ลูกไม่ยอมกินข้าว ทำไงดี สาเหตุที่ทำให้ลูกไม่กินข้าวคืออะไรและวิธีทำให้ลูกกินข้าว

ลูกไม่ยอมกินข้าว เป็นอีกหนึ่งเรื่องสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่ส่วนใหญ่ มักมีความกังวลเกี่ยวกับเรื่องนี้ เพราะการไม่ยอมทานอาหารของลูกส่งผลกระทบไปสู่การเจริญเติบโตในหลาย ๆ ด้าน จะทำอย่างไรกันดีนะให้ลูกนั้นกินข้าวมากกว่าขนม วันนี้ TheAsianparent มีคำตอบมาให้ค่ะ สำหรับการที่

[tap-product ids=”th.theasianparent.com/baby-not-eating”]

สาเหตุที่ทำให้ลูกไม่กินข้าวคืออะไรและวิธีทำให้ลูกกินข้าว

 

สาเหตุที่ลูกไม่ยอมกินข้าว คืออะไร?

ปัญหาลูกไม่ยอมกินข้าวอาจเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุแตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็น การเลือกกิน ไม่อยากกินอาหารที่ไม่เคยกิน อาการแพ้อาหาร ปัญหาสุขภาพที่ส่งผลต่อการกิน

 

  • การเลือกกิน

เด็กมีปัญหาในการเลือกรับประทานอาหารบางอย่าง เนื่องจากไม่ชอบเนื้อสัมผัส รสชาติ หรือกลิ่นของอาหารนั้น ๆ คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตพฤติกรรมการเลือกรับประทานของลูก เพื่อให้ทราบว่าลูกไม่ทานอะไรบ้าง เด็กที่ไม่ได้ลองกินอาหารที่มีเนื้อสัมผัสหรือรสชาติแปลกใหม่ตั้งแต่อายุยังน้อยมีแนวโน้มเกิดพฤติกรรมการเลือกกินได้สูง

 

ลูกไม่ยอมกินข้าว 1

 

  • ไม่อยากกินอาหารที่ไม่เคยกิน

เด็กเล็กมักเลี่ยงกินอาหารใหม่ คุณพ่อคุณแม่ควรช่วยให้เด็กลองรับประทานอาหารใหม่ ๆ โดยให้อาหารที่มีรสชาติคล้ายกับอาหารที่เด็กคุ้นเคย เช่น ให้เด็กลองกินมันบดซึ่งมีเนื้อสัมผัสคล้ายมันหวานบด จากนั้นให้เด็กค่อย ๆ รับประทานอาหารใหม่ในปริมาณน้อย โดยป้อนให้เด็กลองกิน 3 ครั้งในแต่ละมื้อ หากลูกไม่ทานก็ให้เปลี่ยนเป็นสิ่งที่ลูกชอบก่อน

 

  • อาการแพ้อาหาร

เด็กเล็กเกิดการแพ้อาหารส่วนใหญ่แล้ว เด็กมักแพ้นม ถั่วเหลือง ไข่ ข้าวสาลี ถั่วต่าง ๆ และอาหารทะเล โดยจะเกิดอาการท้องร่วง อาเจียน มีผื่นขึ้น หรือปวดท้อง นอกจากนี้ เด็กเล็กยังเกิดภาวะที่ร่างกายรับอาหารบางอย่างไม่ได้ (Food Intolerance) เด็กที่เกิดการแพ้อาหาร Food Intolerance มักแพ้แลคโตส ข้าวโพด หรือกลูเตน โดยจะเกิดก๊าซในกระเพาะอาหาร ท้องอืด ท้องร่วง และปวดท้อง จะปรากฏอาการช้าหลังรับประทานอาหารที่แพ้เข้าไป แต่อาจเกิดอาการป่วยนานหลายชั่วโมงหรือหลายวัน

 

  • ปัญหาสุขภาพที่ส่งผลต่อการกิน

ปัญหาสุขภาพบางอย่างอาจส่งผลให้เด็กรับประทานลำบาก โดยอาจดูด เคี้ยว หรือกัดอาหารไม่ถนัด สำลักหรือรู้สึกพะอืดพะอมเมื่อรับประทานอาหาร รวมทั้งรู้สึกเจ็บปวดหรือเกิดอาการท้องผูก หากสังเกตว่าเด็กมีอาการดังกล่าว ควรพาไปพบแพทย์

บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูกแพ้อาหารต้องทำอย่างไร เคล็ดลับการดูแลลูกแพ้อาหารในแต่ละช่วงวัย

ลูกไม่ยอมกินข้าว ลูก ไม่ ยอม กินข้าว ลูกไม่กินข้าว

 

แก้ปัญหาลูกไม่ยอมกินข้าวอย่างไร ?

 

1. การกระตุ้นเด็ก

  • ให้เด็กกินข้าวเอง
  • สังเกตอาการ
  • กระตุ้นเด็กให้รับประทานอาหารจากจานของพ่อแม่
  • ชมเมื่อเด็กกินอาหาร
  • ไม่บังคับให้กิน

 

2. การสร้างสุขลักษณะการกิน

  • จัดอาหารให้ดึงดูด
  • รับประทานอาหารตรงเวลา
  • สร้างสีสันในการรับประทานอาหารร่วมกัน
  • ให้กินข้าวกับเพื่อน
  • ไม่รีบกินอาหาร
  • ให้เด็กมีส่วนร่วม
  • ให้เด็กกินปริมาณน้อย
  • งดน้ำตาล
  • เลี่ยงขนม

 

3. อาหารเสริมแก้ปัญหาลูกไม่ยอมกินข้าว

โดยทั่วไปแล้ว ทารกหรือเด็กเล็กไม่จำเป็นต้องรับประทานอาหารเสริมในกรณีที่ได้รับสารอาหารหลากหลายและเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย อย่างไรก็ตาม หากปัญหาลูกไม่ยอมกินข้าวส่งผลให้เด็กได้รับสารอาหารที่จำเป็นไม่เพียงพอ อาจต้องได้รับอาหารเสริมบางอย่างเพิ่ม ซึ่งควรได้รับการสั่งจ่ายอาหารเสริมตามแพทย์สั่ง อาหารเสริมที่ช่วยแก้ปัญหาลูกไม่ยอมกินข้าวนั้น

บทความที่เกี่ยวข้อง : อาหารเสริมตามวัยสำหรับเด็ก มีประโยชน์มากกว่าที่คิด

ลูกไม่ยอมกินข้าว ลูกไม่ ยอมกินข้าว ลูกไม่กินข้าว

วิธีหลอกล่อให้ลูกกินข้าว

สำหรับคุณพ่อคุณแม่บ้านไหนที่มีลูกไม่ยอมทานข้าว หรือลีลากว่าจะกินได้สักคำ วันนี้เราจึงได้นำเทคนิคหลอกล่อลูกน้อยของคุณให้รับประทานข้าวได้อย่างง่ายดายมาฝากกันค่ะ ไปดูกันเลยว่าจะมีวิธีใดที่น่าสนใจบ้าง ถ้าทำแล้วประสบความสำเร็จอย่าลืมแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณแม่มาลองทำตามกันด้วยนะคะ

 

1. เป็นตัวอย่างที่ดีให้กับลูก

ทุกอย่างเริ่มจากการที่พ่อแม่ เป็นตัวอย่างที่ดีให้กับลูก มีงานวิจัยหลายฉบับ แสดงให้เห็นว่า ลูกมักจะเลียนแบบพฤติกรรมของ พ่อ และ แม่ ถ้าคุณทานอาหารที่มีประโยชน์ ผัก ผลไม้ อาหาร Low-Fat และ พวก Whole Grains โฮลวีท ต่าง ๆ ลูกก็จะกินมันเช่นกัน เพราะฉะนั้น วิธีแรกก็คือ ลองเริ่มต้นจากคุณก่อน ลองดูว่าลูกจะทำตามหรือไม่ ผลพลอยได้ที่ตามมาก็คือ คุณก็จะได้กินอาหารที่มีประโยชน์ ดีต่อสุขภาพ สุขภาพของคุณก็จะ แข็งแรงมากขึ้นไปด้วย

 

2. คิดบวกเข้าไว้

งานวิจัยหลายตัวออกมากห้ามว่า การต่อรองกับลูกโดยใช้การกินอาหารนั้น เป็นเรื่องที่ไม่ควรทำเท่าไหร่ เพราะมันจะทำให้ลูกมีความคิดด้านลบต่ออาหาร เช่น ถ้าคุณบอกว่า คุณจะไม่ให้เล่นจนกว่าจะกินหมดนะ เขาจะมีความหลังที่ไม่ดี กับของสิ่งนั้น ที่คุณต้องการให้ลูกกิน ลองเปลี่ยนวิธีเป็นบอกว่า ลูกจะได้กินของดีนะ ของนี้ดีนะ และ อธิบายให้ลูกฟังจะดีกว่า ลูกจะได้เข้าใจมากขึ้น ว่า อาหารที่คุณอยากให้เขาลองนั้น ดีต่อร่างกายของเขาอย่างไร

 

3. ให้ลูกได้เลือก

เด็กนั้น จริง ๆ แล้วก็มีความเหมือนผู้ใหญ่ ในแง่ที่ว่า เขารู้สึกอยากมีทางเลือก อยากเป็นผู้ควบคุมสถานการณ์ การที่คุณให้ลูกได้มีโอกาสเลือก เลือกนั้น  จะทำให้เขารู้สึก ดีมากขึ้น แต่อย่าลืมว่า อาหารทุกอย่างที่ให้ลูกเลือก ต้องมีส่วนประกอบมาจากอาหารที่มีประโยชน์ด้วย

 

ลูกไม่ยอมกินข้าว ลูกไม่ ยอมกินข้าว

 

4. ซ่อนอย่างแนบเนียน

ยกตัวอย่างเช่น ถ้าลูกไม่ชอบทาน ผัก คุณสามารถจะซ่อน ผักไว้ในอาหารได้ แต่คุณจำเป็นที่จะต้องซ่อนให้มิดชิด ไม่งั้นลูกจะเสียใจทีหลัง หรือ ในเหตุการณ์ที่ลูกคุณไม่ชอบกินนม และคุณกังวลว่าเขาจะไม่ได้รับแคลเซียม ให้ลองผสมนมลงใน โยเกิร์ต ทำเป็นสมูทตี้ดูก็ได้ ในบางโอกาส คุณอาจจะไม่ต้องซ่อนอาหารแบบนี้ตลอดเวลาก็ได้ บางครั้งเราก็ต้องทำผัก หรือ อาหารอะไร ที่ลูกไม่ชอบ ออกมาให้เขาเห็นบ้าง เพื่อที่เขาจะได้ลองชิม หรือ ได้ลองเห็นหน้าค่าตา อาหารชนิดนั้นบ้าง

 

5. ให้ลูกได้มีส่วนร่วม

ลองเลือกผัก หรือ ผลไม้ที่อยากให้ลูกลองกิน มาสักหลาย ๆ อย่าง แล้วลองให้ลูก ช่วยมีส่วนร่วมในการทำอาหารดู เมื่อเขาได้ช่วยทำอาหาร เขาก็จะรู้สึกสนุก และ อยากลองชิมของที่ตัวเองทำขึ้นมาเองกับมือ

 

6. วิธีผสมผักกับอาหารให้ลูกทาน

  • นำผัก หรือ ผลไม้ มาอบเป็นขนมให้ลูกทาน
  • นำไปใส่เครื่องบดทำเป็น Smoothie
  • โรยชีสใส่เยอะ ๆ
  • ตกแต่งให้สวยงาม ทำให้ดูน่าทาน
  • ผสมกับมักกะโรนี พาสต้า หรือ ข้าว คลุกเคล้า ให้เข้ากัน
  • ทำรูปแบบใหม่ หรือ  ทำให้อาหารมีความหลากหลายในหน้าตามากขึ้น
  • ใส่เป็นชิ้นเล็กในแซนด์วิช
  • บดให้เป็นซุป

 

ลูกไม่ยอมกินข้าว ลูก ไม่ ยอม กินข้าว

 

หากหลอกล่อก็แล้ว ทำทุกวิถีทางแล้วลูกก็ยังไม่ยอมทานข้าวอยู่ดี คุณพ่อคุณแม่เป็นกังวล บางครั้งปัญหาอาจไม่ได้มาจากอาหาร หรือตัวลูกน้อยของคุณ แต่เป็นการขาดแรงจูงใจในการทานมากกว่า ซึ่งในบางครั้งอุปกรณ์หรือภาชนะที่นำมาใส่อาหารให้กับลูกก็สำคัญ นอกจากจะต้องปลอดภัย ปราศจากสารพิษแล้วยังจะต้องมีสีสันที่ดึงดูดลูกน้อยของคุณอีกด้วย เราจึงอยากขอเสนอ Mama’s Choice Jolly Feeding Set ที่มีส่วนประกอบมาให้ดังต่อไปนี้

  • ชามซิลิโคน : ก้นชามเป็นสุญญากาศ ยึดติดกับโต๊ะได้แนบสนิท หมดห่วงเรื่องล้มคว่ำ
  • ช้อนนิ่มพิเศษ: ปลอดภัยสำหรับเหงือกและฟันของเบบี๋ ด้ามจับทำจากไม้ จับถนัดมือ
  • ฝาแก้วหัดดื่มซิลิโคน : เปลี่ยนแก้วธรรมดาๆ เป็นแก้วหัดดื่มได้ง่ายๆ แค่มีฝาแก้วหัดดื่ม
  • ผ้ากันเปื้อนซิลิโคน : มีกระเปาะสำหรับรองรับเศษอาหาร ไม่ต้องกลัวหล่นเลอะพื้น

ทั้งนี้หากสุดท้ายแล้วลูกน้อยของคุณไม่อยากรับประทานและปัดอาหารตกลงพ้นก็มั่นใจได้ว่าชามของลูกน้อยของคุณจะไม่แตก และน้ำก็จะไม่หกเลอะพื้นแน่นอน เพราะสามารถป้องกันการล้มคว่ำของชามซิลิโคน เพียงแค่กดก้นภาชนะลงบนพื้นผิวเรียบให้แนบสนิท หรือพ่นน้ำใส่ใต้ภาชนะเล็กน้อยเพื่อเพิ่มพลังยึดติดของสุญญากาศ และด้วยนวัตกรรมการผลิตที่ทันสมัยทำให้วัสดุของเราทนต่ออุณหภูมิความเย็นและความร้อนได้ตั้งแต่ -40 ถึง 220 องศาเซลเซียส สามารถเข้าไมโครเวฟและเครื่องล้างจานได้ แบบนี้ก็ไร้กังวลได้ และคุณพ่อคุณแม่ท่านไหนที่อยากหาข้อมูลเกี่ยวกับช้อนกินข้าวเพิ่มเติมสามารถอ่านได้ที่ ช้อนทารก แนะนำช้อนป้อนข้าวทารก ยี่ห้อไหนดีที่สุดสำหรับลูกน้อย แต่ถ้าลูกน้อยของคุณไม่ยอมทานข้าวจริง ๆ คุณพ่อคุณแม่อาจต้องพาลูกน้อยไปพบแพทย์เพื่อปรึกษาและหาทางแก้ไขเรื่องนี้นะคะ เพราะบางครั้งพวกเขาอาจจะป่วยอยู่ก็ได้ 

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ผ้ากันเปื้อนเด็ก สำหรับหนูน้อยวัยหัดกินที่ดีที่สุด

เด็กกินยาก 5 วิธีแก้ปัญหาลูกกินยากที่คุณแม่ฉลาดเตรียมให้

วิธีฝึกลูกกินข้าวเอง บ้านไหนลูกไม่ยอมกินข้าวต้องลอง!

ที่มา : sheknows, sheknows , pobpad