หมอนัดตรวจครรภ์ เดือนละกี่ครั้ง จำเป็นต้องไปตรวจครรภ์ทุกครั้งไหม?

หมอนัดตรวจครรภ์ เดือนละกี่ครั้ง หมอตรวจอะไรบ้าง ตรวจแต่ละอย่างหมายความว่าอะไร คนท้องจำเป็นต้องไปตรวจครรภ์ทุกครั้งไหม สัญญาณอันตรายที่ต้องไปพบหมอโดยด่วน

หมอนัดตรวจครรภ์ เดือนละกี่ครั้ง

หมอนัดตรวจครรภ์ เดือนละกี่ครั้ง ไม่ไปตรวจครรภ์ตามนัดจะเป็นอะไรไหม สำหรับคุณแม่ที่สงสัยเกี่ยวกับการตรวจครรภ์ หรือการฝากครรภ์นั้น เรามีคำตอบมาฝากกันค่ะ

คนท้องจำเป็นต้องฝากครรภ์ไหม

การฝากครรภ์ หรือ การนัดฝากครรภ์ คือ การดูแลผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์ โดยทำการตรวจ ติดตาม และประเมินการตั้งครรภ์ รวมถึงการตรวจคัดกรองความผิดปกติของทารกในครรภ์ด้วย หากคุณหมอตรวจพบอาการผิดปกติ หรือปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ต่อการตั้งครรภ์ คุณหมอจะได้หาแนวทางป้องกัน และวิธีการรักษาต่อไป โดยการฝากครรภ์จะทำตั้งแต่การเริ่มตั้งครรภ์ไปจนถึงครบกำหนดคลอดค่ะ ซึ่งอาการผิดปกติถ้าได้รับการตรวจเจอเร็วเท่าไหร่ยิ่งดี เพราะจะช่วยลดอันตรายที่เกิดขึ้นทั้งระหว่างตั้งครรภ์และช่วงคลอดลูกได้ค่ะ

ฝากครรภ์ครั้งแรกตรวจอะไรบ้าง

  1. ชั่งน้ำหนัก เพราะการชั่งน้ำหนักนี้จะทำให้คุณหมอทราบว่าการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์เป็นอย่างไร ส่วนมากแล้วน้ำหนักของคุณแม่จะเพิ่มขึ้นทุกๆ ครึ่งกิโลกรัมตั้งแต่อายุครรภ์ 5 เดือนค่ะ
  2. วัดส่วนสูง การวัดส่วนสูงจะทราบได้เบื้องต้นว่าคุณแม่คลอดลูกง่ายหรือไม่ หากคุณแม่มีส่วนสูงที่น้อยกว่า 145 ซม. ก้อาจจะทำให้คลอดลูกยากหน่อย เนื่องจากอุ้งเชิงกรานที่แคบเกินไปค่ะ
  3. ตรวจปัสสาวะ การตรวจปัสสาวะนี้จะเอาไว้สำหรับดูค่าน้ำตาล และไข่ขาวในปัสสาวะค่ะ
  4. ตรวจคัดกรองธาลัสซีเมียและเบาหวาน ซึ่งทำโดยการตรวจจากเลือดค่ะ หากเป็นโรคดังกล่าว คุณแม่จะได้ให้แนวทางในการรักษาต่อไป
  5. ตรวจคัดกรองความผิดปกติของหัวนม และลานหัวนม หากเกิดความผิดปกติคุณหมอจะได้แนะนำวิธีการแก้ไขให้ค่ะ
  6. ตรวจหาความผิดปกติอื่นๆ ได้แก่
    • ความผิดปกติของเม็ดเลือดแดง
    • หมู่เลือด
    • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ เช่น เอชไอวี (เอดส์) ไวรัสตับอีกเสบบี (หากคุณแม่เป็นไวรัสตับอักเสบบี ทารกต้องได้รับการฉีดวัคซีนเพิิ่ม 1 เข็ม ภายใน 24 ชม. แรกที่คลอด)  เชื้อซิฟิลิส (เชื้อนี้อาจทำให้ทารกพิการหรือตายได้)
  7. ฉีดวัคซีนป้องกันโรค ได้แก่ ป้องกันคอตีบ - บาดทะยัก จำนวน 3 เข็ม ซึ่งควรได้รับการฉีดเข็มที่ 2 ห่างจากเข็มแรก 1-2 เดือน และควรได้รับวัคซีนเข็มที่ 3 ห่างจากเข็มที่สอง 6 เดือน
  8. ซักประวัติ เพื่อทราบโรคต่างๆ ก่อนตั้งครรภ์ รวมถึงยากับประวัติการผ่าตัดทางหน้าท้องอื่นๆ ประวัติครอบครัวว่ามีโรคทางกรรมพันธุ์หรือไม่ และประวัติความผิดปกติระหว่างตั้งครรภ์ การแท้งบุตร เป็นต้น
  9. ตรวจร่างกายอื่นๆ เช่น มีอาการซีดเหลืองหรือไม่ คอโตหรือเปล่า หัวใจและปอดมีการทำงานอย่างไร เพื่อประเมินการเจริญเติบโตของทารก
  10. ให้ยาบำรุงครรภ์
  11. บันทึกสมุดสุขภาพแม่และเด็ก

หมอนัดตรวจครรภ์-เดือนละกี่ครั้ง หมอนัดตรวจครรภ์ เดือนละกี่ครั้ง

ความถี่ที่หมอนัดตรวจครรภ์

การนัดฝากครรภ์ เมื่อผู้หญิงรู้ตัวว่าตัวเองตั้งครรภ์ควรเริ่มมาฝากครรภ์ให้เร็วที่สุด หรือทันที่ที่ทราบว่ามีการตั้งครรภ์ โดยเกณฑ์มาตรฐานการฝากครรภ์ของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข คือ

  • ครั้งที่ 1 ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์
  • ครั้งที่ 2 เมื่ออายุครรภ์ 18 สัปดาห์ (บวก/ลบได้ 2 สัปดาห์)
  • ครั้งที่ 3 เมื่ออายุครรภ์ 26 สัปดาห์ (บวก/ลบได้ 2 สัปดาห์)
  • ครั้งที่ 4 เมื่ออายุครรภ์ 32 สัปดาห์ (บวก/ลบได้ 2 สัปดาห์)
  • ครั้งที่ 5 เมื่ออายุครรภ์ 38 สัปดาห์ (บวก/ลบได้ 2 สัปดาห์)

นอกจากนี้ การนัดตรวจครรภ์ตามคลินิคหรือโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลต่างๆ อาจมีความถี่ในการนัดตรวจครรภ์เพิ่มขึ้น โดยใช้หลักเกณฑ์ ดังนี้

  • อายุไม่เกิน 28 สัปดาห์ ให้นัดทุก 4 สัปดาห์
  • อายุระหว่าง 28-36 สัปดาห์ ให้นัดทุก 2 สัปดาห์
  • อายุตั้งครรภ์ตั้งแต่ 37 สัปดาห์ขึ้นไป ให้นัดทุกสัปดาห์

หมอนัดตรวจครรภ์-เดือนละกี่ครั้ง หมอนัดตรวจครรภ์บ่อยแค่ไหน การนัดฝากครรภ์

อาการแบบไหนที่คนท้องต้องรีบมาพบแพทย์ด่วน

  1. มีเลือดออกทางช่องคลอด
  2. มีอาการบวมที่ใบหน้าและนิ้วมือ
  3. มีอาการปวดศีรษะรุนแรง
  4. มีอาการตาพร่ามัว
  5. มีอาการปวดท้องจุกแน่นยอดอก
  6. มีอาการอาเจียนรุนแรง
  7. มีอาการเป็นไข้ หนาวสั่น
  8. มีอาการปัสสาวะแสบขัด
  9. มีอาการน้ำออกจากช่องคลอด
  10. ทารกดิ้นลดลง ทั้งความถี่และความแรง
  11. มีเลือดออกทางช่องคลอด
  12. ตกขาวผิดปกติ
  13. มีอาการเจ็บครรภ์ทั้งที่ยังไม่ครบกำหนด หรือมีอาการท้องแข็งบ่อย


ที่มา:
คู่มือการปฏิบัติตัวในขณะตั้งครรภ์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ:

แม่ท้องอายุน้อย อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย เสี่ยงภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์ อันตรายไหม

เมนูอาหารคนท้องเป็นเบาหวาน ตัวอย่างตารางอาหาร สำหรับเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ลดน้ําตาลในคนท้อง

แสบร้อนหน้าอกตอนท้อง อาการแบบนี้เกิดจากอะไร คนท้องควรรับมืออย่างไร

3 ท่าทำลูกสาว ท่าเซ็กส์เด็ด คลอดปุ๊บ หมอพูดปั๊บ ยินดีด้วยคุณได้ลูกสาว

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!