X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

บูสเตอร์ซีท คืออะไร จำเป็นไหม? เมื่อไหร่ที่ควรให้ลูกใช้บูสเตอร์ซีท?

บทความ 5 นาที
บูสเตอร์ซีท คืออะไร จำเป็นไหม? เมื่อไหร่ที่ควรให้ลูกใช้บูสเตอร์ซีท?

เมื่อลูกเริ่มโตขึ้นการใช้คาร์ซีทอาจไม่พอดีสำหรับเด็กอีกต่อไป บูสเตอร์ซีท จึงเป็นทางเลือกสำหรับเด็กโตที่จะช่วยเสริมความปลอดภัยได้เป็นอย่างดี คุณพ่อคุณแม่บางคนเมื่อลูกเริ่มโต ก็เลิกใช้คาร์ซีทแล้วให้ลูกไปนั่งเบาะธรรมดาแทน แต่นั่นอาจทำให้ลูกนั่งเบาะไม่สะดวกจนทำให้เกิดการบาดเจ็บได้ วันนี้เราจะพามาดูกันว่าบูสเตอร์ซีทคืออะไร และเมื่อไหร่ที่ควรให้ลูกใช้เบาะเสริมนี้ ไปดูกันค่ะ

 

บูสเตอร์ซีท คืออะไร

บูสเตอร์ซีท (Booster Seat) คือเบาะนั่งนิรภัยสำหรับเด็กโตที่ใช้ภายในรถยนต์ โดยถือเป็นคาร์ซีทประเภทหนึ่งที่ออกแบบมาเพื่อเด็กในช่วงอายุ 3.5 – 12 ปี โดยเฉพาะ เนื่องจากเด็กวัยนี้จะเริ่มมีพัฒนาการร่างกายที่เติบโตขึ้น ทำให้รูปร่างเปลี่ยนไปจนไม่สามารถนั่งคาร์ซีทสำหรับเด็กเล็กได้ โดยเบาะนั่งชนิดนี้จะช่วยพยุงตัวเด็กให้สูงพอดีกับเข็มขัดนิรภัยบนตักและไหล่ของลูก ซึ่งจะไม่ใช้สายรัดนิรภัยแบบ 5 จุดเหมือนกับคาร์ซีทเด็กเล็ก โดยบูสเตอร์ซีทแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังต่อไปนี้

  • บูสเตอร์ซีทแบบมีเบาะหลัง (High Back Booster) บูสเตอร์ซีทประเภทนี้จะมีเบาะหลังสูงที่จะช่วยรองรับศีรษะของเด็ก เหมาะสำหรับรถที่ไม่มีพนักพิงศีรษะและพนักพิงต่ำ โดยจะช่วยให้ลูกนอนหลับบนรถได้อย่างสบายเพราะมีส่วนช่วยรองรับศีรษะ
  • บูสเตอร์ซีทแบบไม่มีเบาะหลัง (Backless Booster) บูสเตอร์ซีทประเภทนี้เหมาะสำหรับรถที่มีพนักพิงสูงที่ช่วยรองรับศีรษะของลูกได้ โดยบูสเตอร์ชนิดนี้จะเป็นเบาะเสริมเพียงอย่างเดียว ทำให้มีราคาถูกกว่าบูสเตอร์ซีทแบบมีเบาะหลังและสะดวกต่อการพกพามากกว่า

บทความที่เกี่ยวข้อง : วิธีเลือก คาร์ซีทเด็กแต่ละช่วงวัย เลือกแบบไหนถึงจะเหมาะสมกับลูกน้อย

 

บูสเตอร์ซีท

 

เมื่อไหร่ที่ลูกควรใช้บูสเตอร์ซีท

คุณพ่อคุณแม่หลายคนมักสงสัยว่าเมื่อไหร่ที่ควรให้ลูกเปลี่ยนมาใช้บูสเตอร์ซีท คำตอบคือ เมื่อลูกอายุประมาณ 3.5 ปีขึ้นไปจนถึง 12 ปี หรือมีน้ำหนักประมาณ 15 – 36 กิโลกรัม และส่วนสูง 100 – 145 เซนติเมตร โดยแนะนำให้พิจารณาจากเกณฑ์น้ำหนักและความสูงของลูกเป็นหลักจะดีกว่า เพราะน้ำหนักจะมีผลหากเกิดอุบัติเหตุ ลูกจะต้องมีน้ำหนักและความสูงที่มากพอเพื่อที่จะช่วยให้เข็มขัดนิรภัยสามารถรัดตัวเด็กได้อย่างเหมาะสม

 

เด็กอายุ 3 – 5 ขวบ จำเป็นต้องใช้บูสเตอร์ซีทไหม

ส่วนใหญ่แล้วเด็กอายุ 3 – 5 ปี อาจมีขนาดตัวที่ไม่พอดีกับเบาะเสริม คุณพ่อคุณแม่อาจต้องพิจารณาจากน้ำหนัก ส่วนสูง และขนาดตัวของลูกก่อน หากลูกยังตัวเล็กอยู่ ก็ยังสามารถใช้คาร์ซีทสำหรับเด็กเล็กได้ แต่หากลูกมีขนาดส่วนสูงหรือน้ำหนักที่มากเกินไป ก็อาจจำเป็นต้องเปลี่ยนมาใช้บูสเตอร์ซีทแทน เพราะหากคุณพ่อคุณแม่ฝืนให้ลูกใช้คาร์ซีทต่อไป ก็อาจทำให้ลูกอึดอัดและเป็นอันตรายแก่ลูกน้อย นอกจากนี้ ยังเสี่ยงให้ลูกเกิดอาการบาดเจ็บจากการรัดของเข็มขัดนิรภัยด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง : เด็กแรกเกิดนั่งคาร์ซีท ได้ไหม วิธีติดตั้งคาร์ซีทที่ถูกต้อง สำหรับทารกจวบจนเด็กโต

 

บูสเตอร์ซีท

 

บูสเตอร์ซีทแบบไม่มีเบาะหลังปลอดภัยไหม

ผู้ปกครองหลายคนอาจคิดว่าบูสเตอร์ซีทแบบไม่มีเบาะหลัง อาจไม่ปลอดภัยสำหรับลูกน้อย แต่จริง ๆ แล้วเบาะนั่งประเภทนี้ปลอดภัยสำหรับเด็กค่ะ เพราะเบาะประเภทนี้จะช่วยจัดตำแหน่งของลูกให้พอดีกับตำแหน่งของเข็มขัดนิรภัยรถยนต์ เหมือนกับแบบมีเบาะหลัง อีกทั้งยังมีงานวิจัยที่ได้สรุปว่าบูสเตอร์ซีทแบบไม่มีเบาะหลังจะช่วยให้ลูกคาดเข็มขัดนิรภัยได้พอดีมากกว่าตัวที่มีเบาะเพราะอยู่ใกล้ไหล่มากกว่า

นอกจากนี้ ยังมีงานศึกษาที่เผยว่าเด็กในช่วงอายุ 4 – 8 ปี ที่ได้นั่งบูสเตอร์ซีทแบบไม่มีเบาะหลังแล้วประสบอุบัติเหตุ จะได้รับการป้องกันที่ดีมากกว่าแบบที่มีเบาะหลัง และช่วยลดความเสี่ยงในการบาดเจ็บลง 70% เพราะฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่จึงมั่นใจได้เลยว่า การให้ลูกนั่งบูสเตอร์ซีทแบบไม่มีเบาะหลังก็สามารถเสริมความปลอดภัยให้แก่ลูกไม่แพ้เบาะอีกประเภทค่ะ

 

เมื่อไหร่ที่ลูกควรเลิกใช้บูสเตอร์ซีท

คุณพ่อคุณแม่อาจต้องหมั่นสังเกตว่าลูกโตพอหรือยังที่จะเลิกใช้บูสเตอร์ซีท โดยอาจไม่พิจารณาจากเกณฑ์เรื่องอายุ น้ำหนัก และส่วนสูงเพียงอย่างเดียว แต่ต้องพิจารณาจากการใช้งานของลูกว่าจำเป็นหรือเปล่า เช่น ลูกงอเข่าได้พ้นขอบเบาะแล้ว หรือสายเข็มขัดอยู่กลางบ่า ไม่พาดใกล้คอ เป็นต้น โดยอาจสังเกตจากวิธีดังต่อไปนี้

  • เห็นว่าลูกนั่งหลังพิงพนักได้แล้ว
  • เห็นว่าลูกงอเข่าพ้นขอบเบาะได้แล้ว
  • เห็นว่าลูกนั่งในท่านั่งสบายตลอดระยะเวลาในการเดินทาง
  • เห็นว่าสายเข็มขัดนิรภัยด้านล่างพาดบริเวณต้นขาและสะโพกของลูกได้พอดี
  • เห็นว่าสายเข็มขัดนิรภัยที่พาดหน้าอกของลูก พาดอยู่กลางบ่าพอดี ไม่พาดใกล้คอหรือใกล้แขนลูก

บทความที่เกี่ยวข้อง : พาลูกออกนอกบ้านได้ตอนกี่เดือน ลูกกี่เดือนถึงนั่งคาร์ซีทได้

 

บูสเตอร์ซีท

 

เคล็ดลับการใช้บูสเตอร์ซีทอย่างปลอดภัย

นอกเหนือจากการรู้จักบูสเตอร์ซีทแล้ว คุณพ่อคุณแม่ควรรู้จักเคล็ดลับการใช้บูสเตอร์ซีทที่ถูกต้อง เพื่อช่วยเสริมความปลอดภัยให้แก่เด็กและช่วยให้ลูกนั่งเบาะได้อย่างสบาย ไม่อึดอัด และไม่เป็นอันตราย โดยเคล็ดลับการใช้บูสเตอร์ซีท มีดังนี้

 

1. ทดสอบเบาะนั่งก่อน

วางบูสเตอร์ซีทไว้บนเบาะรถของคุณก่อน แล้วตรวจดูให้แน่ใจว่าบูสเตอร์ซีทราบไปกับเบาะรถหรือไม่ จากนั้นให้ลูกลองนั่งแล้วรัดเข็มขัดนิรภัยเพื่อดูพอดีกับตัวเด็กหรือไม่ ตรวจดูว่าลูกพิงพนักพิงได้หรือเปล่า โดยให้เข่างอที่ขอบเบาะนั่ง หากเล็กเกินไปก็จนไม่พอดีกับตัวเด็กก็อาจเป็นอันตรายได้ นอกจากนี้ ให้ลองดูว่าสายรัดพาดสะโพกลูกหรือเปล่า ไม่ได้พาดที่หน้าท้องและต้นขา รวมทั้งสายคาดนิรภัยต้องคล้องไว้ที่ไหล่ ไม่ใช่ที่คอ ต้นแขน หรือกึ่งกลางหน้าอก

 

2. เช็กความพร้อมของลูก

คุณพ่อคุณแม่ควรตรวจสอบให้แน่ใจก่อนว่าลูกพร้อมนั่งบูสเตอร์ซีทแล้วหรือยัง เพราะมีคุณพ่อคุณแม่ไม่น้อยที่ชอบให้ลูกนั่งเบาะเสริมก่อนวัย ทำให้ไม่สามารถใช้งานเบาะนิรภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งหากปล่อยให้ลูกใช้บูสเตอร์ซีทก็อาจเป็นอันตรายแก่เขา เพราะไม่สามารถใช้สายรัดตัวได้ ยิ่งหากลูกชอบเล่นซน หรืออยู่ไม่นิ่งอยู่แล้ว ก็อาจเสี่ยงที่เข็มขัดนิรภัยหรือสายคาดไหล่จะหลุด จนทำให้เสี่ยงต่อการบาดเจ็บได้

 

3. ตรวจสอบให้แน่ใจว่าบูสเตอร์ซีทอยู่ในจุดที่ถูกต้อง

โดยปกติแล้ว ตำแหน่งที่ปลอดที่สุดสำหรับเบาะรองนั่งส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณตรงกลางของเบาะหลัง เพื่อที่จะได้ป้องกันการชนจากด้านข้าง คุณพ่อคุณแม่จึงต้องตรวจสอบให้ดีว่าบูสเตอร์ซีทอยู่ในจุดที่ถูกต้องหรือเปล่า แต่ถ้าหากคุณพ่อคุณแม่มีลูกสองคนก็แนะนำให้ติดตั้งบูสเตอร์ซีทบริเวณตรงกลาง และด้านซ้ายของเบาะหลัง เพื่อให้สามารถเห็นได้ว่าลูกปลอดภัยดี ไม่มีอะไรผิดปกติ

บทความที่เกี่ยวข้อง : วิธีใส่คาร์ซีทที่ถูกต้อง เช็กวิธีที่คุณใส่ที่นั่งบนรถให้ลูกว่าทำถูกหรือไม่

 

บูสเตอร์ซีท

บทความจากพันธมิตร
ล้างจมูกถูกวิธี หายใจโล่ง ลดอันตรายจากฝุ่นได้
ล้างจมูกถูกวิธี หายใจโล่ง ลดอันตรายจากฝุ่นได้
นม UHT รสจืด 5 อันดับ นมโคแท้ 100% แคลเซียมสูง เติมความแข็งแรงให้เด็กๆ ที่แม่ต้องมีติดบ้าน
นม UHT รสจืด 5 อันดับ นมโคแท้ 100% แคลเซียมสูง เติมความแข็งแรงให้เด็กๆ ที่แม่ต้องมีติดบ้าน
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
S-26 สุดยอดแบรนด์นมสำหรับเด็ก ที่คุณแม่ไว้วางใจ คว้า 3 รางวัลแห่งปี จากเวที theAsianparent Awards 2024
S-26 สุดยอดแบรนด์นมสำหรับเด็ก ที่คุณแม่ไว้วางใจ คว้า 3 รางวัลแห่งปี จากเวที theAsianparent Awards 2024

 

4. ใช้คลิปหนีบเข็มขัดนิรภัย

หากบูสเตอร์ซีทมาพร้อมกับคลิปหนีบเข็มขัดนิรภัย คุณพ่อคุณแม่ควรให้ลูกใช้คลิปหนีบเสริมด้วย และตรวจดูให้แน่ใจว่าเข็มขัดพาดผ่านลำตัวลูกอย่างถูกต้องหรือเปล่า แนะนำว่าไม่ควรใช้ตัวปรับเข็มขัดนิรภัยที่ไม่ได้มาพร้อมเบาะรองนั่งนะคะ เพราะอาจไม่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ที่คุณพ่อคุณแม่มีอยู่

 

5. พยายามให้ลูกใช้บูสเตอร์ซีทเสมอ

หากลูกของคุณชอบนั่งรถไปกับปู่ย่า ตายาย หรือญาติผู้ใหญ่ แนะนำให้ซื้อบูสเตอร์ซีทแยกไว้อีกหนึ่งที่นะคะ เพื่อให้ลูกติดการนั่งเบาะนิรภัยและเคยชินกับการนั่งเบาะ รวมถึงอย่าลืมบอกให้ลูกคาดเข็มขัดนิรภัยทุกครั้งที่นั่งเพื่อความปลอดภัย เพียงเท่านี้ก็จะช่วยเรื่องความปลอดภัยและทำให้ลูกติดการนั่งเบาะนิรภัยเสมอ

 

การใช้บูสเตอร์ซีทถือเป็นเรื่องสำคัญสำหรับเด็ก ๆ เป็นอย่างมาก เพราะนอกจากจะช่วยเรื่องความปลอดภัยแล้ว ยังช่วยป้องกันลูกน้อยจากอุบัติเหตุอีกด้วย เพราะฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่อย่าลืมเลือกซื้อบูสเตอร์ซีทที่ได้มาตรฐาน ไม่ซื้อเบาะนิรภัยมือสอง เพราะเราไม่รู้ว่าอุปกรณ์นั้นจะมีประสิทธิภาพในการปกป้องลูกน้อยได้หรือไม่

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ทำความรู้จัก กฎหมายคาร์ซีท มีค่าปรับเท่าไหร่? ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง

แนะนำ 10 คาร์ซีทงบประหยัด ปี 2023 ราคาดี มีคุณภาพ คาร์ซีทยี่ห้อไหนดี?

วินาทีเฉียดตาย! เมื่อรถไปชนท้ายรถบรรทุก การติดตั้งคาร์ซีทที่ถูกต้อง สำคัญมาก

ที่มา : babycenter, britaxthailand, babyhillsthailand, babygiftretail

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Sittikorn Klanarong

  • หน้าแรก
  • /
  • เด็กวัยประถม
  • /
  • บูสเตอร์ซีท คืออะไร จำเป็นไหม? เมื่อไหร่ที่ควรให้ลูกใช้บูสเตอร์ซีท?
แชร์ :
  • เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

    เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

  • 5 หัวใจสำคัญของการ เลี้ยงลูกสองภาษา วางกลยุทธ์ ฝึกยังไงให้ได้ผล

    5 หัวใจสำคัญของการ เลี้ยงลูกสองภาษา วางกลยุทธ์ ฝึกยังไงให้ได้ผล

  • เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

    เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

  • 5 หัวใจสำคัญของการ เลี้ยงลูกสองภาษา วางกลยุทธ์ ฝึกยังไงให้ได้ผล

    5 หัวใจสำคัญของการ เลี้ยงลูกสองภาษา วางกลยุทธ์ ฝึกยังไงให้ได้ผล

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว