วันนี้ theAsianparent ชวนมาทำความรู้จักกับ การคลอดท่าก้น การคลอดที่ทารกจะเอาส่วนล่างของร่างกายออกมาก่อนศีรษะ เนื่องจากตอนอยู่ในท้องคุณแม่ทารกไม่ได้กลับศีรษะลงมาที่อุ้งเชิงกราน ซึ่งส่วนใหญ่มักเกิดในทารกที่มีอายุครรภ์ไม่ถึงกำหนด หรือไม่ก็เกิดกับคุณแม่ที่มีอายุครรภ์ 29-32 สัปดาห์ และจะเกิดขึ้นในไตรมาสที่สองของอายุครรภ์ ทั้งยังเสี่ยงว่าลูกจะยังคงท่านี้จนไปถึงวันคลอด
การคลอดทารกท่าก้น แบ่งเป็นกี่ประเภท
โดยปกติแล้วเมื่อคุณแม่เจ็บท้องครรภ์เพื่อเตรียมคลอด ลูกน้อยในครรภ์ส่วนใหญ่จะนอนตะแคง โดยจะหันศีรษะไปฝั่งใดฝั่งหนึ่ง แต่สำหรับทารกท่าก้นจะไม่ได้หันแบบนั้น แต่จะเอาศีรษะไว้ใต้บริเวณกะบังลมและกรงซี่โครง ทำให้คุณแม่รู้สึกถึงความแข็งของศีรษะได้ชัดเจนมาก ๆ ว่ามีก้นกลม ๆ ของลูกน้อยอยู่บริเวณท้องน้อย ซึ่งหลัก ๆ แล้วทารกท่าก้นจะถูกแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
- Complete breech คือ ทารกจะมีการงอของข้อสะโพกทั้งสองข้าง แต่ข้อเข่าจะงอเพียงข้างเดียว หรือบางครั้งอาจจะทั้งสองข้างก็ได้
- Frank breech ทารกจะมีการงอข้อสะโพกทั้งสองข้าง และเหยียดข้อเข่าทั้งสองข้าง ทำให้เท้าของทารกอยู่ชิดกับหน้า
- Footling breech ทารกเหยียดขาตรงข้างใดข้างหนึ่ง หรือ ทั้งสองข้าง สะโพกไม่งอเหมือน 2 ท่าแรก เพราะเกิดจากถุงน้ำคร่ำแตกออก ทำให้ขาของลูกน้อยหล่นออกมาจากมดลูก ส่วนปลายเท้าจะจ่ออยู่ในบริเวณช่องคลอด
บทความที่เกี่ยวข้อง : ท่าทารกในครรภ์ ท่าไหนคลอดยาก แม่ท้องรู้ไหมท่าไหนต้องผ่าคลอด?
แล้วจะรู้ได้ยังไงว่าทารกอยู่ท่าไหน?
คำถามนี้เชื่อว่าคุณแม่หลายคนต้องกังวลอยู่แน่ ๆ เลย ใช่ไหมคะ ซึ่งการที่เราจะรู้ได้ว่าทารกกำลังอยู่ท่าไหนทางพยาบาลครรภ์ หรือ สูติแพทย์ จะเป็นคนแจ้งให้ทราบเอง ซึ่งในบางครั้งก็ไม่ได้มีหลักการอะไรมากมาย หรือบางครั้งก็ไม่ได้ชัดเจน
- เห็นก้น ขา เท้า คลอดออกมาก่อน
- คุณแม่จะรู้สึกถึงก้อนแข็ง ๆ กลม ๆ เคลื่อนไปมาในช่วงบริเวณท้องน้อย
- เกิดจากถุงน้ำคร่ำแตก และมีขี้เทา ๆ หนา ๆ ซึ่งขี้เทาที่เห็นนั้นก็คืออุจจาระที่ทารกถ่ายออกมาครั้งแรก
- สายสะดือหย่อนคล้อย
- เกิดจากการจากการอัลตราซาวนด์ หรือ เอกซเรย์
ความเสี่ยงต่อ การคลอดทารกท่าก้น
ในตอนแรกมดลูกจะเริ่มบีบรัดตัวเหมือนการคลอดทั่วไป แต่พอทารกอยู่ในท่าก้นในขณะที่การตั้งครรภ์ทั่วไปทารกจะต้องเอาศีรษะลง นั่นเพราะว่าแรงกดดันก้น หรือ เท้าไม่ดีเท่ากะโหลกศีรษะ จึงทำให้คุณแม่ต้องใช้เวลานานมากกว่าจะเจ็บท้องครรภ์ และการทำคลอดของทารกท่าก้น จะทำให้คุณแม่รู้สึกเหนื่อยและรู้สึกอ่อนล้ามากกว่าแบบปกติ โดยเฉพาะระยะแรกของการคลอด แม้ว่าคุณแม่และทีมแพทย์จะทำการคลอดที่ดีที่สุดแล้วก็ตาม และบางรายคุณแม่อาจจะต้องเข้ารับการผ่าตัดแทน เพราะเหนื่อยล้าจนเกินกว่าจะคลอดทางช่องคลอดได้
ถือเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่เกิดขึ้นบ่อยมากกับทารกท่าก้น ซึ่งมาจากก้น ขา และเท้าของทารกไม่พอดีกับกระดูกเชิงกรานของคุณแม่ จึงทำให้สายสะดือมีความลื่นและง่ายต่อการที่จะหลุดผ่านไปยังปากมดลูก และช่องคลอด หากมีพื้นที่ว่างระหว่างส่วนนำของทารกและปากมดลูกที่เปิดอยู่ เมื่อสายสะดือหลุดออกไปมันจะหดตัวลง เพราะว่าได้รับอากาศและอุณหภูมิจากข้างนอก และสายสะดือที่มีการไหลเวียนของเลือดที่คอยหล่อเลี้ยงออกซิเจน และอาหารไปยังทารกก็จะหยุดทำงานทันที ทำให้ต้องส่งมอบคุณแม่ให้ไปรับการผ่าตัดคลอดหากจำเป็น
-
ศีรษะของทารกอาจติดอยู่ข้างในช่องคลอด
เมื่อส่วนอื่น ๆ ของร่างกายทารกคลอดออกมาหมดแล้ว แต่ไม่สามารถนำศีรษะออกมาได้ ซึ่งเรื่องนี้ค่อนข้างน่ากังวลกับออกซิเจนของทารก และถ้าสถานการณ์ไม่ดี ทางแพทย์ก็จำเป็นต้องผ่าตัดคลอดให้คุณแม่ และจะมีแนวโน้มผ่าตัดมากยิ่งขึ้นไปอีกถ้าปากมดลูกของคุณแม่เปิดออกไม่เต็มที่ เนื่องจากศีรษะเป็นอวัยวะที่ใหญ่ที่สุดหากปากมดลูกเปิดไม่เต็มที่ศีรษะก็จะออกมาไม่ได้
บทความที่เกี่ยวข้อง : ปากมดลูกเปิดรู้สึกอย่างไร ต้องรอนานแค่ไหนกว่ามดลูกจะเปิดหมด
ความเสี่ยงของทารกท่าก้น
1. ระยะเวลาก่อน การคลอดทารกท่าก้น
การคลอดทารกท่าก้น หากว่าเจ็บครรภ์คลอดของคุณแม่ได้รับการดูแลที่ดีมาตลอด ความเสี่ยงที่มีต่อลูกน้อยในครรภ์ก็จะลดน้อยลง แต่การคลอดทารกบางรายก็อาจจะทำให้ทารกมีสะโพกที่บอบช้ำจากการคลอดบ้าง เพราะว่าปกติแล้วสะโพกส่วนใหญ่จะต้องผ่านกระดูกเชิงกรานของคุณแม่ก่อน แต่ทารกท่าก้นจะคลอดอีกรูปแบบหนึ่งค่ะ
2. ระยะเวลาหลัง การคลอดทารกท่าก้น
เมื่อทำการคลอดเสร็จแล้ว อวัยวะเพศของทารกอาจบวม และบอบช้ำบ้าง หรืออาจทำให้ทารกชายเกิดโรคถุงน้ำลูกอัณฑะได้ สำหรับเด็กทารกที่คลอดท่า Frank breech มีแนวโน้มที่ขาจะเหยียดตึงอยู่ท่าเดิมเป็นเวลา 2-3 วันหลังคลอด และบางรายลูกน้อยอาจจะมีแนวโน้มหัวกลมมากขึ้น เนื่องจากกะโหลกศีรษะไม่ได้รับการหล่อรูปในบริเวณเชิงกรานของคุณแม่เหมือนกับทารกที่เอาศีรษะลง และบางรายทารกอาจจะมีอาการบาดเจ็บบ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับทารกที่คลอดก่อนกำหนด ทำให้แพทย์ต้องใช้คีมในการดึงศีรษะทารกออกมาในกรณีที่แพทย์ ไม่สามารถใช้มือของพวกเขาดึงทารกออกมาได้
เคล็ดลับการคลอดทารกท่าก้น
1. เริ่มเจ็บครรภ์ การคลอดทารกท่าก้น
เมื่อคุณแม่เริ่มมีอาการเจ็บครรภ์คลอด ทารกที่อยู่ท่าก้นจะเริ่มเหมือนทารกท่าปกติ ไม่แนะนำให้เจาะถุงน้ำคร่ำ เพราะถ้าเกิดว่าการเจ็บครรภ์คลอดเป็นไปได้ด้วยดี โอกาสที่คุณแม่จะคลอดทางช่องคลอดก็มีสูงขึ้น ซึ่งสถานะทางร่างกายและอารมณ์ของคุณแม่ มีผลต่อการทำคลอดทั้งหมดเลยค่ะ แต่ถ้าเกิดเหนื่อยล้ามากเกินไปหรือไม่ไหวจริง ๆ ทางทีมแพทย์ก็จะทำการผ่าคลอดแทนการคลอดเอง
2. วิธี Hand off ในการคลอดทารกท่าก้น
สำหรับวิธีการ Hand off จะเป็นการทิ้งระยะเอาไว้ให้ทารกคลอดเอง และคอยเฝ้าสังเกตการณ์ แต่บางรายก็อาจจะต้องใช้การแทรกแซงทางการแพทย์เข้าช่วย ซึ่งทารกอาจจะไม่ได้รับการแตะต้องจากแพทย์เลยจนกว่าจะคลอดเสร็จ โดยปกติทารกจะค่อย ๆ เคลื่อนตัวลง เกร็งตัว และยืดร่างกาย เพื่อจะได้เกิดออกมาตามสัญชาตญาณ
การคลอดท่าก้นแม้จะเป็นการคลอดที่ทารกไม่ได้กลับหัว แต่ก็ใช่ว่าจะทำการคลอดไม่ได้ เพราะยังไงก็สามารถทำการผ่าคลอดได้แทนการคลอดผ่านทางช่องคลอดอยู่แล้ว ซึ่งคุณแม่เองก็ต้องรักษาตัวเองให้ดี ๆ เนื่องจากการคลอดทารกท่าก้นมีความเหนื่อยมากกว่าการคลอดที่เอาศีรษะออกก่อนมาก ๆ จะได้รับมือไหวค่ะ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
อาการก่อนคลอด สัญญาณเตือนก่อนคลอด เป็นแบบไหน สังเกตยังไง
10 สัญญาณเตือนก่อนคลอด คุณแม่ใกล้คลอดมีอาการอย่างไรบ้าง มาดูกัน!
มดลูกบีบตัวบ่อย คืออาการเจ็บท้องคลอดหรือไม่ เป็นอันตรายต่อทารกไหม
ที่มา : 1, 2
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!