ท้องพร้อมเนื้องอก! แม่ท้องมีเนื้องอกมดลูกเกือบ30ซม. เบียดทารกอยู่ในท่าผิดปกติ

ท้องแล้วอย่าชะล่าใจ รีบฝากครรภ์ ตรวจให้ไว เพราะเนื้องอกมดลูกในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงสูง อันตรายที่แม่ท้องต้องดูแลพิเศษ

เนื้องอกในมดลูกระหว่างตั้งครรภ์ 

หมอบอกความเสี่ยง เนื้องอกในมดลูกระหว่างตั้งครรภ์ เมื่อแม่ท้องพร้อมเนื้องอก มีเนื้องอกมดลูกในขณะท้อง เสี่ยงอันตรายแค่ไหน วิธีการปฏิบัติตัว หากพบเนื้องอกมดลูกขณะตั้งครรภ์ อันตรายแค่ไหน แม่ท้องมีเนื้องอก

 

เนื้องอกมดลูกขณะตั้งครรภ์เกือบ 30 ซม. เนื้องอกมดลูก10ซม

เพจเมื่อหมอเป็นแม่ ได้บอกถึงความเสี่ยงเนื้องอกมดลูกขณะตั้งครรภ์ และวิธีปฏิบัติตัวเมื่อมีเนื้องอกในมดลูกระหว่างตั้งครรภ์ ว่า

#เนื้องอกมดลูกขณะตั้งครรภ์

ขออภัยที่แม่หมอห่างหายจากเพจไปนานค่ะ เป็นทั้งหมอและแม่มีความวุ่นในชีวิตอย่างไม่เคยคิดมาก่อนค่ะ ฮาาาา

สืบเนื่องจากแม่หมอได้เข้าไปช่วยคลอดเคสที่คุณแม่มีปัญหามีเนื้องอกมดลูกขนาดใหญ่มากกกกกในระหว่างตั้งครรภ์ ขนาดตั้งเกือบ 30 ซม. วันนี้ เลยนำข้อมูล เกี่ยวกับการดูแลตัวเองในระหว่างตั้งครรภ์ สำหรับคุณแม่ที่มีเนื้องอกมดลูกมาฝากกันค่ะ

#เนื้องอกมดลูก เป็นเนื้องอกที่พบบ่อยมาก ๆ ค่ะ ผู้หญิงไทยเราเกือบครึ่งมีเนื้องอกมดลูกอยู่ แต่ไม่มีอาการ มักตรวจพบโดยบังเอิญจากการตรวจภายในประจำปี จึงไม่แปลกหากเพิ่งมาตรวจพบเมื่อทราบว่าตั้งครรภ์ค่ะ

 

โดยความเสี่ยงที่พบหากมีเนื้องอกมดลูกในระหว่างตั้งครรภ์ ได้แก่

  1. อาการปวดมดลูกจากการที่เนื้องอกขยายขนาดขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นอิทธิพลจากฮอร์โมนที่เพิ่มสูงขึ้น พบได้ราว 1/3 ของผู้ป่วยที่มีเนื้องอกมดลูกค่ะ
  2. ความเสี่ยงแท้งบุตร จากการที่เนื้องอกเบียดเข้าไปในโพรงมดลูก ทำให้ตัวอ่อนฝังตัวผิดปกติไป บางรายอาจมีการแท้งซ้ำบ่อยๆได้
  3. ความเสี่ยงในการคลอดก่อนกำหนด จากการที่ก้อนเนื้องอกทำให้กล้ามเนื้อมดลูกไม่ยืดหยุ่น ขยายขนาดตามอายุครรภ์ได้ไม่มาก
  4. ความเสี่ยงในการเกิดทารกโตช้าในครรภ์ อันเนื่องมาจาก รกที่เกาะตรงตำแหน่งที่มีเนื้องอกอยู่พอดี ทำให้การส่งเลือด อาหาร อากาศ ผ่านรกและสายสะดือได้รับผลกระทบ เป็นเหตุให้ทารกมีการเจริญเติบโตผิดปกติได้
  5. ความเสี่ยงที่ทารกจะอยู่ในท่าขวาง เนื่องจากก้อนเนื้องอกเบียด หรือเนื้องอกขวางช่องทางคลอด ทำให้คลอดทางช่องคลอดปกติไม่ได้ หรือคลอดยาก
  6. ความเสี่ยงในการตกเลือดหลังคลอด จากการที่เนื้องอกทำให้กล้ามเนื้อมดลูกหดรัดตัวหลังคลอดไม่ดีค่ะ

 

ทราบอย่างนี้แล้ว เราคงต้องมาดูวิธีการปฏิบัติตัวหากพบเนื้องอกมดลูกในระหว่างตั้งครรภ์กันค่ะ แนะนำแบบนี้นะคะ

  1. รีบฝากครรภ์ค่ะ ช่วงไตรมาสแรกคุณหมอจะตรวจเนื้องอกมดลูกได้ง่ายกว่า เพราะขนาดมดลูกยังไม่ใหญ่มาก รวมทั้งยังบันทึกขนาด ตำแหน่งเอาไว้ใช้ในการตรวจติดตามต่อไปได้ง่ายค่ะ
  2. สังเกตดูอาการที่เกี่ยวเนื่องกับเนื้องอกมดลูก เช่น อาการปวดท้อง ถ้าปวดมากควรรีบพบแพทย์เพื่อรับยาแก้ปวด อย่าซื้อยาแก้ปวดรับประทานเอง อาจส่งผลกระทบกับทารกในครรภ์ค่ะ นอกจากนี้ หากมีเลือดออกทางช่องคลอดผิดปกติ ควรรีบไปพบแพทย์ที่รพ.ทันที
  3. หลีกเลี่ยงกิจกรรมหนัก ๆ ที่อาจกระตุ้นให้เกิดการคลอดก่อนกำหนด เช่น การทำงานหนัก ยกของหนัก หรือการมีเพศสัมพันธ์ในระหว่างที่มีอาการปวดท้อง เพื่อลดความเสี่ยงในการคลอดก่อนกำหนดลงค่ะ
  4. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เน้นโปรตีน และผักผลไม้ เพื่อควบคุมน้ำหนักไม่ให้ขึ้นมากเกินเกณฑ์ ในระหว่างตั้งครรภ์ มิเช่นนั้น ทารกในครรภ์ตัวใหญ่เกินไป จะเสี่ยงคลอดก่อนกำหนดมากขึ้น หรือทำให้คลอดยากมากนิ่งขึ้นไปอีกค่ะ
  5. ตรวจพบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอเป็นระยะ เพื่อดูขนาดเนื้องอก ติดตามการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์

 

สำหรับคนไข้ที่แม่หมอเข้าไปช่วยคลอดนั้น ถึงแม้ก้อนเนื้องอกขนาดใหญ่มาก ๆ เบียดทารกให้อยู่ในท่าผิดปกติ แต่คุณแม่ใจสู้มาก ๆ  ลาออกจากงานประจำเพื่อพักในระหว่างตั้งครรภ์ กินแต่อาหารที่เป็นประโยชน์ หลีกเลี่ยงการบริโภคแป้งและน้ำตาลมากเกินไป ท้ายสุด ยืนหยัดตั้งครรภ์มาได้ถึง 36 สัปดาห์ ต้องผ่าคลอดเพราะก้อนใหญ่กั้นช่องทางคลอดหมด การผ่าตัดซับซ้อนมาก แต่ปลอดภัยทั้งแม่และลูก น้องแข็งแรงสมบูรณ์มาก น้ำหนักแรกเกิด 2800 กรัม แม่หมอยินดีกับคนไข้จริง ๆ เลยค่ะ

ความรักและความทุ่มเทของแม่คือเกราะป้องภัยให้กับลูกตั้งแต่ยังไม่เกิดเลยจริงๆค่ะ

#เมื่อหมอเป็นแม่
#DoctorAsMother

ที่มา : https://www.facebook.com/DoctorAsMother

 

หากแม่มีเนื้องอกในมดลูกระหว่างตั้งครรภ์ หรือท้องพร้อมเนื้องอก แม่ท้องต้องรีบปรึกษาคุณหมอ เพื่อดูแลตัวเองตอนท้องเสียแต่เนิ่น ๆ เพราะเนื้องอกมดลูกขณะตั้งครรภ์ มีความเสี่ยงสูงค่ะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

วิธีลูบท้องกระตุ้นสมองและพัฒนาการทารกในครรภ์

คนท้องกินชาเย็นได้ไหม แล้วชาเขียวกินได้หรือเปล่า ลูกในท้องจะเป็นอันตรายไหม

ทารกในครรภ์โตช้า อันตรายที่แม่ท้องต้องระวัง

คนท้องกินอย่างไรไม่ให้อ้วน กินแบบไหนไม่ให้ลูกในท้องตัวใหญ่เกินเกณฑ์

 

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!