เตือนภัยจากมือถือและแท็บเล็ต กรมสุขภาพจิตแนะ 'นั่งให้น้อย เล่นให้เยอะ!'

undefined

กรมสุขภาพจิตแนะนำพฤติกรรมที่อายุ 1-5 ขวบควรทำและภัยร้ายของ โทรศัพท์-แท็บเล็ต มีผลต่อการพัฒนาสติปัญญาและสมองแน่นอน!

เตือนภัยจากมือถือและแท็บเล็ต กรมสุขภาพจิตแนะ ‘นั่งให้น้อย เล่นให้เยอะ!’

 

เตือนภัยจากมือถือและแท็บเล็ต

เตือนภัยจากมือถือและแท็บเล็ต

ในยุคปัจจุบันเทคโนโลยีและแก็ดเจ็ดเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเราทุกคนไม่ว่าจะในเรื่องของการทำงาน การใช้ชีวิต และแน่นอนการเลี้ยงดูลูก หลายคนนำมือถือหรือแท็ปเล็ตเข้ามาใช้เป็นเครื่องมือช่วยเลี้ยงลูกของเราโดยการให้ลูกดูสิ่งต่างๆในเครื่องมือเหล่านี้โดยที่ไม่รู้เลยว่าถ้ามันมากเกินไปบางครั้งก็อาจจะเป็นโทษมากกว่าประโยชน์ด้วยซ้ำโดยวันนี้เราจะมา เตือนภัยจากมือถือและแท็บเล็ต

จากการรายงานของกรมสุขภาพจิตทำให้เราเห็นว่า ผู้ใหญ่มากกว่า 23% และวัยรุ่นมากกว่า 80% มีกิจกรรมทางกายภาพที่ไม่เพียงพอและยังพบว่าพฤติกรรมเนือยนิ่งมากกว่าปกติ กรมสุขภาพจิตจึงแนะนำให้ผู้ปกครองที่ดูแลบุตรหลาน ควรปฏิบัติตามคำแนะนำจากองค์การอนามัยโลกฉบับล่าสุดที่ออกประกาศใช้นั้นก็คือการลดพฤติกรรมที่เนือยนิ่ง เช่น การนั่งเฉยๆโดยไม่ทำอะไร การนั่งติดกับสายรัดในรถเข็น รวมถึงการนั่งดูโทรทัศน์ โทรศัพท์ หรือแก็ดเจ็ดประเภทที่มีหน้าจอ ควรเพิ่มพฤติกรรมที่มีการเคลื่อนไหวมากขึ้น เช่นการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และเน้นการนอนหลับที่มีคุณภาพและสำคัญมากคือการควบคุมเวลาหน้าจออย่างเข้มงวด

เดินเล่นกับลูกแค่ครึ่งชั่วโมง กระชับความผูกพัน

ยิ่งไปกว่านั้นจากการศึกษายังค้นพบว่าเด็กเล็กคนไหนที่มีพฤติกรรมใช้ มือถือ แก็ดเจ็ดหรือติดเทคโนโลยีหน้าจอนั้นมีแนวโน้มว่าการพัฒนาทางปัญญาและอารมณ์นั้นค่อนข้างได้คะแนนที่น้อยกว่ากว่าเด็กที่ไม่ใช้เวลากับสิ่งเทคโนโลยีเหล่านี้

โดยองค์กรอนามัยโลกนั้นมีการแนะนำให้เด็กแต่ละวัยตั้งแต่ช่วงอายุ 1 ถึง 5 ขวบมีกิจกรรมที่ใช้เวลาแตกต่างกันไปโดยแบ่งออกกิจกรรมออกเป็น 3 รูปแบบได้แก่; การเคลื่อนไหว การใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีประเภทที่มีจอ และการนอน โดยจะแบ่งออกเป็นช่วงอายุ

เด็กอายุต่ำกว่า 1 ขวบ

  • การเคลื่อนไหว : ควรเคลื่อนไหวหลายครั้งต่อและควรเคลื่อนไหว
    ติดต่อกัน
    30 นาที
  • การใช้หน้าจอ : ไม่ควรใช้เด็ดขาด แนะนำให้ผู้ปกครองใช้การเล่านิทาน
    หรืออ่านหนังสือ
  • การนอน : ควรนอน 14-17 ชั่วโมง/วัน

เด็กอายุ 1-2 ขวบ

  • การเคลื่อนไหว : ควรเคลื่อนไหวร่างกายวันละ 180 นาที หรือมากกว่า
  • การใช้หน้าจอ : เด็กอายุ 1 ขวบไม่ควรใช้ /เด็กอายุ 2 ขวบ จำกัด 1ชม/1วัน
  • การนอน : ควรนอน 11-14 ชั่วโมง/วัน

เด็กอายุ 3-4 ขวบ

  • การเคลื่อนไหว : ควรเคลื่อนไหวร่างกายวันละ 180 นาที หรือมากกว่า(โดยเน้นกิจกรรมที่ใช้พลังงานมาก)
  • การใช้หน้าจอ : จำกัดเวลา 1ชม/1วัน
  • การนอน : ควรนอน 10-13 ชั่วโมง/วัน

จากตารางจึงสรุปได้ว่าผู้ปกครองควรเอาใจใส่ลูกและชักชวนลูกให้เคลื่อนไหว และที่สำคัญการหลีกเลี่ยงการใช้มือถือและแก็ดเจ็ดนั้นสำคัญมาก เพราะการพัฒนาความฉลาดทางปัญญา อารมณ์ นั้นจะดีขึ้นมากหากหลีกเลี่ยงเทคโนโลยีที่มันมากเกินไป

การส่งเสริมสุขภาพที่ดีและการพัฒนาปัญญาและอารมณ์นั้นควรจะเริ่มตั้งแต่เด็กเล็ก เพราะสิ่งเหล่านี้จะส่งผลที่ดีต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตเมื่อโตขึ้นในอนาคต

 

ที่มา : Children glued to screens show delays in key skills ,กรมประชาสัมพันธ์กรมสุขภาพจิต 

,https://www.it24hrs.com/2019/baby-electronic-device-warning/

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ :

เช็กพฤติกรรม “ลูกติดโทรศัพท์” ส่งผลสมาธิสั้น

ลูกติดเกม ติดมือถือ อันตราย! วิธีเลี้ยงดูลูกอย่างไร ไม่ให้ลูกเสพติดจอ อย่าทำร้ายสุขภาพลูก

6 วิธีแก้เด็กติดจอ ดูแลลูกอย่างไรไม่ให้ติดโทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!