คลิปหมอหมุนเปลี่ยนท่าทารก เปลี่ยนจากทารกท่าก้นให้เป็นทารกท่าหัว

undefined

เห็นกันจะจะ หมอหมุนเปลี่ยนท่าทารกในท้องแม่ เตรียมพร้อมแม่ท้องไตรมาสสุดท้าย โค้งสุดท้ายก่อนคลอด

คลิปหมอหมุนเปลี่ยนท่าทารก

คลิปหมอหมุนเปลี่ยนท่าทารก เห็นจังหวะการหมุนหัวลูก ให้ทารกท่าก้นเปลี่ยนเป็นทารกท่าหัว ท่าพร้อมคลอด ให้แม่คลอดง๊ายง่าย

 

www.facebook.com/PregnancyVideo/videos/977634969044248/

 

คลิปหมอหมุนเปลี่ยนท่าทารก ให้คุณแม่ตั้งครรภ์ 38 สัปดาห์

 

อ่านวิธีทำให้ทารกกลับหัว หน้าถัดไป

วิธีทำให้ทารกกลับหัว

นพ.อดิศร อักษรภูษิตพงศ์ สูตินรีแพทย์ เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ ประจำโรงพยาบาลพญาไท 3 อธิบายถึงวิธีทำให้ทารกกลับหัว ว่า การหมุนเปลี่ยนท่าทารกนี้ทำโดยการใช้มือดันทารกในครรภ์ผ่านหน้าท้องของคุณแม่ตั้งครรภ์เพื่อให้ทารกหมุนจากท่าก้นมาเป็นทารกท่าศีรษะ โดยจะมีการตรวจเสียงหัวใจทารกและสุขภาพทารกด้วยวิธี non-stress test (NST) ทั้งก่อนและหลังการหมุนเปลี่ยนท่าทารก และอาจมีการให้ยาคลายการหดตัวของกล้ามเนื้อมดลูกเพื่อช่วยให้มีความสำเร็จในการหมุนเปลี่ยนท่าทารกมากขึ้น

 

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดจากการหมุนเปลี่ยนท่าทารก

ในกรณีที่เกิดความผิดปกติหรือภาวะแทรกซ้อนต่อทั้งมารดาและทารกระหว่างการหมุนเปลี่ยนท่าทารก จะหยุดการหมุนเปลี่ยนท่าทารกทันที และมีโอกาสที่ต้องคลอดฉุกเฉินโดยการผ่าท้องทำคลอดทันทีจากภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น โดยภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดจากการหมุนเปลี่ยนท่าทารก ได้แก่

  • การเกิดถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด
  • หัวใจทารกเต้นผิดปกติ
  • ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด
  • การคลอดก่อนกำหนด

 

ทารกท่าหัว ทารกท่าก้น

ส่วนใหญ่ของการตั้งครรภ์เมื่อใกล้ครบกำหนดคลอด ทารกในครรภ์จะหมุนตัวเพื่อหันศีรษะมาทางด้านช่องคลอดของมารดาเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการคลอดตามธรรมชาติ ซึ่งเราจะเรียกท่าของทารกในครรภ์ว่าทารกท่าศีรษะ (vertex or cephalic presentation) แต่ถ้าทารกหันก้นออกมาทางช่องคลอด หรือทารกท่าก้น (breech presentation)

ในกรณีที่ตรวจพบว่าทารกยังคงเป็นท่าก้นที่อายุครรภ์ 36 สัปดาห์ สูติแพทย์อาจทำการหมุนเปลี่ยนทารกจากท่าก้นให้เป็นท่าศีรษะจากภายนอก (external cephalic version) ซึ่งสามารถทำได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 37 สัปดาห์เป็นต้นไป

 

สาเหตุที่ลูกไม่กลับหัว

มีปัจจัยหลายอย่างที่เกี่ยวข้องกับการเกิดทารกท่าก้น เช่น การตั้งครรภ์แฝด ปริมาณน้ำคร่ำที่มากหรือน้อยเกินไป การมีเนื้องอกมดลูกหรือมดลูกที่รูปร่างผิดปกติ ภาวะรกเกาะต่ำ และการคลอดก่อนกำหนด ซึ่งสูติแพทย์สามารถตรวจครรภ์เพื่อบอกท่าของทารกในครรภ์ได้โดยการตรวจทางหน้าท้องเพื่อคลำท่าของทารก และอาจยืนยันท่าของทารกด้วยการตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง

 

ที่มา : https://www.facebook.com/PregnancyVideo

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

สาเหตุที่ทำให้คลอดยาก เป็นเพราะ 7 สาเหตุนี้

คลิปแม่คลอดลูก ซึ้งกินใจ กว่าที่ลูกจะออกมา แม่เสียเลือดเสียน้ำตาไปกี่หยด

ของเตรียมคลอด และเช็คลิสต์ของที่ต้องเตรียมให้ครบก่อนไปคลอด

 

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!