ยาลดน้ำมูกกลุ่มซูโดเอฟิดีน เป็นพระเอกหรือผู้ร้ายสำหรับแม่ท้อง?
เพราะอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย จึงทำให้แม่ท้องเป็นหวัดคัดจมูกกันได้ง่าย ดังนั้นการเลือกยารับประทานจึงเป็นสิ่งที่คุณแม่ท้องทุกคนควรให้ความสำคัญ
ยาลดน้ำมูกกลุ่มซูโดเอฟิดีน ซูลิดีนซีพี เป็นพระเอกหรือผู้ร้ายสำหรับแม่ท้อง?
ซูโดเอฟิดีน ซูลิดีนซีพี คืออะไร?
เป็นยาที่ใช้สำหรับปรุงแต่งยาลดน้ำมูก แก้แพ้ แก้หวัด ซึ่งยาชนิดนี้จะช่วยทำให้หลอดเลือดฝอยหดตัว ทำให้เลือดมาเลี้ยงบริเวณหลอดเลือดภายในโพรงจมูกได้น้อย จึงทำให้ลดปริมาณสารคัดหลั่งที่จะเพิ่มปริมาณของน้ำมูก ทำให้โพรงจมูกแห้ง และยังช่วยทำให้หลอดเลือดคลายตัวและหายใจได้สะดวกขึ้น
ซึ่งผลข้างเคียงของยานั้น ทำให้ใจสั่น นอนไม่หลับ วิงเวียน มึนงง คลื่นไส้ อาเจียน ตื่นเต้น กระสับกระส่าย หงุดหงิด ความดันเลือดและน้ำตาลในเลือดสูง
อ่านดูแล้วน่าจะดีใช่ไหมคะ แต่เชื่อหรือไม่คะว่า ยาซูโดเอฟิดีน ได้เคยกลายเป็นข่าวหน้าหนึ่งมาแล้วในหนังสือพิมพ์รายวันหลายฉบับ และโทรทัศน์หลายช่อง เนื่องจากมีการพบว่า ได้มีคนนำยาดังกล่าวไปเป็นสารตั้งต้นผลิตยาเสมติดที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทมาแล้ว
กระทรวงสาธารณสุขจึงได้จำกัดให้ยานี้มีใช้เฉพาะในสถานพยาบาลเท่านั้น และสถานพยาบาลนั้น ๆ จะต้องส่งรายงานการซื้อและจำนวนที่จ่ายยาให้กับคนไข้ให้กับกระทรวงสาธารณสุขทุกปี ส่งผลให้ร้านขายยาแผนปัจจุบันจะไม่มียาสูตรตำรับที่มีซูโดอีเฟดรีนวางจำหน่ายในร้าน
ยาซูโดเอฟิดีน อันตรายกับแม่ท้องอย่างไร?
จากการวิจัยนั้น พบว่ามีเสียงแตกออกเป็นสองฝ่าย บ้างก็สรุปว่าไม่มีผลเสียใด ๆ กับทารกในครรภ์ แต่บางวิจัยก็กล่าวว่า เนื่องจากกลุ่มยาดังกล่าวเป็นยาอันตราย ย่อมส่งผลเสียถึงทารกในครรภ์แน่นอน เพื่อความปลอดภัย จึงแนะนำให้หลีกเลี่ยงในกรณีที่ไม่จำเป็น โดยเฉพาะในไตรมาสแรก และแม่ท้องที่มีความดันโลหิตสูงก็ไม่ควรใช้ยานี้
แม่ท้องเป็นหวัด คัดจมูก ทานยาอะไรได้บ้าง?
การเป็นหวัด ไม่ได้มีผลกับทารกโดยตรง เนื่องจากเป็นการติดเชื้อที่ระบบหายใจส่วนบน จึงไม่ทำให้เกิดผลต่อความพิการต่อทารกในครรภ์ แต่ถ้าเป็นแล้วไม่ได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้อง อาจได้รับผลทางอ้อมจากการติดเชื้อ เช่น ถ้าไอมาก ๆ ในช่วงครรภ์อ่อน ๆ อาจทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการแท้งบุตรได้เป็นต้น
ดังน้น หากแม่ท้องมีอาการแค่คัดจมูก น้ำมูกใส ๆ มีไข้ตัวร้อนไม่มาก ไม่เจ็บคอมาก ไม่มีเสมหะเขียว ๆ เพียงพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำอุ่นเยอะ ๆ ก็สามารถหายได้แล้วละค่ะ แต่หากต้องการรักษาตามอาการ ก็สามารถทำได้เช่น
- เมื่อมีไข้ก็กินยาลดไข้ ในกลุ่ม พาราเซทตามอล (acetaminophen) หลีกเลี่ยงการใช้ยากลุ่ม แอสไพริน (Aspirin) หรือ บูเฟ่น (ibuprofen)
- เมื่อมีน้ำมูกหรือไอ ก็ใช้ยาลดน้ำมูกหรือยาแก้ไอได้ ยาลดน้ำมูกที่ใช้ส่วนใหญ่ในกลุ่มคลอร์เฟนนิรามีน หรือ ซีพีเอ็ม (CPM)
- ส่วนยาแก้ไอละลายเสมหะ หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่มีส่วนผสมของแอมโมเนีย หรืออัลกอฮอล์
ที่มา: MomJunction
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
เป็นโรคหัวใจแล้วท้อง เลือกคลอดแบบไหน ทารกในครรภ์ อันตรายหรือไม่ วิธีดูแลตัวเองหลังคลอด
ท่านั่งเร่งคลอด นั่งท่าไหนช่วย มดลูกเปิดเร็ว ลดอาการเจ็บคลอด