ครรภ์เสี่ยง ภาวะเสี่ยงของหญิงตั้งครรภ์มีอะไรบ้าง ความเสี่ยงขณะตั้งครรภ์
ท้องนี้แม่เสี่ยงแค่ไหน? ครรภ์เสี่ยง ภาวะเสี่ยงของหญิงตั้งครรภ์มีอะไรบ้าง ลูกในท้องจะปลอดภัยไหม สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะครรภ์เสี่ยง แม่ท้องกลัวทารกในครรภ์ไม่แข็งแรง จะต้องทำอย่างไรดี วันนี้ theAsianparent จะพาคุณแม่มาหาคำตอบไปพร้อม ๆ กันค่ะ
ครรภ์เสี่ยง คืออะไร
ภาวะครรภ์เสี่ยง คือ การตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยง ความเสี่ยงนี้จะส่งผลกระทบต่อแม่และทารกในครรภ์ อาจทำให้เกิดอันตรายได้ ทารกอาจเสียชีวิตได้ทั้งในขณะตั้งครรภ์ ตอนคลอด หรือหลังคลอดนั่นเองค่ะ ดังนั้นคุณแม่ควรดูแลตัวเองเป็นพิเศษตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ และระหว่างการตั้งครรภ์ค่ะ
สาเหตุที่อาจทำให้เกิดภาวะ ครรภ์เสี่ยง
- ภาวะครรภ์เสี่ยงเนื่องจากแม่ท้องมีอายุน้อยกว่า 16 ปี
- ภาวะครรภ์เสี่ยงเนื่องจากแม่ท้องมีอายุมากกว่า 40 ปี
- ภาวะครรภ์เสี่ยงเนื่องจากมีเลือดออกทางช่องคลอดระหว่างตั้งครรภ์
- ภาวะครรภ์เสี่ยงเนื่องจากมีหมู่เลือด Rh เป็นลบ
- ภาวะครรภ์เสี่ยงเนื่องจากมีก้อนในอุ้งเชิงกรานระหว่างตั้งครรภ์
- ภาวะครรภ์เสี่ยงเนื่องจากมีความดันโลหิตสูง ความดันมากกว่าหรือเท่ากับ 140/90 มม.ปรอท
- ภาวะครรภ์เสี่ยงเนื่องจากเป็นเบาหวานชนิดต้องพึ่งพาอินซูลิน แม่ท้องเป็นโรคไต แม่ท้องเป็นโรคหัวใจ
- ภาวะครรภ์เสี่ยงเนื่องจากติดยาเสพติดหรือสุรา
- ภาวะครรภ์เสี่ยงเนื่องจากเป็นโรคทางอายุรกรรม เช่น โลหิตจาง ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ ภาวะภูมิคุ้มกันไวเกิน (SLE) โรคธาลัสซีเมีย โรคลมชัก และวัณโรค
- ภาวะครรภ์เสี่ยงเนื่องจากเป็นโรคติดเชื้อ HIV (โรคเอดส์) กามโรค หรือพาหะตับอักเสบบี
- ภาวะครรภ์เสี่ยงเนื่องจากเป็นการตั้งครรภ์แฝด
- ภาวะครรภ์เสี่ยงเนื่องจากทารกในครรภ์อยู่ในท่าที่ผิดปกติ เช่น ท่าก้น หรือท่าขวาง (ตั้งแต่ 34 สัปดาห์เป็นต้นไป)
ภาวะครรภ์เสี่ยงเนื่องจากมีประวัติบางอย่าง
- หญิงตั้งครรภ์เสี่ยงเพราะเคยแท้งบุตรมาแล้วไม่ต่ำกว่า 2 ครั้ง
- หญิงตั้งครรภ์เสี่ยงเพราะเคยคลอดลูก แล้วลูกเสียชีวิตในครรภ์ระหว่างคลอดและหลังคลอด
- หญิงตั้งครรภ์เสี่ยงเพราะเคยคลอดบุตรน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม
- หญิงตั้งครรภ์เสี่ยงเพราะเคยคลอดบุตรน้ำหนักมากกว่า 4,000 กรัม
- หญิงตั้งครรภ์เสี่ยงเพราะมีประวัติทารกคลอดก่อนกำหนด คลอดก่อนอายุครรภ์ 37 สัปดาห์
- หญิงตั้งครรภ์เสี่ยงเพราะมีประวัติทารกคลอดหลังกำหนด คลอดอายุครรภ์เกิน 42 สัปดาห์เต็มขึ้นไป
- หญิงตั้งครรภ์เสี่ยงเพราะมีประวัติทารกโตช้าในครรภ์
- หญิงตั้งครรภ์เสี่ยงเพราะมีประวัติทารกพิการทางด้านสมอง
- หญิงตั้งครรภ์เสี่ยงเพราะเคย ครรภ์เป็นพิษ ในการตั้งครรภ์
- หญิงตั้งครรภ์เสี่ยงเพราะเคยได้รับการผ่าตัดที่ตัวมดลูกหรืออวัยวะสืบพันธุ์
บทความที่เกี่ยวข้อง : 7 อาการคนท้อง ตั้งครรภ์ไตรมาสสอง ต้องระวัง อาการแบบไหนเสี่ยงครรภ์เป็นพิษ
การดูแลสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์
- แม่ตั้งครรภ์ควรดูแลสุขภาพให้ดี ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน เพื่อให้ทารกในครรภ์เติบโตอย่างแข็งแรง ลูกในท้องไม่ตัวเล็กเกินไป หรือใหญ่เกินพอดี
- รับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ หลีกเลี่ยงการทานขนม น้ำหวาน น้ำอัดลม มากเกินไป
- อย่าลืมทานกรดโฟลิก ยา หรือวิตามิน ตามที่แพทย์สั่ง
- งดสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ หรือใช้สารเสพติด
- อย่าหักโหมออกกำลังกาย อย่าหักโหมทำงานหนัก
- นอนหลับอย่างเพียงพอ ดื่มน้ำบ่อย ๆ ให้ร่างกายได้รับการพักผ่อน ไม่เครียด
การป้องกันการตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูง
คุณสามารถลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนในการตั้งครรภ์ได้โดย
- กินโฟลิกอย่างน้อย 400 ไมโครกรัมต่อวัน ตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์และต่อเนื่องไปจนถึงช่วงตั้งครรภ์
- หลีกเลี่ยงยาเสพติดและแอลกอฮอล์ทุกชนิด
- แจ้งความเสี่ยงต่อสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นก่อนตั้งครรภ์ให้แพทย์ทราบ รวมถึงประวัติทางการแพทย์ในครอบครัว ประวัติทางการแพทย์ส่วนตัวของคุณแม่
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และรักษาน้ำหนักให้เหมาะสม
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เว้นแต่จะได้รับคำแนะนำอื่น ๆ จากแพทย์
- ตรวจสอบให้แน่ใจว่ายาที่กินอยู่นั้นจะปลอดภัยในระหว่างตั้งครรภ์
- การเลิกสูบบุหรี่
- วางแผนการตั้งครรภ์
- การมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย
บทความที่เกี่ยวข้อง : เซ็กส์ปลอดภัยช่วงตั้งครรภ์ มีเพศสัมพันธ์ตอนท้องได้ไหม? อันตรายหรือไม่?
การตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูง ต้องทำอะไรบ้าง
- พบแพทย์เป็นประจำ มาให้ตรงตามนัดเสมอ
- ตรวจครรภ์ด้วยเทคโนโลยีอัลตราซาวนด์ขั้นสูงและการประเมินก่อนคลอด
- ตรวจทารกในครรภ์เพื่อหาความผิดปกติอย่างละเอียด
- ตรวจอัลตราซาวนด์หาความพิการของทารก
- ตรวจอัลตราซาวนด์หาความผิดปกติทางพันธุกรรม (เจาะน้ำคร่ำ, ตรวจจากเลือดสายสะดือ, หรือตรวจชิ้นเนื้อรก)
- ตรวจคัดกรองภาวะดาวน์ซินโดรม
- ติดตามการเจริญเติบโตและความก้าวหน้าของทารกในครรภ์อย่างใกล้ชิด
- กินยาให้ครบตามที่แพทย์สั่ง
- ตรวจสอบการดิ้นของลูกด้วยตัวเอง
อาการผิดปกติระหว่างตั้งครรภ์ ควรรีบพบแพทย์
- แพ้ท้องหนัก แพ้ท้องรุนแรง
- ปวดศีรษะบ่อย ปวดศีรษะรุนแรง
- มีไข้สูงเกิน 38.5 องศาเซลเซียส
- จุกเสียดแน่นท้อง ปวดท้องรุนแรง
- ขนาดท้องเล็กหรือใหญ่กว่าปกติ
- เลือดออกทางช่องคลอด หรือมีน้ำคร่ำออกทางช่องคลอด
- ปัสสาวะแสบขัด
- เท้าบวมมากผิดปกติ
- เมื่อตั้งครรภ์ได้ 5-6 เดือนแล้วลูกยังไม่ดิ้น
หากแม่ท้องรู้ตัวว่าอยู่ในภาวะครรภ์เสี่ยง ต้องไปพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ หรือผู้ที่วางแผนตั้งครรภ์ ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดก่อน เพื่อให้ร่างกายมีความก่อนการตั้งครรภ์ และเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ก่อนการตั้งครรภ์ การดูแลตัวเองให้ดีทั้งก่อนและระหว่างการตั้งครรภ์นั้นสำคัญต่อคุณแม่และลูกในท้องอย่างมาก เพราะฉะนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงภาวะครรภ์เสี่ยง ควรปรึกษาแพทย์ก่อน เพื่อความพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจนะคะ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
ตรวจก่อนเจอก่อน! ตรวจคัดกรอง ดาวน์ซินโดรม แม่อายุน้อยลูกก็เป็นได้
การเจาะน้ำคร่ำ ทำเพื่ออะไร อันตรายไหม จะเจาะโดนลูกหรือเปล่า?
แม่แบบไหนที่มีปัจจัย ภาวะครรภ์เสี่ยง เรื่องที่ไม่อยากเสี่ยงเป็นเสี่ยงกันตอนท้อง!!
ที่มา : bumrungrad, webmd