10 สาเหตุ ของอาการ เจ็บหน้าอก เจ็บกลางอก ระหว่างตั้งครรภ์

อาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นช่วงตั้งครรภ์ มีทั้งที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องปกติเพราะร่างกายของคุณแม่มีความเปลี่ยนเปลงเกิดขึ้น และอาการผิดปกติเพราะสาเหตุต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้นะคะ

อาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นช่วงตั้งครรภ์ มีทั้งที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องปกติเพราะร่างกายของคุณแม่มีความเปลี่ยนเปลงเกิดขึ้น และอาการผิดปกติเพราะสาเหตุต่างๆ หลายคนรู้สึก เจ็บหน้าอก กัน วันนี้ เราจะมาดูอาการ เจ็บหน้าอก เจ็บกลางอก แต่ละอย่างกัน ว่าเกิดจากอะไรบ้าง

 

อาการ เจ็บกลางอก แน่นหน้าอก เกิดจากอะไร

1.อาการแสบร้อนกลางอก เจ็บกลางอก (Heart Burn)

สาเหตุอาจเกิดจากอาหารไม่ย่อย กรดไหลย้อน กินอาหารที่มีไขมัน ถือว่าเป็นอาการปกติที่คุณแม่ตั้งครรภ์ส่วนใหญ่ต้องเจอค่ะ เนื่องจากฮอร์โมนโปรเจสโทโรนเพิ่มขึ้น ทำให้กล้ามเนื้อหูรูดตรงกระเพาะอาหารและหลอดอาหารผ่อนคลายจนทำให้คลายออก

2.อาหารไม่ย่อย (Indigestion)

เมื่อแก๊ซติดอยู่ระหว่างหน้าอกและหน้าท้อง ซึ่งสาเหตุของอาการอาหารไม่ย่อยนี้เกิดจากหลายสาเหตุ เช่น กินอาหารมากไป กินอาหารทอดหรือผัดที่ใช้น้ำมันทำให้ย่อยยาก กินอาหารรสจัด เป็นต้น ซึ่งคุณแม่อาจเกิดอาการแสบร้อนกลางอกได้ และอาการจะยิ่งแย่ลงหลังจาก 27 สัปดาห์

3.กระดูกซี่โครงขยายกว้างขึ้น (Rib Cage Widening)

ยิ่งสรีระของคุณแม่เปลี่ยนแปลง กระดูกซี่โครงก็เป็นอีกอวัยวะที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน ซึ่งจะทำให้เกิดความตึงของกล้ามเนื้อหน้าอก

4.ลูกเติบโตขึ้น (Growing Baby)

เมื่อร่างกายของลูกน้อยที่อยู่ในครรภ์ของคุณแม่ขยายใหญ่มากขึ้น (ซึ่งเป็นไปตามการเจริญเติบโตรายไตรมาสของตัวอ่อนตามปกติ) จะทำให้เกิดความดันไปดันกระบังลม ทำให้คุณแม่มีอาการแสบร้อนกลางอก นอกจากนี้หน้าอกของคุณแม่ที่กำลังขยายใหญ่ จะทำให้หายใจถี่ขั้นและเจ็บหน้าอกได้เหมือนกัน ค่ะ

5.เกิดการติดเชื้อ (Infection)

หากเกิดการติดเชื้อบริเวณหน้าอก ก็จะทำให้แสบร้อนกลางอก เจ็บกลางอก ได้เช่นกัน ซึ่งการติดเชื้อต่างๆ จะมีอาการอื่นบ่งบอกนอกอาการแสบร้อน คุณแม่ควรปรึกษาคุณหมอ เพื่อหาทางรักษาต่อไปค่ะ

6.ความเครียด (Stress)

กลายเป็นเรื่องปกติของคนทุกคนไปแล้วละค่ะ กับความเครียดที่เกิดขึ้นได้ ยิ่งร่างกายของคุณแม่เปลี่ยนแปลงในหลายๆ ส่วน เช่น เท้าบวมขึ้น หน้าอกขยาย หน้าท้องขยาย รักแร้และหัวนมมีสีคล้ำขึ้น ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะเครียดนะคะ ความเครียดส่งผลร่างกายแน่นอน อย่างน้อยก็คืออาการแสบร้องบริเวณหน้าอกนี่แหละค่ะ

7.หน้าอกขยาย (Change In Breast Size)

เมื่อเข้าสู่ไตรมาสที่ 2 ของการตั้งครรภ์ หน้าอกของคุณแม่จะขยายซึ่งอาจจะขยายมาก 2-3 คัพ ทำให้มีอาการเจ็บหน้าอกและไม่สบายตัวได้ค่ะ ซึ่งเป็นเรื่องปกตินะคะไม่ต้องตกใจไป แม้ว่าอาการเจ็บหน้าอกระหว่างตั้งครรภ์จะสามารถเป็นอาการของสาเหตุที่ร้ายแรงกว่านี้ได้ เช่น โรคหัวใจ แต่ก็ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยนักหรอกนะคะ

8.เส้นเลือดขอด (Deep Vein Thrombosis หรือ DVT)

หมายถึงลิ่มเลือดที่อยู่ในหลอดเลือดดำในขาหรือกระดูกเชิงกราน เป็นอาการที่คุณแม่จำเป็นต้องไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้เลยนะคะ เพราะว่าลิ่มเลือดที่เกิดขึ้นนั้น สามารถย้ายที่ได้ตามกระแสการไหลของเลือดไปยังส่วนต่างๆ ในร่างกายของคุณแม่ และอาจจะเข้าไปที่ปอดของคุณแม่ จนอาจทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอก และนำไปสู่โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด (pulmonary embolism หรือ PE) หรืออาจจะทำให้คุณแม่เสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ ดังนั้นคุณแม่จำเป็นที่จะต้องสังเกตอาการของตัวเองอย่างละเอียดค่ะ

9.โรคหัวใจ (Heart Disease)

หากเจ็บหน้าอกเนื่องจากการเป็นโรคหัวใจก็สามารถเป็นได้ในช่วงระหว่างการตั้งครรภ์เช่นกันนะคะ แต่จะมีอาการแตกต่างจากการเจ็บหน้าอกธรรมดาอยู่บ้าง เช่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ เจ็บจี๊ดๆ ที่บริเวณหัวใจ ซึ่งถ้าคุณแม่มีอาการแบบนี้ จำเป็นต้องปรึกษาคุณหมออย่างเร่งด่วนนะคะ

10.หัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (Heart Attack)

อาการหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันในช่วงตั้งครรภ์ก็อาจเกิดขึ้นได้ โดยมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น เวียนหัว (Lightheadedness) หายใจลำบาก ติดๆ ขัดๆ (breathlessness) อาการชาที่แขนขา อาการเหงื่อออกตัวเย็น (cold sweat) ถ้าคุณแม่คิดว่ามีอาการแบบนี้ รีบไปพบแพทย์ด่วนที่สุดเลยนะคะ

 

 

 

ที่มา Momjunction

 

บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

เคล็ดลับทำให้หน้าอกกระชับหลังหย่านม

ลูกบ่นเจ็บหน้าอก เป็นโรคหัวใจหรือเปล่า?

แสบร้อนกลางอก ช่วงท้อง อาการแบบนี้เกิดจากอะไร คนท้องควรรับมืออย่างไร

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!