กลุ้มใจ! ท้องเล็ก ลูกในครรภ์ตัวเล็กไหม ถ้าลูกน้ำหนักน้อย ทำไงดี?

คุณแม่กลุ้มใจ ท้องเล็ก ลูกในครรภ์จะตัวเล็กไหม ถ้าลูกในท้องน้ำหนักน้อย จะทำยังไงดี มีคำตอบจากคุณหมอค่ะ

ก่อนที่จะกังวลเรื่อง ลูกในครรภ์ตัวเล็ก ท้อง 8 เดือนท้องเล็ก แบบนี้มันผิดปกติไปหรือไม่ คุณแม่ต้องรู้ตัวเลขน้ำหนักค่าเฉลี่ย (50%) ของลูกตามอายุครรภ์ การที่ลูกในท้องมีน้ำหนักต่ำกว่าค่าเฉลี่ย หรือ 50% ไม่ถือว่าลูกตัวเล็กเกินไปนะคะ ยังอยู่ในเกณฑ์ปกติค่ะ ถ้าผิดปกติคือ ต้องต่ำกว่า 10% ค่ะ

จะทราบได้อย่างไรว่า ลูกในครรภ์ตัวเล็ก

ลูกในครรภ์ตัวเล็ก

1.จากการตรวจร่างกาย : โดยวัดระยะห่างจากมดลูกถึงกระดูกหัวหน่าว เพื่อดูว่าลูกโตขึ้นทุกเดือนไหม
2.จากการอัลตราซาวด์ : ประเมินน้ำหนักลูกได้จากการคำนวณค่าที่วัดได้ วิธีนี้เชื่อถือได้มากที่สุด
3.โดยการติดตามการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักคุณแม่ : ถ้าน้ำหนักคุณแม่ไม่ขึ้นหรือลดลง ให้สงสัยว่าลูกอาจมีปัญหาตัวเล็กผิดปกติ

แต่ก็ไม่แน่เสมอไปนะคะ เพราะแม่ท้องบางคนอาจน้ำหนักขึ้นเพียง 8 กิโลกรัม แต่ลูกออกมาหนัก 4 กิโลกรัม หรือแม่ท้องที่น้ำหนักขึ้นมากแต่ลูกกลับออกมามีน้ำหนัก ซึ่งหมายความว่าน้ำหนักของลูกไม่ได้แปรผันตรงไปตรงมากับน้ำหนักของแม่ที่เพิ่มขึ้น แต่น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นของแม่จะแปรผันตามพฤติกรรมการกินของแม่นั้นเอง ดังนั้น การกินมากก็ไม่ส่งผลไปถึงน้ำหนักตัวลูก แถมยังอาจเพิ่มน้ำหนักส่วนเกินของคุณแม่และเพิ่มความเสี่ยงในการที่ลูกจะแพ้อาหารที่แม่กินเข้าไป เช่น นมวัว นมถั่ว ไข่ แป้งสาลี ซีฟู้ด ได้

สาเหตุที่ลูกในท้องตัวเล็ก

  • อาจเป็นไปได้ว่าในขณะตั้งครรภ์คุณแม่อาจมีโรคเบาหวาน ครรภ์เป็นพิษ โรคหัวใจ โรคไต โรคเลือดจาง โรคปอดเรื้อรัง ติดเชื้อหัดเยอรมัน ไวรัส CMV โรคขี้แมวหรือเชื้อ Toxoplasmosis ที่อยู่ในอึแมว เชื้อซิฟิลิส มีเนื้องอกในมดลูก
  • พฤติกรรมของแม่ในตอนตั้งครรภ์ เช่น แม่สูบบุหรี่ กินเหล้า ใช้สารเสพติด
  • แม่เป็นโรคขาดสารอาหาร
  • มีความผิดปกติด้านการแข็งตัวของเลือด
  • ลูกในท้องมีความผิดปกติของโครโมโซม
  • ครรภ์แฝด เพราะขดเบียดกันอยู่ในท้องแม่ (ไม่ใช่ตัวเล็กเพราะเกิดจากการแย่งอาหารกัน) เป็นต้น

วิธีดูแลที่ถูกต้องสำหรับปัญหาลูกในครรภ์ตัวเล็กทุกกรณี คือ การพักเยอะ ๆ การนอนหลับอย่างเพียงพอ คุณแม่ตั้งครรภ์ควรนอนกลางคืนอย่างน้อย 8 ชั่วโมง และกลางวันควรได้งีบหลับอย่างน้อย 1-2 ชั่วโมง เพื่อให้มีเลือดสูบฉีดไปเลี้ยงทารกมากขึ้น เพราะถ้าแม่ท้องทำงานเยอะ ออกแรงเยอะ เลือดก็ต้องไปเลี้ยงส่วนอื่น ๆ ของร่างกายทำให้มีเลือดมาเลี้ยงทารกในครรภ์กลดลง

ส่วนการรักษาด้านอื่น ๆ ขึ้นกับสาเหตุที่ทำให้ลูกตัวเล็ก เช่น เลิกสูบบุหรี่ เลิกกินเหล้า เลิกใช้สารเสพติด รับประทานในปริมาณที่ปกติที่ร่างกายของแม่ท้องต้องการแคลอรี่เพิ่มขึ้น 500 กิโลแคลอรี่/วัน ส่วนโรคประจำตัวของคุณแม่ ควรให้คุณหมอช่วยดูแลควบคู่กันไป และถ้าเป็นการติดเชื้อหรือโครโมโซมผิดปกติ ก็ควรนอนพักผ่อนให้เต็มที่ และพบคุณหมอเพื่อขอคำแนะนำปรึกษาเพิ่มเติม หากคุณแม่กังวัลว่าลูกในท้องจะตัวเล็กหรือเปล่ากันนะคะ


ที่มา : www.breastfeedingthai.com

บทความอื่นที่น่าสนใจ :

ท้องเล็กกว่าอายุครรภ์อันตรายหรือไม่

เเท้งเเล้วท้องต่อได้เลย แบบนี้ก็ได้รึเปล่า น่าห่วงไหม? อันตรายแค่ไหน?

parenttown

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!