ตั้งครรภ์ 39 สัปดาห์ พัฒนาการของทารกในครรภ์เป็นอย่างไร

เกิดอะไรขึ้นบ้าง ในช่วง ตั้งครรภ์ 39 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์จะเป็นอย่างไร ลูกในท้องมีขนาดเท่าไหร่ ไปติดตามกันเลย

ตั้งครรภ์ 39 สัปดาห์ คุณหมออาจทำการเร่งคลอดในสัปดาห์นี้หากว่าคุณมีภาวะแทรกซ้อนที่อาจเป็นอันตรายต่อคุณและลูกหากตั้งครรภ์เกินกำหนด แต่หากการตั้งครรภ์เป็นไปอย่างปกติคุณสามารถดำเนินการตั้งครรภ์ต่อไปได้แม้จะเกินกำหนด ในสัปดาห์นี้พัฒนการตั้งครรภ์ของลูกเป็นอย่างไรบ้าง

 

สัปดาห์ที่ 39 ของการตั้งครรภ์ ลูกในท้องตัวแค่ไหน

เข้าสู่ช่วงโค้งสุดท้ายใกล้คลอดแล้ว โดยในช่วงตั้งครรภ์ 39 สัปดาห์นี้ ลูกของคุณพร้อมที่จะลืมตาดูโลกแล้วค่ะ แต่ร่างกายของลูกยังคงสร้างไขปกคลุมผิวหนังอย่างต่อเนื่องเพื่อใช้ควบคุมอุณหภูมิของร่างกายหลังคลอด ไขนี้จะค่อย ๆ หลุดออกหลังคลอด ตอนนี้ลูกมีความสูง 50 เซนติเมตร และหนักประมาณ 3,200 กรัม ซึ่งขนาดของพวกเขาก็ประมารแต่โมง 1 ลูกนั่นเอง

บทความที่น่าสนใจ : 5 สถานที่เสริมพัฒนาการเด็ก พัฒนาสมองผ่านการเล่นกิจกรรม

 

ตั้งครรภ์ 39 สัปดาห์

ตั้งครรภ์ 39 สัปดาห์

 

พัฒนาการทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 39

  • ร่างกายของลูกยังคงสร้างไขปกคลุมผิวหนังอย่างต่อเนื่องเพื่อใช้ควบคุมอุณหภูมิของร่างกายหลังคลอด ซึ่งไขนี้จะค่อย ๆ หลุดออกหลังคลอด
  • กระดูกกะโหลกของลูกพร้อมสำหรับการคลอดแล้ว และสามารถเลื่อนเข้ามาเกยกันเพื่อให้ศีรษะลอดผ่านช่องเชิงกรานได้
  • เล็บมือยาว ลืมตาได้ และหายใจได้ดีแล้ว

 

อาการคนท้อง 39 สัปดาห์ เป็นอย่างไร

  • คุณแม่อาจมีอาการเจ็บท้องหลอกได้ตลอดในช่วงนี้ ซึ่งความรู้สึกจะคล้าย ๆ กับการเจ็บท้องคลอดจริง โดยอาการปวดจะเริ่มที่บริเวณหน้าท้อง และจะหายปวดเมื่อคุณแม่ขยับตัวเปลี่ยนท่า คุณแม่อาจรู้สึกว่ามดลูกหดรัดตัวเป็นช่วงๆ แล้วก็หายไป อย่างไรก็ตาม หากรู้สึกถึงการหดรัดตัวอย่างต่อเนื่อง นั่นคือสัญญาณว่าคุณแม่กำลังจะคลอดแล้ว
  • คุณแม่ควรจับเวลาของการหดรัดตัวของมดลูกตั้งแต่ตอนเริ่ม และควรแจ้งให้คุณหมอทราบหากรู้สึกว่ามดลูกหดรัดตัวถี่ขึ้น มีการบีบรัดที่แน่นและนานขึ้น

สัปดาห์ที่ 39 ของการตั้งครรภ์ ต้องทำอะไรบ้าง

ทุกสัปดาห์ที่คุณไปพบหมอ หมอจะตรวจครรภ์ประกอบกับการทำอัลตร้าซาวด์เพื่อดูการเติบโตและตำแหน่งของลูก นอกจากนี้คุณหมออาจจะตรวจภายในเพื่อดูว่าปากมดลูกเปิดในระดับไหนแล้วจะได้ให้ข้อมูลได้ชัดเจนเท่าที่จะทำได้ แต่คุณหมอไม่อาจจะคำนวณช่วงเวลาคลอดที่แน่นอนได้นะคะ  หากคุณตั้งครรภ์เกินกำหนด คุณหมอจะตรวจอัลตร้าซาวด์เพื่อดูว่าคุณสามารถตั้งท้องต่อไปได้หรือไม่ หากคุณตั้งครรภ์เกินกำหนด 1-2 สัปดาห์แพทย์อาจใช้วิธีเร่งคลอด แต่ถ้าคุณมีภาวะแทรกซ้อนแพทย์อาจต้องเร่งคลอดเร็วขึ้นเพื่อความปลอดภัยของคุณและลูก

  • ควรเริ่มจัดกระเป๋าเตรียมคลอดได้แล้ว หากว่ามีอะไรเกิดขึ้นจะได้ไม่ฉุกละหุก
  • เรื่องอาหารการกินยังคงเป็นเรื่องที่คุณแม่ต้องใส่ใจอยู่ ควรทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และนอนพักผ่อนให้เพียงพอ
  • คุณหมออาจทำการเร่งคลอดในสัปดาห์นี้หากว่าคุณมีภาวะแทรกซ้อนที่อาจเป็นอันตรายต่อคุณและลูกหากตั้งครรภ์เกินกำหนด

 


*ภาพและข้อมูลมีลิขสิทธิ์เจ้าของโดย บริษัท ทิคเกิ้ลมีเดีย จำกัด ไม่อนุญาตให้คัดลอกข้อมูล และนำรูปภาพไปเผยแพร่ต่อไม่ว่าวิธีใด ๆ หากฝ่าฝืน ทางบริษัทฯจะดำเนินการตามกฎหมาย เว้นแต่ได้มีการขออนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรกับทางบริษัทฯเรียบร้อยแล้ว

 

บทความที่น่าสนใจ : 

ตั้งครรภ์ 38 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์

ตั้งครรภ์ 37 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์

ท้องแก่ นอนไม่หลับ ทำไงดี ใกล้คลอดต้องนอนท่าไหนปลอดภัยที่สุด

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!