วัคซีนโรต้าฟรี ทารก 2 เดือน ต้องหยอดวัคซีนโรต้า ป้องกันโรต้าไวรัส Rotavirus เชื้ออันตราย

undefined

หยอดวัคซีนโรต้าฟรี ทารก 2 เดือน พ่อจ๋าแม่จ๋า อย่าลืมพาหนูไปหยอดวัคซีน

วัคซีนโรต้าฟรี

กทม.ชวนพ่อแม่ผู้ปกครองนำลูกพาหลานอายุ 2 เดือนหยอด วัคซีนโรต้าฟรี ป้องกันโรคอุจจาระร่วง โดยทารกต้องมีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพฯ

 

หยอดหยอดวัคซีนโรต้าฟรี 

นายสุนทร สุนทรชาติ รองผู้อำนวยการสำนักอนามัย (สนอ.) กรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวถึงการหยอดวัคซีนโรต้าฟรี ว่า กทม.ให้ความสำคัญในการดูแลสุขภาพเด็กเล็ก โดยเฉพาะทารกแรกเกิดถึงอายุ 5 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงมักเจ็บป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วง ที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสโรต้า

ปัจจุบันมีสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อยทั้งร้อน หนาวและมีฝนตก จึงทำให้เชื้อโรคเจริญเติบโตได้ดี โดยเฉพาะโรคอุจจาระร่วงในเด็กเล็กตั้งแต่แรกเกิดถึงอายุ 5 ปี ส่งผลเสียต่อสุขภาพของเด็กที่กำลังอยู่ในวัยเจริญเติบโต อาจเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยได้ง่าย

ทั้งนี้ ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันไวรัสโรต้าที่มีประสิทธิภาพและสามารถป้องกันอันตรายจากไวรัสโรต้าที่ทำให้เกิดโรคอุจจาระร่วงในเด็กได้ถึงร้อยละ 95 จึงเชิญชวนผู้ปกครองนำบุตรหลานอายุ 2 เดือนที่มีภูมิ ลำเนาอยู่ในกรุงเทพฯ มาหยอดวัคซีนโรต้าฟรี ป้องกันโรคอุจจาระร่วงจากเชื้อไวรัสโรต้า ทุกวันอังคารเวลา 12.00-15.00 น. ตั้งแต่วันที่ 15 ม.ค. 2562 เป็นต้นไป ณ ศูนย์บริการสาธารณสุขสำนักอนามัยทุกแห่ง สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กองควบคุมโรคติดต่อสำนักอนามัย กทม. โทร.0-2203-2887-9

ที่มา : https://www.dailynews.co.th/bangkok/668561

 

วิธีป้องกันเชื้อไวรัสโรต้า

การหยอดวัคซีนโรต้า มี 2 แบบ เป็นช่วงอายุ 2 เดือน อายุ 4 เดือน อายุ 6 เดือน (วัคซีนชนิด RotaTeqTM หรือ Pentavalent vaccine) กับแบบที่หยอดแค่ตอนอายุ 2 เดือน และอายุ 4 เดือน (วัคซีนชนิด RotarixTM หรือ Monovalent vaccine)

 

วัคซีนโรต้าฟรี ทารก 2 เดือน ต้องหยอดวัคซีนโรต้า ป้องกันโรต้าไวรัส Rotavirus เชื้ออันตราย หยอดวัคซีนโรต้าฟรี ทารก 2 เดือน อย่าลืมพาลูกไปหยอดวัคซีน

หยอดวัคซีนโรต้าฟรี ทารก 2 เดือน ต้องหยอดวัคซีนโรต้า ป้องกันโรต้าไวรัส Rotavirus

ไวรัสโรต้าคืออะไร?

รศ. พญ. รวีรัตน์ สิชฌรังษี กุมารแพทย์ อธิบายถึงไวรัสโรต้าว่า โรต้าเป็นเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง ที่ติดต่อได้ง่าย เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคอุจจาระร่วงในเด็กเล็ก โดยพบได้มากสุดในเด็กช่วงอายุ 6 เดือนถึง 2 ปี มีรายงานว่าเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีแทบทุกคนต้องเคยติดเชื้อ ไวรัสโรต้าอย่างน้อย 1 ครั้งในชีวิต โดยการติดเชื้อไวรัสชนิดนี้เป็นสาเหตุสำคัญที่สุดที่ทำให้เด็กเล็กมีอาการท้องเสียรุนแรงจนต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจากการขาดน้ำและเกลือแร่

 

เด็ก ๆ ติดเชื้อไวรัสโรต้าได้อย่างไร?

การติดเชื้อไวรัสชนิดนี้เกิดจากการกินสิ่งที่มีไวรัสปนเปื้อนเข้าทางปาก ไม่ว่าจะเป็นน้ำ อาหาร และสิ่งของ โดยไวรัสชนิดนี้อาจติดอยู่ตามสิ่งของ เช่นของเล่นเด็ก เมื่อเด็ก ๆ นำสิ่งของ หรือ มือที่เปื้อนเชื้อไวรัสเข้าปาก ก็สามารถติดเชื้อได้ จากนั้นเชื้อไวรัสเดินทางไปตามระบบทางเดินอาหาร คือ กระเพาะอาหาร และลำไส้ ทำลายเยื่อบุผนังลำไส้ทำให้เกิดอาการอักเสบติดเชื้อขึ้น

 

เมื่อติดเชื้อไวรัสโรต้าแล้วจะแสดงอาการอย่างไร?

หลังได้รับเชื้อ 1-2 วัน เด็ก ๆ ที่ติดเชื้อจะเริ่ม

  • มีไข้ และอาเจียน
  • บางรายอาจเกิดอาการทางระบบทางเดินหายใจ คือ มีน้ำมูกไหล ไอ คอแดง ร่วมด้วย
  • ต่อมาจะมีอาการท้องเสีย ถ่ายเหลว ส่วนใหญ่อาการจะหายไปภายใน 3-5 วัน

ส่วนน้อยจะมีอาการท้องเสียยืดเยื้อเรื้อรังมากกว่า 1 สัปดาห์ หากการท้องเสียเกิดขึ้นเป็นเวลานาน หรือมีอาการรุนแรงทำให้เด็กขาดน้ำ และเกลือแร่มาก จนต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลได้

เมื่อเด็ก ๆ มีอาการท้องเสียและไปพบคุณหมอ หากเก็บอุจจาระได้ คุณหมอจะนำส่งห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจหาการติดเชื้อ โดยดูจำนวนเม็ดเลือดในอุจจาระ และตรวจหาเชื้อไวรัสโรต้าได้ค่ะ

 

วิธีป้องกันไวรัสโรต้าด้วยนมแม่

เพจมูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย โพสต์ว่า เด็กทุกคนมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ อาการรุนแรงจะพบในเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 2 ปี

ป้องกันได้โดย

  1. ให้ทารกกินนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน และกินนมแม่ต่อพร้อมอาหารตามวัยต่อเนื่องถึง 2 ปี หรือนานกว่านั้น
  2. การหยอดวัคซีนป้องกันไวรัสโรต้า ตั้งแต่ทารกอายุ 2 เดือนขึ้นไป แต่ครั้งแรกที่เริ่มหยอดต้องอายุไม่เกิน 15 สัปดาห์ หรือประมาณ 4 เดือน

แล้วอย่างไหนจะดีกว่ากัน? มาดูกันค่ะ

การศึกษาในประเทศเม็กซิโก รายงานใน British Medical Journal เมื่อ January 2010 สรุปว่า ” การให้วัคซีนป้องกันไวรัสโรต้า ลดการตายจากท้องเสียในทารกเม็กซิกัน ลงไปได้ 40 %”(1)

อีกการศึกษาหนึ่งใน เด็กชาวบราซิล พบว่าการให้นมแม่อย่างเดียว สามารถลดจำนวนเด็กที่ท้องเสียลงไปได้ 90 %. เมื่อเทียบกับเด็กที่กินนมผง และหรือ อาหารอื่น “(2)

“นมแม่” ช่วยป้องกันท้องเสียจากโรต้า ช่วยประหยัดเงิน เด็กสุขภาพดีค่ะ

ที่มา : https://www.facebook.com/Thaibf

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

โรต้าไวรัส สาเหตุโรคอุจจาระร่วง วิจัยเผยส่งผลต่อพัฒนาการทารก เสี่ยงไอคิวต่ำ

โรคหน้าหนาว ต้องระวังลูกป่วย ทารก เด็กเล็ก เสี่ยงโรคร้าย แถมมีโรคแทรกซ้อนรุนแรงถึงชีวิต!

4 อาการผิดปกติของอวัยวะเพศหญิง ที่พบบ่อยในทารก

ป้อนกล้วยลูก 2 เดือน ป้อนกล้วยลูกครั้งแรก ก่อน 6 เดือน ทารกเสี่ยงเสียชีวิต แม่อย่าทำ

 

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!