ลูกในครรภ์น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ อันตรายไหม ทำอย่างไรให้เพิ่มน้ำหนักลูกในท้อง

undefined

ลูกในครรภ์น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ ลูกในท้องน้ำหนักน้อย ลูกในท้องตัวเล็ก อันตรายไหม อยากให้ลูกตัวใหญ่ สมบูรณ์แข็งแรง คนท้องต้องทำอย่างไรบ้าง

ลูกในครรภ์น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ คงเป็นเรื่องที่แม่ท้องหนักใจมาก โดยเฉพาะโค้งสุดท้ายใกล้คลอดต้องรีบทำน้ำหนักโดยด่วน กลัวลูกจะตัวเล็ก ไม่สบายบ่อย ป่วยง่าย ไม่แข็งแรง แล้วแบบนี้คนท้องควรทำอย่างไรให้เพิ่มน้ำหนักลูกน้อยในครรภ์ก่อนถึงกำหนดคลอด

 

คนท้องควรมีน้ำหนักเท่าไหร่ถึงจะดี

โดยปกติแล้ว คนท้องควรมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 5 กิโลกรัมใน 3 เดือนแรก สำหรับคุณแม่บางคนที่น้ำหนักตัวไม่ได้เพิ่มขึ้นเลย เพราะแพ้ท้องหนักมาก กินอะไรก็ไม่ได้ อาเจียนออกมาหมด พยายามจะกินเพื่อลูกหลายต่อหลายครั้ง แต่แม่ไม่ไหวกินได้แค่นี้จริงๆ

สำหรับน้ำหนักตัวโดยรวมของหญิงตั้งครรภ์ควรเพิ่มขึ้นไม่เกิน 10 กิโลกรัม หากน้ำหนักตัวคุณแม่เพิ่มขึ้นไม่ถึงเกณฑ์ที่กำหนด เป็นไปได้สูงว่าน้ำหนักตัวของเด็กทารกแรกเกิดจะมีน้ำหนักต่ำกว่าปกติ หรือทารกน้ำหนักน้อย ตัวเล็กผิดปกตินั่นเอง ในทางตรงกันข้ามหากคุณแม่มีน้ำหนักตัวมากเกินไป จะทำให้คุณแม่คลอดลำบาก เหนื่อยง่าย ปวดหลังมากขึ้น เส้นเลือดขอดมากขึ้น และทำให้แผลผ่าตัดติดช้า เกิดภาวะตกเลือดหลังคลอดได้ง่ายค่ะ ดังนั้น คนท้องควรมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ดังนี้

  • ไตรมาสแรก ควรมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 1-2 กิโลกรัม
  • ไตรมาสที่สอง ช่วงอายุ 3-8 เดือน น้ำหนักจะเพิ่มโดยเฉลี่ย 1/2 กิโลกรัมต่อสัปดาห์
  • ไตรมาสที่สาม น้ำหนักจะคงที่หรือลดลงเล็กน้อยประมาณ 1/2 กิโลกรัม หรือเพิ่มขึ้นเพียงเพิ่มขึ้นเพียง 2-3 กิโลกรัม

 

ลูกในครรภ์น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ อันตรายไหม ทำอย่างไรให้เพิ่มน้ำหนักลูกในท้อง

ลูกในครรภ์น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ อันตรายไหม

 

คนท้องน้ำหนักไม่ขึ้นแค่ไหนต้องไปหาหมอ

ในกรณีที่คุณแม่ตั้งครรภ์ได้ 2-4 เดือน แล้วน้ำหนักตัวไม่เพิ่มขึ้นเลย หรือมีน้ำหนักตัวเพิ่มมากกว่า 1 กิโลกรัมต่อสัปดาห์ในช่วงไตรมาสที่สอง หรือมีน้ำหนักเพิ่มมากกว่า 1/2 กิโลกรัมต่อสัปดาห์ในช่วงไตรมาสที่สาม สัญญาณเหล่านี้เริ่มอันตราย ให้คุณแม่ไปพบแพทย์โดยด่วน โดยเฉพาะผู้ที่นิยมกินอาหารรสจัดหรือกินบ่อยเกินไป เพื่อป้องกันไม่ให้ทารกในครรภ์ตัวเล็กมากกว่าเกณฑ์

 

น้ำหนักของคนท้องมาจากไหนบ้าง

  • น้ำหนักตัวของคุณแม่ 10 – 12 กิโลกรัม
  • น้ำหนักตัวทารกในครรภ์ 3000 กรัม
  • น้ำหนักรก 500- 700 กรัม
  • น้ำหนักน้ำหล่อเด็ก 1000 กรัม
  • เต้านม 300-500 กรัม
  • ปริมาณเลือดที่เพิ่ม 1000 กรัม
  • ปริมาณน้ำในร่างกายแม่ 1500 กรัม
  • ไขมันที่สะสมในตัวแม่ 3000 กรัม

 

ลูกในครรภ์น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ อันตรายไหม ทำอย่างไรให้เพิ่มน้ำหนักลูกในท้อง

ทำอย่างไรให้เพิ่มน้ำหนักลูกในท้อง

 

วิธีเพิ่มน้ำหนักลูกในท้อง

  1. ต้องนอนพักผ่อนเยอะๆ เพราะการพักผ่อนจะช่วยให้มีเลือดสูบฉีดได้ดี หากแม่ทำงานเยอะ ออกแรงเยอะ เลือดก็ต้องไปเลี้ยงส่วนอื่นๆ ได้น้อยลง ทำให้มีเลือดไปเลี้ยงลูกในท้องไม่เพียงพอด้วยค่ะ ดังนั้น คุณแม่ควรนอนกลางคืนอย่างน้อย 8 ชม. และช่วงกลางวันประมาณ 1-2 ชม. ค่ะ
  2. เลิกพฤติกรรมที่ส่งผลเสียต่อลูกในท้อง ได้แก่ เลิกสูบบุหรี่ เลิกกินเหล้า เลิกสารเสพติด ยาบางชนิด
  3. อย่าเครียด เพราะความเครียดจะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงให้ลูกในท้องตัวเล็กกว่าปกติ
  4. ทานอาหารให้ครบทุกมื้อ อย่าอด และทานให้ถูกหลักโภชนาการถึงจะดีที่สุดค่ะ หากกินอาหารไม่ได้เลย แนะนำให้ค่อยๆ กินทีละน้อย กินเท่าที่กินได้ แต่กินบ่อยๆ เพื่อให้ได้ปริมาณตามที่เหมาะสม
  5. เพิ่มปริมาณอาหารที่ให้พลังงานมากขึ้น เช่น ข้าว ก๋วยเตี๋ยว ขนมจีน ขนมปัง เผือก และมัน เป็นต้น

 

ลูกในครรภ์น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์อันตรายไหม

น้ำหนักลูกในครรภ์ ลูกน้อยในครรภ์ตัวเล็กจะอันตรายหรือไม่ ขึ้นอยู่ว่าเกิดจากสาเหตุอะไรมากกว่าค่ะ โดยสาเหตุหลักๆ ก็มาจาก

  1. มาจากตัวคุณแม่ : คุณแม่ทานอาหารไม่เพียงพอ หรือขาดสารอาหาร หรือมาจากโรคประจำตัว หรือมาจากพฤติกรรมของคุณแม่บางอย่าง เช่น การสูบบุหรี่ พฤติกรรมแบบนี้นอกจากทำให้ลูกในท้องโตช้าแล้ว ยังเสี่ยงต่อลูกพิการอีกด้วย
  2. มาจากโครโมโซม : ความผิดปกติของโครโมโซมของหญิงตั้งครรภ์นี้เองที่ทำให้ทารกในครรภ์โตช้า หรือแม้แต่การติดเชื้อระหว่างตั้งครรภ์ค่ะ ซึ่งอาจทำให้ทารกพิการ หรือเสียชีวิตได้
  3. มาจากรกเสื่อม : สำหรับสาเหตุนี่อาจทำให้เด็กได้รับสารอาหาร และปริมาณออกซิเจนไม่เต็มที่ จึงส่งผลให้ลูกในท้องตัวเล็ก ซึ่งถ้าเกิดจากสาเหตุนี้เมื่อลูกคลอดออกมาก็มีโอกาสเติบโตได้ดีเป็นปกติค่ะ

 

ลูกในครรภ์น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ 1

(รูปจาก shutterstock.com)

 

น้ำหนักลูกในครรภ์ สำคัญยังไง?

น้ำหนักลูกในครรภ์7เดือน สำหรับคุณแม่คนไหนที่กำลังตั้งอยู่ในตอนนี้ นอกจากปัจจัยต่าง ๆ ที่เราควรระวังและต้องดูแลเอาใจใส่นั่นคือ เรื่องของน้ำหนักลูกในครรภ์ เพราะอย่างที่รู้กันดีว่าการที่เราตั้งครรภ์หรือตั้งท้อง ถ้าเราอยากจะให้ลูกเติบโตมาเป็นเด็กที่แข็งแรงสมบูรณ์ มีอวัยวะร่างกายที่แข็งแรงครบถ้วน เราก็อาจจะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินและหันมาดูแลเอาใจใส่ตัวเองและลูกในท้องมากยิ่งขึ้น ซึ่งการที่เราจะรู้ได้ว่าน้ำหนักลูกในครรภ์เป็นไปตามเกณฑ์หรือไม่ เราก็อาจจะดูได้จากการคำนวณ และผลตรวจอัลตราซาวด์จากคุณหมอนั่นเอง

 

วิธีการวัดน้ำหนักลูกในครรภ์ทำอย่างไรนะ?

น้ำหนักทารกในครรภ์7เดือน หากคุณแม่คนไหนที่อยากจะรู้น้ำหนักตัวลูก อยากจะทราบว่าลูกในท้องของเรามีน้ำหนักเป็นไปตามเกณฑ์หรือไม่ เราก็อาจจะดูหรือสังเกตได้จากสิ่งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ ซึ่งจะต้องทำยังไงกันบ้างนั้น มาดูไปกัน

 

ลูกในครรภ์น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ 2

(รูปจาก shutterstock.com)

 

1. ดูจากขนาดหน้าท้อง

สิ่งแรกเลยการที่เราจะลูกขนาดลูกในครรภ์ได้ เราอาจจะต้องทำการสังเกตด้วยวิธีการง่าย ๆ ก่อน เช่น ดูจากขนาดหน้าท้องของตัวเอง เป็นต้น ซึ่งวิธีนี้ ในช่วงการตั้งครรภ์แต่ละเดือน แน่นอนว่าขนาดหน้าท้องของเราก็จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงและขนาดใหญ่มากขึ้น สิ่งนี้จึงเป็นการสังเกตได้เบื้องต้นว่าลูกในท้องของเราเริ่มโตขึ้นมา

 

2. ปริมาณน้ำคร่ำในท้อง

การที่เราจะรู้ได้ว่าลูกในท้องของเรามีน้ำหนักปกติหรือไม่นั้น แน่นอนว่าการเจาะตรวจดูน้ำคร่ำสิ่งนี้ก็อาจจะทำให้เราพอทราบได้อยู่บ้าง ซึ่งวิธีการนี้คุณหมอก็อาจจะทำการตรวจเป็นช่วง ๆ และถ้าน้ำคร่ำของเราน้อยหรือมากกว่าปกติ ปัจจัยเหล่านี้ก็อาจจะทำให้รู้ว่าน้ำหนักลูกในท้องของเรามีความผิดปกตินั่นเอง แต่ไม่ต้องเป็นกังวลใจไปนะคะ เพราะเมื่อไหร่ที่เราทำตามคำแนะนำของคุณหมอ พร้อมกับไปตามหมอนัดทุกครั้ง เชื่อว่าปัญหาเหล่านี้จะหมดไปแน่นอน

 

3. ดูจากการอัลตราซาวด์

อีกหนึ่งปัจจัยที่จะทำให้เราลูกว่าลูกในท้องนั้นมีน้ำหนักปกติหรือไม่ เราก็อาจจะดูได้จากการอัลตราซาวด์ โดยการอัลตราซาวด์ของแต่ละช่วงอายุครรภ์ก็อาจจะมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป สำหรับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ช่วงแรก ๆ เราก็อาจจะยังไม่สามารถอัลตราซาวด์ได้ และเมื่อคุณแม่มีอายุที่เพิ่มมากขึ้นคุณหมอก็จะทำการอัลตราซาวด์ให้เราได้ นอกจากเราจะได้รู้น้ำหนักตัวของลูกในท้องได้แล้ว เราก็อาจจะดูปัจจัยอื่น ๆ ได้อีกด้วย

 

4. ดูจากน้ำหนักของคุณแม่

มาต่อกันที่ข้อนี้บ้าง สิ่งนี้อาจจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทุกคนน่าจะพอทราบกันดีอยู่แล้วว่า การที่เราจะรู้น้ำหนักลูกในท้องได้ เราก็อาจจะสังเกตได้จากน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นของตัวเอง ซึ่งเมื่อไหร่ที่คุณแม่เริ่มมีอายุครรภ์ประมาณ 3 เดือน แน่นอนว่าน้ำหนักของเราจะเพิ่มขึ้นประมาณสัปดาห์ละ 0.2-0.5 กิโลกรัม และถ้าใครที่น้ำหนักขึ้นเรื่อย ๆ ก็อย่าพึงตกใจไปนะคะ เพราะสิ่งเหล่านี้ที่เกิดขึ้นถือเป็นเรื่องปกติ แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่เราน้ำหนักลดลงหรือเพิ่มขึ้นกว่าปกติ เราก็อาจจะต้องขอคำปรึกษา หรือขอคำแนะนำจากคุณหมอเพื่อที่จะได้ปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้องต่อไป

 

สำหรับคุณแม่คนไหนที่กำลังตกอยู่ในสถานการณ์แบบนี้อย่าพึงกังวลใจไปนะคะ เราอาจจะต้องดูแลรักษาตัวเองให้มากกว่านี้ พร้อมกับทำขอคำแนะนำหรือปรึกษาคุณหมอจะดีที่สุดค่ะ

 

ที่มา: หมอชาวบ้าน

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ:

กินกล้วยแฝดได้ลูกแฝดจริงหรือ ความเชื่อโบราณที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรรู้

ท่ายืดกล้ามเนื้อเตรียมคลอด คนท้องเตรียมฝึกเอาไว้ จะได้คลอดลูกง่ายขึ้น

4 ท่าโยคะสำหรับคนท้อง ช่วยเสริมทารกกลับหัว ให้อยู่ในท่าเตรียมคลอด

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!