100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 85 ฟังเสียงหัวใจลูกกันเถอะ

พอท้องเริ่มโตขึ้น ใครก็อยากให้ได้เสียงของลูกกันทั้งนั้น มาดูกันดีกว่า เราจะสามารถได้ยินเสียงของลุกในครรภ์ได้อย่างไรบ้าง

100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 85 ฟังเสียงหัวใจลูกกันเถอะ เป็นกิจกรรมที่ทำร่วมกันได้ นั้นก็คือพ่อชวนคุณแม่ฟังเสียงหัวใจลูกกันเถอะ เพราะเป็นกิจกรรมที่เฝ้าดูการเติบโตของลูกน้อยได้ และ เราไปดูวิธีฟังเสียงหัวใจลูกกันเถอะค่ะ

 

เสียงหัวใจทารกในครรภ์

การเต้นของหัวใจทารกในครรภ์

app ฟังเสียงหัวใจทารกในครรภ์ เราจะได้ยินเสียงหัวใจของทารกในครรภ์อายุประมาณ 6 สัปดาห์ขึ้นไป ผ่านการอัลตราซาวด์ โดยหัวใจจะเต้นช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง และสามารถฟังเสียงหัวใจทารกในครรภ์ ผ่านเครื่องช่วยฟังได้ในอายุครรภ์ประมาณ สัปดาห์ที่ 10-12  ซึ่งหัวใจของทารกในครรภ์จะค่อย ๆ เริ่มขยายโครงสร้างจนเป็นหัวใจสมบูรณ์เมื่อครบกำหนดคลอด

เมื่อดูข้อมูลแล้วพบว่าอัตราการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์ที่เป็นปกติ จะเต้นอยู่ที่ประมาณ 120-160 ครั้งต่อนาที โดยหัวใจจะทำหน้าที่สำคัญต่อระบบการไหลเวียนโลหิตตลอดระยะเวลา 9 เดือน ที่สำคัญหัวใจของทารกในครรภ์จะมีอัตราการเจริญเติบโตที่เร็วมากกว่าผู้ใหญ่ด้วย

ซึ่งหากเกิดความผิดปกติอัตราการเต้นของหัวใจ สัญญาณที่สังเกตได้คือ พบว่าหัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ หรืออาจอยู่ในภาวะขาดออกซิเจน โดยอัตราการเต้นของหัวใจจะต่ำกว่า 120 ครั้งต่อนาที หรือเต้นมากกว่า 160 ครั้งต่อนาที ทั้งนี้เสียงการเต้นหัวใจลูกในครรภ์นั้น จะได้ยินเสียง ตุบ ตุบ เป็นจังหวะคู่ และมีระยะเว้นกันเพียงเล็กน้อย

 

ฟังเสียงหัวใจลูก ฟังเสียงหัวใจลูก แอพฟังเสียงหัวใจลูก app ฟังเสียงหัวใจทารกในครรภ์

 

การเต้นของหัวใจของลูกน้อย สามารถดูได้โดยวิธีไหนบ้าง ? 

  • การดิ้นของลูกในครรภ์ ซึ่งคุณแม่จะรู้สึกได้ช่วงอายุครรภ์ 16-20 สัปดาห์ขึ้นไป โดยการดิ้นของทารกมีผลร่วมกับภาวะการขาดออกซิเจนเรื้อรัง และอยู่ในภาวะอันตราย และเมื่ออายุครรภ์ 32 สัปดาห์ การดิ้นจะยิ่งสำคัญมาก ๆ และทารกในครรภ์จะดิ้นน้อยลงเรื่อย ๆ ประมาณ 12-48 ชั่วโมงก่อนเสียชีวิต หรือ หยุดดิ้น ถือเป็นอันตรายควรพบแพทย์ 
  • วัดความสูงของยอดมดลูก เมื่ออายุครรภ์มากขึ้น ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 18 ถึงสัปดาห์ที่ 34 
  • การตรวจโครโมโซมหรือดีเอ็นเอ เป็นการนำเซลล์ของทารกมาตรวจ
  • การอัลตร้าซาวด์ หรือ คลื่นเสียงความถี่สูง ปัจจุบันมีทั้ง 2 มิติ 3 มิติ และ 4 มิติ ซึ่งสามารถตรวจดูโครงสร้างอวัยวะได้ 
  • การตรวจอัตราการเต้นของหัวใจทารก ด้วยเครื่องมือแพทย์ เพราะอัตราเต้นของหัวใจมีผลต่ออัตราการเต้นของหัวใจทารก 

 

คุณแม่สามารถฟังเสียงหัวใจของลูกน้อยที่บ้านได้ 

หูฟังแพทย์ หูฟังแพทย์เป็นวิธีที่ง่ายที่สุด ในการฟังเสียงหัวใจของลูกน้อย ให้แนบหูฟังแพทย์บนท้องและฟังเสียง หากไม่ได้ยินอาจจะต้องเลื่อนหูฟังไปมาเล็กน้อยเพื่อค้นหาเสียงเต้นของหัวใจ 

  • ควรซืัอหูฟังจากแพทย์โดยตรงเนื่องจากจะได้มาตราฐาน 

ดาวน์โหลดแอป เทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ทำให้คุณแม่สามารถฟังเสียงเต้นของหัวใจของลูก ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็ตาม มีแอปต่าง ๆ ที่สามารถดาวน์โหลดได้ บางแอปก็สามารถบันทึกเสียงการเต้นของหัวใจได้ 

  • แอปจะส่งผลท้ายๆ ของการตั้งครรภ์ 

 

ปัจจัยต่อการได้ยิน 

แม้ว่าคุณแม่จะมีเครื่องช่วยทำให้คุณแม่สามารถจับการเต้นของหัวใจได้อย่างชัดเจน หากคุณแม่เริ่มรู้สึกกังวล ให้ติดต่อแพทย์ของคุณแม่ทันที 

พัฒนาการของลูกน้อย ต่อการเต้นของหัวใจ 

4 เดือน 

  • ในช่วง 4 เดือน สมองของทารกจะเริ่มรับรู้ ตาเริ่มมองเห็น ตาเริ่มมองเห็น ลิ้นเรื่องมีปุ่นสัมผัส และเริ่มได้ยินเสียงต่าง ๆ แล้ว 

5 เดือน

  •  ลูกจะเริ่มมีการตอบสนองต่อเสียงมากขึ้น ทั้งเสียงจากแม่ หรือเสียงแวดล้อมต่างๆ แม่ก็จะรู้สึกได้ว่าลูกเตะท้อง 

6-7  เดือน 

  • เด็กสามารถจดจำเสียงที่มาจากภายนอกได้แล้ว ไม่ว่าจะเป็น เสียงเพลงที่คุณแม่เปิดให้ฟัง หรือเสียงที่คุณพ่อคุยกับคุณแม่ 

8-9 เดือน 

  • มีพัฒนาในเรื่องของการได้ยินมากขึ้น ลูกในท้องมีความเข้าใจมากขึ้น หากพูดคุยกันหลายภาษา ลูกในครรภ์ก็จะคุ้นเคยด้วยเช่นกัน 

เสียงที่พ่อแม่คุยกับลูกน้อยในท้องนั้น เป็นเสียงที่ลูกน้อยได้ยินชัดเจนที่สุด และยังสัมผัสผ่านทางร่างกายของคุณแม่ นอกจากนี้คุณพ่อคุณแม่ยังสามารถเปิดเพลงเบาๆ หรืออาจจะเล่านิทานก็ได้ เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นการพัฒนาด้านภาษาให้ลูกน้อยตั้งแต่ในท้อง 

 

ฟังเสียงหัวใจลูก ฟังเสียงหัวใจลูก แอพฟังเสียงหัวใจลูก

 

ตำแหน่งในการฟังเสียงหัวใจของทารกในครรภ์

  • หากส่วนนำของทารกคือ ก้น เสียงหัวใจ จะได้ยินสูงกว่าระดับสะดือ
  • หากส่วนนำของทารกคือ ศีรษะ เสียงหัวใจ จะได้ยินที่ระดับต่ำกว่าสะดือ
  • หากท้ายทอย อยู่ทางด้านหน้าข้างขวา ของช่องเชิงกราน ตำแหน่งที่ฟังเสียงหัวใจได้ชัดเจนคือ ด้านขวาล่าง ของหน้าท้องคุณแม่
  • หากท้ายทอย อยู่ทางด้านหน้าข้างซ้าย ของช่องเชิงกราน ตำแหน่งที่ฟังเสียงหัวใจได้ชัดเจนคือ ด้านขวาซ้าย ของหน้าท้องคุณแม่

 

สาเหตุที่ฟังเสียงหัวใจลูกไม่ได้ยิน

คุณแม่บางคน อาจเป็นกังวลว่า ทำไมฉันไม่ได้ยินเสียงหัวใจของลูกในท้องเลย อันดับแรกก็คือ อุปกรณ์ที่ใช้ฟังเสียงลูกในท้องค่ะ ก่อนซื้อ คุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องถามจากเภสัชกรอีกครั้ง ว่าจะได้ยินเสียงลูกในท้องช่วงสัปดาห์ที่เท่าไหร่ เพราะอย่างที่แยกไว้ข้างต้น อุปกรณ์แต่ละชนิด จะทำให้ไม่ยินเสียงหัวใจลูกน้อย ในช่วงเวลาที่ต่างกัน

อีกสาเหตุหนึ่ง ก็อาจมาจาก การที่คุณแม่ใช้อุปกรณ์ ไม่ถูกตำแหน่ง ของทารกในครรภ์ เนื่องจากว่า การที่จะได้ยินเสียงของทารกหรือไม่ ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของลูกน้อยในมดลูก ถ้าหาตำแหน่งลูกไม่เจอ ก็ทำให้ไม่สามารถตรวจการเต้นหัวใจพบนั่นเอง สำหรับคุณแม่ที่มีอายุครรภ์มากแล้ว หรือมีอายุครรภ์ประมาณ 28 สัปดาห์ การนับการดิ้นของลูก จะสำคัญมากที่สุดค่ะ 

หากคุณแม่ไม่ได้ยินเสียงหัวใจลูก พร้อม ๆ กับมีเลือดออก ลูกในท้องอาจจะผิดปกติได้ ซึ่งถ้าเป็นแบบนี้ แนะนำให้คุณแม่ไปตรวจเช็คกับคุณหมออีกที หากคุณหมอ บอกว่าไม่พบเช่นกัน ก็อาจต้องรอตรวจซ้ำ เพื่อความแน่ใจ หรือลองเปลี่ยนที่อัลตราซาวด์ดูค่ะ 

 

คุณแม่ดูแลตัวเองอย่างไร ให้ลูกน้อยแข็งแรง

โรคหัวใจในเด็ก นับเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของทารกและเด็กที่อายุน้อยกว่าหนึ่งปีในหลายๆ ประเทศ

โดยปัญหาเกี่ยวกับโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดมีมากถึงหนึ่งในสามของความบกพร่องทางอวัยวะส่วนอื่นๆ

เด็กทารกบางรายสามารถตรวจพบความผิดปกติของหัวใจได้ตั้งแต่ก่อนคลอดหรือตรวจพบทันทีหลังคลอด ในขณะที่เด็กบางคนพบความผิดปกติ แต่ไม่ส่งผลจนกว่าจะโตขึ้น หรือพบเมื่อมีอาการรุนแรงจนเกิดอันตรายยากเกินเยียวยาแล้ว

จากการศึกษาพบว่าส่วนใหญ่มักเกิดจากขณะตั้งครรภ์ แม่มีภาวะติดเชื้อไวรัส โดยเฉพาะหัดเยอรมัน รวมถึงการได้รับยาบางชนิดในช่วง 6-12 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์  ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดมากถึง 50 % ที่เหลืออีก 50% เป็นการรักษาด้วยยา และการรักษาตามอาการ แต่อย่างไรก็ดี โรคหัวใจในเด็กยังไม่สามารถบอกสาเหตุที่แน่ชัดได้

 

ดูแลหัวใจลูกตั้งแต่ในครรภ์ 

เป็นช่วงที่คุณแม่ควรให้ความใส่ใจดูแลเรื่องความสะอาด อาหาร รวมถึงควันบุหรี่ และการได้รับยาบางชนิดที่อาจส่งผลต่อความพิการของหัวใจได้

ทางการแพทย์จะเปลี่ยนการเรียกตัวอ่อนเป็นทารกเมื่อเข้าสู่การตั้งครรภ์ในสัปดาห์ที่ 10  โดยหัวใจของทารกเริ่มมีโครงสร้างที่สมบูรณ์  เวลานี้เองที่นอกจากการได้เห็นร่างกายของทารกครบทุกส่วนแล้ว ยังจะได้ยินเสียงหัวใจของทารกผ่านเครื่องมือฟังเสียงหัวใจทารกที่เรียกว่า (Doppler sound wave stethoscope)  โดยเสียงหัวใจทารกปกติมีความเร็วประมาณ 160 ครั้งต่อนาที แต่หากเทียบกับการเต้นของหัวใจผู้ใหญ่จะถือว่าเต้นเร็วมาก   และเมื่ออายุครรภ์เข้าสู่สัปดาห์ที่ 12  การเต้นของหัวใจของทารกจะค่อยๆ ลดลง จนถึงการตั้งครรภ์ช่วง 28 – 38 สัปดาห์  หัวใจทารกจึงพัฒนาจนเสร็จสมบูรณ์

 

ฟังเสียงหัวใจลูก ฟังเสียงหัวใจลูก แอพฟังเสียงหัวใจลูก

คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องให้ความสำคัญกับการดูแลตัวเองเพราะมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของหัวใจและสามารถลดความเสี่ยงต่อภาวะหัวใจพิการแต่กำเนิดได้ ดังนี้

  • วางแผนก่อนการตั้งครรภ์โดยการตรวจสุขภาพทั้งคุณพ่อและคุณแม่ หากพบปัญหาสุขภาพหรือมีโรคประจำตัว ควรปรึกษาแพทย์เรื่องการใช้ยาต่างๆ ที่อาจมีผลต่อการตั้งครรภ์ รวมถึงการรับประทานวิตามินบำรุงก่อนการตั้งครรภ์ เช่น กรดโฟลิกที่ส่วนใหญ่แพทย์จะแนะนำให้รับประทานล่วงหน้าก่อนตั้งครรภ์ประมาณ 2-3 เดือน
  • ฝากครรภ์ทันทีเมื่อตั้งครรภ์ควรปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด และพบแพทย์เพื่อติดตามอาการสม่ำเสมอ
  • ควบคุมน้ำหนักไม่ปล่อยให้น้ำหนักตัวเพิ่มเร็วและมากเกินไปเพราะอาจส่งผลให้ทารกเป็นเบาหวานได้
  • งดสูบบุหรี่ และดื่มแอลกอฮอล์รวมถึงหลีกเลี่ยงการได้รับควันบุหรี่ เพราะจะส่งผลต่อการเจริญเติบโตของอวัยวะต่างๆ ของทารก
  • ออกกำลังกายเป็นประจำโดยปรึกษาแพทย์หรืออยู่ในความดูแลของผู้เชี่ยวชาญ
  • ทำจิตใจให้แจ่มใสอย่าวิตกกังวลมากเกินไป
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ เพิ่มอาหารมีกากใย หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง และรสจัด ดื่มน้ำให้เพียงพอ

theAsianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพและสังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น theAsianparent Thailand ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งาน เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุดและผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว 

การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก theAsianparent Thailand เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง

เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”

 

บทความที่น่าสนใจ : 

100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 61 การเสริมพัฒนาการในครรภ์ เริ่มต้นที่ 27 สัปดาห์

ปัญหาคาใจ สำหรับคนท้อง แม่กำลังตั้งครรภ์ นวดได้หรือไม่ เป็นอันตรายหรือไม่?

แม่ท้อง นอนไม่หลับ ส่งผลกระทบต่อลูกน้อยในครรภ์อย่างไร

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!