X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

โรคไส้เลื่อนขาหนีบ เกิดจากอะไร มีอาการแบบไหน รักษาได้ไหม ?

บทความ 5 นาที
โรคไส้เลื่อนขาหนีบ เกิดจากอะไร มีอาการแบบไหน รักษาได้ไหม ?

อีกหนึ่งโรคที่คุณผู้ชายส่วนใหญ่หนักใจก็คือ โรคไส้เลื่อนขาหนีบ (Inguinal Hernia) ซึ่งเป็นโรคที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่กำเนิด และมักถูกกระตุ้นด้วยกิจกรรมที่ส่งผลต่อความแข็งแรงของหน้าท้อง ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกาย การยกของหนัก รวมไปจนถึงปัญหาการขับถ่าย นอกจากนี้ ยังพบว่าคุณแม่ตั้งครรภ์เองก็มีความเสี่ยงโรคนี้ด้วยเช่นเดียวกัน หากปล่อยทิ้งไว้เสี่ยงไส้เน่าได้เลยค่ะ หรืออาจจะทำให้ลำไส้อุดตันได้ จึงจำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัด

 

โรคไส้เลื่อนขาหนีบ เกิดจากอะไร ?

ไส้เลื่อนขาหนีบส่วนใหญ่แล้วมักจะเกิดขึ้นกับผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ซึ่งเกิดจากผนังกล้ามเนื้อหน้าท้องมีความอ่อนแอ และสามารถเกิดขึ้นมาได้ตั้งแต่เกิดเลยค่ะ โดยรูที่ทำหน้าที่ลำเลียงเลือดไปเลี้ยงลูกอัณฑะยังคงเปิดเอาไว้อยู่ ทั้ง ๆ ที่ปกติจะถูกปิดเอาไว้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ของแม่แล้ว จึงส่งผลทำให้เกิดไส้เลื่อนผ่านรูนี้แล้วเลื่อนไปยังขาหนีบ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นที่ส่งผลทำให้เกิดความเสี่ยงด้วย ได้แก่

  • พฤติกรรมในชีวิตประจำวัน เช่น ยกของที่มีน้ำหนักเยอะเกินไป การเบ่งอุจจาระหรือปัสสาวะเป็นเวลานาน การออกกำลังกายที่มีผลต่อบริเวณหน้าท้อง
  • เกิดจากความผิดปกติของร่างกาย เช่น อาการท้องผูก ต่อมลูกหมากโต ไอเรื้อรัง มีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน การทำงานผิดปกติของตับ เป็นต้น

 

โรคไส้เลื่อนขาหนีบ

 

ไส้เลื่อนขาหนีบมีกี่ชนิด

1. ไส้เลื่อนขาหนีบที่เกิดจากรูเปิดบริเวณขาหนีบ ซึ่งมีมาตั้งแต่กำเนิดทำให้ไส้เลื่อนสามารถเลื่อนผ่านมาจนถึงถุงอัณฑะได้ง่าย

2. ไส้เลื่อนขาหนีบบริเวณขาหนีบ มาจากการหย่อนของผนังหน้าท้องบริเวณส่วนล่าง จึงส่งผลให้หัวหน่าวมีลำไส้ยื่นนูนออกมานั่นเองค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง : โรคไส้เลื่อน อันตรายอย่างไร ประเภทและการรักษาไส้เลื่อน

 

ไส้เลื่อนขาหนีบ เกิดขึ้นกับผู้หญิงได้ไหม ?

แม้ว่าโรคไส้เลื่อนมักจะเกิดขึ้นบ่อยกับผู้ชายจนดูเหมือนจะเป็นเรื่องปกติไปแล้ว แต่ในความเป็นจริงกับผู้หญิงก็สามารถเป็นโรคไส้เลื่อนได้เช่นเดียวกัน ทั้งไส้เลื่อนขาหนีบที่มีความเสี่ยงต่อคุณแม่ตั้งครรภ์ หรือไส้เลื่อนในช่องเชิงกรานที่สามารถเกิดขึ้นได้ เพราะสรีระร่างกายของผู้หญิงเอื้ออำนวยกว่าผู้ชาย

 

อาการของไส้เลื่อนขาหนีบ

การเช็กอาการหลัก ๆ ของโรคไส้เลื่อนส่วนใหญ่ทำได้ด้วยการคลำพบก้อนนูนในบริเวณที่เกิดโรค เช่น ถ้าเป็นไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบก็จะมีก้อนนูน ๆ ด้านใดด้านหนึ่งของกระดูกเชิงกรานหรือขาหนีบ เมื่อนอนลงสามารถดันให้กลับเข้าไปในช่องท้องได้ และกับบางรายจะรู้สึกปวดบริเวณท้องโดยเฉพาะเวลาก้มตัว หรือยกของหนัก ๆ รวมไปจนถึงการจามด้วย 

 

วิธีการวินิจฉัยโรคไส้เลื่อน

การวินิจฉัยโรคไส้เลื่อนส่วนใหญ่แล้วจะขึ้นอยู่กับตำแหน่งของโรคด้วย เช่น โรคไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบ และไส้เลื่อนบริเวณแผลผ่าตัด ก็จะวินิจฉัยด้วยการตรวจร่างกาย ซึ่งผู้ป่วยจะมีก้อนนูน ๆ ที่สามารถคลำแล้วพบเจอได้โดยเฉพาะตอนยืน ยกของหนัก หรือไอจามแรง ๆ ซึ่งจะคลำเจอก้อนเนื้อได้ง่ายมาก

ส่วนไส้เลื่อนชนิดอื่น ๆ ที่มองเห็น มองไม่ชัด หรือคลำจากภายนอกแล้วไม่พบ อาจต้องใช้วิธีตรวจอื่น ๆ เข้ามาช่วย เช่น โรคไส้เลื่อนกะบังลม แพทย์จะใช้วิธีส่องกล้องผ่านลำคอลงไปยังหลอดอาหาร และกระเพาะอาหาร เพื่อจะได้เห็นภาพอวัยวะภายในได้ชัดขึ้น หรือไม่ก็ใช้วิธีการตรวจอัลตราซาวนด์ เอกซเรย์ผ่านคอมพิวเตอร์ และ MRI ในกรณีของไส้เลื่อนที่เกิดบริเวณช่องท้องและช่องเชิงกรานค่ะ

 

ภาวะแทรกซ้อนจากไส้เลื่อนขาหนีบอันตรายไหม ?

ภาวะแทรกซ้อนจากไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบอันตรายกว่าที่คิด เพราะทำให้ลำไส้เน่าจากการเคลื่อนและบิดตัวของลำไส้ จนทำให้เลือดไม่สามารถไหลเวียนได้ตามปกติ และทำให้มีอาการปวดท้องตามมา ลักษณะเหมือนโดนบิดแรง ๆ อาเจียน และความดันโลหิตต่ำ นอกจากนี้ ผู้ป่วยไส้เลื่อนขาหนีบ ยังมีความเสี่ยงต่อภาวะลำไส้อุดตันในกรณีอุจจาระหรืออาหารไม่สามารถไหลผ่านลำไส้ได้ จึงทำให้เกิดอาการผายลม คลื่นไส้ อาเจียน และมีอาการท้องอืดปวดแบบมวนท้องร่วมด้วยค่ะ

 

โรคไส้เลื่อนขาหนีบ

 

การผ่าตัดรักษาไส้เลื่อนขาหนีบ

อาการไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบ หาไม่รีบรักษาจะทำให้มีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ แถมยังมีความเสี่ยงทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ตามมาอีกด้วย แต่ในผู้ป่วยบางรายก็ไม่แสดงอาการ หรือขนาดไส้เลื่อนยังไม่ใหญ่ จึงยังไม่ต้องรีบผ่าตัดก็ได้ค่ะ อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยเองก็ควรเข้าพบแพทย์เพื่อพิจารณาอาการและขั้นตอนการรักษาให้ถูกต้อง โดยการรักษาสามารถทำได้ด้วยการผ่าตัดเพื่อซ่อมแซมส่วนที่เป็นรู หรือเพื่อเสริมความแข็งให้กับผนังหน้าท้องด้วยการผ่าตัดผ่านการส่องกล้องค่ะ

 

ไส้เลื่อนขาหนีบแบบไหนควรพบแพทย์

  • โดยปกติแล้ว ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะดันย้อนกลับเข้าไปได้ แต่ถ้ามีอาการรุนแรงจะไม่สามารถดันได้
  • มีอาการปวดเจ็บบริเวณที่เป็นไส้เลื่อนขาหนีบจนไม่สามารถใช้ชีวิตในประจำวันได้สะดวก
  • ท้องอืด คลื่นไส้ อาเจียน

 

โรคไส้เลื่อนขาหนีบ

 

ดูแลตัวเองอย่างไรเมื่อเป็นโรคไส้เลื่อนขาหนีบ

  • ถ้ายังไม่ได้รักษาด้วยการผ่าตัด ต้องเลี่ยงการเบ่งปัสสาวะ หรืออุจจาระหนัก ที่สำคัญของหนักก็ไม่ควรยกบ่อย ๆ นะคะ
  • หากผ่าตัดไส้เลื่อนขาหนีบมาแล้ว ไม่ควรยกของหนัก และถ้ามีน้ำหนักเกินมาตรฐานให้ลดน้ำหนัก ทานอาหารที่มีกากใยช่วยในการขับถ่ายมากขึ้น ทั้งนี้หากรักษาไปแล้วพบอาการผิดปกติ เช่น บริเวณแผลผ่าตัดมีเลือดออก บวมแดง และปวดควรเข้าพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยอาการต่อไป

 

ไส้เลื่อนที่ไม่ได้เป็นตั้งแต่กำเนิดสามารถป้องกันได้ ดังนี้

  • ควบคุมน้ำหนักของตัวเองให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมเสมอ
  • เลือกรับประทานอาหารที่มีกากใย เช่น ผัก ผลไม้ และธัญพืช และต้องไม่ผ่านการขัดสีมาแล้ว เพื่อป้องกันท้องผูกและการเบ่งถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะยากขึ้น
  • ให้หลีกเลี่ยง หรือระมัดระวังการยกของที่มีน้ำหนักมาก หรือถ้าจำเป็นจริง ๆ หากต้องยกให้ย่อเข่าแล้วยกขึ้น ไม่ก้มตัวยก
  • ถ้ามีอาการไอเรื้อรัง ต้องรักษาให้หายขาดไม่ปล่อยไว้
  • ไม่สูบบุหรี่

 

โรคไส้เลื่อนขาหนีบยากต่อการป้องกันเพราะเกิดได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ กว่าจะแสดงอาการก็ในตอนที่โตแล้ว ดังนั้น หากรักษาแล้วควรระมัดระวังและดูแลตัวเองให้มากขึ้น เพื่อไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำอีกค่ะ

บทความจากพันธมิตร
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ระวัง!! ไส้เลื่อนในทารกเป็นได้ทั้งชายและหญิง

อัณฑะค้าง อัณฑะคาช่องท้อง ภาวะผิดปกติในทารกแรกเกิด ควรรักษาก่อน 1 ขวบ

ลูกขวบเดียว ชอบร้องตอนอาบน้ำ มีก้อนนูนตรงขาหนีบ ไม่น่าเชื่อ! โรคนี้เด็กก็เป็นได้

ที่มา : petcharavejhospital.com, bumrungrad.com

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

supasini hangnak

  • หน้าแรก
  • /
  • เจ็บป่วย
  • /
  • โรคไส้เลื่อนขาหนีบ เกิดจากอะไร มีอาการแบบไหน รักษาได้ไหม ?
แชร์ :
  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

    ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

  • เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

    เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

    ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

  • เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

    เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว