100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 46 ใบอัลตราซาวด์บอกอะไรบ้าง

วันนี้ theAsianparent Thailand ขอนำบทความที่เกี่ยวกับการอัลตราซาวด์มาฝากคุณแม่มือใหม่กัน มาดูว่าใน ใบอัลตราซาวด์บอกอะไรบ้าง และการอ่านใบอัลตราซาวด์ทำอย่างไร

การอัลตราซาวด์เป็นสิ่งที่คุณแม่ตั้งท้องทั้งหลายคุ้นเคย แต่สำหรับคุณแม่มือใหม่ การอัลตราซาวด์ก็เป็นสิ่งที่แปลกใหม่เช่นกัน วันนี้ theAsianparent Thailand ขอนำบทความที่เกี่ยวกับการอัลตราซาวด์มาฝากคุณแม่มือใหม่กัน มาดูว่าใน ใบอัลตราซาวด์บอกอะไรบ้าง และการอ่านใบอัลตราซาวด์ทำอย่างไร

 

การอัลตราซาวด์ คืออะไร

การตรวจอัลตราซาวด์ (Ultrasound) หรือ การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง เป็นการตรวจที่ใช้คลื่นเสียงในการสร้างภาพลูกในท้องคุณแม่ โดยอุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจจะปล่อยคลื่นเสียงผ่านร่างกายคุณแม่ คลื่นเสียงนี้จะสะท้อนกับกล้ามเนื้อ ไขมัน อวัยวะในช่องท้อง และร่างกายของทารก รก น้ำคร่ำที่อยู่ในมดลูกของคุณแม่ แล้วสะท้อนกลับมายังอุปกรณ์ตรวจรับเพื่อแปลงเป็นภาพทางหน้าจออีกครั้ง

ใบอัลตราซาวด์บอกอะไรบ้าง

ใบอัลตราซาวด์บอกอะไรบ้าง

ใบอัลตราซาวด์บอกอะไรบ้าง

ในสัปดาห์ที่ 6-8 จะมีการตรวจยืนยันการตั้งครรภ์ จำนวนของทารก และดูการเต้นหัวใจ รวมถึงตรวจภาวะการตั้งครรภ์ ว่ามีความเสี่ยงต่ภาวะท้องนอกมดลูก-ท้องลมหรือไม่ ตรวจว่ามีเนื้องอกมดลูก หรือถุงน้ำรังไข่หรือไม่ ซึ่งอาจจะกระทบต่อการตั้งครรภ์

ในสัปดาห์ที่ 10-14 ในสัปดาห์นี้จะมีการตรวจหาความพิการแต่กำเนิดชนิดรุนแรงบางอย่าง วัดความหนาของผิวหนังบริเวณต้นคอ เพื่อช่วยในการตรวจคัดกรองความเสี่ยงกลุ่มอาการ Down Syndrome

สัปดาห์ที่ 18-22 ตรวจดวามผิดปกติหรือความพิการของทารกอย่างละเอียด (Anomaly Scan) ตรวจการเจริญเติบโต และน้ำหนักตัวของทรก ตรวจตำแหน่งรก สายสะดีอ และปริมาณน้ำคร่ำ

สัปดาห์ที่ 28-3 ตรวจความผิดปกติของทารกอีกครั้งก่อนคลอด ตรวจการเจริญเติบโต และน้ำหนักตัวของทารก ตรวจสุขภาพทารก การหายใจ และการเคลื่อนไหว

 

ใบอัลตราซาวด์บอกอะไรบ้าง

ใบอัลตราซาวด์

สำหรับตัวอักษรย่อและศัพท์ทางการแพทย์ที่สามารถพบได้ในการอ่านผลคลื่นเสียงความถี่

  • BPD = Biparietal diameter คือ ความกว้างของศีรษะ
  • HC = Head circumference คือ เส้นรอบวงของศีรษะ
  • AC = Abdominal circumference คือ เส้นรอบวงของท้อง
  • FL = Femur length คือ ความยาวกระดูกต้นขา
  • HL = Humerus length คือ ความยาวกระดูกต้นแขน
  • FHR = Fetal heart rate คือ อัตราการเต้นหัวใจของทารก
  • ค่าปกติ 110-160 ครั้งต่อนาที
  • EFW = Estimated fetal weight คือ ค่าประมาณน้ำหนักตัวของทารกในครรภ์ ซึ่งได้จากการคำนวณตามสมการของ Shepard หรือ Hadlock
  • Shepard ใช้ BPD/AC ในการคำนวณ
  • Hadlock ใช้ BPD/AC/FL ในการคำนวณ
  • EFW percentile คือ ค่าการเปรียบเทียบน้ำหนักตัวของทารกในครรภ์กับประชากรทารกที่อายุครรภ์เดียวกัน
  • ค่าปกติจะอยู่ที่ 10-90 percentile

    ใบอัลตราซาวด์บอกอะไรบ้าง

    ใบอัลตราซาวด์ บอกอะไรบ้าง

  • ถ้า <10 percentile แสดงว่าทารกมีน้ำหนักตัวน้อย อาจมีภาวะทารกโตช้าในครรภ์
  • ถ้า >90 percentile แสดงว่าทารกมีน้ำหนักตัวมาก อาจมีภาวะเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์
  • AFI = Amniotic fluid index คือ ปริมาณน้ำคร่ำรวมจากการวัด 4 ตำแหน่ง
  • DVP = Deepest vertical pocket คือ ปริมาณน้ำคร่ำที่วัดความลึกได้มากที่สุดจากการวัด 4 ตำแหน่ง
  • Placental site คือ ตำแหน่งที่รกเกาะกับมดลูก
  • Placenta previa คือ มีรกเกาะต่ำ
  • Placental grade คือ ลักษณะของเนื้อรก ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงตามอายุครรภ์
  • Umbilical cord insertion คือ ตำแหน่งที่สายสะดือออกจากรก
  • Centric คือ ออกตรงกลางรก
  • Eccentric คือ ออกค่อนมาด้านข้างของรก
  • Marginal คือ ออกมาที่ขอบรก ซึ่งพบว่าสัมพันธ์กับภาวะทารกโตช้าในครรภ์
  • Presentation คือ ท่าของทารกในครรภ์
  • Vertex หรือ Cephalic คือ ทารกท่าศีรษะ
  • Breech คือ ทารกท่าก้น
  • Transverse lie คือ ทารกท่านอนขวาง

 

ลงทะเบียนรับการดูแลตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ กับ theAsianparent Thailand ตั้งแต่ช่วงไตรมาสแรก มาติดตามพัฒนาการของลูกอย่างใกล้ชิด ว่าลูกโตขึ้นแค่ไหนกันนะ ไตรมาสที่ 2  มาฟังเสียงลูกน้อย นับว่าหนึ่งวันลูกดิ้นไหมนะ และ ลูกดิ้นวันละกี่ครั้งด้วยแอพพลิเคชั่น theAsianparent Thailand  นี่เป็นแค่ตัวอย่างกิจกรรมบนแอพพลิเคชั่นในส่วนแรก เพราะคุณแม่จะได้รับการดูแลทั้งอาหารการกินโดยการออกแบบจากผู้เชี่ยวชาญว่าควรทานอะไรบ้างในแต่ช่วงอายุครรภ์ ยาที่เป็นอันตรายชนิดไหนบ้างที่ไม่ควรทาน กิจกรรมใดบ้างที่ทำได้หรือทำไม่ได้ เคล็ดลับการตั้งชื่อลูกอย่างไรให้เป็นมงคลทั้งเด็กหญิงและเด็กชาย รวมถึงเตรียมแผนการล่วงหน้าถึงอนาคต การเตรียมคลอด การดูแลตนเองหลังคลอด ที่ครอบคลุมทุกช่วงเวลาที่คุณแม่ต้องการ

 

Source : 1 , นพ.อดิศร อักษรภูษิตพงศ์ สูตินรีแพทย์ เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ประจำโรงพยาบาลพญาไท 3

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 63 อัลตร้าซาวด์ สามารถตรวจความผิดปกติ ของทารกได้หรือไม่

100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 44 พาเทาซินโดรมคืออะไร (Patau syndrome)

ภาวะช่องคลอดแห้ง ก่อนวัยอันควร มีวิธีป้องกัน และรักษา ได้อย่างไร

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!