X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ลูกไอแห้งๆ ทําไงดี กี่วันหาย? 6 วิธีดูแลเบื้องต้นที่บ้าน บรรเทาอาการไอ

บทความ 5 นาที
ลูกไอแห้งๆ ทําไงดี กี่วันหาย? 6 วิธีดูแลเบื้องต้นที่บ้าน บรรเทาอาการไอ

ไอแห้งๆ ไม่มีเสมหะ อันตรายไหม ลูกไอแห้งๆ ทําไงดี กี่วันหาย มีแนวทางดูแลอย่างไรเมื่อลูกไอแห้งๆ พร้อมวิธีป้องกัน

ลูกไอแห้งๆ ทําไงดี เสียงไอแห้งๆ ของลูกน้อย มักสร้างความกังวลใจให้พ่อแม่อยู่ไม่น้อย เพราะอาการไอที่ไม่มีเสมหะเช่นนี้อาจรบกวนการใช้ชีวิตและบ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพของลูกน้อย ไอแห้งๆ อันตรายไหม มีแนวทางดูแลอย่างไร บทความนี้มีคำตอบ

 

ไอแห้งๆ มีลักษณะอย่างไร

อาการไอแห้งๆ  คือ ไอแบบไม่มีเสมหะ หรือมีแต่น้อยมากจนแทบไม่รู้สึกถึงการขับออกมา เสียงไอที่ได้ยินมักจะแหบแห้ง หรืออาจฟังดูเหมือนเสียงก้องในลำคอ บางครั้งลูกน้อยอาจมีอาการเจ็บคอ ร่วมด้วยเนื่องจากการระคายเคือง

 

ความแตกต่างระหว่างไอแห้ง vs ไอมีเสมหะ

ความแตกต่างที่ชัดเจนที่สุดคือไอมีเสมหะจะมีของเหลวเหนียวข้นถูกขับออกมาจากทางเดินหายใจ ซึ่งมักเป็นกลไกของร่างกายในการกำจัดสิ่งแปลกปลอมหรือเชื้อโรค ในขณะที่ไอแห้งนั้นเกิดจากการระคายเคืองของทางเดินหายใจโดยตรง โดยไม่มีการสร้างเสมหะออกมามากนัก

 

สาเหตุยอดฮิตที่ทำให้ลูกไอแห้งๆ

  • การติดเชื้อไวรัส
หลังการติดเชื้อไวรัส ทางเดินหายใจจะบอบบางและไวต่อสิ่งกระตุ้น ทำให้เกิดอาการไอแห้งๆ เพื่อพยายามกำจัดความระคายเคืองที่ยังคงอยู่
  • ภูมิแพ้
เมื่อร่างกายสัมผัสสารก่อภูมิแพ้ จะปล่อยสารฮิสตามีนออกมา ทำให้เกิดการอักเสบและระคายเคืองในทางเดินหายใจ ส่งผลให้เกิดอาการไอแห้งได้
  • อากาศแห้ง
อากาศที่แห้งจะดึงความชุ่มชื้นจากเยื่อบุทางเดินหายใจ ทำให้เกิดการระคายเคืองและไอแห้งๆ ตามมา
  • ควันและมลพิษ
สารเหล่านี้จะกระตุ้นและทำลายเยื่อบุทางเดินหายใจโดยตรง ทำให้เกิดการอักเสบและอาการไอแห้งเพื่อตอบสนอง
  • โรคหืด (หอบหืด)
สารเหล่านี้จะกระตุ้นและทำลายเยื่อบุทางเดินหายใจโดยตรง ทำให้เกิดการอักเสบและอาการไอแห้งเพื่อตอบสนอง
  • กรดไหลย้อน
กรดจากกระเพาะอาหารที่ไหลย้อนขึ้นมาสามารถระคายเคืองหลอดลม ทำให้เกิดอาการไอแห้งๆ เรื้อรังได้
  • สิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ทางเดินหายใจ
หากมีสิ่งแปลกปลอมเล็กๆ เข้าไป อาจกระตุ้นให้เกิดอาการไอแห้งๆ อย่างเฉียบพลัน ซึ่งต้องสังเกตอาการผิดปกติอื่นๆ ร่วมด้วย

 

อาการไอแห้งๆในเด็ก อันตรายไหม?

โดยทั่วไปแล้ว อาการไอแห้งๆ ในเด็ก ส่วนใหญ่มักไม่อันตราย และมักเกิดจากการระคายเคืองเล็กน้อยในทางเดินหายใจ หรือเป็นอาการต่อเนื่องหลังจากการติดเชื้อไวรัส ซึ่งร่างกายกำลังฟื้นตัว อย่างไรก็ตาม ในบางกรณี อาการไอแห้งๆ อาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพที่ควรได้รับการดูแลจากแพทย์อย่างใกล้ชิด 

 

ลูกไอแห้งๆ ทำไงดี

 

ลูกไอแห้งๆ กี่วันหาย?

ระยะเวลาที่ลูกมีอาการไอแห้งๆ จะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสาเหตุ ซึ่งสามารถแบ่งออกได้ดังนี้

  • หลังการติดเชื้อไวรัส อาการไอแห้งๆ ที่เกิดตามหลังไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่มักจะค่อยๆ ดีขึ้นภายใน 1-2 สัปดาห์ แต่ในบางรายอาจยาวนานถึง 3-4 สัปดาห์ แม้ว่าอาการอื่นๆ จะหายไปแล้วก็ตาม เนื่องจากทางเดินหายใจยังคงบอบบางและไวต่อสิ่งกระตุ้น
  • ภูมิแพ้ อาการไอแห้งๆ จากภูมิแพ้มักจะเป็นๆ หายๆ สัมพันธ์กับการสัมผัสสารก่อภูมิแพ้ หากหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ได้ อาการก็จะดีขึ้น แต่หากยังสัมผัสอยู่ อาการก็อาจอยู่ได้นาน
  • อากาศแห้ง หากสาเหตุมาจากอากาศแห้ง เมื่อปรับสภาพแวดล้อมให้มีความชื้นที่เหมาะสม อาการไอจะค่อยๆ บรรเทาลงภายใน 1-2 วัน
  • ควันและมลพิษ หากหลีกเลี่ยงการสัมผัสควันและมลพิษได้ อาการไอจะค่อยๆ ดีขึ้นภายใน ไม่กี่วันถึงหนึ่งสัปดาห์
  • โรคหืด (หอบหืด) อาการไอจากโรคหืดอาจเป็นเรื้อรังและต้องมีการควบคุมด้วยยาอย่างต่อเนื่อง อาการกำเริบอาจเกิดขึ้นเป็นครั้งคราวและต้องได้รับการรักษาเฉพาะ
  • กรดไหลย้อน อาการไอจากกรดไหลย้อนก็มักเป็นเรื้อรัง และจะดีขึ้นเมื่อได้รับการรักษาภาวะกรดไหลย้อนอย่างเหมาะสม ซึ่งอาจต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์หรือเป็นเดือน
  • สิ่งแปลกปลอมเข้าทางเดินหายใจ หากนำสิ่งแปลกปลอมออกได้ อาการไอจะหายไปทันที แต่หากยังคงอยู่ อาจทำให้เกิดอาการไอต่อเนื่องและจำเป็นต้องได้รับการรักษา

 

ลูกไอแห้งๆ ทำไงดี

 

ลูกไอแห้งๆ ทำไงดี

6 วิธีรับมือเมื่อลูกน้อยมีอาการไอแห้งๆ คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยบรรเทาอาการเบื้องต้นได้ด้วยวิธีง่ายๆ ที่บ้าน เพื่อให้ลูกรู้สึกสบายตัวขึ้นและอาการไอทุเลาลง ดังนี้

ลูกไอแห้งๆ ทำไงดี

  • ให้ลูกดื่มน้ำมากๆ
การให้ลูกจิบน้ำบ่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นน้ำเปล่า น้ำอุ่น หรือน้ำซุปใส จะช่วยให้ลำคอชุ่มชื้น ลดการระคายเคือง และบรรเทาอาการไอได้
  • ใช้เครื่องเพิ่มความชื้นในอากาศ
การเปิดเครื่องเพิ่มความชื้นในห้องนอนหรือห้องที่ลูกอยู่ จะช่วยลดความแห้งของอากาศ ซึ่งเป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดอาการไอแห้งได้ ควรดูแลความสะอาดของเครื่องเพิ่มความชื้นอย่างสม่ำเสมอ
  • หลีกเลี่ยงสารก่อระคายเคือง
พยายามอย่าให้ลูกสัมผัสกับควันบุหรี่ สเปรย์ต่างๆ (เช่น สเปรย์ปรับอากาศ สเปรย์ฉีดผม) หรือน้ำหอม เพราะสารเหล่านี้อาจทำให้ทางเดินหายใจของลูกระคายเคืองมากขึ้น
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่อาจกระตุ้นอาการไอ
เช่น อาหารเย็นจัด เครื่องดื่มเย็นๆ หรืออาหารที่มีรสจัด ควรเลือกอาหารอ่อนๆ ที่กลืนง่าย
  • ใช้ยาบรรเทาอาการไอ
การใช้ยาบรรเทาอาการไอสำหรับเด็กควรอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกรเสมอ ไม่ควรซื้อยาให้ลูกรับประทานเองโดยไม่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
  • การดูแลเมื่อลูกไอตอนกลางคืน
ในเวลากลางคืน ควรจัดท่านอนให้ศีรษะสูงขึ้นเล็กน้อย เพื่อช่วยลดการระคายเคืองในลำคอ และอาจเปิดเครื่องเพิ่มความชื้นในห้องนอนร่วมด้วย

 

ลูกไอแห้งๆ ทำไงดี

 

ลูกไอแบบไหนที่ควรพาไปหาหมอ

หากอาการไอแห้งๆ ของลูกน้อยไม่ดีขึ้นภายใน 1-2 สัปดาห์ หรือมีอาการอื่นๆ ที่น่ากังวลร่วมด้วย ควรรีบพาไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงและรับการรักษาที่ถูกต้อง

  • หายใจลำบาก หายใจเร็ว หรือหายใจมีเสียงหวีดอาจบ่งชี้ถึงภาวะทางเดินหายใจตีบแคบ เช่น โรคหืด หรือการอักเสบที่รุนแรง
  • ริมฝีปากหรือเล็บมือเขียวคล้ำ เป็นสัญญาณของการขาดออกซิเจน ซึ่งเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์
  • ซึมลง ไม่เล่น ไม่กิน อาการเหล่านี้บ่งบอกว่าร่างกายของเด็กไม่สบายมาก
  • มีไข้สูงไข้สูงร่วมกับอาการไออาจบ่งชี้ถึงการติดเชื้อที่รุนแรง
  • ไอต่อเนื่องนานกว่า 1 สัปดาห์ อาการไอที่ยาวนานอาจมีสาเหตุที่ซับซ้อนกว่าการระคายเคืองทั่วไป
  • ไอมีเลือดปน เป็นสัญญาณที่ต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยอย่างเร่งด่วน

 

ป้องกันยังไง ไม่ให้ลูกไอแห้ง

การป้องกันย่อมดีกว่าการรักษา คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยลดความเสี่ยงที่ลูกน้อยจะเกิดอาการไอแห้งได้ด้วยการดูแลและใส่ใจในสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อมรอบตัวลูก ดังนี้

  • รักษาสุขอนามัยที่ดี การสอนให้ลูกล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่และน้ำสะอาด โดยเฉพาะก่อนรับประทานอาหารและหลังสัมผัสสิ่งสกปรก จะช่วยลดโอกาสการติดเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุหนึ่งของอาการไอแห้งได้
  • หลีกเลี่ยงพาเด็กไปในที่ที่มีคนพลุกพล่านในช่วงที่มีการระบาดของโรคทางเดินหายใจ การอยู่ในสถานที่ที่มีผู้คนจำนวนมากเพิ่มโอกาสในการสัมผัสเชื้อโรคต่างๆ ที่อาจก่อให้เกิดอาการไอ
  • ดูแลสภาพแวดล้อมในบ้านให้สะอาดและอากาศถ่ายเท การทำความสะอาดบ้านอย่างสม่ำเสมอ และเปิดหน้าต่างให้อากาศถ่ายเท จะช่วยลดปริมาณฝุ่นละอองและสารก่อระคายเคืองในอากาศ
  • สำหรับเด็กที่มีภูมิแพ้ ควรหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ การระบุและหลีกเลี่ยงสารที่ลูกแพ้ เช่น ไรฝุ่น ขนสัตว์ หรือละอองเกสร จะช่วยลดการเกิดอาการแพ้ ซึ่งอาจแสดงออกด้วยอาการไอแห้งได้
  • พาลูกไปฉีดวัคซีนตามกำหนด การฉีดวัคซีนเด็กป้องกันโรคต่างๆ เช่น ไข้หวัดใหญ่ จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคทางเดินหายใจที่อาจนำไปสู่อาการไอได้

สำหรับความกังวลใจในเรื่อง ลูกไอแห้งๆ ทําไงดี โดยปกติอาการไอแห้งในเด็กไม่เป็นอันตรายค่ะ คุณแม่สามารถดูแลลูกน้อยเบื้องต้นที่บ้านได้ตามคำแนะนำข้างต้น แต่หากลูกน้อยไอต่อเนื่องยาวนาน อาการไม่ดีขึ้น หรือมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย อย่าลังเลที่จะพาลูกไปพบแพทย์โดยเร็วนะคะ

ที่มา : Rattinan Clinic , pobpad

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

บทความจากพันธมิตร
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ใหม่ ! S-26 Gold 3 เอกสิทธิ์เฉพาะ หนึ่งเดียวของเอส – 26 ที่ผสมแอลฟา สฟิงโกไมอีลิน สูตรเฉพาะที่แม่เลือก
ใหม่ ! S-26 Gold 3 เอกสิทธิ์เฉพาะ หนึ่งเดียวของเอส – 26 ที่ผสมแอลฟา สฟิงโกไมอีลิน สูตรเฉพาะที่แม่เลือก
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย

ลูกไอไม่หยุด ทำไงดี มีอันตรายไหม เมื่อไรควรพาไปหาหมอ?

เด็ก 3 ขวบ อาเจียนออกมาเป็นพยาธิ แพทย์แนะวิธีสังเกตอาการและป้องกัน

5 เรื่องสำคัญที่ควรปลูกฝัง ในช่วง 2 ปีแรกของลูกน้อย

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

สิริลักษณ์ อุทยารัตน์

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพและโภชนาการ
  • /
  • ลูกไอแห้งๆ ทําไงดี กี่วันหาย? 6 วิธีดูแลเบื้องต้นที่บ้าน บรรเทาอาการไอ
แชร์ :
  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

    ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

  • เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

    เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

    ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

  • เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

    เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว