คุณแม่แฝด 3 เล่าประสบการณ์ ท้องลูกแฝด เลี้ยงลูกแฝด โกลาหลน่าดู

undefined

ตั้งครรภ์แฝด 3 ความเสี่ยงเพียบ ไหนจะภาวะแทรกซ้อน และเรื่องต้องระวังระหว่างตั้งครรภ์แฝด คุณแม่แฝดสามขอเล่า วิธีดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์แฝด ความวุ่นวายปนความน่ารักและเปี่ยมสุขของลูก ๆ ทั้ง 3

คุณแม่แฝด 3 เล่าประสบการณ์ ท้องลูกแฝด

ท้องลูกคนเดียวก็ว่าหนักแล้ว ทั้งการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ จวบจนวันคลอด แต่นี่ท้องลูกแฝดสาม จะวุ่นจะโกลาหลแค่ไหน มาอ่าน คุณแม่แฝด 3 เล่าประสบการณ์ ท้องลูกแฝด กันค่ะ

 

ท้องลูกแฝดสาม ต้องดูแลตัวเองแค่ไหน

สมาชิกเฟซบุ๊ก Karaked Sanyos เล่าประสบการณ์ การตั้งครรภ์แฝด 3 ความเสี่ยง ภาวะแทรกซ้อน และเรื่องต้องระวังระหว่างตั้งครรภ์แฝดไว้ว่า การดูแลการตั้งครรภ์แฝดสามมีความเสี่ยงสูงมากค่ะ ซึ่งแพทย์จะอธิบายความเสี่ยง ไม่ว่าจะเป็น

หมอจะอธิบายตั้งแต่เริ่มฝากท้องว่ามีความเสี่ยงหลายอย่าง ให้เตรียมใจตั้งแต่แรกที่รู้ว่าท้อง โดยเฉพาะแฝดที่มีมากกว่า 2 คน

 

คุณแม่แฝด 3 เล่าประสบการณ์ ท้องลูกแฝด เลี้ยงลูกแฝด โกลาหลน่าดู ตั้งครรภ์แฝด 3 ความเสี่ยงเพียบ

ครรภ์แฝดสามยิ่งต้องทำตามที่หมอสั่ง

ความโชคดีของคุณแม่แฝดสามคือ แฝด 3 แข็งแรงดี แม่บ้านนี้ไม่เป็นอะไรเลยระหว่างตั้งครรภ์ แต่ส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะว่า ทำตามวิธีการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ ตามคำแนะนำของแพทย์ อาทิ

  1. ตรวจติดตามที่แพทย์นัด มาทุกครั้งเพื่อให้แพทย์ดูแลอย่างใกล้ชิด
  2. ทานยาทุกอย่างตามที่หมอสั่ง ห้ามขาด
  3. ท้องแฝด 4 เดือน เริ่มงดการเดินทาง เพราะครรภ์แฝดหลัง 4 เดือนขึ้นไป ต้องเฝ้าระวังการคลอดก่อนกำหนด
  4. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เนื้อ นม ไข่ ผลไม้ วิตามินหรือยาตามหมอสั่ง
  5. พยายามอย่าเดินเยอะเกินไป ต้องสังเกตตัวเองด้วย แต่ก็ไม่ใช่นอนทั้งวัน
  6. แม่บ้านนี้ทำงานตามปกติ เมื่อท้องโตมาก ๆ ร่างกายจะสั่งให้เราหยุดงานหนักไปเอง

 

น้ำหนักตัวแรกคลอดแฝดสาม

การตั้งครรภ์แฝดสาม บ้านนี้ใช้วิธีผ่าคลอด โดยเด็กแฝดสาม ต้องคลอดก่อนกำหนด ผ่าคลอดเมื่ออายุครรภ์ได้ 34 สัปดาห์ 2 วัน เพื่อป้องกันความเสี่ยงมดลูกแตก หรือความเสี่ยง ทารกในครรภ์ขาดอ็อกซิเจน นอกจากนี้ ทารกแฝดทั้ง 3 คนก็ตัวโต จึงจำเป็นต้องผ่าคลอด สำหรับน้ำหนักแรกคลอดของแฝดสาม คนแรกเป็นทารกเพศหญิง น้ำหนักตัว 1995 กรัม คนที่ 2 เป็นทารกเพศชาย น้ำหนักตัว 2235 กรัม และคนสุดท้องเป็นทารกเพศชาย น้ำหนักตัว 2035 กรัม

 

แฝดสาม ชาย 2 หญิง 1

ส่วนชื่อเพราะ ๆ ของแฝดสาม คือ น้องภูผา น้องแผ่นดิน น้องธารา โดยเด็กแฝดสามคลอดออกมา จะมีภาวะแทรกซ้อนนิดหน่อย

“น้องต้องอยู่ในตู้อบ ปอดยังไม่สมบูรณ์เหมือนเด็กที่คลอดตามกำหนด และยังหายใจเองไม่ได้ น้องต้องอยู่โรงพยาบาลกันคนละอาทิตย์ สองอาทิตย์ค่ะ เพื่อให้แพทย์ประเมินและติดตามอาการ เรื่องปอดและการดูดนม รวม ๆ แล้วเด็ก ๆ แข็งแรงดีค่ะ เด็ก ๆ ค่อย ๆ ทยอยออกจากโรงพยาบาลมาทีละคน ๆ ค่ะ”

 

คุณแม่แฝด 3 เล่าประสบการณ์ ท้องลูกแฝด เลี้ยงลูกแฝด โกลาหลน่าดู ตั้งครรภ์แฝด 3 ความเสี่ยงเพียบ

แม่เหนื่อยแต่ก็เปี่ยมไปด้วยความสุข

คุณแม่ Karaked Sanyos เล่าถึงการเลี้ยงลูกแฝดสามด้วยว่า การเลี้ยงเด็กคนเดียวยังว่าเหนื่อย บ้านนี้ 3 คน สุด ๆ ไปเลยค่ะ แต่ความเหนื่อยก็แลกมาซึ่งความสุขสุด ๆ เช่นกัน

“ตอนเห็นเด็ก ๆ ครั้งแรกแม่นี่น้ำตาไหลเลยค่ะ อยู่ในท้องกันมาได้ไงตั้ง 3 คนเนอะ ส่วนการเลี้ยงน้องเดือนแรก ยังพอชิลล์อยู่ค่ะ ตอนนี้น้อง ๆ 3 เดือนแล้ว เริ่มรู้มาก อยากให้อุ้ม ร้องกระจองงอแงมากค่ะ”

ที่มา : หนูน้อยปีระกา 2560

 

แค่นี้ก็รับรู้ได้ถึงความวุ่นวายและโกลาหล แต่ก็รับรู้ได้เช่นกันว่า บ้านนี้มีความสุขมาก ๆ เมื่อได้แฝดสาม น้องภูผา น้องแผ่นดิน น้องธารา มาช่วยเติมเต็มชีวิตครอบครัว

 

อยากตั้งครรภ์แฝด อ่านความเสี่ยง หน้าถัดไป

ตั้งครรภ์แฝด

เห็นบรรดาคู่รักดารา นักแสดง มีลูกแฝดกันแล้ว ก็อยากมีบ้างใช่ไหมคะ การตั้งครรภ์แฝดนั้นไม่ใช่จะเสกกันได้ง่าย ๆ แถมยังพ่วงไปด้วยความเสี่ยง ภาวะแทรกซ้อนอีกเพียบ

ผศ.นพ.เมธาพันธ์ กิจพรธีรานันท์ สูติแพทย์ภูธร อธิบายถึงการตั้งครรภ์แฝดไว้ว่า ส่วนน้อยประมาณร้อยละ 5-10 ของสตรีตั้งครรภ์ที่จะมีโอกาส ตั้งครรภ์แฝด โดยเฉพาะกลุ่มสตรีที่มีบุตรยาก ซึ่งรักษาด้วยการกระตุ้นไข่ทำเด็กหลอดแก้วหรือฉีดน้ำเชื้อผสมเทียม จะมีโอกาสตั้งครรภ์แฝดสูงขึ้นชัดเจนกว่าคนทั่วไป

 

ฝาแฝดยิ่งมากคน น้ำหนักฝาแฝดแต่ละคนยิ่งน้อย

  • แฝดสอง ทารกแต่ละคนอาจมีน้ำหนักเฉลี่ยอยู่ที่ 2000-2500 กรัม
  • แฝดสาม แฝดสี่ หรือ แฝดห้า ยิ่งมีน้ำหนักตัวที่น้อย (น้ำหนักทารก 1500, 1000-1200, 600-1000 กรัม ตามลำดับ)

 

การตั้งครรภ์แฝดมีโอกาสที่ปอดทำงานผิดปกติสูงขึ้นซึ่งเป็นเหตุให้มีโอกาสเกิดทุพพลภาพหรือเสียชีวิตได้

  • ครรภ์แฝดมีความเสี่ยงของเบาหวานในขณะตั้งครรภ์
  • ครรภ์แฝดมักจะพบเรื่องรกเกาะต่ำเพิ่มขึ้น อาจมีอาการเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอดได้
  • ครรภ์แฝดจะพบครรภ์เป็นพิษได้มากกว่าทั่วไป จึงต้องสังเกตเรื่องความดันโลหิตว่าสูงหรือไม่ ขาบวมมากขึ้นเยอะหรือไม่ ปวดศีรษะ จุกแน่นลิ้นปี่ ชายโครงบ่อยๆ หรือไม่

 

อ่านเพิ่มเติม อยากมีลูกแฝดแบบแม่ชม แม่โอป หมอบอกเลยว่า ตั้งครรภ์แฝด ไม่ง่าย อันตรายกว่าที่คิด!

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

เผยโฉมแล้วฝาแฝดที่คนรอดูทั้งประเทศ น้องธันเดอร์ น้องสตรอม ลูกชมพู่คลอดแล้ว

เรื่องราวปาฏิหาริย์ของชีวิตฝาแฝดตัวติด

ท้องลูกคนที่สอง ใครว่าชิล ถึงมีประสบการณ์ท้องแรกก็ต้องเตรียมตัวอยู่ดี

 

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!