X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ภาวะทารกโตช้าในครรภ์ (IUGR) คืออะไร อันตรายมากแค่ไหน ป้องกันได้ไหม

บทความ 5 นาที
ภาวะทารกโตช้าในครรภ์ (IUGR) คืออะไร อันตรายมากแค่ไหน ป้องกันได้ไหม

ความผิดปกติที่เกิดขึ้นขณะตั้งครรภ์ ภาวะทารกโตช้าในครรภ์ (IUGR) คืออะไร ทำไมแม่ท้องต้องระวังมากเป็นพิเศษ เพราะปัจจัยที่ทำให้เกิดมีหลายประการ และส่งผลกระทบรุนแรงต่อทารกได้ หากคุณแม่คนไหนยังไม่รู้จัก ภาวะทารกโตช้าในครรภ์ ต้องศึกษาจากบทความนี้ในตอนนี้เลย

 

ภาวะทารกโตช้าในครรภ์ (IUGR) คืออะไร

สำหรับ “ภาวะทารกโตช้าในครรภ์ (intrauterine growth restriction หรือ IUGR) คือ อาการผิดปกติที่อันตรายต่อทารก ที่ทำให้ทารกเสี่ยงต่อการเสียชีวิตนับตั้งแต่ อยู่ในครรภ์ครบ 22 สัปดาห์เต็มถึงน้อยกว่า 7 วันหลังคลอด อาการนี้ถือเป็นการเสียชีวิตอันดับที่ 2 รองจากการคลอดก่อนกำหนด โดยสาเหตุหลักที่ทำให้ทารกเสี่ยงต่อการเสียชีวิต คือ การที่ทารกมีพัฒนาการที่ไม่สมบูรณ์ หรือพิการแต่กำเนิด และ Intrauterine Hypoxia (ภาวะขาดอากาศหายใจในทารก)

บทความที่เกี่ยวข้อง : พัฒนาการ ทารกในครรภ์ ตลอด 9 เดือนที่อุ้มท้อง มีอะไรเกิดขึ้นบ้าง

 

วิดีโอจาก : DrNoon Channel

 

สาเหตุการเกิดภาวะ IUGR

การเกิดภาวะทารกโตช้าในครรภ์นี้เป็นเรื่องใกล้ตัวกว่าที่คิดไว้มาก เนื่องจากมีปัจจัยที่สามารถเกิดขึ้นได้หลายปัจจัย ทั้งจากตัวของคุณแม่เอง จากโรคหรืออาการต่าง ๆ ที่ทำให้ทารกได้รับสารอาหารน้อยลง เกิดจากอาการของทารกเอง และความแข็งแรงของรก และสายสะดือ เป็นต้น สามารถสรุปได้ ดังนี้

 

  • สาเหตุจากทารก (fetal causes) : เป็นผลกระทบจากการติดเชื้อในครรภ์ เช่น เชื้อซิฟิลิส, วัณโรค หรือมาลาเรีย ไปจนถึงความผิดปกติของโครโมโซม รวมไปถึงความพิการแต่กำเนิดของทารก เช่น หัวใจพิการแต่กำเนิด เป็นต้น หากอาการเหล่านี้รุนแรงจะทำให้ IUGR มากขึ้นตามไปด้วย
  • สาเหตุจากคุณแม่ (maternal causes) : การขาดสารอาหารของคนท้อง การมีครรภ์แฝดทำให้ทารกเสี่ยงได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ การกินอาหารไม่ครบ 5 หมู่ เกิดภาวะโลหิตจางขณะตั้งครรภ์ แม่ท้องเป็นโรคที่เกี่ยวกับระบบไหลเวียนเลือด ไปจนถึงการสูบบุหรี่ และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น
  • สาเหตุจากรก (placental causes) : รกเกิดการเสื่อมสภาพในวงกว้าง รกลอกตัว รกเกาะต่ำ ไปจนถึงสายสะดือมีปัญหา สิ่งเหล่านี้สามารถส่งผลต่อพัฒนาการของทารก และสามารถทำให้ทารกรับสารอาหารได้น้อยลง จนเกิดความเสี่ยงขึ้นในที่สุด

 

ภาวะทารกโตช้าในครรภ์ (IUGR) คืออะไร

 

จะเกิดอะไรขึ้นถ้าคนท้องเป็นภาวะทารกโตช้าในครรภ์ (IUGR)

ภาวะนี้ส่งผลรุนแรงต่อทารกได้หากไม่ระวัง อย่างไรก็ตามผลกระทบจากภาวะนี้ ยังส่งผลต่อตัวของคุณแม่ทั้งโดยตรง และทางอ้อมอีกด้วย ดังนี้

 

  • ผลกระทบต่อคุณแม่ตั้งครรภ์ : เพิ่มโอกาสที่จะต้องผ่าคลอด จากที่ตั้งใจไว้ว่าอยากคลอดแบบธรรมชาติ ซึ่งเรื่องนี้ยังสามารถส่งผลต่อสภาพจิตใจของคุณแม่อีกด้วย หากเกิดความเครียดมากจนเกินไปในช่วงตั้งครรภ์ จะยิ่งอันตรายต่อทั้งตนเอง และทารกในครรภ์ในเวลาต่อมาได้
  • ผลกระทบต่อทารกในครรภ์ : เลือดไม่สมบูรณ์ เช่น แคลเซียม และน้ำตาลต่ำกว่าเกณฑ์ ทารกจะติดเชื้อได้ง่ายกว่าปกติ ส่งผลเสียต่อพัฒนาการ เสี่ยงต่อการพิการแต่กำเนิด และผลกระทบที่รุนแรงสูงสุด คือ เสี่ยงทำให้ทารกเสียชีวิตได้

บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูกในท้องกินอย่างไร จะรู้ได้ไงว่าทารกในครรภ์กินอิ่ม ไม่ขาดสารอาหาร ?

 

IUGR สามารถป้องกันได้ไหม

คงไม่มีคุณแม่คนไหนที่อยากมีความเสี่ยงให้อาการแบบนี้เกิดขึ้นกับทารกน้อยในครรภ์อย่างแน่นอน การดูแลตนเอง และการเฝ้าระวังตลอดการตั้งครรภ์ จึงสามารถช่วยป้องกันได้ส่วนหนึ่ง ตัวอย่างเช่น

 

  • คุณแม่ และคุณแม่ควรเริ่มจากตนเอง ด้วยการให้ความสำคัญกับสุขภาพในชีวิตประจำวัน เช่น การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ดื่มน้ำสะอาด เลี่ยงแอลกอฮอล์ รวมถึงการสูบบุหรี่ เป็นต้น
  • ให้ความสำคัญกับการฝากครรภ์ ทำตามคำแนะนำของแพทย์ในการดูแลครรภ์ และไปหาแพทย์ตามนัดหมายให้ครบทุกครั้ง
  • สังเกตอัตราการดิ้นของทารกในครรภ์ เนื่องจากเป็นสัญญาณสุขภาพ และสามารถบ่งบอกถึงความปลอดภัยของทารกในครรภ์ได้ หากพบว่าทารกดิ้นน้อย หรือไม่ดิ้นเลย ควรรีบไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุด
  • หากพบว่าตนเองมีอาการผิดปกติที่สงสัยไม่ควรถามเพื่อน หรือคนอื่น นอกจากปรึกษากับแพทย์เท่านั้น เพื่อรับการตรวจ หากพบความผิดปกติแพทย์จะได้แนะนำได้ทันท่วงที
  • หากมีความจำเป็นแพทย์อาจช่วยป้องกันความปลอดภัยของทารก ด้วยการพิจารณาทำการเร่งคลอดก่อนเพื่อความปลอดภัย ซึ่งขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

 

ภาวะทารกโตช้าในครรภ์ (IUGR) คืออะไร 2

 

คนท้องเคยมีภาวะ IUGR จะสามารถมีลูกได้อีกไหม

แม้แม่ท้องจะเคยพบเจอกับภาวะทารกโตช้าในครรภ์ไปแล้ว อาจเป็นกังวลว่าในอนาคตหากต้องการมีลูกเพิ่มอีก 1 คนจะยังมีได้อีกไหม เรื่องนี้คุณแม่ไม่ต้องเป็นห่วง เพราะคุณแม่ยังคงสามารถตั้งครรภ์ได้ตามปกติ เพียงแต่ตลอดการตั้งครรภ์ต้องไม่ลืมที่จะฝากครรภ์ และบอกแพทย์ที่ดูแลว่าตนเองเคยมีประวัติ IUGR มาก่อน โดยแพทย์จะทำการดูแลพัฒนาการ และความปลอดภัยของครรภ์อย่างใกล้ชิดมากกว่าปกติ หากคุณแม่ทำตามคำแนะนำของแพทย์ได้ตลอด 3 ไตรมาส ก็จะทำให้ทารกมีความปลอดภัยมากขึ้นตามไปด้วย

 

ความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับทารกในครรภ์เป็นเรื่องละเอียดอ่อนมาก บางโรค บางอาการอาจสังเกตด้วยตนเองได้ยาก การวินิจฉัยโดยผู้เชี่ยวชาญจึงสำคัญมาก ด้วยเหตุนี้การสังเกตการณ์ดิ้นของทารก และการดูแลตนเองตลอด 3 ไตรมาส จนหลังคลอดจึงเป็นเรื่องที่แม่ท้องไม่ควรมองข้ามโดยเด็ดขาด

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ภาวะตายคลอด คืออะไร ทำไมทารกตายคลอด สาเหตุของภาวะตายคลอด

จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกในครรภ์สมบูรณ์ ลูกในครรภ์ของคุณครบ 32 หรือเปล่า

เอกซเรย์อันตรายต่อลูกในท้องไหม คนท้องเข้าเครื่องสแกนได้หรือเปล่า ??

ที่มา : w1.med.cmu, BKH, ScienceDirect.

บทความจากพันธมิตร
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
4 อาการคนท้อง  ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้
4 อาการคนท้อง ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Sutthilak Keawon

  • หน้าแรก
  • /
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • /
  • ภาวะทารกโตช้าในครรภ์ (IUGR) คืออะไร อันตรายมากแค่ไหน ป้องกันได้ไหม
แชร์ :
  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

  • วิจัยชี้! คนท้องเครียด นอนไม่หลับ ส่งผลต่อพัฒนาการลูกน้อยหลังคลอด

    วิจัยชี้! คนท้องเครียด นอนไม่หลับ ส่งผลต่อพัฒนาการลูกน้อยหลังคลอด

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

  • วิจัยชี้! คนท้องเครียด นอนไม่หลับ ส่งผลต่อพัฒนาการลูกน้อยหลังคลอด

    วิจัยชี้! คนท้องเครียด นอนไม่หลับ ส่งผลต่อพัฒนาการลูกน้อยหลังคลอด

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว