การให้นมลูกเป็นวิธีตามธรรมชาติของแม่ ในการให้สารอาหารที่จำเป็นต่อลูก เพื่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่เหมาะสม นอกจากลูกน้อยจะได้โภชนาการที่ดีแล้ว การให้นมลูกยังช่วยให้คุณแม่ผูกพันกับลูกยิ่งขึ้น โดยคุณแม่ต้องใส่ใจลูก และเก็บโทรศัพท์มือถือไว้ห่าง ๆ ขณะให้นม เมื่อคุณแม่คุ้นเคยกับการให้นมลูกแล้ว และลูกรู้วิธีดูดนมอย่างถูกต้อง คุณแม่อาจสามารถให้นมลูกได้ในขณะที่ใช้โทรศัพท์ โดยใช้เพื่อฆ่าเวลา หรือเพื่อติดต่อกับเพื่อนสนิท แม้ว่าจะค่อนข้างเข้าใจได้ แต่มีเหตุผลบางอย่าง ที่ทำให้การเล่นมือถือในขณะให้นมลูกไม่ใช่ทางเลือกที่ดี มาดูกันว่า ให้นมลูกและเล่นมือถือไปด้วยได้ไหม ทำไมสองกิจกรรมนี้ถึงไม่ควรทำพร้อมกัน
ทำไมไม่ควรใช้โทรศัพท์มือถือขณะให้นมลูก
เราไม่สามารถปฏิเสธความจริงได้ว่า โทรศัพท์มือถือกลายเป็นส่วนหนึ่งของร่างกายเรา เราไม่สามารถจินตนาการชีวิตของเราได้ โดยปราศจากโทรศัพท์มือถือ แต่การติดโทรศัพท์มือถืออาจทำให้คุณพลาดช่วงเวลาที่สำคัญอื่น ๆ เช่น การได้อยู่กับลูกอย่างเต็มที่ในขณะที่ให้นมลูก และนี่คือเหตุผลที่คุณควรหลีกเลี่ยงการใช้โทรศัพท์มือถือขณะให้นมลูก
บทความที่เกี่ยวข้อง : “โรคติดโทรศัพท์มือถือ” ส่งผลต่อความสัมพันธ์ขนาดไหน
1. ขัดขวางการสบตา
การสบตาระหว่างแม่กับลูก ในขณะที่ให้นมลูกในช่วง 6 เดือนแรก เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการเสริมสร้างความผูกพันระหว่างแม่ การเล่นโทรศัพท์ขณะให้นม อาจทำให้คุณแม่พลาดการสบตากับลูกน้อย การวิจัยยังแสดงให้เห็นว่า การสบตาระหว่างแม่และลูกทำให้อารมณ์และสมองของลูก มีความสอดคล้องกัน สิ่งนี้ช่วยเสริมทักษะการเรียนรู้และการสื่อสารในอนาคตสำหรับลูกน้อย
2. อาจทำให้ลูกดิ้นเพื่อเรียกร้องความสนใจ
เมื่อคุณแม่เสียสมาธิไปกับโทรศัพท์ขณะให้นมลูก ลูกสามารถรู้สึกถึงความสนใจของคุณแม่ที่เปลี่ยนไปได้ และลูกจะเริ่มส่งเสียงหรือแม้แต่ดึงสิ่งที่อยู่รอบตัวเข้าหาตัวเอง ตอนนี้มันอาจจะดูน่ารัก แต่สิ่งนี้จะทำให้ลูกมีอารมณ์อ่อนไหวมากขึ้นเรื่อย ๆ
การศึกษาที่เรียกว่า ‘การทดลองหน้านิ่ง’ แสดงให้เห็นว่าเด็ก ๆ สังเกตเห็นเมื่อพ่อแม่มีสีหน้าที่นิ่งเฉย การศึกษาพบว่าเด็กมักจะดิ้นและตีแขนเพื่อให้พ่อแม่สนใจ ลูกต้องการเรียกร้องความสนใจจากผู้ใหญ่รอบตัว และนี้จะทำให้ฮอร์โมนความเครียดเด็กทำงาน
3. เบี่ยงเบนความสนใจของแม่
การให้นมลูกและการเล่นมือถือในเวลาเดียวกัน อาจทำให้คุณแม่พลาดสัญญาณเล็ก ๆ น้อย ๆ ของลูกน้อยได้ เนื่องจากจะใช้สมาธิจดจ่อกับมือถือ เช่น การสังเกตว่าลูกดูดนมอย่างถูกต้อง เพื่อให้ได้รับน้ำนมจากเต้ามากที่สุด
หากคุณแม่เล่นมือถืออาจทำให้พลาดไปได้ และอาจไม่ทันสังเกตด้วยซ้ำ ว่าลูกได้รับน้ำนมจากเต้าเพียงพอหรือไม่ เนื่องจากตาของคุณแม่จะไปอยู่ที่อื่น ในการให้นมลูก เป็นเวลาที่เหมาะสมที่สุด ในการดื่มด่ำกับความรู้สึกของการเป็นแม่ที่ให้นมลูก เมื่อลูกโตขึ้นคุณแม่จะไม่มีช่วงเวลานี้อีก
4. เสี่ยงต่อการได้รับรังสี
โทรศัพท์มือถือปล่อยรังสีออกมา และลูกน้อยที่ตัวเล็กมากอาจดูดซับรังสีเหล่านี้ได้ รังสีไมโครเวฟส่วนใหญ่ต่อเนื่อง แต่รังสีจากโทรศัพท์มือถือมักไม่คงที่ อย่างไรก็ตาม รังสีจากโทรศัพท์ยังสามารถทำลายโครงสร้างดีเอ็นเอของเด็ก เซลล์สมอง และอาจ ก่อให้เกิดมะเร็งและโรคอื่น ๆ ได้ ดังนั้น เช็กให้แน่ใจว่าโทรศัพท์มือถืออยู่ห่างจากลูก ไม่เพียงแต่ระหว่างให้นมลูกเท่านั้น รวมถึงตลอดเวลาด้วย
5. ไม่สังเกตท่าดูดนมลูก
เด็กจะมีพฤติกรรมบางอย่างเมื่อดูดนม และเป็นสิ่งสำคัญที่คุณแม่จะต้องสังเกตพฤติกรรมการดูดนมของลูก เพื่อให้ลูกน้อยได้รับปริมาณน้ำนมที่ดีที่สุดที่คุณแม่สามารถให้ได้ เมื่อให้ความสนใจ คุณแม่สามารถสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงที่เล็กน้อย เช่น หากลูกมีปัญหาในการดูดนม ลูกไม่พอใจกับท่าดูดนม หรือหากลูกต้องการเรอระหว่างดูดนม
บางครั้งคุณแม่อาจสังเกตเห็นว่าลูกหลับในขณะที่กินนมแม่ ในกรณีนี้ คุณแม่จะต้องเป่าผมเบา ๆ หรือขยับนิ้วเท้าเล็ก ๆ ของลูกเพื่อปลุก สิ่งเหล่านี้คุณแม่จะไม่เห็น หากคุณแม่มัวยุ่งอยู่กับการเล่นโทรศัพท์
แนะนำกิจกรรมสร้างสัมพันธ์ระหว่างให้นมลูก
ความรักที่อบอุ่นและอ่อนโยนทำให้เด็กแรกเกิดความรู้สึกปลอดภัย และสร้างความผูกพัน ทั้งยังสามารถสร้างสายสัมพันธ์ ผ่านการมีปฏิสัมพันธ์กับเด็กแรกเกิด เช่น เมื่อคุณแม่ให้ลูกดู ฟัง และรู้สึก สิ่งนี้ทำให้สมองของเด็กทำงาน และทำให้สมองของลูกพัฒนา
1. สัมผัสและกอด
สัมผัสและกอดลูกเป็นประจำ ตั้งแต่แรกเกิดลูกสามารถสัมผัสได้ แม้กระทั่งสัมผัสที่อ่อนโยนที่สุด ลองลูบเด็กแรกเกิดเบา ๆ เวลาที่คุณแม่เปลี่ยนผ้าอ้อม อาบน้ำ หรือเวลาให้นมกับลูก
บทความที่เกี่ยวข้อง : 7 ข้อดีของการกอดลูก ยิ่งกอดลูกลูกยิ่งฉลาด ยิ่งกอดลูกลูกยิ่งเป็นคนเก่ง
2. ตอบสนองต่อการร้องไห้
ตอบสนองต่อการร้องไห้ คุณแม่อาจไม่สามารถบอกได้เสมอว่า ทำไมเด็กแรกเกิดถึงร้องไห้ แต่การตอบสนองต่อลูกที่ร้องไห้ เท่ากับว่าคุณแม่บอกให้ลูกได้รับรู้ว่าแม่อยู่เคียงข้างลูกเสมอ
3. การอุ้มลูก
การอุ้มลูกน้อยของคุณแม่ ให้คุณแม่ลองโยก หรืออุ้มลูกแบบแนบชิดตัวคุณแม่ ให้อุ้มลูกในท่าวางขวางไว้บนตัก ให้ท้ายทอยอยู่ที่แขนของคุณแม่ ปลายแขนของคุณแม่ช้อนที่หลังและก้นของลูก ตะแคงตัวลูกเข้าหาเต้านมให้หน้าอกลูกและคุณแม่ชิดกัน มืออีกข้างพยุงเต้านม
4. ทำให้ลูกรู้สึกปลอดภัย
ให้คุณแม่รองรับศีรษะและคอของลูกเมื่อคุณแม่อุ้มลูกน้อย หรือลองห่อตัวลูกน้อย ซึ่งช่วยสร้างความรู้ให้ลูกรู้สึกปลอดภัยเหมือนอยู่ในครรภ์ของแม่ ทำให้ลูกรู้สึกไว้ใจ และรู้สึกปลอดภัยมากขึ้นค่ะ
5. พูดคุยกับลูก
พูดคุยกับลูกให้บ่อยเท่าที่จะทำได้ ด้วยน้ำเสียงที่ผ่อนคลายและมั่นใจ คุณแม่สามารถพูดคุยเกี่ยวกับสิ่งที่กำลังทำ หรือบอกเล่าเรื่องราว สิ่งนี้จะช่วยให้เด็กแรกเกิดเรียนรู้ที่จะจดจำเสียงของคุณแม่ นอกจากนี้ยังช่วยให้ลูกได้เรียนรู้ภาษาไปในตัวด้วย
6. ร้องเพลง
ลูกน้อยอาจจะชอบเสียงเพลง และดนตรีที่มีจังหวะขึ้นลง เพลงที่ผ่อนคลายอาจช่วยให้ทั้งคุณแม่และลูกรู้สึกสงบขึ้นด้วย ลูกของคุณแม่จะไม่ว่าอะไร ถึงแม้คุณแม่จะลืมทำนอง หรือเนื้อร้องของเพลงก็ตาม
7. สบตาลูกน้อย
มองตาของลูกน้อยในขณะที่คุณแม่พูด ร้องเพลง และแสดงสีหน้า สิ่งนี้จะช่วยให้เด็กแรกเกิดเรียนรู้ความเชื่อมโยงระหว่างคำพูด และความรู้สึก
ดังนั้น นี่จึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับคุณแม่มือใหม่ ที่ควรใช้โทรศัพท์มือถืออย่างจำกัด หลีกเลี่ยงการใช้มือถือขณะที่ให้นมลูก เพราะคุณแม่อาจเสียใจภายหลัง หากพลาดความสุขที่ได้ใกล้ชิดกับลูก การให้นมลูกเป็นขั้นตอนที่คุณแม่ควรให้ความสำคัญ ดังนั้นอย่าลืมที่จะทำให้เป็นเรื่องราวที่น่าจดจำ งดใช้มือถือขณะให้นมลูก จดจ่อกับความต้องการของลูก และสร้างสายสัมพันธ์ระหว่างแม่กับให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นค่ะ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
ให้นมลูกนอกบ้าน รวมเทคนิคเตรียมตัว และการเลือกสถานที่
การให้นมลูก ปริมาณน้ำนม และความถี่ในการให้นม ฉบับคู่มือแม่มือใหม่
ชุดชั้นในให้นมลูก ยี่ห้อไหนดี สวมใส่สบาย ให้นมสะดวก ควรค่าแก่การซื้อมาใช้!
ที่มา : parenting.firstcry, raisingchildren
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!