นอนแอร์ นอนพัดลม ทารกนอนห้องแอร์ หรือเปิดพัดลมนอน นอนแบบไหนหลับสบาย ไม่ป่วยไข้

undefined

นอนแอร์หรือนอนพัดลม ทารกนอนแบบไหนกำลังสบาย ไม่ป่วย ไม่ไข้ ไม่งอแง

นอนแอร์ นอนพัดลม

ลูกน้อยในวัยทารกนอนแอร์หรือนอนพัดลม แบบไหนถึงจะดี นอนแอร์ นอนพัดลม​ ถ้าในห้องหนาวเกินไปทารกก็ป่วย​ ถ้าในห้องร้อนเกินไปก็นอนไม่ได้ อุณหภูมิที่เหมาะสมกับการนอน แบบไหนหลับสบาย ไม่ป่วยไข้

 

อุณหภูมิห้องที่เหมาะสมกับการนอนของทารกควรเป็นอย่างไร?

คุณพ่อ คุณแม่ที่เลี้ยงลูกน้อยวัยทารกแล้วจำเป็นต้องเปิดเครื่องปรับอากาศเป็นประจำเนื่องจากบริเวณที่อยู่อาศัยมีสิ่งแวดล้อมอันไม่สามารถที่จะเปิดหน้าต่างได้บ่อย ๆ เช่น

  • อยู่ริมถนน
  • อยู่ใกล้โรงงานบริเวณที่มีฝุ่นเยอะ
  • หรืออยู่ในสภาพแวดล้อมที่อากาศร้อนมาก ๆ

พ่อแม่อาจมีความกังวลว่า ควรจะตั้งอุณหภูมิห้องจากเครื่องปรับอากาศไว้ที่เท่าไรจึงจะเหมาะสมกับการนอนของทารกอย่างปลอดภัย เรามาดูข้อมูลและคำแนะนำกันดีกว่านะคะ

 

อุณหภูมิห้องที่เหมาะสมกับทารกคือประมาณเท่าใด?

จากข้อมูลการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันพบว่า หากทารกอยู่ในบริเวณที่มีอุณหภูมิสูงจนเกินไปจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะ SIDS (Sudden Infant Death Syndrome) แต่ก็ไม่ได้มีตัวเลขที่ชัดเจนว่าอุณหภูมิห้องเท่าใดที่เหมาะสมต่อการนอนของทารก

 

วิธีสังเกตลูกนอนหลับสบาย

หลักการที่ถูกต้องคือ ควรให้ทารกอยู่ในอุณหภูมิห้องที่อากาศกำลังสบาย ไม่ร้อนจนเกินไป อันจะทำให้นอนหลับไม่สนิทและเกิดผดร้อนได้ ในขณะเดียวกันก็ไม่ควรหนาวจนเกินไปเพราะอาจทำให้ทารกไม่สบายได้ง่าย ซึ่งอุณหภูมิที่พอเหมาะกับสภาพอากาศของประเทศไทยแบบสบาย ๆ ไม่หนาวและไม่ร้อนจนเกินไปคือประมาณ 25 องศาเซลเซียส ดังที่มีคำแนะนำให้ปรับอุณหภูมิของเครื่องปรับอากาศอยู่ที่ระดับนี้ ทั้งนี้หากคุณพ่อคุณแม่กังวลว่าลูกจะหนาวจนเกินไป อาจตั้งไว้ที่อุณหภูมิ 26-27 องศาเซลเซียสก็ได้ค่ะ

 

นอนแอร์ นอนพัดลม ทารกนอนห้องแอร์ หรือเปิดพัดลมนอน นอนแบบไหนหลับสบาย ไม่ป่วยไข้ ลูกนอนแอร์​ ลูกนอนพัดลม​ อุณหภูมิที่เหมาะสมกับการนอนของทารก ไม่ร้อนหรือหนาว

ทารกนอนแอร์ นอนพัดลม อุณหภูมิที่เหมาะสมกับการนอนของทารก

วิธีสังเกตทารกนอนสบาย

ทราบได้อย่างไรว่า ทารกอยู่ในที่อุณหภูมิเหมาะสมแล้ว?

  1. วิธีสังเกตอุณหภูมิที่เหมาะสมอย่างง่ายที่สุดก็คือ ผู้ใหญ่ เช่น คุณพ่อคุณแม่ก็รู้สึกว่าไม่ได้ร้อนหรือเย็นจนเกินไป ซึ่งทารกก็อาจรู้สึกเช่นเดียวกัน
  2. หากไม่แน่ใจว่าทารกตัวร้อนหรือเย็นเกินไปหรือไม่ ก็สามารถใช้ปรอทวัดไข้มาวัดอุณหภูมิของทารกได้
  3. หรืออาจใช้วิธีที่ง่ายที่สุดคือสัมผัสบริเวณท้องและหลังของทารกว่าร้อนหรือเย็นเกินไปหรือไม่ มีเหงื่อออกเยอะมากกว่าปกติหรือเปล่า หากพบว่าทารกตัวอุ่นดีก็ไม่ต้องกังวลค่ะ

 

ข้อควรระวังคือควรเฝ้าสังเกตว่าทารกร้อนเกินไปหรือไม่

  • โดยดูจากการที่มีเหงื่อออกเยอะ
  • แก้มแดงผิดปกติ
  • มีผดร้อนเกิดขึ้นบริเวณหน้าอก หลัง และคอ
  • นอนหลับไม่สบายดูกระสับกระส่าย

หากมีลักษณะนี้ก็ควรจะลดการห่อตัวทารก ไม่ห่มผ้าหนา หรือห่มหลายชั้นจนเกินไป เพราะหากทารกร้อนมากก็จะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดภาวะ SIDS ได้ และไม่ควรใส่เสื้อผ้าที่คลุมหัวหรือหน้าขณะหลับเนื่องจากกลัวทารกหนาว เพราะอาจทำให้เกิดภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจอันเป็นอันตรายต่อทารกได้นะคะ

 

ควรใส่เสื้อผ้าลักษณะใดให้ทารกนอน จำเป็นต้องใส่เสื้อให้หนาหรือไม่?

เสื้อผ้าที่เหมาะกับการใส่นอนของทารกควรจัดเตรียมให้เหมาะสมกับสภาพอากาศ ณ ขณะนั้น เช่น หากนอนในห้องที่มีเครื่องปรับอากาศอุณหภูมิ 25-27 องศาเซลเซียส ก็อาจแต่งตัวให้อบอุ่นพอสมควร ไม่จำเป็นต้องหนามาก หากอยู่ในห้องที่สภาพอากาศร้อนชื้น อันเป็นปกติของประเทศไทยโดยไม่ได้เปิดเครื่องปรับอากาศ ก็อาจใส่เสื้อผ้าที่โปร่งสบาย ห่มผ้าบาง ๆ วิธีการง่ายที่สุดคือ เลือกเสื้อผ้าให้กับทารกลักษณะหนาหรือบางคล้ายกับที่ผู้ใหญ่ใส่แล้วรู้สึกสบาย เพื่อให้อบอุ่นพอดี ไม่ร้อนหรือหนาวจนเกินไป นั่นเองค่ะ

ทั้งนี้ ไม่ว่าทารกจะอยู่ในห้องที่มีเครื่องปรับอากาศหรือไม่ ก็ควรจะใส่เสื้อผ้าที่เหมาะสมกับสภาพอากาศตามฤดูกาล เช่น ฤดูร้อนก็ใส่เสื้อผ้าที่บาง ระบายอากาศได้ดี ในฤดูหนาวก็ใส่เสื้อผ้าที่หนาหน่อยเพื่อให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย หากเลี้ยงทารกในห้องที่ใช้เครื่องปรับอากาศเป็นหลักก็ไม่ควรปิดหน้าต่างแล้วเปิดเครื่องปรับอากาศตลอดเวลา แต่ควรจะหาโอกาสที่เหมาะสม เปิดห้องให้มีการไหลเวียน ถ่ายเทของอากาศ และมีแสงแดดส่องบ้างนะคะ

 

การนอนแอร์ นอนพัดลม ของทารก ต้องอยู่ในอุณหภูมิที่เหมาะสม เพื่อให้ลูกน้อยนอนสบาย ไม่เจ็บไข้ได้ป่วยง่าย ๆ อุณหภูมิห้องที่เหมาะสมกับการนอนของทารกจึงเป็นเรื่องสำคัญที่พ่อแม่ต้องใส่ใจนะคะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ขั้นตอนการอาบน้ำทารก ที่คุณแม่ทำเองได้ไม่ยาก อาบน้ำลูก การอาบน้ําทารกวันละกี่ครั้ง อาบน้ําทารกตอนไหนดี

กรมกิจการเด็กฯ เร่งแก้ด่วน เงินอุดหนุนเด็กแรกเกิดไม่เข้า กว่า 5 หมื่นราย

4 เรื่องจริงของลูกเดือนแรกที่แม่ต้องเจอ แม่มือใหม่ต้องเตรียมอะไรบ้าง พร้อมวิธีดูแลลูกแรกเกิด

วิธีทำความสะอาดสะดือลูกน้อย สำหรับคุณแม่มือใหม่

 

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!