คนท้อง เลือดกําเดาไหล อันตรายไหมถ้าเลือดกำเดาไหลตอนท้อง

ไม่ต้องตกใจที่เจอเลือดกำเดาไหลตอนท้อง ถ้าไหลไม่มากก็ไม่อันตรายแค่ทำให้รำคาญเท่านั้นเอง ถึงไม่ท้องก็มีเลือดกำเดาไหลได้

คนท้อง เลือดกําเดาไหล เลือดออกทางจมูก

คนท้อง เลือดกําเดาไหล ทำไมท้องแล้วมีเลือดกำเดาไหลบ่อยจัง แม่ท้องจะเป็นอันตรายไหม ต้องไปหาหมอหรือเปล่า มีวิธีบรรเทาอาการเลือดกำเดาไหล ยังไงบ้าง

 

อันตรายไหมถ้าเลือดกำเดาไหลตอนท้อง

ทำอย่างไรเมื่อเลือดกำเดาไหลตอนท้อง ทำอย่างไรเมื่อเลือดกำเดาไหลตอนท้อง

 

การท้องไม่ใช่สาเหตุที่ทำให้เลือดกำเดาไหล แต่เกิดจากอากาศเย็นและแห้งที่กระทบกระเทือนเยื่อบุโพรงจมูกให้ฉีกขาดหรือบางลงจนเลือดซึมออกมา แต่สำหรับคนท้องเลือดกำเดาไหลเกิดได้ง่ายกว่าเพราะหลอดเลือดในร่างกายคนท้องขยายตัวกว้างขึ้น จนบางลงเพื่อรองรับปริมาณเลือดจำนวนมากที่ร่างกายผลิตขึ้นระหว่างท้อง บางครั้งก็มีเลือดคั่งในจมูกมาก ทำให้หายใจไม่สะดวกจนต้องจามออกมาอย่างแรง กระเทือนเยื่อบุโพรงจมูกที่บางและแห้งอยู่แล้วจนฉีกขาดเปิดทางให้เลือดไหลออกมาได้ แต่อย่างที่บอกไว้แล้วว่าถ้าไม่มากก็ไม่ต้องเป็นห่วง

 

วิธีบรรเทาอาการเลือดกำเดาไหล

  1. อย่าตกใจถ้าเลือดกำเดาไหล ให้นั่งลงแล้วก้มหัวมาข้างหน้าเล็กน้อยไม่ต้องต่ำมาก (อย่าแหงนหน้าไปข้างหลัง) ที่แนะนำไม่ให้เงยหน้าไปข้างหลังเพื่อป้องกันไม่ให้เลือดไหลย้อนลงไปในโพรงจมูกทำให้สำลักเวียนหัวและอาเจียนได้ รักษาระดับศีรษะให้อยู่สูงกว่าระดับหัวใจ วิธีนี้จะช่วยให้เลือดกำเดาค่อย ๆ หยุดไหลในที่สุด
  2. บีบตรงเหนือปลายจมูกไม่ให้อากาศเข้าแล้วหายใจทางปากแทน
  3. ประคบจมูกด้วยถุงน้ำแข็ง หรือถ้าไม่มีก็ใช้อะไรที่เย็นจัด ๆ ห่อไว้ด้วยผ้าขนหนูประคบไว้ที่จมูกและแก้ม ความเย็นที่แผ่กระจายไปทั่วบริเวณใบหน้าจะทำให้เลือดที่หมุนเวียนไปอุดคั่งที่จมูกลดจำนวนลง จนเลือดกำเดาหยุดไหลไปเอง แต่ต้องประคบไว้สักพักอย่าใจร้อน

ถ้าเลือดกำเดายังไม่หยุดหลังจากที่ได้ลองทุกวิธีที่กล่าวมาแล้ว ให้รีบไปพบแพทย์ทันที

 

ตั้งครรภ์ เลือดกําเดาไหล เลือดออกทางจมูก ออกเยอะ

รศ.นพ. ปารยะ อาศนะเสน ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เขียนบทความเรื่อง โรคจมูกและไซนัสในหญิงตั้งครรภ์ ระบุว่า การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาระหว่างตั้งครรภ์ ทำให้เกิดการอักเสบของเยื่อบุจมูกที่เกิดจากการตั้งครรภ์ (rhinitis of pregnancy) และยังเพิ่มอุบัติการณ์ของการเกิดภาวะเลือดกำเดาไหล และทำให้โรคจมูกและไซนัสแย่ลงได้ง่าย

  • ระหว่างช่วง 6 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ (ไตรมาสที่ 1 และ 2) จะมีการเพิ่มปริมาณของเลือดในหลอดเลือดของแม่
  • ปริมาณของเลือดดังกล่าว จะมีการเคลื่อนตัวออกนอกหลอดเลือดใน 3 เดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์ (ไตรมาสที่ 3)

ทั้งนี้ เกิดจาก อิทธิพลของฮอร์โมนเอสโตรเจน (estrogen) ซึ่งมีผลในการกระตุ้นระบบประสาทที่มาเลี้ยงเยื่อบุจมูก ทำให้เส้นเลือดในเยื่อบุจมูก มีการขยายตัว และมีการกระตุ้นการทำงานของต่อมสร้างน้ำมูกในเยื่อจมูกมากขึ้น ทำให้เกิดอาการทางจมูก และ/หรือไซนัส หรืออาจทำให้โรคของจมูกและไซนัสที่มีอยู่แล้ว แย่ลงได้ ซึ่งส่วนใหญ่อาการต่างๆ ของจมูกและไซนัสจะดีขึ้นเอง 5 วันหลังคลอด

 

แม่ท้อง เลือดกำเดาไหล

ในกรณีที่เลือดออกปริมาณน้อย อาจใช้ยาหดหลอดเลือดเฉพาะที่ (topical decongestants) หยอด หรือพ่นจมูก ซึ่งออกฤทธิ์โดยทำให้เส้นเลือดในเยื่อบุจมูกหดตัว หรือแพทย์อาจใช้สำลีชุบยาหดหลอดเลือดดังกล่าวใส่เข้าไปในจมูกแล้วให้ผู้ป่วยบีบไว้ ตัวอย่างยาในกลุ่มนี้ ได้แก่ 1–3% ephedrine หรือ 0.025–0.05% oxymetazoline เป็นต้น ซึ่งสามารถใช้ในหญิงตั้งครรภ์ เพื่อลดภาวะเลือดกำเดาไหลได้ (ระดับ C) แต่ไม่ควรใช้ต่อเนื่องเกิน 3–5 วัน และไม่ควรใช้ในระยะใกล้คลอด

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

อาการที่พบบ่อยเมื่อท้องไตรมาสที่สอง

อาหารที่เสริมและวิตามินเหมาะสำหรับตอนท้อง

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!