะการเขียนที่ดี พ่อแม่อาจใช้การกระตุ้นการใช้นิ้วมือน้อย ๆ ของลูก ด้วยการให้ลูกได้ขีดเขียนวาดรูปเล่นตามจินตนาการ โดยที่คุณแม่อาจสามารถให้ลูกได้ลองวาดรูปต่าง ๆ หรือลวดลายบนทราย หรือกระดาษวาดเขียน ซึ่งในวัยนี้คุณอาจจะเห็นลูกหยิบดินสอหรือแท่งสี ไปขีดเขียนตามฝาผนังบ้าน พื้นบ้าน และตามเฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ ค่ะ

อย่างไรก็ตาม พ่อแม่สามารถให้ลูกเล่นสีน้ำ ได้ใช้พู่กันขนาดต่าง ๆ ในการเติมความสนุกสนานให้การวาดภาพระบายสีมีความสนุกมากขึ้น อาจจะเริ่มจากการทำเป็นรูปภาพหรือสัญลักษณ์ต่าง ๆ เป็นตัวอย่างให้ลูกและลองให้ลูกทำตามก็ได้ค่ะ

นอกจากนั้นอาจสอนให้ลูกวาดรูปทรงแบบง่าย เพราะเด็กกำลังอยู่ในช่วงวัยที่กำลังลอกเลียนแบบเก่งค่ะ ซึ่งรูปทรงอย่างง่ายที่พ่อแม่ควรสอน เช่น รูปทรงกลม ทรงรี และทรงสี่เหลี่ยมค่ะ โดยอาจจะลองทำเป็นตัวการ์ตูนน่ารัก ๆ จากรูปทรงนั้นด้วยก็ได้นะคะ น้องจะได้รู้สึกสนุกมากขึ้น

 

การฝึกลูกเขียนในวัยที่เหมาะสม

การให้ลูกฝึกเรียนเขียนอ่านตั้งแต่ยังเล็กนั้น พญ.กาญจนา คูณรังษีสมบูรณ์ รองผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ จ.เชียงใหม่ กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า การฝึกหรือหรือบังคับให้ลูกเรียนเขียนอ่านตั้งแต่อายุน้อย ๆ นั้น อาจเป็นเพราะพ่อแม่ในยุคปัจจุบันมีการแข่งขันความสามารถของลูก อยากให้ลูกตนเองเรียนเก่ง จึงกังวลว่าลูกจะเขียนไม่ได้อ่านหนังสือไม่ออก สู้ลูกคนอื่นไม่ได้ ตรงนี้ถือเป็นปัญหาที่น่าเป็นห่วง

 

แบบฝึกหัดคัดวันและเดือน

แบบฝึกหัด คัดวันและเดือน

 

ในธรรมชาติของเด็กเล็กนั้น กล้ามเนื้อมัดเล็กยังทำงานได้ไม่เต็มที่และยังต้องได้รับการพัฒนา ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดคือการปล่อยให้ลูกได้ขีดเขียนอย่างเป็นอิสระ ไม่ใช่การบังคับให้ฝึกเขียนตัวอักษร ซึ่งกลายเป็นว่าไปปิดกั้นจินตนาการของลูกอีกด้วย ทั้งนี้วัยที่เหมาะสมต่อการเขียนอ่านหนังสือนั้นเริ่มตอน 5 ขวบก็ยังไม่สาย เด็กก็สามารถอ่านออกเขียนได้ดี การรีบฝึกลูกให้อ่านเขียนตั้งแต่เล็กเกินไปก็ใช่ว่าดีต่อตัวลูก

 

สำหรับการฝึกภาษาที่สองให้แก่ลูกก็เช่นกัน พ่อแม่ที่พยายามใช้ภาษาที่สองกับลูกในชีวิตประจำวันตั้งแต่เล็กจะทำให้ลูกรู้สึกถึงความแปลกใหม่ของภาษาและเริ่มคุ้นชิน แต่อย่าเพิ่งจับมาฝึกเขียนอ่านเช่นเดียวกับภาษาไทยนะคะ “เด็กวัย 3 ขวบ ยังอยู่ในช่วงของการพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก การให้ฝึกขีดเขียนอย่างอิสระ ก็จะช่วยฝึกการทำงานของกล้ามเนื้อมัดเล็กให้ดีขึ้น แต่การบังคับให้เขาเขียนตามเส้นปะเลย ด้วยความที่กล้ามเนื้อมัดเล็กของเขายังทำงานได้ไม่เต็มที่ ก็จะเป็นการฝืนธรรมชาติของเด็กเกินไป และวัยนี้ควรให้เขาได้เล่นอย่างอิสระเพื่อฝึกพัฒนาการต่างๆ จะเป็นผลดีกับลูกมากกว่าการจับมานั่งฝึกเขียนอ่าน ซึ่งอาจทำให้ขาดพัฒนาการด้านอื่น ๆ” พญ.กาญจนากล่าว

 

theAsianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพและสังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น theAsianparent Thailand ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งาน เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุดและผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว 

การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก theAsianparent Thailand เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง

เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”

 

Source :โรงเรียนอากาศอำนวยศึกษา

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

แจกแบบฝึกหัดคัด ก-ฮ แจกฟรีแบบฝึกหัดเขียนตามเส้นประ ก-ฮ

โหลดเลย! แจกแบบฝึกหัด ก-ฮ และ a-z เสริม เพิ่ม พัฒนาการลูก!

แจกฟรีแบบฝึกหัดคัด A-Z เขียนตามเส้นประ สอนภาษาอังกฤษเด็ก

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!