ท้องอ่อนๆ ต้องอัลตร้าซาวด์ด้วยเหรอ
ท้องอ่อนๆ ต้องอัลตร้าซาวด์ด้วยเหรอ อัลตราซาวด์ บอกอะไรได้บ้าง อัลตราซาวด์แต่ละมิติ แตกต่างกันอย่างไร อัลตราซาวด์บ่อย อันตรายไหม?
ท้องอ่อนๆ ต้องอัลตร้าซาวด์ด้วยเหรอ
ท้องอ่อนๆ ต้องอัลตร้าซาวด์ด้วยเหรอ อัลตราซาวด์ บอกอะไรได้บ้าง
ตั้งแต่ช่วง 3 เดือนแรกเป็นต้นไปของการตั้งครรภ์ การตรวจอัลตราซาวน์จะช่วยวินิจฉัยชนิดครรภ์แฝด และประเมินอายุครรภ์ได้อย่างแม่นยำ อีกทั้งยังสามารถวินิจฉัยความผิดปกติบางอย่างที่อาจเกิดขึ้นกับแม่ท้อง เช่น ภาวะไม่มีกะโหลกศีรษะได้ด้วย
ในช่วงระหว่างเดือนที่ 5 – 6 ของการตั้งครรภ์ การทำอัลตราซาวด์สามารถตรวจหาความผิดปกติ ของโครงสร้างร่างกายทารกในครรภ์ได้ โดยเฉพาะโครงสร้างหลัก ได้แก่ กะโหลกศีรษะ สมอง โครงกระดูก ทรวงอก แขน ขา ปอด หัวใจ อวัยวะหลักภายในช่องท้อง และอวัยวะส่วนอื่นๆ เช่น ภาวะปากแหว่ง หรือตรวจว่าทารกในครรภ์มีจำนวนนิ้วมือ นิ้วเท้า ครบหรือไม่ เป็นต้น
อัลตราซาวด์แต่ละมิติ แตกต่างกันอย่างไร
อัลตราซาวด์แบบ 2 มิติ
อัลตราซาวด์แบบ 2 มิติ คือการประมวลผลแล้วแสดงออกมาเป็นภาพ 2 มิติ ซึ่งจะมีความกว้าง และความยาว เป็นภาพแบบแบนๆ และมักจะเห็นเป็นสีขาวดำ และโดยทั่วไปแล้ว แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางจะสามารถตรวจวินิจฉัยความพิการแต่กำเนิดได้เกือบทุกชนิดจากการทำอัลตราซาวด์แบบ 2 มิติ
อัลตราซาวด์แบบ 3 มิติ
อัลตราซาวด์ 3 มิติ จะแสดงผลเป็นภาพที่มีความกว้าง ความยาว และจะมีความนูนลึกของภาพเสมือนจริง ซึ่งจะมีประโยชน์ในการวินิจฉัยอาการผิดปกติของทารกในครรภ์ได้ดีขึ้น นอกจากนี้ อัลตราซาวด์แบบ 3 มิติ ยังช่วยให้คุณพ่อคุณแม่เห็นหน้าลูกในครรภ์ได้ชัดเจนขึ้นอีกด้วยครับ
อัลตราซาวด์แบบ 4 มิติ
อัลตราซาวด์ 4 มิติ เป็นการเก็บภาพแล้วมาเรียงต่อกันเป็นภาพเคลื่อนไหวที่เสมือนจริงโดยใช้คลื่นเสียง โดยภาพที่ได้นั้นจะเหมือนกับเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นในขณะนั้น หรือที่เรียกว่า Real time
เครื่องอัลตราซาวด์4มิตินั้น จะเก็บสะสมปริมาตรของเสียงที่สะท้อนที่ออกมาหากหัวตรวจ และแสดงภาพออกมาเป็นภาพที่มีความเหมือนจริงมากยิ่งขึ้น
ด้วยเทคโนโลยีอัลตราซาวด์4มิติ นี้จะช่วยให้คุณพ่อคุณแม่ได้เห็นพฤติกรรมต่างๆของลูกในครรภ์ไม่ว่าจะเป็นการหาว หรือรอยยิ้ม ได้อย่างชัดเจน
อัลตราซาวด์บ่อย อันตรายไหม
รศ.พญ. สายฝน ชวาลไพบูลย์ ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ว่า “อัลตร้าซาวด์ ที่ใช้ตรวจคุณแม่ตั้งครรภ์ จะมีความเข้มข้นของเสียงผ่านเข้าไปในเนื้อเยื่อของร่างกายในปริมาณที่น้อยมาก ในต่างประเทศมีการศึกษาของสถาบันทางการแพทย์ที่เชี่ยวชาญด้านอัลตร้าซาวด์แห่งสหรัฐอเมริกา (American Institute of Ultrasound in Medicine) และราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งอังกฤษ (Royal College of Obstetricians and Gynaecologists) พบว่า ลูกในท้องที่คุณแม่ได้รับการตรวจด้วยเครื่องอัลตร้าซาวด์ ไม่ได้มีความพิการหรือการเจริญเติบโตช้ากว่าลูกในท้องของคุณแม่ที่ไม่ได้รับการตรวจแต่อย่างใด เมื่อทำการตรวจติดตามเด็กที่คลอดไปนานแล้ว ก็ไม่พบว่ามีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตทั้งร่างกาย จิตใจ และสมอง”
อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปแล้ว ในระหว่างตั้งครรภ์ คุณหมอก็มักจะแนะนำให้อัลตราซาวด์เพียง 2 – 3 ครั้งเท่านั้น หรืออย่างน้อยที่สุด 1 ครั้ง และควรทำในขณะที่มีอายุครรภ์ได้ประมาณ 18 – 22 สัปดาห์ เพื่อตรวจดูว่าอายุครรภ์ถูกต้องหรือไม่ ตั้งครรภ์แฝดหรือเปล่า และมีความผิดปกติอื่นๆหรือไม่อย่างไร เพราะจะได้นำข้อมูลมาใช้ในการวางแผนเพื่อครรภ์คุณภาพต่อไปครับ
ที่มา si.mahidol.ac.th
บทความอื่นๆที่น่าสนใจ
ไม่อยากให้ลูกในท้องพิการ ต้องอ่านนะ ลูกพิการแต่กำเนิด สาเหตุเพราะอะไร?