การนับวันคลอด นับอย่างไร 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 65

undefined

การนับวันคลอด นับอย่างไร การนับ เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ และทารกในครรภ์ เนื่องจากอายุครรภ์ที่แม่นยำ จะทำให้สามารถวินิจฉัย และตัดสินใจในการเลือก ให้การรักษาอย่างเหมาะสม เมื่อเกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ได้

ทางการแพทย์มีเกณฑ์ในการคำนวณอายุครรภ์  เพื่อติดตามพัฒนาการทารกในครรภ์อย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ การคำนวน การตั้งครรภ์ก็จำเป็นสำหรับ คุณพ่อคุณแม่ที่ต้องการมีบุตร เพื่อจะได้ทราบว่า ช่วงไหนเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดสำหรับการมีบุตรนั่นเอง ถ้าอยากทราบว่าจะมีวิธี คำนวณวันตั้งครรภ์ และการนับวันคลอด อย่างไร

 

การนับวันคลอด นับอย่างไร 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 65

 

วิธีการนับวันตกไข่ ปกติจะใช้ในการหาระยะปลอดภัย เพื่อหลีกเลี่ยง การมีเพศสัมพันธ์ในช่วงวันตกไข่ แต่เราสามารถ ใช้หลักการเดียวกันนี้ ในการหาวันตกไข่ หรือวันที่จะมีโอกาส เกิดการตั้งครรภ์ได้

“โดยปกติ ผู้หญิงจะมีรอบเดือนทุก ๆ 28 วัน จะมีการตกไข่ ประมาณวันที่ 14 ก่อนที่จะมีประจำเดือนครั้งต่อไป (อาจมากกว่า หรือน้อยกว่า 2 วัน) หรือประมาณ 12 – 16 วัน ก่อนจะมีประจำเดือนครั้งต่อไป เมื่อไข่ตกแล้ว ไข่จะมีชีวิตอยู่ได้เพียง 24 ชั่วโมง โอกาสการตั้งครรภ์ จึงมีถึงวันที่ 17 ของรอบเดือน ส่วนเชื้ออสุจิ จะมีชีวิตรอผสมไข่อยู่ได้ ประมาณ 48 ชั่วโมง หรือ 2 วันก่อนการตกไข่”

วิธีการคำนวณวันคลอด

ปกติแล้ว คุณแม่จะทราบกำหนดวันคลอด ได้จากการมาของประจำเดือนในครั้งสุดท้าย การจดบันทึกการมีประจำเดือน ไว้อย่างสม่ำเสมอ จึงเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งตลอดอายุการตั้งครรภ์ จนถึงวันคลอดจะอยู่ที่ 40 สัปดาห์ หรือประมาณ 280 วัน โดยจะเริ่มนับ จากวันแรกที่ประจำเดือนมาครั้งสุดท้ายของคุณแม่ ไม่ใช่เริ่มนับจากวันสุดท้าย ของการมีประจำเดือนครั้งล่าสุด หรือนับจาก วันที่ประจำเดือนถึงกำหนดจะมาแต่ไม่มา

เช่น ประจำเดือนของคุณแม่มาครั้งล่าสุดวันที่ 1 มกราคม และประจำเดือนหมดวันที่ 5 มกราคม และกำหนดที่ประจำเดือนครั้งต่อไปควรจะมาอีกครั้งคือวันที่ 28 – 29 มกราคม ดังนั้นประจำเดือนครั้งสุดท้ายที่มาคือวันที่ 1 มกราคม (ไม่ใช่วันที่ 5 หรือ 28 – 29 มกราคม) โดยจะมีสูตรในการคำนวณวันคลอดแบบง่าย ๆ ดังนี้

1. นับจากวันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้าย บวกไปอีก 9 เดือน และนับบวกต่อไปอีก 7 วัน ก็จะได้วันกำหนดคลอด สมมติว่า วันแรกที่ประจำเดือนมาครั้งสุดท้ายของคุณแม่ คือวันที่ 1 มกราคม 2559 ก็ให้บวกไปอีก 9 เดือน ซึ่งจะตรงกับวันที่ 1 ตุลาคม 2559 แล้วให้นับบวกต่อไปอีก 7 วัน ดังนั้น กำหนดคลอดของคุณแม่ ก็จะตรงกับวันที่ 8 ตุลาคม 2559

2. นับจากวันแรก ของประจำเดือนครั้งสุดท้าย ย้อนหลังไป 3 เดือน และนับบวกต่อไปอีก 7 วัน ก็จะได้วันกำหนดคลอด สมมติว่า วันแรกที่ประจำเดือนมาครั้งสุดท้าย ของคุณแม่คือวันที่ 1 มกราคม 2559 ก็ให้นับย้อนหลังไปอีก 3 เดือน คือ ธันวาคม พฤศจิกายน และตุลาคม และนับบวกไปอีก 7 วัน ดังนั้น กำหนดวันคลอดของคุณแม่จะตรงกับวันที่ 8 ตุลาคม 2559

 

การนับวันคลอด นับอย่างไร 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 65

 

โดยสูตรการนับทั้ง 2 วิธีนี้จะให้ผลเหมือนกัน (แล้วแต่ว่าจะสะดวกนับแบบไหน) เป็นสูตรที่สูติแพทย์ และผดุงครรภ์ใช้กันทั่วโลก ซึ่งอาศัยการสังเกตจากประสบการณ์ และการทำสถิติการคลอด ของคนทั่วโลก จะให้ผลอย่างแม่นยำ ในกรณีที่คุณแม่จำวันที่ประจำเดือนมาครั้งสุดท้ายได้เท่านั้น

และถ้าหากคุณแม่มีรอบเดือนมาสม่ำเสมอทุก ๆ 28 – 30 วัน คุณแม่ส่วนใหญ่ ก็มักจะคลอดก่อนวันที่กำหนดไว้ประมาณ 1 สัปดาห์ (ซึ่งจากตัวอย่างก็จะตรงกับวันที่ 1 ตุลาคม 2559 โดยประมาณ)

แต่ในความเป็นจริงแล้วจะมีคุณแม่เพียง 5 – 6% เท่านั้น ที่จะคลอดลูกได้ตรงกับกำหนดวันคลอดพอดี และอีก 40 % มักจะคลอดลูกเกินกำหนด ซึ่งร้อยละ 25 ของคุณแม่ในกลุ่มนี้ จะคลอดลูกเมื่ออายุครรภ์ 42 สัปดาห์ ร้อยละ 12 จะคลอดลูกเมื่ออายุครรภ์ 43 สัปดาห์ และที่เหลือเพียงร้อยละ 3 จะคลอดลูกเมื่ออายุครรภ์ 44 สัปดาห์

 

การนับวันคลอด นับอย่างไร 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 65

โดยปกติแล้ว การนับอายุครรภ์แบบเป็นเดือน ๆ จะไม่มีความละเอียดเพียงพอ  เนื่องจากในแต่ละเดือน จะมีจำนวนวันไม่เท่ากัน คือ มี 31 วันบ้าง 30 หรือ 28 วันบ้าง และ 29 วันก็มี ดังนั้น การนับอายุครรภ์เป็นสัปดาห์ จึงจะถูกต้องมากกว่า

โดยมนุษย์เรานั้น จะมีระยะเวลาการตั้งครรภ์ รวมแล้วประมาณ 40 สัปดาห์ หรือ 280 วันพอดี ๆ ซึ่งจะเริ่มนับจากวันแรก ที่ประจำเดือนครั้งสุดท้ายมาแล้วบวกไปอีก 280 วัน การนับอายุครรภ์ที่แม่มือใหม่ต้องรู้

ถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างมาก ฉะนั้นเมื่อเริ่มสงสัยว่าตัวเอง กำลังมีสัญญาณการตั้งครรภ์ ต้องรีบไปโรงพยาบาล เพื่อให้คุณหมอตรวจ และนับอายุครรภ์ให้ ซึ่งจะเป็นผลดีต่อสุขภาพ ของทั้งลูกน้อยในครรภ์ และตัวคุณแม่เอง หรือคุณแม่สามารถคำนวนวัดคลอดง่าย ๆ ด้วยตนเองได้ที่ เครื่องคำนวณวันคลอด

 

ที่มา : HUGGIES, medthai, parentsone

บทความอื่นที่น่าสนใจ :

คนท้องต้องรู้ อยากท้อง ไข่ตกสำคัญอย่างไร การนับวันไข่ตก

อายุครรภ์ นับอย่างไร วิธีการนับอายุครรภ์

ความสำคัญของการนับลูกดิ้น การนับลูกดิ้นป็นสิ่งสำคัญ และสิ่งที่พ่อควรทำ

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!