6 วิธีหยุดลูกไม่ให้เอาแต่ใจก่อนจะเสียคน

ก็ว่าเลี้ยงลูกมาดีแล้ว แต่ทำไมลูกยังเป็นเด็กเอาแต่ใจ มีอะไรบ้างที่พ่อแม่เผลอเลี้ยงลูกแบบผิด ๆ หรือสปอยล์ลูกมากไปโดยไม่รู้ตัว และอาจเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ลูกเสียคนได้ จะแก้ไขอย่างไรดีไม่ให้ลูกเอาแต่ใจตัวเอง

เลี้ยงลูกอย่างไรไม่ให้เอาแต่ใจ มีผลการศึกษาจากเว็บเอ็มดีพบว่า การที่ลูกมีพฤติกรรมเอาแต่ใจตัวเอง มักเกิดจากคุณพ่อ คุณแม่ที่เลี้ยงลูกแบบตามใจมากเกินไป เมื่อลูกอยากได้อะไรคุณพ่อ คุณแม่ก็จะให้ตามที่ลูกขอทุกอย่าง ทำให้ลูกขาดความเข้าใจว่าสังคมภายนอกนั้น ที่แท้จริงเป็นอย่างไร ซึ่งการที่ลูกได้รับการเอาใจ ตามใจ จนมากเกินความจำเป็นและไม่มีขอบเขต หรือพ่อแม่ไม่ได้คาดหวังว่าลูกควรมีพฤติกรรมที่เหมาะสมกับวัย อาจเป็นเหตุให้ลูกเสียคนเมื่อโตได้

เลี้ยงลูกอย่างไรไม่ให้เสียคน

เลี้ยงลูกอย่างไรไม่ให้เอาแต่ใจ 6 วิธีหยุดลูกก่อนจะเสียคน

1. วางกฏเกณฑ์ให้เหมาะสมตามวัยและพัฒนาการของลูก

2. สร้างกฏเหล็กแห่งความปลอดภัยกับลูก เช่น ไม่ใช้นิ้วมื้อจิ้มนู้นนั่นนี่ ไม่เอามือเข้าปาก หรือไม่วิ่งเล่นบนถนน เป็นต้น

3. สอนลูกพฤติกรรมเชิงบวกในสังคม เช่น มารยาทพื้นฐานที่ควรใช้อย่างการสวัสดี การกล่าวขอบคุณ ขอโทษ อย่างสุภาพกับผู้ใหญ่ในบ้าน และคนรอบข้างได้

4. สอนลูกในพฤติกรรมที่เหมาะสมกับวัย เช่น เมื่อลูกเริ่มโต และเข้าใจในสิ่งที่พ่อแม่พูดได้ อาจใช้คำถามปลายเปิดให้ลูกเริ่มคิดในสิ่งที่ลูกอาจทำตัวไม่เหมาะ และอธิบายถึงพฤติกรรมที่เหมาะสมให้ลูกเข้าใจ

5. นิ่งสงบสยบความเอาแต่ใจ เมื่อเห็นว่าลูกเรียกร้องในสิ่งที่ไม่สมควร หากพ่อแม่ตามใจในทุกเรื่องก็ย่อมไม่ส่งผลดีต่อลูก หรือการใช้อารมณ์ต่อว่า หงุดหงิดใส่ลูก สิ่งนี้ก็ไม่ได้เป็นการสอนให้ลูกได้ดีขึ้นเลย

6. อดใจไม่ตามใจ หากพ่อแม่คาดหวังที่จะให้ลูกไม่มีพฤติกรรมเอาแต่ใจ จำเป็นต้องให้ลูกรักษาคำพูดหรือทำตามที่รับปากไว้ให้ได้ เช่น จะไม่ยอมปล่อยให้ลูกเล่นของชิ้นนี้หากลูกไม่รู้จักเก็บให้ดี เป็นต้น

 นิสัยเสียของพ่อแม่ ทำให้ลูกเสียนิสัย

1. ชอบใช้ความรุนแรง

ความรุนแรงไม่แก้ปัญหา แต่เพราะคนเราต้องการหยุดสถานการณ์ตรงหน้า จึงใช้ความรุนแรง นักวิจัยมีบทสรุปว่า ความจำเป็นต้องใช้ความรุนแรงนั้นเป็นเพราะในยุคดึกดำบรรพ์ มนุษย์ต้องทำไปเพื่อความอยู่รอด แต่ปัจจุบันเราไม่ใช่นักล่า และไม่ใช่ผู้ถูกล่าอีกต่อไปรวมทั้งพฤติกรรมการพูดคุยอย่างสงบมาแทนที่ เราจึง”ไม่”จำเป็นต้องใช้ความรุนแรง

2. คาดหวังมากเกินไป

มีคำพูดที่กล่าวว่า ไม่คาดหวัง ทำให้ไม่ผิดหวัง คำพูดนี้เป็นเรื่องจริงซะยิ่งกว่าจริง การที่นำความคาดหวังเข้าไปในตัวลูก คุณไม่รู้หรอกว่า คุณได้ฝังความเครียดอะไรเข้าไปในตัวเด็กบ้าง ความคาดหวังและ ความเครียดนั้นมีผลเสียมากกว่าที่คุณคิด เด็กบางคนอาจคิดสั้น จนฆ่าตัวตาย เลยก็มี

3. ไม่มีวินัย

เราทุกคนต่างก็มีนิสัยเสียไม่มากก็น้อย เช่น การไม่ตรงต่อเวลา ความไม่มีระเบียบ ซึ่งนิสัยเสียนั้นจะเป็นตัวบ่อนทำลายเราไปเรื่อยๆ หากเรายังหาข้อแก้ตัวให้ตัวเองเสมอว่า เราเลิกนิสัยนั้นไม่ได้ ซึ่งสิ่งสำคัญที่สุดคือการหาให้เจอว่าเรามีข้อเสียเรื่องใดและรีบแก้ไขปรับปรุง เพื่อไม่ให้ติดไปเป็นนิสัยหรือสันดานจนแก้ยา

เลี้ยงลูกอย่างไรไม่ให้เอาแต่ใจ

4. รักลูกมากเกินไป

การรักลูกมากเกินไป เป็นห่วง หรือ ตีกรอบให้ลูกมากเกินไป จะทำให้ลูกไม่ได้เรียนรู้ ถึงโลกภายนอก เขาจะไม่สามารถป้องกันตัวเองได้ และ มีแรงต้านทานต่ออะไรต่ำ พ่อแม่ ควรให้อิสระ แก่ลูกบ้าง ไม่เก็บลูก ขังลูกไว้ใกล้ตัว เพราะคิดว่า ที่ตรงนี้ปลอดภัยที่สุดแล้วสำหรับลูก ในความเป็นจริงแล้วคุณไม่อาจปกป้องเขาได้ตลอดไป

5. ชอบนินทา

เพราะมนุษย์เป็นสัตว์สังคม การนินทานั้นเป็นเครื่องมือในการสร้างความสัมพันธ์ในกลุ่ม ซึ่งการนินทานี้ เรียกว่าเป็นการสร้างความเป็นหมู่คณะในทางที่ผิด และการนินทาคือการทำร้ายผู้อื่นทางอ้อม เพียงแค่คุณแม่ๆ เปลี่ยนนิสัยชอบนินทาของด้วยการ แยกตัวออกมาเมื่อมีการนินทาเกิดขึ้นหรือเปลี่ยนเรื่องคุย เพราะบนโลกนี้มีเรื่องคุยมากมายที่ไม่เข้าข่ายการนินทา

6. ไม่เข้าใจลูก

ทัศนคติ ของสังคมมีการเปลี่ยนแปลงไปมากมาย สิ่งบางอย่างที่คุณคิดว่าผิด มันอาจจะไม่ใช่เรื่องไม่ดีก็ได้ เช่นเรื่อง เพศสภาพ คนรัก ศาสนา คุณควรจะทำความเข้าใจกับลูก มากกว่าดุด่า ทำร้ายลูก ซึ่งไม่นำมาซึ่งประโยชน์ใดๆเลยแม้แต่น้อย

7. ข่มเหงรังแก

ทั้งเด็กและผู้ใหญ่เราต่างมีโอกาสเกี่ยวพันกับสถานการณ์ที่มีการรังแกผู้อื่น คุณพ่อคุณแม่อาจถูกยุแหย่ให้กลั่นแกล้งผู้อื่น (โดยไม่รู้ตัว) เพราะคิดว่าคน ๆ นั้นสมควรได้รับสิ่งนี้ ซึ่งการข่มเหงรังแกคนอื่นนั้น เป็นการทำลายทั้งตัวเราเองและผู้ถูกกระทำด้วย สิ่งสำคัญในการแก้คือต้องดึงตัวเราเองออกจากสถานการณ์นั้น และมีจุดยืนในชีวิตว่าจะไม่ข่มเหงรังแกใคร

8. ขี้ขโมย

หลายชีวิตขโมยเพื่อให้ตัวเองอยู่รอด แต่อีกจำนวนมากขโมยเพื่อความบันเทิงทางใจและเมื่อสบโอกาส โดยไม่ได้คำนึงถึงสิ่งที่จะตามมา

9. บังคับลูกเกินไป

เด็กยังเล็กอยู่ อาจจะต้องมีการบอก หรือ บังคับบ้างเป็นเรื่องธรรมดา แต่การบังคับลูกมากเกินไปจะทำให้เกือบผลเสียได้มากกว่าที่คิด ลูกคุณอาจจะต่อต้าน หรือ เกลียดสิ่งนั้นไปเลยก็ได้ จิตใจของลูกเป็นสิ่งสำคัญ ให้เขาได้ลองเรียนรู้อะไรหลายๆอย่าง เพื่อเปิดมุมมองของเขาจะดีกว่า

10. ชอบโกหก

คนเราโกหกด้วยเหตุผลหลากหลาย บางทีเราพูดไม่จริงเพื่อปกป้องใครบางคน แต่ก็มีหลายๆครั้งที่เราโกหกเพื่อให้ตัวเองดูดี ถ้าพูดอะไรออกไปแล้ว ยังไม่สร้างความรู้สึกปังๆ คุณพ่อคุณแม่ หรือผู้ใหญ่มักมีแนวโน้มที่จะโกหกคำโตมากขึ้น และยิ่งโกหกบ่อยเท่าไหร่ ก็จะยิ่งชินกับมันเท่านั้น และมันจะทำให้เรากลายเป็น fake people หรือคนขี่โกหกไปในที่สุด

11. ใช้กำลัง

เรื่องนี้พ่อ แม่ทุกคนน่าจะทราบดี ว่าการใช้กำลัง ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อะไรเลย นอกจากจะทำให้ลูก เจ็บตัว เจ็บใจ แล้ว ผลกระทบทางจิต อาจจะเปลี่ยนให้เขาเป็นคนก้าวร้าว หรือ เป็นโรคซึมเศร้าได้

12. เปรียบเทียบ

ไม่มีใครชอบการเปรียบเทียบหรอก แม้แต่ตัว ผู้ปกครอง พ่อ แม่ เองก็เถอะ ถ้าเห็นแบบนั้นแล้ว คุณก็ไม่ควรที่จะนำลูกไป เปรียบเทียบกับลูกคนอื่น เด็กทุกคน มีความชอบ ความดี ความถนัดคนละด้าน คนควรที่จะส่งเสริมลูก มากกว่า กดลูกลง

13. เล่นการพนัน

การพนันคืออบายมุข คือการเสพติด การพนันสูบกินวิญญาณและเงินทอง การพนันทำให้เราขโมย ทำให้เราโกง

14. ด่าลูกเป็นประจำ

เช่นเดียวกับการใช้กำลัง การดุลูก ด่าลูก ก็เป็นการสร้างบาดแผลในใจเด็กเช่นกัน การดุด่า แบบไม่มีเหตุผล ล้วนแต่จะส่งผลเสียให้แก่ตัวลูกเอง

15. เครียด

ชีวิตนั้นเต็มไปด้วยความเครียด เมื่อเราเครียด เราไม่รู้วิธีจัดการกับมัน มันจึงตัวใหญ่ขึ้นๆ จนกระทบเราเองและคนรอบข้าง เพราะยังมีคนเก่งๆมากมายที่ประสบความสำเร็จในชีวิตและขณะเดียวกันก็มีสุขภาพจิตดี โดยมีเคล็ดลับ คือ รู้จักบริหารเวลาและจัดการกับอารมณ์ได้ดีนั่นเอง

16. ต้องดีกว่าใครเสมอ

เรื่องนี้ใกล้เคียงกับการเปรียบเทียบคนอื่น และ การคาดหวัง การที่คุนคิดว่าลูกจะต้องดีเด่นทุกด้าน ทำอะรไรก็ดีไปหมดนั้น เป็นอะไรที่ไม่สมเหตุสมผล และ มีข้อเสียมากกว่าข้อดี การบังคับ และ แรงกดดัน ที่ลูกได้รับ อาจส่งผลเสียให้แก่ สุขภาพจิตของลูกเองในอนาคต

6 วิธีหยุดลูกไม่ให้เอาแต่ใจก่อนจะเสียคน

สัญญาณว่าลูก ๆ ของคุณนิสัยเสีย

พวกเขามีอารมณ์ฉุนเฉียวบ่อยครั้ง

อารมณ์ฉุนเฉียวเป็นเรื่องปกติของวัยเด็กและมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นได้บ่อยกว่าเมื่อไม่นานมานี้กับกิจวัตรของลูกน้อยของคุณ แต่เด็กที่พ่อแม่ชอบเล่นรหัสมากเกินไปมักจะโยนความพอดีบ่อยครั้งกว่าและมีการยั่วยุน้อยกว่าเด็กทั่วไป

สำหรับเด็กนิสัยเสียมาก “พวกเขากำลังใช้เพื่อที่จะได้รับทางของพวกเขาที่แม้ในคำใบ้ของการปฏิเสธมันเป็นปฏิกิริยาเข่าเหวี่ยงสำหรับพวกเขาที่จะทำให้เอะอะ”

พวกเขารังแกคนอื่น

การกลั่นแกล้งอาจเกิดขึ้นได้แม้ว่าเด็ก ๆ จะไม่ได้อยู่ที่โรงเรียนก็ตามและพฤติกรรมนี้มักมีที่มาที่น่าประหลาดใจนั่นคือการเลี้ยงดูที่อนุญาตมากเกินไป

เด็กที่นิสัยเสีย “รับรู้เฉพาะความรู้สึกของตัวเองเท่านั้นไม่ใช่ของคนอื่น” Saltz กล่าวซึ่งตั้งข้อสังเกตว่าสิ่งนี้อาจนำไปสู่ความถ่อมตัวและพฤติกรรมกลั่นแกล้งต่อคนรอบข้าง

พวกเขาปฏิเสธที่จะปฏิบัติตามกฎ

ในขณะที่เด็ก ๆ ทุกคนฝ่าฝืนกฎเป็นครั้งคราวซึ่งเป็นพฤติกรรมที่อาจมีความถี่เพิ่มขึ้นเนื่องจากลูก ๆ ของคุณใช้เวลาอยู่บ้านทั้งวัน แต่เด็กที่นิสัยเสียมักจะไม่เชื่อว่ากฎนั้นมีผลบังคับใช้กับพวกเขาเลย

Arzt กล่าวว่าในขณะที่เด็ก ๆ ส่วนใหญ่ปฏิบัติตามกฎของพ่อแม่เพราะพวกเขาเข้าใจถึงผลที่ตามมา “เด็กที่นิสัยเสียมักจะรู้ว่าใครบางคนจะเปิดใช้งานหรือหลอกล่อ” แม้ว่าจะไม่ทำ และถ้าคุณต้องการรักษาความสัมพันธ์ของคุณให้มั่นคงระวัง

การที่ลูกมีพฤติกรรมเอาแต่ใจ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการเลี้ยงดูของพ่อแม่ หากพ่อแม่เปลี่ยนพฤติกรรมตัวเองในการไม่สปอยล์ลูกจนเกินไป หรือปล่อยลูกให้ได้ทุกอย่างที่ต้องการ พ่อแม่ควรจะเข้าใจถึงความต้องการ และปรับวิธีการเลี้ยงลูกให้เหมาะสมตามวัย โดยสอนลูกตั้งแต่อายุยังน้อย ทำอย่างสม่ำเสมอ ก็สามารถปรับให้ลูกมีพฤติกรรมที่ดี ไม่เป็นเด็กเอาแต่ใจขึ้นได้.

Credit Article: www.manager.co.th

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ความจริงอันน่าสะพรึงของ การเลี้ยงลูกแบบตามใจ
ผลจากการเลี้ยงลูกของพ่อแม่ 4 แบบ มัน “ใช่” สำหรับลูกหรือเปล่า?

parenttown

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!