ตลอดระยะเวลา 9 เดือนของการตั้งครรภ์ คุณแม่จะมีอาการและการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในแต่ละเดือนอย่างไร และทารกน้อยในครรภ์แม่แต่ละเดือนมีพัฒนาการที่น่าสนใจอย่างไร theAsianparent ชวนคุณแม่มาติดตามพัฒนาการ ตั้งครรภ์ 1-9 เดือน พร้อมกันค่ะ
ตั้งครรภ์ 1 เดือน
การตั้งครรภ์ 1 เดือนแรก อาการคนท้อง 1 เดือน คุณแม่อาจยังไม่รู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลงมากนัก หรืออาจมีอาการคล้ายกับช่วงก่อนมีประจำเดือน เช่น ประจำเดือนขาด อ่อนเพลีย คัดเต้านม ปวดท้องน้อย คล้ายปวดประจำเดือน มีตกขาวมากขึ้น อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย อ่อนไหวมดลูกเริ่มขยายตัว ไปกดเบียดกระเพาะปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะบ่อย อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน (แพ้ท้อง) แต่ส่วนใหญ่จะเริ่มชัดเจนในเดือนที่ 2-3
พัฒนาการทารกในครรภ์ 1 เดือน ในช่วงสัปดาห์แรกๆ ตัวอ่อนมีขนาดเล็กมาก มองด้วยตาเปล่าแทบไม่เห็น แต่จะค่อยๆ เจริญเติบโตขึ้น เริ่มมีการสร้างอวัยวะสำคัญ เช่น หัวใจ สมอง ไขสันหลัง ระบบทางเดินอาหาร รกและสายสะดือเริ่มพัฒนา เพื่อทำหน้าที่ส่งสารอาหารและออกซิเจนไปเลี้ยงตัวอ่อน
อ่านเพิ่มเติมสาเหตุของอาการข้างต้น พร้อมวิธีดูแลตัวเอง คลิก อาการคนท้องที่ตั้งครรภ์ 1 เดือนแรก 100 สิ่งคุณแม่ตั้งครรภ์ต้องรู้ ตอนที่ 15
ตั้งครรภ์ 2 เดือน
การตั้งครรภ์เดือนที่ 2 เป็นช่วงที่อาการเริ่มชัดเจนขึ้น อาการแพ้ท้องคลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ และเบื่ออาหาร มักจะรุนแรงขึ้นในช่วงนี้ ประกอบกับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้รู้สึกเหนื่อยง่าย ง่วงนอน เต้านมขยายขึ้น เจ็บ ตึง หัวนมมีสีเข้มขึ้น
พัฒนาการทารกในครรภ์ 2 เดือน ลูกน้อยมีขนาดประมาณ 2.5-3.8 เซนติเมตร (เท่าเมล็ดถั่วลิสง) และหนักประมาณ 4 กรัม เริ่มมีรูปร่างคล้ายมนุษย์มากขึ้น ศีรษะโต มีตา หู จมูก ปาก แขน ขา และนิ้วมือ นิ้วเท้า เริ่มก่อตัว หัวใจเริ่มเต้น สมอง และไขสันหลังพัฒนาอย่างรวดเร็ว ระบบทางเดินอาหาร และระบบทางเดินหายใจเริ่มพัฒนา เริ่มมีการสร้างกระดูก ลูกน้อยเริ่มเคลื่อนไหว แต่คุณแม่ยังไม่รู้สึก
อ่านเพิ่มเติมสาเหตุของอาการข้างต้น พร้อมวิธีดูแลตัวเอง คลิก ตั้งครรภ์ 2 เดือน อาการเป็นอย่างไร ตรวจครรภ์ได้แล้วหรือยัง
ตั้งครรภ์ 3 เดือน
การตั้งครรภ์ 3 เดือน โดยคุณแม่จะเริ่มสังเกตเห็นรูปร่างที่เปลี่ยนไป เช่น หน้าท้องที่ขยายใหญ่ขึ้น ขณะที่ลูกน้อยในครรภ์มีขนาดเท่าลูกมะนาว (7-10 เซนติเมตร) และน้ำหนักประมาณ 28 กรัม มีอวัยวะครบทุกส่วน และยังมีพัฒนาการที่สำคัญอื่นๆ อีก เช่น
- การเคลื่อนไหว แม้คุณแม่อาจจะยังไม่รู้สึก แต่ลูกน้อยเริ่มขยับแขนขา นิ้วมือ นิ้วเท้า ศีรษะ อ้าปาก หุบปาก และดูดนิ้วได้แล้ว
- อวัยวะภายใน หัวใจเต้นแรงขึ้น ระบบย่อยอาหารเริ่มทำงาน ไตเริ่มผลิตปัสสาวะ ไขกระดูกเริ่มสร้างเม็ดเลือด อวัยวะเพศเริ่มพัฒนา (แต่ยังระบุเพศไม่ได้ชัดเจน)
- ประสาทสัมผัส ลูกน้อยเริ่มรับรู้แสง เสียง และการสัมผัส เช่น เมื่อคุณแม่ลูบท้อง ลูกอาจจะขยับตอบสนอง
ช่วงนี้คุณแม่อาจมีอาการแพ้ท้อง เหนื่อยง่าย และอารมณ์แปรปรวน ควรดูแลตัวเองเป็นพิเศษ พักผ่อนให้เพียงพอ และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์
อ่านเพิ่มเติม ข้อห้ามคุณแม่ท้องอ่อน คลิก ท้อง 3 เดือนแรก ห้ามทำอะไรบ้าง คุณแม่ต้องระวังอะไรเป็นพิเศษ
ตั้งครรภ์ 4 เดือน
ตั้งครรภ์ 4 เดือน คุณแม่อาจสังเกตเห็น เส้นดำกลางท้อง ที่เกิดการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนของคนท้อง ซึ่งไม่เป็นอันตราย และจะค่อยๆ หายไปเองหลังคลอด คุณแม่จะมีอาการปวดขา เป็นตะคริวที่ขา เส้นเลือดขอด ตกขาวเหนียวข้น อาการแพ้ท้องเริ่มบรรเทาลง และคุณแม่อาจเริ่มรู้สึกถึงลูกน้อยดิ้นเป็นครั้งแรก!
ลูกน้อยมีขนาดประมาณ 12-14 เซนติเมตร (เท่าผลอะโวคาโด) และหนักประมาณ 150 กรัม ร่างกายเริ่มได้สัดส่วนมากขึ้น แขนขายาวขึ้น ศีรษะตั้งตรง เคลื่อนไหวมากขึ้น เช่น ดิ้น เตะ ต่อย พลิกตัว กำมือ ดูดนิ้ว เริ่มรับรู้รสชาติของน้ำคร่ำ ได้ยินเสียงต่างๆ รอบตัว เช่น เสียงหัวใจของคุณแม่ เสียงพูดคุย
อวัยวะเพศภายนอกพัฒนาชัดเจนขึ้น สามารถระบุเพศได้จากการอัลตราซาวนด์ ผิวหนังมีลักษณะบาง มีขนอ่อนๆ ปกคลุม มีคิ้ว ขนตา และผม เริ่มมีการสร้างฟันแท้ ระบบประสาทพัฒนา ทำให้ลูกน้อยสามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อได้ดีขึ้น เริ่มมีการสร้างไขกระดูก
อ่านเพิ่มเติม 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 27 เช็คลิสต์แม่ท้อง ควรทำอายุครรภ์ 4 เดือน
ตั้งครรภ์ 5 เดือน
ตั้งครรภ์ 5 เดือน ถือว่าเข้าสู่ช่วงกลางของไตรมาสที่ 2 แล้ว คุณแม่หลายคนจะเริ่มรู้สึกดีขึ้นจากอาการแพ้ท้อง เป็นช่วงที่หน้าท้องขยายใหญ่ขึ้นอย่างเห็นได้ชัด น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ผิวหนังบริเวณหน้าท้อง เต้านม และสะโพก อาจมีรอยแตกลาย ควรทาครีมบำรุงผิวอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันรอยแตกลาย คุณแม่สามารถรู้สึกถึงลูกดิ้นชัดเจนขึ้น บางครั้งอาจเห็นลูกดิ้นจากภายนอกได้ แนะนำให้คุณแม่พูดคุยกับลูกในท้อง ร้องเพลง อ่านนิทาน และเปิดเพลงให้ลูกฟัง เพื่อกระตุ้นพัฒนาการทางสมองของลูกน้อย และนอนตะแคงซ้าย ช่วยให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น
พัฒนาการทารกในครรภ์ 5 เดือน ลูกน้อยมีขนาดประมาณ 25-30 เซนติเมตร (เท่ากับกล้วยหอม) และหนักประมาณ 300-450 กรัม ร่างกายสมส่วนมากขึ้น ผิวหนังมีไขทารกสีขาว (vernix caseosa) ปกคลุม เพื่อป้องกันผิวจากน้ำคร่ำ ปอดเริ่มพัฒนา หัวใจเต้นแข็งแรง ระบบย่อยอาหาร และระบบขับถ่ายทำงานได้ดีขึ้น เริ่มมีการสร้างเม็ดเลือดในไขกระดูก ผม ขนตา และขนคิ้ว เริ่มงอก หูชั้นในพัฒนาสมบูรณ์ ทำให้ลูกน้อยได้ยินเสียงต่างๆ เช่น เสียงหัวใจคุณแม่ เสียงพูดคุย เสียงเพลง รวมถึงเริ่มรับรู้แสงสว่างได้แล้ว
อ่านเพิ่มเติม ท้อง5เดือน ทารกในครรภ์ 5 เดือน ลูกอยู่ท่าไหน ห้ามทำห้ามกินอะไรตอนท้อง
ตั้งครรภ์ 6 เดือน
ตั้งครรภ์ 6 เดือน ท้องจะใหญ่ขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และลูกน้อยก็มีพัฒนาการที่ก้าวหน้าขึ้นอีก เช่น เริ่มมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อเสียงต่างๆ และมีการเคลื่อนไหวที่มากขึ้น ลูกดิ้นแรงขึ้น และบ่อยขึ้น บางครั้งอาจรู้สึกเจ็บ
อาการทั่วไปของคุณแม่ท้องในช่วงนี้ ได้แก่ ปวดหลัง ปวดเอว ปวดขา เป็นตะคริว ท้องผูก ริดสีดวงทวาร หายใจถี่ นอนหลับยาก ปัสสาวะบ่อย มีตกขาวมาก แสบร้อนกลางอก บวม โดยเฉพาะที่ขา และเท้า คันผิวหนัง
พัฒนาการทารกในครรภ์ 6 เดือน ลูกน้อยมีขนาดประมาณ 30-35 เซนติเมตร (เท่ากับฝรั่ง) และหนักประมาณ 600-750 กรัม ผิวหนังยังคงมีรอยย่น แต่เริ่มมีไขมันสะสมใต้ผิวหนังมากขึ้น ปอดเริ่มพัฒนา และสร้างสารลดแรงตึงผิว ตาเริ่มลืม และกะพริบตาได้ เริ่มมีการสร้างลายนิ้วมือ และลายนิ้วเท้า สมองพัฒนาอย่างรวดเร็ว ได้ยินเสียงชัดเจนขึ้น รับรู้แสงสว่าง และความมืด เริ่มมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อเสียง เช่น เสียงเพลง เสียงพูดคุย
อ่านเพิ่มเติม อาการคนท้อง ตั้งครรภ์ 6 เดือน เป็นอย่างไร 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 20
ตั้งครรภ์ 7 เดือน
ตั้งครรภ์ 7 เดือน คุณแม่กำลังก้าวเข้าสู่ช่วงไตรมาส 3 ของการตั้งครรภ์แล้ว อีกไม่นานก็จะได้พบหน้าลูกน้อยแล้ว ช่วงนี้ลูกในท้องจะโตเร็วมาก มดลูกขยายตัวดันอวัยวะภายใน ทำให้คุณแม่รู้สึกอึดอัด หายใจไม่อิ่ม แน่นท้อง และมีอาการต่างๆ มากขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน ลูกน้อยก็มีพัฒนาการที่น่าทึ่ง พร้อมที่จะลืมตาดูโลกแล้วค่ะ ควรเริ่มเตรียมของใช้ และศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการคลอดได้เลย
พัฒนาการทารกในครรภ์ 7 เดือน ลูกน้อยมีขนาดประมาณ 35-40 เซนติเมตร (เท่ากับผักกาดหอม) และหนักประมาณ 1,000-1,500 กรัม ผิวหนังเรียบเนียนขึ้น มีไขมันสะสมใต้ผิวหนังมากขึ้น ปอดพัฒนาเกือบสมบูรณ์ สมองพัฒนาอย่างรวดเร็ว ตาสามารถลืม และปิดได้ เริ่มมีการสะสมแคลเซียม ทำให้กระดูกแข็งแรง ในส่วนของประสาทสัมผัส ลูกน้อยได้ยินเสียงชัดเจน มองเห็น รับรู้รสชาติ รับรู้ความรู้สึกได้
อ่านเพิ่มเติม อาการคน ท้อง 7 เดือน การตั้งครรภ์เดือนที่ 7 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 21
ตั้งครรภ์ 8 เดือน
ตั้งครรภ์ 8 เดือน ช่วงนี้ร่างกายของคุณแม่ต้องเตรียมพร้อมสำหรับการคลอดอย่างเต็มที่ ท้องใหญ่ ตึง และหนักมาก เนื่องจาก มดลูกขยายตัวขึ้นไปดันกระบังลม ทำให้หายใจลำบาก ท้องแข็ง เป็นระยะ อาจเจ็บเต้านม และมีน้ำนมไหล คุณแม่ควรสังเกตอาการผิดปกติ เช่น เลือดออก น้ำเดิน ปวดท้องรุนแรง
ลูกน้อยก็กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว ขนาดประมาณ 40-45 เซนติเมตร และหนักประมาณ 2,000-2,500 กรัม ลูกน้อยเตรียมกลับหัวลง เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการคลอด ปอดพัฒนาสมบูรณ์ สมองพัฒนาอย่างรวดเร็ว ระบบประสาท และระบบภูมิคุ้มกัน พัฒนาเต็มที่ ตา หู จมูก ทำงานได้ดี เริ่มมีการสะสมภูมิคุ้มกันจากแม่ การเคลื่อนไหว ลูกน้อยเคลื่อนไหวน้อยลง เพราะพื้นที่ในมดลูกจำกัด แต่แรงดิ้น และเตะ จะมากขึ้น
อ่านเพิ่มเติม อาการคนท้อง 8 เดือน เป็นอย่างไร 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 22
ตั้งครรภ์ 9 เดือน
การตั้งครรภ์ 9 เดือน นับเป็นเดือนสุดท้ายของการเดินทางอันยาวนาน คุณแม่คงตื่นเต้น และรอคอยที่จะได้พบหน้าลูกน้อยเต็มทีแล้ว ในช่วงเดือนสุดท้ายนี้ ร่างกายของคุณแม่จะเตรียมพร้อมสำหรับการคลอด ส่วนลูกน้อยก็จะพัฒนาจนสมบูรณ์ พร้อมที่จะออกมาลืมตาดูโลกภายนอกแล้วค่ะ
อาการคนท้อง 9 เดือนที่ควรสังเกต ได้แก่ ท้องลด ปวดหน่วงๆ บริเวณท้องน้อย มีมูกเลือดปน น้ำเดิน
พัฒนาการทารกในครรภ์ 9 เดือน ลูกน้อยมีขนาดประมาณ 45-50 เซนติเมตร และหนักประมาณ 2,500-3,500 กรัม (ขึ้นอยู่กับพันธุกรรม และสุขภาพของคุณแม่) ลูกน้อยกลับหัวลง อยู่ในท่าเตรียมพร้อมสำหรับการคลอด อวัยวะทุกส่วนพัฒนาสมบูรณ์ พร้อมทำงาน
อ่านเพิ่มเติม เช็กสัญญาณใกล้คลอด คลิก 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 23 อาการคนตั้งครรภ์ 9 เดือน การตั้งครรภ์เดือนที่ 9
ตั้งครรภ์ 1-9 เดือน เป็นช่วงเวลาที่สำคัญ คุณแม่ต้องดูแลตัวเองเป็นพิเศษ เตรียมพร้อมสำหรับการคลอด และการเลี้ยงดูลูกน้อย ขอให้คุณแม่ และลูกน้อย แข็งแรง ปลอดภัยนะคะ
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!