ภาวะตัวเย็นเกินในเด็ก อันตรายที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้าม พ่อแม่อย่าประมาทเด็ดขาด!

undefined

ภาวะตัวเย็นเกินในเด็ก อาการเจ็บป่วยที่อาจทำอันตรายร้ายแรงถึงชีวิตได้ ถ้าลูกตัวเย็นพ่อแม่ควรทำอย่างไร อาการตัวเย็นของลูกแบบไหนคึวรรีบไปพบแพทย์ด่วน

ภาวะตัวเย็นเกินในเด็ก

ภาวะตัวเย็นเกินในเด็ก มักจะเกิดกับทารกในช่วงที่อากาศเริ่มมีความหนาว เย็นอาจส่งผลให้เกิดความเจ็บป่วยจาก “ภาวะตัวเย็นเกิน” (Hypothermia) ได้ง่าย โดยเฉพาะกลุ่มทารก และเด็กเล็ก ซึ่งภาวะนี้เป็นภาวะที่ร่างกายมีอุณหภูมิลดต่ำกว่าปกติ คือต่ำกว่า 35 องศาเซลเซียส อันจะส่งผลกระทบให้อวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายทำหน้าที่ไม่ได้ตามปกติ เกิดอาการเจ็บป่วยรุนแรง เป็นอันตรายถึงเสียชีวิตได้

 

ภาวะตัวเย็นเกินในเด็ก

อุณหภูมิร่างกาย 35 ลูก ตัว เย็น

 

ภาวะตัวเย็นเกินในเด็กเกิดจากอะไรได้บ้าง ?

สาเหตุหลักของภาวะนี้ในเด็กมักเกิดจากการอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่สัมผัสกับอากาศหนาวเย็น เช่น อยู่ในบริเวณภูมิประเทศที่หนาว หรือ แช่อยู่ในน้ำเย็นจัด
นอกจากนี้ อาจเกิดจากความเจ็บป่วยรุนแรง หรือเกิดจากอุบัติเหตุระหว่างการเดินทางขนส่ง หรือ การได้รับสารพิษ หรือยาบางชนิดก็ได้

 

อาการของภาวะตัวเย็นเกินมีอะไรบ้าง ?

อาการของภาวะตัวเย็นเกินจะมี 3 ระดับ ขึ้นอยู่กับระดับอุณหภูมิของร่างกายที่ลดต่ำลงดังนี้

  1. อาการไม่รุนแรง: อุณหภูมิของร่างกายอยู่ในช่วง 32 – 35 องศาเซลเซียส ผู้ป่วยจะมีอาการสั่น ขนลุก ดูซีด ปลายมือปลายเท้าเขียว
  2. อาการรุนแรงปานกลาง: อุณหภูมิร่างกายอยู่ในช่วง 28 – 32 องศาเซลเซียส ผู้ป่วยจะมีอาการพูดไม่ชัด มีการเคลื่อนไหวผิดปกติ งุ่มง่าม การคิดช้าลง อ่อนเพลีย ง่วงซึม หงุดหงิด สับสน
  3. อาการรุนแรงมาก: อุณหภูมิของร่างกายน้อยกว่า 28 องศาเซลเซียส ผู้ป่วยจะมีการหายใจช้าลง หัวใจเต้นช้าลง และความดันลดต่ำลง ทำให้อาจจะคลำชีพจรไม่ได้ และอาจมีภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ ตัวแข็งเกร็ง ม่านตาขยาย

ซึ่งหากผู้ป่วยมีอาการรุนแรงมาก ๆ ก็อาจทำให้เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้เนื่องจากระบบ ไหลเวียนโลหิตระบบการหายใจของร่างกายจะมีการทำงานลดลงจนถึงขั้นหยุดทำงานได้ โดยในเด็กเล็กกลไกการทำงานของร่างกายในการผลิตความร้อน เมื่อเกิดภาวะตัวเย็นเกินนั้น จะยังไม่ดีเท่ากับผู้ใหญ่ อีกทั้งการสะสมพลังงาน เพื่อการสร้างความร้อนภายในร่างกาย ก็ไม่ดีเท่ากับผู้ใหญ่เช่นกัน จึงอาจเกิดอันตรายจากภาวะตัวเย็นเกินนี้ได้มากกว่าผู้ใหญ่

**ทั้งนี้ในทารก และเด็กเล็กจะไม่สามารถอธิบายอาการผิดปกติที่เกิด ขึ้นจากภาวะตัวเย็นเกินได้ คุณพ่อคุณแม่จึงควรสังเกตอาการของภาวะนี้ เมื่อสภาพแวดล้อมรอบตัวเด็กอยู่ในสภาวะอากาศหนาวเย็น โดยสังเกตว่า ลูกมีอาการต่าง ๆ ดังกล่าวต่อไปนี้หรือไม่ ได้แก่ ดูซึมผิดปกติ ไม่ค่อยดูดนม อ่อนเพลีย ไม่มีแรง ขยับแขนขาน้อยลง ผิวหนังบริเวณลำตัว และแขนขา หน้าท้องเย็น มีการหายใจที่ผิดปกติหรือหยุดหายใจเป็นพัก ๆ

 

ภาวะตัวเย็นเกินในเด็ก

อุณหภูมิร่างกาย 35 ลูก ตัว เย็น

การรักษาภาวะตัวเย็นเกินทำได้อย่างไร?

ผู้ป่วยที่มีภาวะตัวเย็นเกินจำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษา โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อป้องกันไม่ให้อาการรุนแรงมากขึ้น จนกระทั่งถึงแก่ชีวิต ดังนั้นหากพบผู้ป่วยมีภาวะตัวเย็นเกิน ควรรีบนำส่งโรงพยาบาลด่วน โดยอาจให้การปฐมพยาบาล เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยเบื้องต้นดังนี้

  • ให้ผู้ป่วยเข้าไปอยู่ในบริเวณที่อบอุ่นไม่มีลมพัดเข้า โดยเคลื่อนย้ายผู้ป่วยอย่างเบามือที่สุด
  • หากเสื้อผ้าของผู้ป่วยเปียก เช่น กรณีผู้ป่วยตัวเย็นหลังจากอุบัติเหตุทางน้ำ ควรเปลี่ยนเป็นเสื้อผ้าที่แห้งแทน
  • ห่อหุ้มร่างกายผู้ป่วยด้วยผ้าห่มหรือผ้าที่หนา ๆ เพื่อเพิ่มความอบอุ่น
  • ให้ผู้ป่วยดื่มน้ำ หรือเครื่องดื่มอุ่นๆหากยังรู้สึกตัว
  • สังเกตการหายใจของผู้ป่วย เพราะหากผู้ป่วยมีภาวะตัวเย็นเกินที่รุนแรงมากอาจจะทำให้หยุดหายใจชีพจรหยุดเต้นหรือหมดสติได้ซึ่งหากมีอาการดังกล่าวจำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือโดยการปั๊มหัวใจ

เพื่อป้องกันการเกิดภาวะตัวเย็นเกินทั้งเด็กและผู้ใหญ่ควรหลีกเลี่ยงการอยู่ในบริเวณที่มีอากาศหนาวเย็นเป็นเวลานานโดยเฉพาะเด็กเล็กและผู้สูงอายุ ควรระมัดระวังหลีกเลี่ยงอากาศเย็น หากจำเป็นต้องอยู่ในบริเวณดังกล่าวควรใส่เสื้อผ้าที่ปกปิดมิดชิด และอบอุ่นเพียงพอ ใส่ถุงมือ ถุงเท้า ในเวลากลางคืนควรห่มผ้าห่มหรือผ้านวมหนา ๆ หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน และแอลกอฮอล์เป็นส่วนผสมทุกชนิด

ผู้ที่มีภาวะตัวเย็นเกินหากไม่ได้รับการช่วยเหลืออย่างทันท่วงทีอาจนำมาซึ่งการเสียชีวิตในเวลาอันรวดเร็วแต่หากได้รับการรักษาอย่างถูกต้องแล้วก็มีโอกาสจะรอดชีวิตได้สูง ดังนั้น การวินิจฉัยและการให้การดูแลรักษาที่ถูกต้องรวดเร็วจึงมีความสำคัญมากค่ะ

 

ภาวะตัวเย็นเกินในเด็ก

อุณหภูมิร่างกาย 35 ลูก ตัว เย็น

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

เด็กป่วยหน้าฝน RSV ไข้หวัดใหญ่ เฮอร์แปงไจน่า โรคหน้าฝนที่ทารกเด็กเล็กต้องระวัง

20 วิธีง่ายๆ ที่ทำให้สนิทกับลูกน้อยแรกเกิดได้เร็วขึ้น ตีสนิทกับลูกตอนเป็นทารก

ทำไมทารกชอบดูดนิ้ว ลูกจะเลิกดูดนิ้วเองไหม มีวิธีไหนทำให้ลูกเลิกดูดนิ้วบ้าง

ที่มา : healthline

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!