X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ให้นมลูกกินยาแทนลูกได้ไหม ? เรื่องอย่าหาทำ! ของแม่ให้นม

บทความ 5 นาที
ให้นมลูกกินยาแทนลูกได้ไหม ? เรื่องอย่าหาทำ! ของแม่ให้นม

แม่ให้นมหลายคนเข้าใจผิดเกี่ยวกับ "ยา" ที่จะส่งผ่านน้ำนมไปยังลูก ทำให้เกิดความเชื่อ และข้อสงสัยว่า ให้นมลูกกินยาแทนลูกได้ไหม ? มาดูคำตอบกันค่ะ

เป็นความจริงค่ะว่า “อาหาร” หรือแม้แต่ “ยาบางประเภท” สามารถส่งต่อผ่านทางน้ำนมของคุณแม่ไปยังลูกน้อยได้ จึงไม่แปลกที่แม่ให้นมบางคนเข้าใจผิด หรือเชื่อสิ่งที่ได้ยินมาแบบผิดๆ ว่า หากลูกน้อยวัยทารกเจ็บป่วย คุณแม่ก็สามารถกินยาแทนลูกได้ เพราะไม่ว่ายังไง…ลูกก็จะได้รับตัวยาผ่านทางน้ำนมอยู่แล้ว วิธีนี้ อย่าหาทำ! เชียวนะคะ แม่ให้นมคนไหนยังมีความสงสัยว่า ให้นมลูกกินยาแทนลูกได้ไหม ? ตามมาทำความเข้าใจไปพร้อมกันด่วนๆ ค่ะ

ให้นมลูกกินยาแทนลูกได้ไหม  

ให้นมลูกกินยาแทนลูกได้ไหม ? ความเชื่อจากความหวังดีแต่แฝงอันตราย

ความคิดหรือความเชื่อที่อาจบอกต่อๆ กันมาว่า การกินยาของคุณแม่ให้นมจะช่วยรักษาลูกน้อยที่กำลังป่วย อาจมาจากความปรารถนาที่จะบรรเทาความทุกข์ทรมานของลูกโดยไม่ต้องป้อนยาโดยตรง ซึ่งอาจเป็นเรื่องยากสำหรับเด็กเล็กๆ ซึ่งคุณแม่ให้นมหลายคนรักและสงสารลูก ไม่อยากให้ลูกกินยาเยอะ เลยขอกินแทนลูกเอง เพียงเพราะคิดว่ายังไงก็ให้นมลูกอยู่แล้ว ลูกรับยาผ่านทางน้ำนมแม่ก็ได้ อย่างไรก็ตาม กลไกการทำงานของยาในร่างกายแม่ และผลกระทบต่อลูกผ่านน้ำนมนั้นซับซ้อนและคาดเดาไม่ได้นะคะ บางเรื่องที่ได้ยินมาจึงควรใช้วิจารณญาณอย่างรอบคอบค่ะ

 

ให้นมลูกกินยาแทนลูกได้ไหม ?

ต่อให้รักและสงสารลูกน้อยวัยทารกมากแค่ไหน ก็อย่า! “กินยาแทนลูก” เด็ดขาดนะนะ ไม่แนะนำเลยค่ะ เพราะ “ยา” ไม่ได้สามารถผ่านไปทางน้ำนมแม่ได้ทุกชนิด มีตัวยาบางชนดเท่านั้นที่ผ่านไปได้ โดยเฉพาะ “ยาพาราเซตามอล” ลดไข้ ไม่สามารถส่งผ่านทางน้ำนมแม่ได้นะคะ ไม่ว่าแม่ให้นมจะกินยาไปมากเท่าไร คนที่ได้รับผลจากฤทธิ์ยาเต็มๆ ก็คือคุณแม่เองค่ะ ลูกไม่ได้รับการรักษาจากตัวยานี้เลย

ที่สำคัญคือ ยาตัวที่ส่งผ่านทางน้ำนมแม่ได้นั้น ส่วนใหญ่สามารถผ่านไปในปริมาณที่น้อยมากๆ ค่ะ ถือได้ว่าไม่มีฤทธิ์ทางการรักษาเลยใดๆ เลยด้วยซ้ำ และยิ่งไปกว่านั้นคือ ไม่สามารถระบุได้ด้วยว่าแต่ละรอบที่ทารกกินนมแม่นั้น จะได้รับปริมาณยาเข้าไปมากน้อยเท่าไร ดังนั้น แทนที่จะได้ประโยชน์ กลับกลายเป็นการก่อโทษต่อทั้งคุณแม่และลูกน้อย เพราะอาจได้อาการไม่พึงประสงค์ของยาแทนที่จะได้ฤทธิ์เพื่อรักษานั่นเองค่ะ

ทำไม ให้นมลูกกินยาแทนลูก อันตราย

ทำไม? “กินยาแทนลูก” ถึงเป็นอันตราย

ให้นมลูกกินยาแทนลูกได้ไหม … ไม่ต้องสงสัยแล้วนะคะ เพราะ “ไม่ได้” “ไม่ควร” และ “ไม่แนะนำ” ค่ะ เนื่องจากเหตุผลที่อาจก่อให้เกิดอันตราย ดังต่อไปนี้

  1. ปริมาณยาที่ไม่เหมาะสม

ปริมาณยาที่เหมาะสมสำหรับผู้ใหญ่และเด็กทารกนั้นแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงค่ะ การที่คุณแม่ให้นมกินยาแทนลูก โดยหวังว่าจะส่งผ่านไปยังลูกในปริมาณที่ถูกต้องนั้น “เป็นไปไม่ได้” และเราไม่มีทางรู้ได้เลยว่าลูกน้อยจะได้รับตัวยาในปริมาณเท่าไรผ่านทางน้ำนม ซึ่งอาจ น้อยเกินไปจนไม่สามารถรักษาอาการป่วย หรือ มากเกินไปจนเป็นอันตรายและเกิดผลข้างเคียง ต่อร่างกายที่ยังบอบบางของลูกค่ะ

  1. ผลข้างเคียงที่ไม่คาดคิด

ยาแต่ละชนิดมีกลไกการออกฤทธิ์และผลข้างเคียงที่แตกต่างกัน แม้ว่ายาบางชนิดจะสามารถผ่านทางน้ำนมได้ในปริมาณที่น้อยและอาจไม่เป็นอันตรายต่อเด็กโต แต่สำหรับทารกแรกเกิดหรือเด็กเล็ก อวัยวะต่างๆ ยังพัฒนาไม่เต็มที่ ทำให้ เสี่ยงต่อการเกิดผลข้างเคียงที่รุนแรง จากตัวยาที่ได้รับผ่านน้ำนมแม่ค่ะ

  1. การวินิจฉัยโรคที่ไม่ถูกต้อง

การที่ลูกน้อยป่วย จำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัยโรคที่ถูกต้องจากแพทย์ เพื่อให้ได้รับการรักษาที่ตรงจุด การที่คุณแม่ “คาดเดา” อาการของลูกและกินยาเอง โดยหวังว่าจะส่งผ่านน้ำนมไปรักษาลูกได้ อาจเป็นการ รักษาที่ไม่ตรงกับโรคที่เป็น และอาจทำให้อาการแย่ลง หรือเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายได้

  1. การได้รับยาที่ไม่จำเป็น

ยาบางชนิดที่แม่กินอาจไม่จำเป็นสำหรับอาการป่วยของลูกน้อย การส่งผ่านยาที่ไม่จำเป็นเหล่านี้ไปยังลูก อาจเป็นการ เพิ่มภาระให้กับร่างกาย ของลูกโดยไม่สมควร

  1. การพลาดโอกาสในการรักษาที่ถูกต้อง

การที่คุณแม่ให้นมพยายามรักษาลูกด้วยวิธี “กินยาแทน” อาจทำให้ เสียเวลาอันมีค่าในการพาลูกไปพบแพทย์ เพื่อรับการวินิจฉัยและการรักษาที่ถูกต้องตามหลักการแพทย์ อาจส่งผลเสียต่อการหายป่วยของลูกในที่สุด

ให้นมลูกกินยาแทนลูกได้ไหม ? 

สิ่งที่ แม่ให้นม “ควรทำ” เมื่อลูกป่วย

เมื่อลูกมีอาการป่วย สิ่งที่คุณแม่ควรทำไม่ใช่การมานั่งสงสัยว่า ให้นมลูกกินยาแทนลูกได้ไหม ? แต่ต้องทำสิ่งต่อไปนี้ค่ะ

  • สังเกตอาการของลูกอย่างใกล้ชิด จดบันทึกอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้น เพื่อให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่แพทย์
  • พาลูกไปพบแพทย์ เพราะการวินิจฉัยโรคที่แม่นยำจากแพทย์เป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการรักษาลูกน้อย
  • ปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด ให้ลูกได้รับยาและวิธีการรักษาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด
  • ดูแลลูกน้อยด้วยความรักและความเอาใจใส่ ให้ลูกพักผ่อนอย่างเพียงพอ ดื่มน้ำมากๆ และได้รับสารอาหารที่เหมาะสม
  • ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเกี่ยวกับการใช้ยาของแม่ หากคุณแม่เองมีโรคประจำตัวหรือจำเป็นต้องใช้ยา ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรถึงความปลอดภัยของยาต่อทารกที่ได้รับนมแม่

เทคนิคป้อนยาลูก

เทคนิค ป้อนยาลูกอย่างถูกวิธี หายป่วยไว ไม่งอแง

ถ้าลูกวัยทารกมีอาการป่วย สิ่งสำคัญคือต้องพาไปหาหมอนะคะ และต้องป้อนยาให้ตรงกับโรค อายุ น้ำหนักของลูกด้วย ซึ่งการป้อนยาเด็กเล็กที่ร่างกายยังเติบโตไม่เต็มที่ อาจต้องเพิ่มความระมัดระวังมากกว่าปกติ เพราะหากเกิดความผิดพลาด ผลเสียจะร้ายแรงกว่าที่เกิดกับผู้ใหญ่หลายเท่า และอาจเป็นเหตุผลว่าทำไมกินยาแล้วลูกไม่หายป่วยสักที ดังนั้น จำเป็นต้องป้อนยาตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัดนะคะ ซึ่งเทคนิคป้อนยาลูก ให้กินยาง่าย หายไว ไม่งอแง มีดังนี้

  1. ป้อนยาลูกด้วยใบหน้ายิ้มแย้ม ทำเหมือนการกินยาเป็นเรื่องปกติ อย่าแสดงความเครียดหรือวิตกกังวลออกมา เพราะจะยิ่งทำให้ลูกหวาดกลัว และกินยายากขึ้น หรือไม่ยอมกินยาค่ะ
  2. กรณีลูกวัยแรกเกิด อาจใช้วิธีใส่ยาลงในจุกนมยางที่ลูกใช้ดูดนมเป็นประจำ โดยถอดจุกออกจากขวด แล้วใส่ยาในปริมาณที่ต้องการลงไป แล้วนำจุกนมไปใส่เข้าในปากลูก ลูกจะดูดตามสัญชาตญาณและกลืนยาเข้าไป เมื่อยาหมดให้เอาจุกออก เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกดูดลมจนท้องอืดหรือมีลมในกระเพาะ
  3. ลูกวัย 1 เดือนขึ้นไป สามารถใช้หลอดฉีดยาพลาสติก หรือ “ไซริงค์แบบไม่มีเข็ม” ช่วยป้อนยาได้ง่ายและแม่นยำมากขึ้นค่ะ เพราะจะมีขีดกำกับบอก โดยให้ฉีดยาไปบริเวณกระพุ้งแก้มของลูก อย่าฉีดลงคอโดยตรง เพราะจะทำให้ลูกสำลัก ที่สำคัญคือควรทำด้วยความมั่นใจ ใช้ความอดทน ไม่ขู่บังคับ เพราะลูกอาจจะร้องไห้ ขัดขืน หรืออาเจียนออกมาได้
  4. อย่าโกหกหรือขู่ลูก ในเด็กที่โตพอสื่อสารรู้เรื่องแล้ว อย่าโกหกลูกว่านะคะว่ายาอร่อย หวาน ถ้ายาไม่ได้หวานจริงอย่างที่บอก แต่ให้บอกลูกตามความจริงว่ากินยาแล้วจะช่วยให้ลูกดีขึ้น ช่วยให้หายป่วย ออกไปเล่นได้ ห้ามขู่ลูกว่าไม่กินยาแล้วผีจะหลอก ตำรวจจะมาจับ เพราะจะสร้างทัศนคติที่ไม่ได้ต่อการกินยาของลูกได้ค่ะ
  5. ชื่นชมลูก เมื่อป้อนยาลูกเสร็จ ด้วยการกอด หรือหอมแก้ม อาจชวนลูกเล่นของเล่นที่ชอบ หรือเล่านิทานเรื่องโปรดให้ฟังเป็นรางวัล

ป้อนยาลูกแบบถูกวิธี

ป้อนยาลูกแบบไหน ถือว่า “ผิด”!!

  • ผิดเวลา ยาแต่ละชนิดที่ต้องกำหนดเวลากินว่าก่อนอาหาร หลังอาหาร ก่อนนอน เพราะจะทำปฏิกิริยาในร่างกายต่างกัน จึงต้องกินตามที่หมอสั่งอย่างเคร่งครัด ดังนั้น หากลืมให้ลูกกินยาก่อนอาหาร อย่า! ให้กินหลังอาหารแทนนะคะ เพราะอาจมีผลกับฤทธิ์ยาได้
  • กินยาซ้ำ หากลืมกินยา เช่น ยาก่อนอาหาร ให้ข้ามไปมื้อถัดไปเลยค่ะ แต่ถ้าเป็นยาหลังอาหาร ยังไม่เกิน 30 นาที ยังให้กินได้ แต่ถ้าเกินแล้วก็ควรรอมื้อถัดไปเช่นกัน
  • ลูกอาเจียนแล้ว แต่ให้กินยาซ้ำ ถ้าลูกกินยาแล้วอาเจียนออกมาทันที สามารถให้ยาซ้ำได้ แต่ถ้าผ่านไปสักพักลูกถึงอาเจียน ไม่จำเป็นต้องให้ยาเพิ่มค่ะ เพราะตัวยาอาจดูดซึมเข้าร่างกายแล้ว
  • ให้กินยาพร้อมนม ไม่ควรผสมยากับนมทั้งขวด เพื่อให้ลูกดูดยาจากขวดนม เพราะหากลูกกินไม่หมด จะทำให้ได้รับยาไม่ครบขนาด และยาหลายชนิดมีฤทธิ์ลดลงเมื่อทำปฏิกิริยากับโปรตีน หรือจับกับแคลเซียมในนม อีกทั้งยาจะทำให้นมมีรสเปลี่ยนไป ลูกอาจไม่ยอมกินนมอีกเลยก็ได้ค่ะ
  • กินยาไม่ครบโดส ยาปฏิชีวนะ (Antibiotics) หรือยาฆ่าเชื้อ จำเป็นต้องกินให้ครบตามจำนวนที่แพทย์หรือเภสัชกรสั่งค่ะ แม้ลูกจะหายป่วยแล้วก็ตาม เพราะการกินยาไม่ครบอาจทำให้เชื้อโรคกลับมาใหม่ หรือมีอาการดื้อยา ทำให้การใช้ยาในครั้งต่อๆ ไปไม่ได้ผล

 

แม่ให้นม กินยาแทนลูก ไม่ใช่ทางออกที่ถูกต้อง! นะคะ ความรักและความห่วงใยที่แท้จริงคือการดูแลลูกน้อยอย่างถูกวิธี พาไปพบแพทย์เมื่อเจ็บป่วย และปฏิบัติตามคำแนะนำทางการแพทย์อย่างเคร่งครัดดีที่สุด อย่าหลงไปกับความเชื่อผิดๆ ที่อาจนำมาซึ่งอันตรายต่อชีวิตและสุขภาพของลูกน้อยเด็ดขาด จำไว้ว่า… สุขภาพของลูกน้อยอยู่ในมือของคุณแม่ การตัดสินใจที่ถูกต้องและปลอดภัยเท่านั้นที่จะปกป้องลูกได้นะคะ

 

 

ที่มา : เภสัชแม่ลูกอ่อน , คู่มือเลี้ยงลูกอย่างมีความสุข , www.gedgoodlife.com

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

นมสำหรับเด็กเป็น G6PD เลือกยังไง ปลอดภัยกับลูกที่มีภาวะพร่องเอนไซม์

แม่ลูกอ่อนกินโยเกิร์ตได้ไหม ? 10 ลิสต์อาหารที่เหมาะกับแม่หลังคลอด

ทำไม? อยู่ดีๆ ลูกไม่ยอมเข้าเต้า วิธีแก้ไขให้ลูกน้อย ยอมกลับมากินนมแม่

บทความจากพันธมิตร
นมสำหรับเด็กผ่าคลอดเจนใหม่ สร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรง ที่แม่ยุคใหม่เลือก
นมสำหรับเด็กผ่าคลอดเจนใหม่ สร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรง ที่แม่ยุคใหม่เลือก
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

จันทนา ชัยมี

  • หน้าแรก
  • /
  • หลังคลอด
  • /
  • ให้นมลูกกินยาแทนลูกได้ไหม ? เรื่องอย่าหาทำ! ของแม่ให้นม
แชร์ :
  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • ฉีดยาคุมแบบ3เดือน ผลข้างเคียง มีอะไรบ้าง? อ้วน ดำ ประจำเดือนไม่มา จริงไหม

    ฉีดยาคุมแบบ3เดือน ผลข้างเคียง มีอะไรบ้าง? อ้วน ดำ ประจำเดือนไม่มา จริงไหม

  • ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

    ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • ฉีดยาคุมแบบ3เดือน ผลข้างเคียง มีอะไรบ้าง? อ้วน ดำ ประจำเดือนไม่มา จริงไหม

    ฉีดยาคุมแบบ3เดือน ผลข้างเคียง มีอะไรบ้าง? อ้วน ดำ ประจำเดือนไม่มา จริงไหม

  • ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

    ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว