ในช่วงยุคโควิดแบบนี้ ก็ยังมีแม่หลาย ๆ คนที่ยังมีความกังวลเกี่ยวกับการดูแลลูกน้อย โดยเฉพาะคุณแม่ที่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัส Covid-19 ทำให้เกิดความกังวลเกิดขึ้นการให้นมบุตรนั้น จะเป็นอันตราย หรือจะเป็นการแพร่เชื้อโรคให้กับตัวลูกน้อยหรือไม่ โดยเฉพาะหาก แม่ติดโควิด ยังสามารถให้นมลูกได้หรือไม่ เป็นคำถามที่วนเวียนและบีบหัวใจผู้เป็นแม่อย่างมากในสถานการณ์แบบนี้
ในประเทศไทยเราผ่านช่วงเวลาวิกฤติจากสถานการณ์ โควิด 19 (Covid-19) กันมาพักใหญ่ โดยเฉพาะสองเฟสแรก ที่ต่างเป็นกังวลกันอย่างมาก แต่เราก็ผ่านพ้นสถานการณ์นั้นมาได้จนเกือบจะเข้าสู่ภาวะปกติ แต่เมื่อเฟส 3 เกิดการระบาดอีกครั้ง และเป็นการระบาดที่รวดเร็วมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม ก็เริ่มทำให้บีบหัวใจคุณแม่หลาย ๆ คนที่ต้องให้นมลูกว่า ตนเองจะติดเชื้อหรือไม่ แล้วหากติดเชื้อแล้ว ตนเองจะทำอย่างไร ยังสามารถให้นมลูกได้อยู่หรือไม่
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : 5 วิธีเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกรัก เสริมเกราะป้องกันในช่วง โควิด-19 และฝุ่น PM 2.5
แม่ติดโควิด ยังสามารถให้นมลูกได้หรือไม่
โดยทางมูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย ได้เปิดเผยข้อมูลจาก องค์การอนามัยโลก (WHO) และองค์กรสุขภาพต่าง ๆ ทั่วโลกว่า ยังไม่พบหลักฐานที่บ่งชี้ถึงการติดเชื้อไวรัสโคโรน่า หรือ โควิด 19 จากแม่สู่ลูกผ่านทางรก หรือน้ำนม แต่อย่างใด โดยทางองค์กรก็ยังยืนยันว่าคุณแม่นั้น ยังสามารถให้นมลูกได้ตามปกติ เพียงต้องเพิ่มความใส่ใจในเรื่องความสะอาด และละอองจากน้ำลาย เป็นปัจจัยสำคัญ
ทั้งนี้เชื้อโคโรน่า หรือ Covid 19 เป็นเชื้อโรคที่อุบัติใหม่ และมีการแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว จนไม่มีใครสามารถออกมายืนยันถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับตัวแม่และเด็กทารก ทั้งที่อยู่ในครรภ์ของคุณแม่ หรือเด็กที่ได้รับการเลี้ยงนมจากเต้า แต่จนถึงขณะนี้ ก็ยังไม่มีข้อมูลว่าการติดเชื้อในแม่ จะส่งผลอย่างไรกับทารกน้อยในระยะ 3-6 เดือนแรกของการตั้งครรภ์
ยังไม่มีการค้นพบว่าเด็กที่อยู่ในครรภ์ จะสามารถติดเชื้อโควิดผ่านทางรก หรือเลือดของคุณแม่
โดยมีเคสจากทางโรงพยาบาลที่เมืองอู่ฮั่น ได้รายงานว่าในการระบาดช่วงแรกของประเทศจีนนั้น แม้ว่าตัวของคุณแม่จะมีอาการจากไวรัสสายพันธ์ุใหม่นี้มากเพียงใดก็ตาม แต่ทารกที่คลอดออกมา กลับไม่พบว่ามีการติดเชื้อโควิดแต่อย่างใด อีกทั้งยังไม่มีการพบเชื้อไวรัสโควิด จากน้ำคร่ำ เลือดจากสายสะดือ และในน้ำนมแม่ ดังนั้นเชื่อได้ว่า การติดเชื้อนี้ น่าจะเป็นการติดจากภายนอกเป็นหลักนั่นเอง
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : เด็กทารก 1 เดือน ติดโควิด-19 จากแม่ ส่งตัวไปรักษาที่สถาบันบำราศนราดูร
จากข้อมูลข้างต้น ก็จะชี้ให้เห็นว่า การติดเชื้อนั้นน่าจะมาจากการปนเปื้อน การสัมผัส ภายนอก แต่ไม่มีผลกระทบไปถึงระบบเลือดภายในร่างกาย หรือที่เรียกว่า การติดเชื้อตั้งแต่อยู่ในครรภ์ (Vertical Transmission) แต่ไม่ได้หมายความว่า ตัวคุณแม่จะสามารถวางใจจนไม่เกิดการป้องกัน และระมัดระวังจากเชื้อไวรัสดังกล่าว
จากข้อมูลดังกล่าว ผู้เชี่ยวชาญให้ความเห็นว่า การติดเชื้อในลูกน่าจะเป็นการติดเชื้อจากการปนเปื้อนสัมผัสเชื้อหลังเกิด ไม่ใช่จากการติดเชื้อตั้งแต่อยู่ในครรภ์ (Vertical Transmission) ดังนั้น การป้องกันหญิงตั้งครรภ์จากการสัมผัสเชื้อก็ยังคงมีความสำคัญอย่างมากเพราะการไม่ติดเชื้อเลย ย่อมเป็นสิ่งที่ดีที่สุดนั่นเอง
การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
กรณีที่แม่เสี่ยงติดเชื้อแต่ยังต้องให้นมลูก ต้องปฏิบัติตัวอย่างไร?
คุณแม่บางคน ยังอยู่ในช่วงที่ต้องเฝ้าระวัง เนื่องจากระยะการเพาะเชื้อของไวรัสโคโรน่านั้น อาจจะต้องใช้เวลาซักพักใหญ่ ซึ่งโดยมากระยะเริ่มแรกมักจะไม่มีอาการให้สังเกตได้ชัด แต่ตัวคุณแม่ และผู้ที่อาศัยอยู่ภายในบ้าน จำเป็นจะต้องเฝ้าระวังตัวเองอยู่ตลอดเวลา เพื่อความปลอดภัยของลูกน้อย ดังนั้น การสวมใส่หน้ากากอนามัยภายในอาคารเคหะสถาน จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ไม่สามารถเลี่ยงได้
การป้องกันตัวเองไม่ให้แพร่เชื้อไปสู่บุคคลอื่น จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นในขณะที่คุณเฝ้าระวังอาการ โดยเฉพาะกับเด็กเล็ก และหากคุณเป็นผู้ที่จะต้องให้นมบุตรจากเต้าแล้วนั้น การระมัดระวังก็จะต้องเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว แล้วการระวังในที่นี้ จะสามารถทำอะไรได้บ้าง
การสวมหน้ากากอนามัยทุกคนั้ง เป็นสิ่งที่ควรทำให้ติดเป็นนิสัย
- สวมใส่หน้ากากอยู่ตลอดเวลา : แม้ว่าจะรู้สึกอึดอัดเพียงใดก็ตามคุณก็ควรที่จะสวมใส่หน้ากากอนามัยอยู่ตลอดเวลา ในขณะที่คุณไม่ควรที่จะสวมหน้ากากอนามัยให้กับลูกของคุณ เนื่องจากหน้ากากอนามัยนั้น จะไปปิดกั้นการหายใจของเด็กเล็ก ซึ่งจะส่งผลให้เด็กมีภาวะขาดออกซิเจน หรือออกซิเจนไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย และอาจจะส่งผลถึงการพัฒนาของระบบสมองของเด็ก ดังนั้นการป้องกันควรป้องกันจากคนโตนั่นคือคุณพ่อคุณแม่เป็นหลักนั่นเอง
- ทำความสะอาดเต้านม และมือก่อนให้นมลูก : ควรทำความสะอาดเต้านมให้สะอาดด้วยน้ำสบู่ปกติค่ะ ไม่ควรทำความสะอาดด้วยแอลกอฮอลล์ เพราะนอกจะทำให้ผิวสัมผัสบริเวณหัวนมของคุณแม่จะแห้งแล้ว ยังไม่ส่งผลดีกับตัวเด็กอีกด้วย และช่วงที่ให้นมลูกนั้น ไม่ควรใช้มือจับตามหน้า ตามผมของเด็ก โดยไม่จำเป็น
- ควรทำความสะอาดเครื่องปั้มนมให้เรียบร้อย : ในกรณีที่จะต้องปั้มนมนั้น ควรจะทำความสะอาดอุปกรณ์ให้ดี และทำความสะอาดเต้านม และมือให้เรียบร้อย เสมือนให้นมลูกจากเต้า และควรเก็บในที่ ๆ เหมาะสม เมื่อต้องการนำนมที่สต๊อคไว้ออกมาอุ่น ให้ทำความสะอาดมือ อุปกรณ์ เช่นขวดน้ำให้สะอาด เพื่อความปลอดภัยของตัวเด็กค่ะ
เท่านี้ คุณแม่ก็สามารถให้นมลูกน้อยได้อย่างสบายใจแล้วใช่ไหมคะ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : โควิด-19: เกิดอะไรขึ้นในบราซิล อะไรทำให้ทารกบราซิลจำนวนมากตายด้วยโรคนี้
ควรเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ช่วงที่เชื้อโรคแพร่ระบาดหรือไม่?
น้ำนมของแม่มีความสำคัญเสมอ ไม่ว่าตัวคุณแม่จะป่วย หรือจะอยู่ในช่วงที่มีไวรัสระบาดก็ตาม
คุณแม่หลายคนอาจจะเริ่มมีความคิดว่า หากเชื้อไวรัสโคโรน่าอันตราย งั้นก็ควรเลี่ยงการเลี้ยงลูกด้วยน้ำนมแม่ไปเลยน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า ซึ่งจะบอกว่าเป็นความคิดที่ผิดมหันต์เลยค่ะ เพราะยังไงก็แล้วแต่ น้ำนมแม่ ก็ยังมีคุณสมบัติในการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับลูกน้อยได้ดีกว่า นมสังเคราะห์ ดังนั้น การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับลูกด้วยน้ำนมของแม่ จึงยังมีความสำคัญอยู่เสมอ
หากคุณแม่ห่วงเรื่องเชื้อไวรัสนั้น คุณแม่ต้องเข้าใจหลักการก่อนว่า บริเวณหัวนมของคุณแม่ มีเชื้อไวรัสติดอยู่บริเวณนั้นเสมออยู่แล้วค่ะ ดังนั้นการทำความสะอาดด้วยน้ำสบู่อย่างที่ได้กล่าวมาในข้างต้น ก็เพียงพอต่อการป้องกันแล้วค่ะ
หากลูกน้อยของคุณแม่มีอายุเกิน 6 เดือนขึ้นไป คุณแม่ก็ยังสามารถเลี้ยงต่อได้ด้วยนมแม่ และอาหารเสริมที่เหมาะสมกับวัยของลูกน้อยได้ตามปกติค่ะ
หากคุณแม่มีไข้ จนไม่สามารถเลี้ยงลูกได้ ควรทำอย่างไร?
ในกรณีที่คุณแม่มีไข้ไม่สบาย จนไม่สามารถอุ้มลูกได้ หรือสงสัยว่าป่วยจากโรค Covid-19 คุณยังสามารถปั้มนมได้ตามปกติค่ะ เพียงแค่ต้องใส่ใจการทำความสะอาดอุปกรณ์มากขึ้นเป็นพิเศษ เพราะยังไม่มีการค้นพบว่ามีการติดเชื้อโควิดผ่านน้ำนมแม่แต่อย่างใด แต่หากในกรณีที่คุณแม่ป่วย จนไม่สามารถปั้มน้ำนมได้นั้น ก็อาจจะเลี่ยงไปใช้นมผงที่เหมาะสมตามวัยของเด็กชั่วคราว จนกว่าคุณแม่จะหายดีและสามารถได้นมลูกได้อย่างปกตินั่นเอง
หากลูกน้อยป่วยด้วยโรค Covid-19 จะยังเลี้ยงนมได้เหมือนเดิมหรือไม่?
หากลูกน้อยของคุณเกิดติดเชื้อไวรัสโควิด 19 เข้าไป ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุอะไรก็แล้วแต่ การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ก็ยังคงจำเป็นกับเด็กไม่เสื่อมคลาย ยิ่งลูกน้อยไม่สบายด้วยแล้ว นมของคุณแม่นับว่าเป็นยาวิเศษชั้นยอด ที่สามารถเข้าไปเสริมสร้างภูมิต้านทานให้กับเด็กได้เป็นอย่างดี ดังนั้น ไม่ควรที่จะงดการให้นมกับลูกเป็นอันขาดค่ะ อาจจะลดการให้นมจากเต้าโดยตรง เป็นการปั้มนมให้แทน ก็สามารถทำได้เช่นเดียวกันค่ะ
ที่มา : unicef , thaihealth
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!