X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

10 วิธีเด็ดรับมือ วัยต่อต้าน ปราบลูกดื้อด้วยความเข้าใจ

บทความ 5 นาที
10 วิธีเด็ดรับมือ วัยต่อต้าน ปราบลูกดื้อด้วยความเข้าใจ

บทความนี้จะช่วยให้คุณแม่เข้าใจว่า วัยต่อต้าน คืออะไร เกิดขึ้นในช่วงอายุเท่าไหร่ มีสาเหตุมาจากอะไร พร้อมคำแนะนำดีๆ วิธีเลี้ยงลูกวัยต่อต้าน

คุณแม่หลายท่านคงเคยเจอกับสถานการณ์ที่ลูกน้อยที่เคยน่ารัก กลับกลายเป็นเด็กที่เริ่มขัดขืน ดื้อ ไม่เชื่อฟัง หรือร้องอาละวาดอยู่บ่อยๆ ใช่ไหมคะ? การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณของ ‘วัยต่อต้าน’ ซึ่งเป็นช่วงพัฒนาการปกติของเด็กๆ 

บทความนี้จะช่วยให้คุณแม่เข้าใจถึง ‘วัยต่อต้าน’ คืออะไร เกิดขึ้นในช่วงอายุเท่าไหร่ มีสาเหตุมาจากอะไร พร้อมคำแนะนำดีๆ เกี่ยวกับวิธีเลี้ยงลูกวัยต่อต้าน เพื่อให้คุณแม่สามารถรับมือกับความท้าทายนี้ได้อย่างราบรื่น และยังคงรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกน้อยไว้ได้ค่ะ

 

วัยต่อต้าน คืออะไร

วัยต่อต้านไม่ใช่ “โรค” แต่เป็นช่วงหนึ่งของการเจริญเติบโตทางพัฒนาการของเด็ก ซึ่งเป็นช่วงที่เด็กเริ่มแสดงความเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น ต้องการเป็นอิสระ และทดสอบขอบเขตของอำนาจ โดยเด็กมักจะแสดงพฤติกรรมที่ขัดแย้งกับความต้องการหรือคำสั่งของผู้ใหญ่ เช่น พ่อแม่ หรือครู 

ลักษณะที่พบได้บ่อย ได้แก่ ดื้อรั้น ไม่เชื่อฟัง ขัดขืน ต่อต้าน แสดงอารมณ์ฉุนเฉียว หงุดหงิดง่าย เถียง หรือต่อปากต่อคำ และชอบทดสอบขีดจำกัดของผู้ใหญ่

 

วัยต่อต้าน อายุเท่าไร

วัยต่อต้านสามารถเกิดขึ้นได้ในหลายช่วงอายุ แต่ที่พบบ่อยคือ

  • วัยเด็กเล็ก (อายุประมาณ 2-3 ปี) ช่วงนี้เด็กกำลังพัฒนาความเป็นตัวของตัวเองอย่างรวดเร็ว เริ่มพูดคำว่า “ไม่” บ่อยๆ และต้องการทำสิ่งต่างๆ ด้วยตัวเอง
  • วัยรุ่น (อายุประมาณ 12-18 ปี): ช่วงนี้เป็นช่วงที่เด็กต้องการเป็นอิสระจากพ่อแม่ ต้องการการยอมรับจากเพื่อน และกำลังค้นหาตัวตนของตัวเอง

 

วัยต่อต้าน เกิดจากสาเหตุอะไร

สาเหตุของวัยต่อต้านในเด็กเล็ก

  • ต้องการเป็นอิสระ อยากทำสิ่งต่างๆ ด้วยตัวเอง เลือกเอง เพื่อสร้างความรู้สึกว่าควบคุมสิ่งต่างๆ ได้
  • พัฒนาการทางภาษา “ไม่” คือคำทรงพลังที่ใช้แสดงออกถึงความต้องการของตัวเอง
  • อารมณ์ อารมณ์มาเร็วไปเร็ว ยังไม่รู้วิธีจัดการอารมณ์ตนเอง
  • การเลี้ยงดู การเลี้ยงดูที่เข้มงวดเกินไป อาจทำให้ลูกรู้สึกถูกกดดัน ไม่มีทางเลือก ในขณะที่ การเลี้ยงดูที่ตามใจเกินไป อาจทำให้ลูกไม่รู้ขอบเขต ไม่เข้าใจกฎเกณฑ์
  • ความเหนื่อยล้า ความรู้สึกหิว ง่วง เหนื่อย ทำให้เด็กควบคุมตัวเองได้ยากขึ้น

วัยต่อต้าน

 

สาเหตุของวัยต่อต้านในเด็กโต/วัยรุ่น

  • การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย ร่างกายที่เติบโตเร็ว ฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลง ส่งผลต่ออารมณ์และพฤติกรรมของเด็กวัยรุ่น
  • การเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ เด็กวัยนี้ต้องการเป็นอิสระจากครอบครัว ค้นหาตัวตน และ ต้องการการยอมรับจากกลุ่มเพื่อน
  • พัฒนาการทางความคิด เด็กวัยรุ่นเริ่มคิดวิเคราะห์ ตั้งคำถาม และต้องการเหตุผล
  • อิทธิพลจากเพื่อน ความต้องการเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม ทำให้อาจเลียนแบบพฤติกรรมจากเพื่อน
  • อิทธิพลจากสื่อ เมื่อเด็กรับข้อมูลและพฤติกรรมจากสื่อต่างๆ อาจเลียนแบบพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
  • ปัญหาในครอบครัว ความขัดแย้งภายในครอบครัว การสื่อสารไม่ดี ขาดความเข้าใจกัน
  • ความขัดแย้งภายใน เป็นเรื่องของอารมณ์ตัวเอง ความรู้สึกสับสน ไม่มั่นใจ มีความขัดแย้งระหว่างความต้องการของตัวเองกับความคาดหวังของผู้อื่น
  • อารมณ์แปรปรวน ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง ทำให้ควบคุมอารมณ์ได้ยากขึ้น

 

สัญญาณและพฤติกรรมที่พบบ่อยของ เด็กวัยต่อต้าน

เมื่อลูกน้อยเข้าสู่วัยต่อต้าน คุณพ่อคุณแม่อาจสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมและอารมณ์ของลูกอย่างชัดเจน ซึ่งเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าลูกกำลังอยู่ในช่วงพัฒนาการที่ต้องการแสดงความเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น โดยสัญญาณและพฤติกรรมที่พบบ่อยในเด็กวัยต่อต้านสามารถแบ่งออกได้ดังนี้:

  • การแสดงออกทางอารมณ์ เด็กวัยต่อต้านมักมีการแสดงออกทางอารมณ์ที่รุนแรงและหลากหลายมากขึ้น คุณพ่อคุณแม่อาจเห็นลูกมีอาการหงุดหงิดง่าย โมโหร้าย หรือแสดงความก้าวร้าวออกมาอย่างชัดเจน เช่น การปาข้าวของ การตะโกน หรือการทำร้ายร่างกายผู้อื่น อารมณ์เหล่านี้อาจเกิดขึ้นได้บ่อยและรุนแรงกว่าปกติ ซึ่งเป็นผลมาจากการที่เด็กยังไม่สามารถควบคุมและจัดการกับอารมณ์ของตัวเองได้อย่างเหมาะสม 
  • การปฏิเสธและต่อต้าน พฤติกรรมที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดในวัยต่อต้านคือการปฏิเสธและต่อต้าน เด็กๆ จะเริ่มไม่เชื่อฟังคำสั่งของคุณพ่อคุณแม่ ขัดขืนเมื่อถูกขอให้ทำสิ่งต่างๆ หรือท้าทายอำนาจของผู้ใหญ่ เช่น การเถียง การไม่ทำตามที่บอก หรือการทำตรงกันข้ามกับที่สั่ง พฤติกรรมเหล่านี้เป็นวิธีที่เด็กใช้ในการแสดงออกถึงความต้องการเป็นอิสระ และทดสอบขอบเขตของอำนาจ 
  • การเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรม นอกจากอารมณ์และการต่อต้านแล้ว เด็กวัยต่อต้านยังอาจมีการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมอื่นๆ ที่สังเกตได้ เช่น การแยกตัวออกจากครอบครัวหรือเพื่อนฝูง การเก็บตัวอยู่ในห้องคนเดียว หรือการเปลี่ยนแปลงกิจวัตรประจำวัน เช่น การนอน การกิน หรือการทำกิจกรรมที่เคยชอบ พฤติกรรมเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณว่าเด็กกำลังเผชิญกับความสับสนหรือความขัดแย้งภายในจิตใจ และต้องการเวลาส่วนตัวในการจัดการกับความรู้สึกเหล่านั้น 

    วัยต่อต้าน

10 วิธีเด็ดรับมือ วัยต่อต้าน ปราบลูกดื้อด้วยความเข้าใจ

การรับมือลูกวัยต่อต้าน ไม่ยากหากพ่อแม่เข้าใจ วิธีต่อไปนี้จะช่วยให้คุณพ่อคุณแม่สามารถรับมือกับพฤติกรรมของลูกได้อย่างเหมาะสม และให้การสนับสนุนที่จำเป็นต่อพัฒนาการของลูกไดh

  1. กระตุ้นให้ลูกพูดคุย บอกความรู้สึก

กระตุ้นให้ลูกพูดคุยและแสดงความรู้สึกออกมา เช่น “แม่เข้าใจว่าหนูรู้สึกโกรธ ลองบอกแม่ได้ไหมว่าหนูรู้สึกอย่างไร” หรือ “ถ้าหนูรู้สึกไม่พอใจ ลองพูดว่า ‘หนูไม่ชอบแบบนี้’ แทนการขว้างของ”

  1. สร้างกฎเกณฑ์ที่เหมาะสมตามวัย

กำหนดกฎเกณฑ์ที่สอดคล้องกับวัยและความสามารถของลูก หลีกเลี่ยงการตั้งความคาดหวังสูงเกินไป อธิบายเหตุผลของกฎเกณฑ์อย่างง่ายๆ และพยายามรักษาความสม่ำเสมอในกฎเกณฑ์และกิจวัตรประจำวัน

  1. จัดการสถานการณ์ที่อาจกระตุ้นอารมณ์

หลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่อาจนำไปสู่การร้องอาละวาด เช่น การให้เล่นของเล่นที่ยากเกินไป หรือการไปในสถานที่ที่ต้องอยู่นานๆ และมีกฎระเบียบเข้มงวด หากจำเป็นต้องเดินทาง ให้เตรียมสิ่งของที่ลูกชื่นชอบไปด้วย

  1. เตรียมพร้อมสำหรับความหิวและเหนื่อยล้า

เตรียมของว่างที่มีประโยชน์ติดตัวเสมอ และตรวจสอบให้แน่ใจว่าลูกพักผ่อนอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะก่อนออกเดินทาง

  1. เบี่ยงเบนความสนใจอย่างสร้างสรรค์

เมื่อลูกเริ่มแสดงพฤติกรรมต่อต้าน ให้เบี่ยงเบนความสนใจไปยังกิจกรรมอื่นที่น่าสนใจ อาจใช้ความขบขัน หรือเปลี่ยนสถานที่เพื่อลดความตึงเครียด

  1. ใช้ภาษาเชิงบวกกับลูก

หลีกเลี่ยงการใช้คำว่า “ไม่” หรือ “อย่า” บ่อยๆ และพยายามใช้คำพูดที่สร้างสรรค์และให้ทางเลือกแทน

  1. เปิดโอกาสให้เลือก

ให้ลูกได้มีโอกาสตัดสินใจและเลือกสิ่งต่างๆ ด้วยตัวเอง เพื่อส่งเสริมความเป็นอิสระและความมั่นใจ

  1. เป็นแบบอย่างที่ดี

แสดงให้ลูกเห็นถึงวิธีการจัดการกับอารมณ์อย่างเหมาะสม และควบคุมอารมณ์ของตัวเองในสถานการณ์ต่างๆ

  1. พ่อแม่เป็นทีมเดียวกัน

คุณพ่อคุณแม่และผู้ใหญ่คนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ควรเป็นทีมเดียวกันในการเลี้ยงดูและอบรมลูก โดยหลีกเลี่ยงการขัดแย้งกันต่อหน้าลูก

  1. ให้กำลังใจเมื่อลูกทำพฤติกรรมที่ดี

แนะนำแนวทางที่เหมาะสมด้วยเหตุผลเมื่อลูกทำผิด งดการดุด่าว่ากล่าวโดยไม่จำเป็น และให้คำชมเชยลูกเมื่อลูกทำสิ่งที่ดี เพื่อเสริมสร้างความมั่นใจและพฤติกรรมเชิงบวก

 

เมื่อไหร่ควรขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ

  1. สัญญาณของปัญหาพฤติกรรมที่รุนแรง หากลูกแสดงพฤติกรรมที่อาจเป็นอันตรายต่อตัวเองหรือผู้อื่น ควรขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญทันที
  2. มีผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน หากพฤติกรรมต่อต้านของลูกส่งผลกระทบอย่างมากต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของลูกและครอบครัว ส่งผลเสียต่อพัฒนาการของลูก ควรขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ 
  3. มีความกังวลเกี่ยวกับพฤติกรรมของลูก จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตของเด็กและวัยรุ่น หากคุณพ่อคุณแม่มีความกังวลเกี่ยวกับพฤติกรรมของลูก หรือไม่แน่ใจว่าพฤติกรรมของลูกเป็นเพียง “วัยต่อต้าน” หรือเป็นสัญญาณของปัญหาที่รุนแรงกว่า ควรขอคำปรึกษาจากจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นเพื่อรับการประเมินและคำแนะนำที่เหมาะสม

 

วัยต่อต้านเป็นช่วงที่เด็กกำลังเติบโตและพัฒนาความเป็นตัวของตัวเอง การสังเกตและทำความเข้าใจสัญญาณและพฤติกรรมที่พบบ่อยในเด็กวัยต่อต้าน จะช่วยให้คุณพ่อคุณแม่สามารถรับมือกับพฤติกรรมของลูกได้อย่างเหมาะสม และให้การสนับสนุนที่จำเป็นต่อพัฒนาการของลูกได้ค่ะ

 

ที่มา : คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี, โรงพยาบาลเวชธานี

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

บทความจากพันธมิตร
นมสำหรับเด็กผ่าคลอดเจนใหม่ สร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรง ที่แม่ยุคใหม่เลือก
นมสำหรับเด็กผ่าคลอดเจนใหม่ สร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรง ที่แม่ยุคใหม่เลือก
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ

เช็กด่วน! 5 พฤติกรรมพ่อแม่ที่ทำให้ลูกก้าวร้าว รู้แล้วรีบเปลี่ยน?

พ่อแม่ที่มีลูกดี เป็นแบบไหน? 10 ลักษณะสำคัญของพ่อแม่ยุคใหม่

พฤติกรรม ลูกตีพ่อแม่ แก้ยังไง? วิธีจัดการอย่างสร้างสรรค์ และได้ผล

 

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

สิริลักษณ์ อุทยารัตน์

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • 10 วิธีเด็ดรับมือ วัยต่อต้าน ปราบลูกดื้อด้วยความเข้าใจ
แชร์ :
  • ลูกติดแม่มาก จนไม่เป็นอันทำอะไร รับมือยังไง?  ให้ลูกมั่นใจ ติดแม่น้อยลง

    ลูกติดแม่มาก จนไม่เป็นอันทำอะไร รับมือยังไง? ให้ลูกมั่นใจ ติดแม่น้อยลง

  • จิตวิทยาความรัก คู่ผัว-เมียสายไฝว้ ทะเลาะไปรักไป ชาวบ้านงง หยุมหัวกันแทบตาย สุดท้ายก็ไม่เลิก

    จิตวิทยาความรัก คู่ผัว-เมียสายไฝว้ ทะเลาะไปรักไป ชาวบ้านงง หยุมหัวกันแทบตาย สุดท้ายก็ไม่เลิก

  • 5 หัวใจสำคัญของการ เลี้ยงลูกสองภาษา วางกลยุทธ์ ฝึกยังไงให้ได้ผล

    5 หัวใจสำคัญของการ เลี้ยงลูกสองภาษา วางกลยุทธ์ ฝึกยังไงให้ได้ผล

  • ลูกติดแม่มาก จนไม่เป็นอันทำอะไร รับมือยังไง?  ให้ลูกมั่นใจ ติดแม่น้อยลง

    ลูกติดแม่มาก จนไม่เป็นอันทำอะไร รับมือยังไง? ให้ลูกมั่นใจ ติดแม่น้อยลง

  • จิตวิทยาความรัก คู่ผัว-เมียสายไฝว้ ทะเลาะไปรักไป ชาวบ้านงง หยุมหัวกันแทบตาย สุดท้ายก็ไม่เลิก

    จิตวิทยาความรัก คู่ผัว-เมียสายไฝว้ ทะเลาะไปรักไป ชาวบ้านงง หยุมหัวกันแทบตาย สุดท้ายก็ไม่เลิก

  • 5 หัวใจสำคัญของการ เลี้ยงลูกสองภาษา วางกลยุทธ์ ฝึกยังไงให้ได้ผล

    5 หัวใจสำคัญของการ เลี้ยงลูกสองภาษา วางกลยุทธ์ ฝึกยังไงให้ได้ผล

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว