3 วิธีในการใช้เวลาให้คุ้มค่าเมื่ออยู่กับเด็ก ๆ ในช่วง สถานการณ์โควิด-19

3 วิธีในการใช้เวลาให้คุ้มค่าเมื่ออยู่กับเด็ก ๆ ในช่วง สถานการณ์โควิด-19

ใน สถานการณ์โควิด-19 เช่นนี้ เกือบทุกครอบครัวที่ทำการปรับตัวให้เข้ากับมาตรการทางสังคม เช่น การทำงานที่บ้าน ไม่เว้นแต่การประกาศหยุดของโรงเรียนและมหาลัยต่าง ๆ และสถานที่อื่น ๆ ด้วย เหล่าคุณพ่อคุณแม่กำลังต่อสู้ กำลังรับมือกับคำถามเกี่ยวกับการใช้สื่อออนไลน์ต่าง ๆ ของเด็ก ๆ ดังนั้น Rebecca Dore ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กและสื่อนำเสนอเคล็ดลับเกี่ยวกับวิธีการใช้เวลาให้เกิดประโยชน์สูงสุดสำหรับเด็ก ๆ ที่สามารถทำได้ที่บ้าน

1. เลือกสื่อที่มีคุณภาพและน่าเชื่อได้ใน สถานการณ์โควิด-19

แทนที่คุณพ่อคุณแม่จะยื่นรีโมทโทรทัศน์หรือ iPad ให้เด็ก ๆ ได้เลือกดูสิ่งที่พวกเขาต้องดูเอง พ่อแม่สามารถช่วยเหลือเด็ก ๆ โดยการเลือกสื่อที่เหมาะสมและน่าเชื่อถือให้แก่เด็ก ๆ เมื่อเด็กอายุได้ประมาณ 3 ขวบสื่อที่มีคุณภาพอย่าง Sesame Street สามารถช่วยให้ลูก ๆ ของคุณ ได้เรียนรู้เกี่ยวกับคำตัวเลขและข้อเท็จจริงที่สำคัญเกี่ยวกับวิธีรักษาความปลอดภัยได้

เด็ก ๆ ยังสามารถเรียนรู้จากแอพเช่น Bedtime Math (ซึ่งแสดงให้เห็นต่อทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็ก ๆ ), Measure That Animal (เกม "Sesame Street" ที่เน้นการพัฒนาทักษะการวัดของเด็ก ๆ ) และ D.W.’s Unicorn Adventure (เกมแฟนตาซีที่สอนเกี่ยวกับอาหารเพื่อสุขภาพ)

สถานการณ์โควิด-19 สถานการณ์โควิด-19

คุณจะหาสื่อการศึกษาคุณภาพสูงได้จากที่ไหน?

Common Sense Media ให้ข้อมูลจากการวิจัยและการจัดอันดับเกี่ยวกับสื่อทุกประเภทสำหรับเด็กทุกวัย พวกเขายังมีหน้าพิเศษเพื่อช่วยเหลือครอบครัวในช่วง สถานการณ์โควิด-19 รายการและแอพจาก PBS KIDS นั้นมาจากการวิจัยการพัฒนาเด็ก เครื่องการค้นหาบนเว็บไซต์ของพวกเขาช่วยให้คุณสามารถเลือกอายุของเด็กและหัวข้อการค้นหาของสื่อที่เหมาะสมกับเด็กในวัยนั้น ๆ  นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมที่เกี่ยวข้องที่สามารถทำได้ทั้งแบบออนไลน์และไม่ใช้อุปกรณ์

อีกหนึ่งวิธีในการเรียนรู้และคัดกรองคือการสังเกตว่าเด็ก ๆ นั้นให้ความสนใจในเรื่องใด จากนั้นจึงค้นหาสื่อการศึกษาที่ตรงกับสิ่งที่เด็ก ๆ ให้ความสนใจ เช่น หาก Robby อายุ 6 ปีขอร้องให้ทำแพนเค้กเป็นอาหารเช้า ซึ่งเขาอาจจะได้เทคนิคดี ๆ จากการดูสื่อที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และได้ทราบว่าโซดาทำให้แพนเค้กของเขานุ่มและน่าทานกว่าเดิม

2. ใช้สื่อให้เหมาะสมกับเด็กใน สถานการณ์โควิด-19

บ่อยครั้งที่สื่อออนไลน์เปรียบเสมือนพี่เลี้ยงของลูก ๆ คุณ สื่อออนไลน์จะมีประโยชน์มากขึ้น หากเด็ก ๆ ได้ใช้สื่อร่วมกับคุณพ่อคุณแม่ ซึ่งวิธีการนี้จะทำให้คุณพ่อคุณแม่สามารถนำสิ่งต่าง ๆ ที่ถูกนำเสนอผ่านสื่อมาสอนและประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ ผลการศึกษาค้นพบว่า 75% ของเด็กอายุ 3 ปีที่ได้ดูการ์ตูนเรื่อง “ดอร่าหนูน้อยนักผจญภัย” มักจะคิดว่าภาษาที่เจ้าหนูดอร่านั้นใช้ในเรื่องเป็นภาษาที่ไม่มีอยู่จริงบนโลกใบนี้ ซึ่งเป็นหน้าที่ของคุณพ่อคุณแม่ที่จะบอกว่าอะไรคือเรื่องจริง ซึ่งไม่แปลกที่เด็ก ๆ จะไม่ค่อยได้ความรู้จากการ์ตูนดังกล่าว เนื่องจากว่าพวกเขาไม่สามารถวิเคราะห์ได้ว่าอะไรคือเรื่องจริง

ผู้ปกครองสามารถช่วยด้วยการดูการ์ตูนไปพร้อม ๆ กับเด็ก และพูดคุยกับพวกเขาเกี่ยวกับสิ่งที่พวกเขาเห็นและประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันของพวกเขา อาจจะเป็นการยกตัวอย่างว่า "ดอร่านั้นพูดภาษาสเปนเหมือนกับเพื่อน ๆ ในโรงเรียน"

พยายามหาเวลาทำสิ่งนี้แม้ว่ามันจะไม่ได้ง่ายอย่างที่กล่าวไป แม้บางครั้งคุณพ่อคุณแม่อาจจะเหนื่อยล้ากับการทำงาน ไม่มีเวลาและอารมณ์ที่จะใช้เวลาร่วมกับเด็ก ๆ แต่คุณก็ควรที่จะจัดตารางเวลาให้ดีเพื่อให้ได้ใช้เวลากับลูกน้อยให้ได้

เด็กอายุ 4 ปี คุณอาจจะให้พวกเขาอ่าน E-Book ที่โต๊ะในห้องครัว ในขณะที่คุณกำลังทำอาหารเย็นอยู่ ซึ่งสามารถโอกาสนี้ในการพูดคุยกับเด็ก ๆ หรืออาจจะเป็นการฟังพอดคาสต์ที่เหมาะสมกับอายุ ในขณะที่คุณกำลังซักผ้าพับได้อีกด้วย

สถานการณ์โควิด-19 สถานการณ์ โควิด-19

3. นอกจากบริโภคสื่อเด็ก ๆ อาจจะใช้สื่อในการสร้างอะไรบางอย่าง

เด็ก ๆ สามารถใช้สื่อได้มากกว่าการดูและเล่น พวกเขาสามารถใช้เทคโนโลยีในวิธีที่สร้างสรรค์และจินตนาการในเรื่องต่าง ๆ ได้

ตัวอย่างเช่น เทคโนโลยีสามารถช่วยให้พวกเขาเขียนเพลงของตัวเองได้ อีกทั้งยังสามารถสร้างงานศิลปะง่าย ๆ ในรูปแบบของเด็ก ๆ ทั้งยังสามารถใช้สมาร์ทโฟน ไอแพด หรือคอมพิวเตอร์เพื่อสร้างวิดีโอของตัวเองเพื่อแชร์กับครอบครัวและเพื่อน ๆ พวกเขา ไม่เพียงเท่านั้นพวกเขาสามารถสนุกไปกับการถ่ายทำละครหรือทำวิดีโอแนะนำเพื่อสอนวิธีการเล่นวิดีโอเกมโปรดได้อีกด้วย

แต่อย่างไรก็ตามการเด็ก ๆ สามารถเข้าถึงสื่อได้อย่างง่ายเช่นนี้มันก็มีทั้งผลดีและผลเสีย จริงอยู่ที่เด็กสามารถเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้จากสื่อ ทั้งยังสามารถนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ แต่ถ้าหากคุณพ่อคุณแม่ไม่ได้ให้การดูแลอย่างใกล้ชิดก็อาจจะเกิดผลเสียได้ เช่น การถูกหลอกลวงจากข้อความคนแปลกหน้า การหลอกให้ซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ หรือแม้กระทั่งกระทำตามพฤติกรรมผิด ๆ เหมือนในสื่อที่ไม่มีคุณภาพ เป็นต้น ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรสร้างจิตสำนึกที่ดีโดยการสอนให้ลูกรู้เท่าทันภัยจากสื่อออนไลน์และสื่อดิจิทัล ที่เป็นแหล่งเรียนรู้ใกล้ตัวและเข้าถึงได้ง่าย

เทคนิคการควบคุมเด็กในการใช้สื่อ

1. กำหนดให้เวลาการใช้สื่อนั้นเป็นเวลาของคนในครอบครัว

สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรที่จะทำคือ ไม่ปล่อยให้ลูก ๆ ใช้สื่อตามลำพัง คอยแนะนำสิ่งที่มีเนื้อหาที่เหมาะสม ซึ่งเป็นการสังเกตลูก ๆ ไปในตัว และจะทำให้เด็ก ๆ กล้าที่จะแบ่งปันความเห็นของตัวเองมากขึ้น หากได้ทำกิจกรรมดังกล่าวบ่อยครั้งขึ้น

สถานการณ์โควิด-19 สถาน การณ์โควิด-19

2. กำหนดระยะเวลาในการใช้สื่อต่าง ๆ

กำหนดระยะเวลาในการเล่นของลูกให้ชัดเจน เพื่อไม่ให้เด็ก ๆ หลงใหลไปกับการเล่นอินเตอร์เน็ตจนเกิดไป ซึ่งบางครั้งอาจจะทำให้ลูก ๆ หลงลืมหน้าที่ของตัวเองไปเลยก็ได้

3. ให้ความสำคัญกับโลกความจริงมากกว่าโลกในสื่อ

คุณพ่อคุณแม่ควรอธิบายให้ลูกรู้ว่าสื่อออนไลน์ มีประโยชน์และมีโทษอย่างไรบ้าง เพื่อให้พวกเขา วิเคราะห์ แยกแยะ และได้ทราบความอันตรายของสื่อออนไลน์มากขึ้น

สถานการณ์โควิด-19 สถานการณ์โควิด-19

4. อย่าแชทกับคนแปลกหน้า

สำหรับเด็กแล้วไม่ว่าจะโลกความจริงหรือโลกออนไลน์คนแปลกหน้าก็เป็นบุคคลที่ไม่ควรไว้ใจ อธิบายให้เด็ก ๆ รู้จักระมัดระวังตัวจากคนแปลกหน้าและย้ำกับเด็ก ๆ ไว้ว่า ห้ามบอกข้อมูลส่วนตัวของตนเองเด็ดขาด และห้ามออกไปพบพวกเขาหากมีการนัดหมายจากคนแปลกหน้า

5. สอนเรื่องความเป็นส่วนตัวและความสำคัญในการใช้สื่อให้พวกเขา

สอนลูก ๆ ของคุณเกี่ยวกับสิ่งเลวร้ายที่เกิดขึ้นทางออนไลน์และแสดงให้พวกเขาเห็นว่าความเป็นส่วนตัวสำคัญอย่างไร เด็กควรทราบว่าเนื้อหาที่แชร์กับผู้อื่นจะไม่สามารถลบได้อย่างสมบูรณ์ รวมถึงข้อความที่มีภาพที่ไม่เหมาะสม พวกเขาอาจจะไม่ได้ตั้งค่าความเป็นส่วนตัวอย่างถูกวิธีนัก

6. สอนลูกให้รู้จักการใช้งานด้านอื่นๆที่เป็นประโยชน์

สอนลูก ๆ ใช้ประโยชน์จากสื่อในด้านอื่น ๆ บ้าง เช่น การเรียนภาษาอังกฤษแบบออนไลน์ฟรี

7. สังเกตพฤติกรรมการใช้งานแอคเคาท์ที่คุณพ่อคุณแม่เป็นคนสร้าง

ควรที่จะคอยสังเกตพฤติกรรมลูก ๆ จากประวัติการท่องเว็บของเขาบ่อย ๆ เพราะอาจจะมีบางเว็บไซต์ที่จำกัดการเข้าใช้ เพราะมีเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม เช่น ให้บริการแก่ผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปเท่านั้น

8. สังเกตพฤติกรรมของลูก

หากการใช้สื่อออนไลน์ทำให้เด็ก ๆ มีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป เช่น ก้าวร้าวขึ้น โมโหร้าย หรือสมาธิสั้น คุณพ่อคุณแม่ควรมีมาตราการสำรองเพื่อรับมือกับพฤติกรรมดังกล่าว

9. หมั่นเช็คประวัติการท่องเว็บของลูก

หากเด็ก ๆ มีการเข้าใช้เว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสมกับพวกเขา คุณพ่อคุณแม่ควรที่จะต้องทำการบล็อคเว็บไซต์ดังกล่าวนั้นซะ อีกทั้งต้องพยายามบล็อคเว็บไซต์ที่เหมาะสมอื่น ๆ ด้วย

10. เป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ลูก

หากไม่อยากให้เด็ก ๆ มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม คุณพ่อคุณแม่จะต้องไม่ทำพฤติกรรมแย่ ๆ ให้พวกเขาดู ต้องไม่เข้าเว็บที่ไม่เหมาะสมให้พวกเขาเห็น เพราะนี่อาจจะเป็นสิ่งที่เด็ก ๆ อาจจะเห็นและนำไปทำตาม

11. ตั้งค่า Search Engine จำกัดการเข้าถึงเนื้อหา หรือ บล็อกเว็บที่ไม่เหมาะสม

หากใช้ Google อย่าลืมเปิดการใช้งาน SafeSearch เพื่อปิดกั้นเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมสำหรับเด็ก และเพื่อป้องกันพวกเขาจากสื่อที่ไม่เหมาะสมและได้รับแต่สื่อที่มีคุณภาพ

สถานการณ์โควิด-19 สถานการณ์โควิด-19

12. หากพบปัญหาร้ายแรงแจ้งผู้ให้บริการ และ เจ้าหน้าที่ตำรวจทันที

หากพบอะไรที่ไม่ชอบมาพากล หรือลูก ๆ มีแนวโน้มถูกมิจฉาชีพหลอก คุณพ่อคุณแม่ต้องรีบแจ้งความอย่างเร็ว เพื่อความปลอดภัยแก่พวกเขา

 

บทความต้นฉบับ TTSPY theconversation

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

เด็กติดอินเทอร์เน็ต สื่อออนไลน์ ติดมือถือ ติดคอม แก้ไขและป้องกันได้อย่างไร?

เหลือผ้าอ้อมให้บ้าง แม่ร้องไห้ คนกักตุนผ้าอ้อม จนไม่เหลือให้ลูก

และนี่คือช่วงอายุที่เหมาะที่สุด ที่จะซื้อสมาร์ทโฟนให้ลูก

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!