X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ทำ IF ระหว่างตั้งครรภ์ ได้ไหม? ส่งผลอย่างไรต่อลูกน้อย?

บทความ 5 นาที
ทำ IF ระหว่างตั้งครรภ์ ได้ไหม? ส่งผลอย่างไรต่อลูกน้อย?

คุณแม่ที่ตั้งครรภ์มาไม่นาน หรือคุณแม่ที่ตั้งครรภ์มาซักพักหนึ่งแล้ว จะต้องมีความกังวลใจเกี่ยวกับน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วแน่นอน เพราะฉะนั้นคุณแม่คงกำลังหาวิธีจัดการกับสิ่งนี้ และตัวเลือกการควบคุมน้ำหนักนั้น ก็คงหนีไม่พ้นการกินให้น้อยลง หรือการงดอาหารด้วยวิธีการ IF แต่คุณแม่ท้องก็คงจะเกิดความสงสัยว่า สามารถ ทำ IF ระหว่างตั้งครรภ์ ได้หรือไม่? วันนี้เราจะพาคุณแม่มา รู้จักกับการทำ IF และมาไขข้อสงสัยว่า สามารถทำ IF ระหว่างตั้งครรภ์ได้ไหม และมีวิธีใดบ้าง หากต้องการให้น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นนั้น เพิ่มขึ้นอย่างคงที่แต่ดีต่อสุขภาพ!

 

ทำ IF ระหว่างตั้งครรภ์ ได้ไหม? ส่งผลอย่างไรต่อลูกน้อย?

การอดอาหารเป็นช่วง ๆ เป็นหนึ่งในวิธีที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก เช่นเดียวกับเทรนด์สุขภาพอื่น ๆ ที่เกิดขึ้น แต่ไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีที่สุด หรือปลอดภัยที่สุดสำหรับหลาย ๆ คน และนั่นรวมถึงคุณแม่ท้องและให้นมบุตร “การอดอาหารเป็นช่วง ๆ เป็นกลยุทธ์การอดอาหารโดยจำกัดการบริโภคแคลอรีของคุณให้อยู่ในกรอบเวลาที่กำหนดในแต่ละวัน” สูตินรีแพทย์กล่าวว่า “โดยทั่วไปไม่แนะนำให้ผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์อดอาหาร” มีหลายสาเหตุที่การอดอาหารอย่างไม่สม่ำเสมอแบบ IF อาจเป็นอันตรายต่อทั้งแม่ท้องและทารกในครรภ์

 

IF คืออะไร

Intermittent Fasting (IF) หรือการอดอาหารเป็นช่วง ๆ เป็นวิธีลดน้ำหนักที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน ซึ่งการลดน้ำหนักแบบ IF เป็นการกำหนดช่วงเวลาในการอดอาหาร และรับประทานอาหาร โดยไม่ได้เน้นที่การปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริโภคอาหาร แต่การกำหนดเวลาในการรับประทานอาหาร จะทำให้ลดปริมาณการกินอาหาร และลดพลังงานจากอาหารที่ได้รับ ในช่วงเวลาที่ต้องอดอาหาร  ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนอินซูลินลดลง ส่งผลให้การเปลี่ยนน้ำตาลในเลือดไปเป็นไขมันลดลง การกักเก็บไขมันใต้ผิวหนังลดลงส่งผลให้น้ำหนักลดลง และช่วงที่ระดับอินซูลินลดลง ร่างกายจะหลั่งโกรทฮอร์โมน และนอร์อิพิเนฟรินเพิ่มขึ้น ซึ่งฮอร์โมนดังกล่าวจะช่วยให้ร่างกายนั้นเผาผลาญไขมัน และเพิ่มการเผาผลาญพลังงานให้สูงขึ้น โดยที่ไม่ทำให้มวลกล้ามเนื้อลดลงเหมือนการอดอาหารอย่างต่อเนื่อง

บทความที่เกี่ยวข้อง : เจาะลึก วิธีลดน้ำหนักแบบ IF สำหรับผู้เริ่มต้นลดน้ำหนัก แบบ Intermittent Fasting

 

ทำ IF ระหว่างตั้งครรภ์

 

4 เหตุผลที่ ทำ IF ระหว่างตั้งครรภ์ ไม่ปลอดภัย!

1. เสี่ยงต่อการขาดสารอาหาร

เนื่องจากการอดอาหารเป็นช่วง ๆ เกี่ยวข้องกับการจำกัดเวลาที่คุณแม่ ต้องรับประทานอาหารในช่วงเวลาหนึ่ง (โดยปกติจะเป็นช่วงเวลาเล็ก ๆ ) จึงเป็นเรื่องยากจริง ๆ ที่จะได้รับสารอาหารทั้งหมดที่คุณแม่ต้องการในหนึ่งวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับแม่ท้อง ที่มีความต้องการทางโภชนาการสูงเพื่อช่วยบำรุงสุขภาพของตัวเองและสุขภาพของทารกน้อยในครรภ์ การตั้งครรภ์เป็นเวลาที่ต้องมุ่งเน้นไปที่การรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ และการบริโภคสารอาหารที่เพียงพอ ต่อความต้องการของคุณแม่และลูกน้อยที่กำลังเติบโต ไม่ใช่การลดน้ำหนัก

 

การทำ IF อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการขาดสารอาหารหรือวิตามิน ที่อาจส่งผลต่อพัฒนาการของทารกในครรภ์ และยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนในการตั้งครรภ์ คุณแม่ควรเพิ่มแคลอรี่ ประมาณ 300 แคลอรี่ต่อวัน ในอาหารของคุณแม่เพื่อเพียงพอกับความต้องการของทารกในครรภ์ การอดอาหารเป็นช่วง ๆ อาจทำให้คุณแม่ได้รับแคลอรีไม่ครบตามที่ต้องการในแต่ละวัน

 

2. เสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด

การศึกษาในปี 2019 แสดงให้เห็นว่า การอดอาหารในช่วงไตรมาสที่ 2 ของการตั้งครรภ์ มีความเสี่ยงอย่างยิ่งสำหรับแม่ท้อง ในการศึกษา ผู้หญิงที่อดอาหารในไตรมาสที่ 2 มีความเสี่ยงสูงขึ้น 35% ในการคลอดก่อนกำหนด แม้ว่าการศึกษาจะไม่ได้ออกแบบมาสำหรับการอดอาหารที่เป็นช่วง ๆ โดยเฉพาะ (การศึกษาในแม่ท้องที่อดอาหารในช่วงเดือนรอมฎอน และไม่รับประทานอาหารในช่วงเวลากลางวัน) การอดอาหารเป็นช่วง ๆ อาจมีลักษณะที่คล้ายกัน แต่ IF บางรูปแบบอาจรุนแรงน้อยกว่าเล็กน้อย แต่ในการศึกษานั้นระบุอย่างชัดเจนว่าการอดอาหารมีความเชื่อมโยงกับการคลอดก่อนกำหนด

บทความที่เกี่ยวข้อง : การคลอดก่อนกำหนด เสี่ยงอันตรายแค่ไหน แม่ท้องต้องรู้

 

ทำ IF ระหว่างตั้งครรภ์

 

3. ทำให้น้ำตาลในเลือดต่ำ

เบาหวานขณะตั้งครรภ์ มีความสัมพันธ์กับน้ำตาลในเลือดสูง และเป็นความเสี่ยงร้ายแรงสำหรับแม่ท้องจำนวนมาก แต่น้ำตาลในเลือดต่ำก็เป็นอีกสาเหตุที่น่ากังวลใจในแม่ท้อง การอดอาหารเป็นระยะ ๆ อาจทำให้น้ำตาลในเลือดลดลงเนื่องจากการอดอาหารเป็นระยะเวลานาน การจำกัดอาหารหรือการอดอาหารเป็นเวลานานในระหว่างตั้งครรภ์ อาจทำให้น้ำตาลในเลือดต่ำ ซึ่งอาจทำให้คุณแม่รู้สึกหน้ามืดหรือเป็นลมได้ และยังเกี่ยวข้องกับการดิ้นของทารกในครรภ์ที่ลดลงด้วย

 

4. ปริมาณและคุณภาพน้ำนมลดลง

เรามักเรียกกันว่าไตรมาสที่ 4 ช่วงเวลาหลังคลอด ยังเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายต้องการสารอาหารที่ดี หากคุณเลือกที่จะให้นมลูก คุณแม่จะมีความต้องการทางโภชนาการเป็นพิเศษ เพื่อช่วยเสริมปริมาณน้ำนมของคุณแม่ สิ่งสำคัญคือต้องเข้าใจว่าการเผาผลาญของร่างกาย และความต้องการทางโภชนาการของคุณแม่นั้นอาจเปลี่ยนไปหลังคลอดและขณะให้นมบุตร การอดอาหารนานเกินไป การจำกัดแคลอรีมากเกินไป หรือการลดน้ำหนักอย่างรวดเร็ว อาจส่งผลกระทบต่อปริมาณน้ำนมของคุณแม่อย่างมาก และอาจส่งผลต่อส่วนประกอบของน้ำนมแม่ด้วย

 

ทำ IF ระหว่างตั้งครรภ์

 

ทำอย่างไรให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างคงที่ แต่ดีต่อสุขภาพ!

แทนที่คุณแม่จะอดอาหารหรือเข้มงวดในระหว่างตั้งครรภ์ ให้เน้นการรับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ คุณแม่ท้องควรตั้งเป้าหมายที่จะบริโภคอาหารเพิ่มขึ้น 300 แคลอรีในแต่ละวัน และเป็นเพียงส่วนเพิ่มเติมเล็กน้อย และควรมีการจำกัดการบริโภคกาแฟหรือคาเฟอีนที่ 200 มก. ต่อวัน งดแอลกอฮอล์ และอย่าลืมทานวิตามินเสริม อาหารที่คุณแม่ควรรับประทาน

  • นมพร่องมันเนย
  • อาหารที่ไม่ขัดสี
  • ผักและผลไม้ออร์แกนิก
  • โปรตีนไม่ติดมัน

การออกกำลังกายเป็นอีกส่วนหนึ่งของการตั้งครรภ์ที่สุขภาพดี คุณแม่อาจรู้สึกว่าร่างกายขยับได้ยาก โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสแรก แต่การขยับร่างกายช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานในขณะตั้งครรภ์ ทั้งยังช่วยให้คลอดได้ง่าย และลดความเสี่ยงในการผ่าตัดคลอด หากคุณแม่ยังใหม่ต่อการออกกำลังกาย ให้มุ่งเน้นที่การทำกิจกรรมระดับปานกลางประมาณ 30 นาทีในแต่ละวัน เช่น เดิน ว่ายน้ำ หรือปั่นจักรยานโดยอยู่กับที่

 

คุณแม่ต้องรู้ไว้ว่า น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นระหว่างตั้งครรภ์เป็นเรื่องปกติ และน้ำหนักของคุณแม่จะค่อย ๆ ลดลงหลังจากคลอดทารก คุณแม่ควรปรึกษาแพทย์เสมอ หากคุณแม่มีคำถามเกี่ยวกับด้านโภชนาการ โดยเฉพาะในขณะที่คุณแม่ตั้งครรภ์ สิ่งสำคัญคือต้องมุ่งเน้นไปที่การรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และรักษาสมดุลของอาหาร ซึ่งจะช่วยให้คุณแม่มีช่วงเวลาการตั้งครรภ์ที่มีความสุขและสุขภาพดีค่ะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

อยู่บ้านก็ผอมได้ ! ทำงานบ้าน ลดน้ำหนัก เผาผลาญแคลอรีไม่ต้องง้อฟิตเนส

อาหารคนท้อง แต่ละไตรมาส คนท้อง ควรกินกี่มื้อ กับข้าวแม่ท้อง กินบำรุงทารก

10 ท่าออกกำลังกายคนท้อง ทุกไตรมาส พร้อมวิธีลดน้ำหนักหลังคลอด

ที่มา : cnet

บทความจากพันธมิตร
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ใหม่ ! S-26 Gold 3 เอกสิทธิ์เฉพาะ หนึ่งเดียวของเอส – 26 ที่ผสมแอลฟา สฟิงโกไมอีลิน สูตรเฉพาะที่แม่เลือก
ใหม่ ! S-26 Gold 3 เอกสิทธิ์เฉพาะ หนึ่งเดียวของเอส – 26 ที่ผสมแอลฟา สฟิงโกไมอีลิน สูตรเฉพาะที่แม่เลือก
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Kanjana Thammachai

  • หน้าแรก
  • /
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • /
  • ทำ IF ระหว่างตั้งครรภ์ ได้ไหม? ส่งผลอย่างไรต่อลูกน้อย?
แชร์ :
  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว