ถ้าแม่ป่วย ลูกในท้องจะเป็นรึเปล่า? ทำยังไงดี ความกังวลของคนเป็นแม่
การป่วยไม่ว่าจะเกิดขึ้นกับใคร แม่มือใหม่อาจจะเกิดความสงสัยว่า ถ้าแม่ป่วย เป็นไข้หรือเป็นโรคใดๆก็ตาม ลูกในท้องจะเป็นด้วยหรือไม่
ถ้าแม่ป่วย ลูกในท้องจะเป็นรึเปล่า? ทำยังไงดี ความกังวลของคนเป็นแม่
การป่วยไม่ว่าจะเกิดขึ้นกับใคร หรือว่าโรคอะไรก็เป็นเรื่องที่ไม่น่าพิศมัยเท่าไหร่นัก ยิ่งเป็นคุณแม่ที่ตั้งครรถ์ ที่ร่างกายไม่ค่อยแข็งแรง อยู่แล้วด้วยการจะต้องมาเป็นหวัดหรือไข้อีกก็ยิ่งทำให้คุณแม่เครียดไปใหญ่ สำหรับคุณแม่มือใหม่อาจจะเกิดความสงสัยว่า ถ้าแม่ป่วย เป็นไข้ เป็นหวัด หรือเป็นโรคใดๆก็ตาม ลูกในท้องจะเป็นด้วยหรือไม่ แล้วคุณแม่จะรักษาตัวหรือป้องกันได้อย่างไร
ถ้าแม่ป่วยลูกในท้องจะเป็นหรือไม่?
คุณแม่วางใจได้เลย ว่าลูกในท้องคุณแม่จะไม่เป็นอะไรแน่นอนถ้าหากคุณแม่ป่วยเป็นไข้หรือเป็นหวัด เพราะนวัตกรรมในสมัยปัจจุบันนั้นมีวัคซีนและยาป้องกันหลายชนิด แต่ในขณะเดียวกันก็มีโรคอีกหลายชนิดที่อาจจะส่งผลต่อการตั้งครรถ์ได้เช่นกัน ถ้าคุณแม่มีความสงสัย ว่าตัวเองจะเป็นโรคนั้นโรคนี้หรือไม่ ทางที่ดีที่สุดคือไปตรวจ เพื่อที่คุณหมอจะได้แนะนำวิธีรักษาได้อย่างถูกต้อง และรวดเร็ว
โรคที่อาจมีผลกับการตั้งครรถ์มีอะไรบ้าง?
ภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย
- เป็นการติดเชื้อในบริเวณช่องคลอดที่สามารถเกิดขึ้นได้ทั่วไป คุณแม่อาจจะติดเชื้อแบคทีเรียนี้ได้ในระหว่างการตั้งครรถ์อาจจะทำให้เสี่ยงต่อการคลอดเร็วขึ้น แต่เมื่อลงไปดูจริงๆตามสถิติมีแค่แม่บางส่วนเท่านั้น ทำให้ผู้เชี่ยวชาญไม่มั่นใจเท่าไหร่นักว่านี่เป็นเหตุผลจริงๆที่ทำให้โลกนี้เกิดขึ้น อาการของโรคนี้อาจจะเป็นกลิ่นที่ออกมาจากช่องคลอด วิธีรักษาก็คือึถณแม่จะได้รับยาฆ่าเชื้อที่ปลอดภัยต่อการตั้งครรถ์ คุณแม่ควรทางยาให้ครบเพื่อที่อาการจะได้หายดี
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
- เช่นเดียวกับชื่อโรคติดต่อมีหลายโรคเช่น หนองใน ซิฟิลิส มีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์บางโรคที่สามารถรักษาได้ ถ้าทานยาตามที่คุณหมอสั่งให้หมด ถ้าคุณแม่ไม่รักษาโรคเหล่านี้อาจทวีความรุนแรงขึ้นและเป็นอันตรายต่อลูก ถึงขั้นที่ลูกอาจจะติดโรคเลยก็ได้ ผู้ปกครองหลายคนอาจจะกังวลเกี่ยวกับเรื่อง HIV ในความเป็นจริงแล้ว มีคุณแม่ที่มีเชื้อ HIV แต่คลอดลูกออกออกมามีเลือดเป็นลบนั้นมีเยอะมากกว่าที่คิด ถ้าคุณรู้จักวิธีรักษา หรือปรึกษาคุณหมอถึงวิธีการดูแลตัวเองเป็นประจำ ก็จะช่วยลดความเสี่ยงได้มาก
โรคตับอักเสบ B
- โรคนี้เป็นบางคนอาจไม่แสดงอาการใดๆออกมา เพราะเป็นเพียงแค่พาหะเท่านั้น คุณแม่สามารถตรวจที่โรงพยาบาลได้ว่าตัวเองเป็นพาหะโรคตับอักเสบ B โรคชนิดนี้สามารถติดต่อไปยังลูกได้แต่ด้วยอุปกรณ์การแพทย์ในปัจจุบันทำให้มีการรับมือกับการป้องกันได้ดีขึ้นมาก จนลูกแทบจะไม่มีโอกาสจะติดโรคนี้เลยด้วยซ้ำ เพราะฉะนั้นคุณแม่สบายใจได้
ถ้าแม่ป่วยให้นมลูกได้ไหม
เมื่อแม่ไม่สบายย่อมกังวลว่า เวลาเอาลูกเข้าเต้าดูดนมแม่แล้ว ลูกจะติดโรคจากแม่ ป่วยตามกันไปทั้งแม่และลูกหรือเปล่า แล้วอย่างนี้แม่ควรหยุดให้นมลูกหรือไม่
คำตอบ เชื้อโรคไม่ออกทางน้ำนม จึงไม่จำเป็นต้องหยุดให้นมลูก และไม่ควรหยุดด้วย หากหยุดอาจทำให้ลูกมีอาการมากกว่าการที่ยังได้ดูดนมแม่เสียอีก เพราะลูกอาจได้รับเชื้อจากแม่ตั้งแต่แม่ยังไม่ทันรู้ว่าตัวเองป่วย ซึ่งในนมแม่นั้นประกอบด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ รวมไปถึงภูมิคุ้มกันต่างๆ
สังเกตได้ว่า บางครั้งเป็นหวัดกันทั้งบ้าน ก็มีแต่เจ้าตัวเล็กนี่แหละ ที่ไม่เป็นอะไร เพราะหากลูกยังดูดนมแม่อยู่ เขาได้รับภูมิคุ้มกันเข้าไปด้วย หรือหากเจ็บป่วยก็แสดงอาการไม่รุนแรง หายได้เร็ว
ถ้ากังวลว่ายาที่กินจะมีผลต่อลูก แนะนำให้ไปพบแพทย์ก่อน แพทย์จะแนะนำยาที่ปลอดภัยต่อลูกน้อย และให้คำแนะนำได้ว่า ระหว่างนี้แม่ให้นมลูกได้ หรือพักไปก่อน
ข้อมูลจากศูนย์มูลนิธินมแม่แห่งประเทศไทย ได้แนะนำยารักษาไข้หวัดที่แม่สามารถกินขณะให้นมลูกได้ เช่น
- คลอเฟนนิรามิน (chlorpheniramine) เป็นยาลดน้ำมูก แต่จะทำให้คุณแม่มีอาการง่วงนอนบ้าง
- Actifed มียาลดน้ำมูกรวมกับยาแก้คัดจมูก (pseudoephedrine) อาจจะทำให้ง่วง และมีเสมหะเหนียว ต้องดื่มน้ำมาก ๆ ในบางคนที่ไวต่อยานี้ (pseudoephedrine) มาก อาจมีผลกดการสร้างน้ำนม ทำให้น้ำนมน้อยลงได้ ให้ลองสังเกตอาการ ถ้ามีปัญหาน้ำนมลดลง ให้หยุดยาก็จะดีขึ้น
- ยาพาราเซตามอล (paracetamol) ใช้ลดไข้ ไม่มีผลต่อลูก
- ยา dextromethorphan เป็นยากดอาการไอ ใช้ได้ ไม่มีผลต่อลูก
ข้อควรระวัง
- ในกรณีของยาบางชนิดที่อาจมีผลบ้าง ควรทิ้งช่วงเวลาให้นม โดยกินยาหลังให้ลูกดูดนมอิ่มแล้ว หรือกินยาในช่วงที่ลูกจะหลับยาว เพื่อให้ระดับยาในเลือดและในน้ำนมแม่ลดลงไปมากในมื้อถัดไป จนไม่เป็นอันตรายต่อลูก
- หากเลือกซื้อยารับประทานเอง ควรแจ้งให้เภสัชกรประจำร้านขายยาทราบว่ากำลังให้นมลูกอยู่ เพื่อคุณหมอจะได้เลือกยาที่มีผลต่อการให้นมทารกน้อยที่สุด
- ในขณะที่แม่เป็นหวัด หรือป่วยเป็นไข้ ควรใส่หน้ากากป้องกันในขณะที่ให้นมลูก ควรแยกที่นอนกับลูกน้อย โดยวางลูกในน้อยไว้ในเปลหรือที่นอนเฉพาะสำหรับเด็กที่ เพราะหากคุณแม่กินยาและส่งผลถึงอาการง่วงนอน หรือเพลียมาก ก็อาจเผลอทำให้นอนพลิกไปทับตัวลูกได้ และเพื่อป้องกันไม่ให้ลูกติดหวัดจากคุณแม่ด้วย
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าโดยข้อเท็จจริงแล้ว ยาจะผ่านเข้าสู่ร่างกายทารกได้ในปริมาณน้อยมากก็ตาม แต่ถ้าเป็นไปได้ในขณะที่คุณแม่ให้นมลูกอยู่นั้นถ้าเลี่ยงการกินยาได้โดยไม่ปล่อยให้ยาผ่านเข้าสู่ร่างกายลูกเป็นดีที่สุด หากแม่เริ่มต้นมีอาการเป็นหวัด คัดจมูก ควรบรรเทาอาการและดูแลตัวเองด้วยการรับประทานอาหารที่มีวิตามินซีสูง ดื่มน้ำมาก ๆ และพักผ่อนให้เพียงพอ หรือหากมีอาการเจ็บป่วยรุนแรงที่ต้องได้รับยาเฉพาะทางหรือตามที่แพทย์สั่ง ก็อาจจำเป็นต้องหยุดการให้นมลูกขณะกินยา
Source : babycenter
บทความอื่นๆที่น่าสนใจ :
โรคมือเท้าปาก โรคใกล้ตัวเด็กวัยเรียน ทารก-เด็กเล็ก ก็มีโอกาสป่วยง่าย
โรคหน้าฝน โรคที่มากับฤดูฝน ฝนตก ลูกเสี่ยงป่วยง่าย โรคไหนที่ต้องระวังในหน้าฝน โรคหน้าฝนในเด็ก
ยาสามัญประจําบ้าน คนมีลูก ยาสามัญ สำหรับทารก ยารักษาอาการป่วยที่พบบ่อยในเด็ก