X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ฟันน้ำนมผุ อย่าวางใจ! ภัยเงียบที่ไม่ได้จบแค่ ฟันหลุดแล้วขึ้นใหม่

บทความ 5 นาที
ฟันน้ำนมผุ อย่าวางใจ! ภัยเงียบที่ไม่ได้จบแค่ ฟันหลุดแล้วขึ้นใหม่

ฟันน้ำนม มีความสำคัญมากกว่าที่เราคิดนะคะ ถ้าลูกน้อยมีปัญหา ฟันน้ำนมผุ คุณพ่อคุณแม่จึงห้ามนิ่งนอนใจเด็ดขาด!

ฟันน้ำนมถือเป็นฟันชุดแรกที่มีบทบาทสำคัญต่อพัฒนาการของเด็ก ไม่ว่าจะเป็นการเคี้ยวอาหาร การพูด หรือแม้แต่การสร้างความมั่นใจในตัวเองในช่วงวัยเด็ก แต่อาจมีคุณพ่อคุณแม่หลายคนยังคงเข้าใจผิดและละเลยความสำคัญนี้ คิดเพียงว่าหากมีกรณี ฟันน้ำนมผุ พอฟันหลุดไปเดี๋ยวก็มีฟันแท้ขึ้นมาแทน แต่ความจริงแล้ว การปล่อยให้ฟันน้ำนมของลูกน้อยผุ อาจเป็นภัยเงียบที่ส่งผลกระทบอันคาดไม่ถึงในระยะยาวได้ค่ะ

ความสำคัญของฟันน้ำนม

สารบัญ

  • ความสำคัญของฟันน้ำนม
  • ประโยชน์ของฟันน้ำนม
  • อย่าวางใจ! ฟันน้ำนมผุ ไม่ใช่เรื่องเล็ก
  • ฟันน้ำนมผุ มีผลกระทบต่อฟันแท้
  • ผลกระทบต่อพัฒนาการ
  • ส่งผลต่อสุขภาพโดยรวม
  • อาจกระทบต่อจิตใจ
  • ระยะของโรคฟันผุ
  • สาเหตุที่ทำให้ ฟันน้ำนมผุ
  • ลูกติดขวด หรือปล่อยลูกหลับคาขวดนมบ่อยๆ
  • เด็กติดหวาน
  • โครงสร้างฟันของลูกไม่สมบูรณ์
  • วิธีดูแลให้ลูกน้อยห่างไกลปัญหา ฟันน้ำนมผุ
  • ดูแลความสะอาดฟัน
  • ควบคุมอาหาร
  • รักษาอย่างทันท่วงที

ความสำคัญของฟันน้ำนม

ฟันน้ำนม (Primary Teeth) คือ ฟันชุดแรกที่ขึ้นในช่องปากของลูกน้อยค่ะ ซึ่งมักเริ่มขึ้นเมื่อลูกอายุได้ประมาณ 6 เดือน และจะครบจำนวน 20 ซี่เมื่ออายุประมาณ 2-3 ปี โดยหน้าที่สำคัญของฟันน้ำนม เช่น ช่วยในการเคี้ยวอาหาร รักษาพื้นที่สำหรับฟันแท้ และส่งเสริมการพัฒนาการพูด

ทั้งนี้ ฟันน้ำนมจะแบ่งออกเป็น 2 ชุดคือ ฟันหน้าที่มีหน้าที่ตัดอาหาร และฟันกรามมีหน้าที่ใช้ในการบดเคี้ยวอาหาร เมื่อถึงวัยประมาณ 6-12 ปีฟันน้ำนมจะค่อยๆ หลุดออก และมีฟันแท้ขึ้นมาแทนที่ ดังนั้น การดูแลฟันน้ำนมจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะสุขภาพของฟันน้ำนมอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพช่องปากและการขึ้นของฟันแท้ในอนาคตได้ค่ะ

ประโยชน์ของฟันน้ำนม

1. ช่วยในการเคี้ยวอาหาร ฟันน้ำนมช่วยให้ลูกเคี้ยวอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้การย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น
2. ส่งเสริมพัฒนาการการพูด การที่ฟันขึ้นเต็มปากส่งผลต่อการออกเสียง ช่วยให้ลูกพูดและออกเสียงได้อย่างถูกต้อง
3. รักษาพื้นที่สำหรับฟันแท้ ทำหน้าที่เป็นตัวนำทางสำหรับฟันแท้ที่กำลังจะขึ้น เมื่อฟันน้ำนมหลุดออกตามธรรมชาติ ฟันแท้จะขึ้นมาทดแทนในตำแหน่งที่ถูกต้อง
4. พัฒนาการเจริญเติบโตของกรามและใบหน้า การมีอยู่ของฟันน้ำนมช่วยให้กรามและใบหน้าของลูกพัฒนาอย่างสมดุลและเหมาะสม
5. สร้างนิสัยการดูแลฟันที่ดี ช่วยสร้างนิสัยที่ดีในการดูแลฟันและสุขภาพช่องปากในอนาคต

ฟันน้ำนมผุ

อย่าวางใจ! ฟันน้ำนมผุ ไม่ใช่เรื่องเล็ก

ปัญหาสุขภาพฟันน้ำนม โดยเฉพาะ ฟันน้ำนมผุ นั้นไม่ใช่เรื่องเล็กๆ นะคะ ซึ่งฟันน้ำนมที่ผุไม่ได้หมายความว่าแค่ฟันหลุดออกแล้วฟันแท้จะขึ้นมาแทน เพราะการผุของฟันน้ำนมกระบวนการนี้อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพช่องปาก ยิ่งในกรณีฟันน้ำนมที่ผุอาจทำให้เกิดการติดเชื้อ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจทำให้เกิดปัญหาที่รุนแรงขึ้น เช่น การติดเชื้อที่กระดูกหรือรากฟัน รวมถึงความผิดปกติในการเรียงตัวของฟันแท้ที่ขึ้นใหม่ มาดูกันค่ะว่า ฟันน้ำนมผุ มีผลกระทบอย่างไรต่อลูกน้อยบ้าง

  • ฟันน้ำนมผุ มีผลกระทบต่อฟันแท้

  • เนื่องจากฟันน้ำนมทำหน้าที่เป็นแนวทางให้ฟันแท้ขึ้นตามตำแหน่งที่ถูกต้อง ดังนั้น หากฟันน้ำนมผุและต้องถอนก่อนกำหนด ฟันแท้อาจขึ้นผิดตำแหน่ง ซ้อน เก หรือไม่มีที่ขึ้นได้
  • การติดเชื้อในฟันน้ำนมที่ผุลึก อาจส่งผลต่อการสร้างตัวของฟันแท้ ทำให้ฟันแท้มีจุดด่าง หรือรูปร่างผิดปกติ
  • ผลกระทบต่อพัฒนาการ

  • ฟันน้ำนมมีบทบาทในการบดเคี้ยวอาหาร หากฟันผุจนเจ็บปวด ลูกอาจหลีกเลี่ยงการเคี้ยวอาหาร ทำให้ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ ส่งผลต่อการเจริญเติบโต
  • หากฟันน้ำนมถูกถอนออกไปจนกระทบต่อการบดเคี้ยวอาหาร อาจเกิดปัญหาเกี่ยวกับพัฒนาการของกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้า ช่องปาก และขากรรไกรได้
  • หน้าที่อย่างหนึ่งของฟันคือ มีส่วนช่วยในการออกเสียง หากฟันน้ำนมผุ หลุด อาจทำให้ลูกออกเสียงไม่ชัดเจน ส่งผลต่อพัฒนาการด้านภาษาและการสื่อสาร
  • ส่งผลต่อสุขภาพโดยรวม

  • หากมีฟันน้ำนมผุ 1 ซี่ อาจลุกลามไปยังซี่อื่นๆ ใกล้เคียงได้ด้วย และหากฟันผุทะลุโพรงประสาท นอกจากลูกน้อยจะปวดฟันอย่างรุนแรงแล้ว อาจก่อให้เกิดการอักเสบของเหงือก และมีโอกาสติดเชื้อได้ด้วย
  • การติดเชื้อจากฟันผุ อาจแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกาย ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพอื่นๆ ตามมา
  • อาจกระทบต่อจิตใจ

เด็กที่มีฟันผุ ฟันหลอ มักถูกล้อเลียน ทำให้ขาดความมั่นใจในตนเอง ส่งผลกระทบต่อพัฒนาการด้านอารมณ์และสังคม

สาเหตุฟันน้ำนมผุ

 

ระยะของโรคฟันผุ

ระยะแรก
  • การผุในชั้นเคลือบฟัน เป็นระยะที่ยังไม่เห็นรูผุบนฟัน
  • เห็นเพียงแค่บริเวณเคลือบฟันมีลักษณะเป็นรอยขาวขุ่น หรือเป็นจุดสีน้ำตาลโดยไม่มีอาการใดๆ
  • เกิดจากการสูญเสียแร่ธาตุจากตัวฟันมากกว่าการคืนกลับแร่ธาตุ แต่ยังไม่มากจนเกิดเป็นรูผุ
ระยะที่ 2
  • ผุถึงชั้นเนื้อฟันแต่ไม่ถึงโพรงประสาทฟัน
  • เป็นระยะที่เห็นรูผุบนฟันชัดเจน เพราะเกิดหลุมหรือโพรงบนผิวฟันและเนื้อฟัน ซึ่งมีการสูญเสียแร่ธาตุอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งมีการทำลายโครงสร้างของฟัน
  • อาจไม่มีอาการ หรือมีอาการเสียวฟัน ปวดฟัน
  • หากปล่อยไว้ไม่ได้รับการรักษา อาจลุกลามจนทะลุโพรงประสาทฟันได้
ระยะที่ 3
  • การผุลุกลามถึงโพรงประสาทฟัน ทำให้มีอาการปวดฟันมาก
  • เชื้อโรคอาจลุกลามจนเกิดฝีที่ปลายรากฟัน
  • อาจลุกลามไปยังเนื้อเยื่อและอวัยวะข้างเคียง ทำให้ใบหน้า ลำคอ บวม เจ็บปวดมาก บางครั้งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

ลูกติดขวด

สาเหตุที่ทำให้ ฟันน้ำนมผุ

ฟันน้ำนมผุ เกิดขึ้นได้ตั้งแต่ลูกน้อยมีอายุราว 6 เดือน ซึ่งฟันเริ่มทยอยขึ้นในช่องปาก โดยชั้นเคลือบฟันน้ำนมจะมีความหนาประมาณครึ่งหนึ่งของฟันแท้ และมีองค์ประกอบของแคลเซียมและฟอสฟอรัสน้อยกว่า ฟันน้ำนมจึงผุง่ายกว่าฟันแท้ และสาเหตุหลักๆ ที่ทำให้ลูกน้อยต้องเผชิญกับปัญหาฟันน้ำนมผุล้วนมีจุดเริ่มจากวิธีการเลี้ยงดู ดังนี้ค่ะ

  1. ลูกติดขวด หรือปล่อยลูกหลับคาขวดนมบ่อยๆ

หากลูกน้อยกินนมจากขวด น้ำตาลในนมคือตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาฟันน้ำนมผุขึ้นได้ค่ะ การปล่อยให้ลูกหลับคาขวดนมจึงไม่ใช่เรื่องดี แบคทีเรียที่อยู่ในช่องปากจะย่อยน้ำตาลจากนมที่ตกค้างบนผิวฟัน จนเกิดเป็นกรดที่ทำลายเคลือบฟันไปเรื่อยๆ จนฟันผุเป็นรูในที่สุดค่ะ

  1. เด็กติดหวาน

นอกจากน้ำตาลในนมแล้ว การให้ลูกกินอาหารหรือขนมหวานเป็นประจำ โดยไม่ใส่ใจดูแลเรื่องความสะอาดในช่องปาก เป็นสาเหตุอันดับต้นๆ ที่ทำให้ลูกน้อยฟันน้ำนมผุได้เช่นกัน

  1. โครงสร้างฟันของลูกไม่สมบูรณ์

ฟันน้ำนมของลูกอาจผุได้ง่ายจากสาเหตุโครงสร้างฟันไม่สมบูรณ์ อันเนื่องมากจากหลายสาเหตุ เช่น มีน้ำหนักตัวน้อยกว่าเกณฑ์ หรือการคลอดก่อนกำหนดทำให้ฟันมีการสะสมแร่ธาตุไม่สมบูรณ์ รวมถึงอาจเกิดจากกรณีแม่ติดเชื้อขณะตั้งครรภ์ด้วย

รักษาความสะอาดช่องปาก

วิธีดูแลให้ลูกน้อยห่างไกลปัญหา ฟันน้ำนมผุ

การดูแลฟันน้ำนมที่ผุอย่างเหมาะสมสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดผลกระทบต่างๆ ตามมาได้ คุณพ่อคุณแม่จึงป้องกันได้โดยการพาลูกน้อยไปพบทันตแพทย์อย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยทุกๆ 6 เดือน เพื่อตรวจเช็กสุขภาพช่องปากและฟันตั้งแต่เนิ่นๆ ซึ่งทันตแพทย์จะสามารถให้คำแนะนำในการดูแลฟันและรักษาฟันน้ำนมที่ผุได้อย่างถูกต้องและรวดเร็วที่สุดค่ะ

นอกจากนี้ คุณพ่อคุณแม่ควรส่งเสริมและสอนให้ลูกมีพฤติกรรมการดูแลช่องปากที่ดี ซึ่งจะช่วยลดโอกาสในการเกิดฟันผุได้อย่างมาก ดังนี้

  1. ดูแลความสะอาดฟัน

  • แปรงฟันให้ลูกอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เช้าและก่อนนอน ด้วยยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์ในปริมาณที่เหมาะสมกับช่วงวัยเพื่อป้องกันฟันผุ
  • หากลูกมีฟันที่ชิดกัน อาจใช้ไหมขัดฟันเพื่อช่วยทำความสะอาดซอกฟันด้วย
  • ควรให้ลูกบ้วนปากหลังดื่มนม หรือกินอาหารและขนมทุกครั้ง
  • เมื่อลูกอายุ 4 ปี ต้องฝึกให้เด็กแปรงฟันอย่างถูกวิธี และปลูกฝังความสำคัญของการแปรงฟัน เพื่อให้ลูกไม่ลืมและไม่กลัวการแปรงฟัน
  1. ควบคุมอาหาร

  • ฝึกนิสัยไม่ให้เด็กทานขนมจุบจิบทั้งวัน จนติดหวาน เลือกอาหารว่างที่มีประโยชน์ และมีส่วนประกอบของน้ำตาลไม่มากจนเกินไป เช่น ผลไม้
  • หลีกเลี่ยงการให้ลูกดูดนมจากขวดเป็นเวลานาน โดยเฉพาะก่อนนอน และฝึกให้ลูกดื่มนมจากแก้วแทน หากทำได้ควรให้เลิกดูดขวดเมื่ออายุได้ 1-1 ขวบครึ่ง
  1. รักษาอย่างทันท่วงที

เมื่อลูกฟันน้ำนมผุ ควรรีบพาไปพบทันตแพทย์ โดยอาจมีการแนะนำให้รักษารากฟันน้ำนมไว้ก่อน ยังไม่ถอนออก จนกว่าฟันแท้จะขึ้น เพื่อให้ลูกได้ใช้ฟันในการเคี้ยวอาหารตามปกติ และไม่ให้สูญเสียฟันน้ำนมไปก่อนวัยอันควร อย่างไรก็ตาม หากฟันน้ำนมผุทะลุโพรงประสาทฟัน ลูกจะมีอาการปวดฟัน หากถ่ายประเมินภาพรังสีดูแล้วยังสามารถจะเก็บรักษาฟันน้ำนมซี่นั้นได้ ทันตแพทย์จะแนะนำให้รักษารากฟันน้ำนมไว้ก่อนเช่นกันค่ะ

พบทันตแพทย์เสมอ

ฟันน้ำนมผุไม่ใช่เรื่องเล็กน้อยที่ควรมองข้าม เพราะอาจส่งผลกระทบต่อพัฒนาการช่องปากของเด็กได้อย่างยาวนาน การดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กตั้งแต่ฟันน้ำนมซี่แรกจึงเป็นสิ่งคุ้มค่าที่คุณพ่อคุณแม่ควรทำ เพื่อสุขภาพฟันที่ดีและพัฒนาการที่สมบูรณ์แข็งแรงของลูกน้อยค่ะ

 

ที่มา : www.childrenhospital.go.th , blog.bfcdental.com , www.curaprox.co.th , dentalcouncil.or.th

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

บทความจากพันธมิตร
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ใหม่ ! S-26 Gold 3 เอกสิทธิ์เฉพาะ หนึ่งเดียวของเอส – 26 ที่ผสมแอลฟา สฟิงโกไมอีลิน สูตรเฉพาะที่แม่เลือก
ใหม่ ! S-26 Gold 3 เอกสิทธิ์เฉพาะ หนึ่งเดียวของเอส – 26 ที่ผสมแอลฟา สฟิงโกไมอีลิน สูตรเฉพาะที่แม่เลือก
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย

ลูกติดผ้าห่ม ผิดปกติไหม? ติดแค่ไหนควรกังวล ควรปรับพฤติกรรมยังไง

ลูกขาลาย เพราะน้ำเหลืองไม่ดี จริงไหม? สาเหตุจริงๆ คืออะไร แก้ไขยังไงดี?

ทำไม ลูกเลือดกำเดาไหลบ่อย สัญญาณเตือนอะไร? วิธีดูแลและป้องกัน

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

จันทนา ชัยมี

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพและโภชนาการ
  • /
  • ฟันน้ำนมผุ อย่าวางใจ! ภัยเงียบที่ไม่ได้จบแค่ ฟันหลุดแล้วขึ้นใหม่
แชร์ :
  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

    ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

  • เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

    เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

    ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

  • เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

    เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว