เจ็บครรภ์เตือน เจ็บครรภ์จริง สาเหตุและอาการ วิธีดูแลตัวเองเมื่อมีอาการใกล้คลอด

undefined

เจ็บครรภ์เตือนต่างจากเจ็บครรภ์จริงอย่างไร และวิธีดูแลตัวเองเมื่อท้องแข็ง

สาเหตุและอาการ เจ็บครรภ์เตือน อาการเจ็บครรภ์จริง การเจ็บท้องเตือนกับเจ็บท้องคลอด ต่างกันอย่างไร วิธีดูแลตัวเองเมื่อท้องแข็ง

 

เจ็บครรภ์เตือน 4

เจ็บครรภ์เตือน เจ็บครรภ์จริง เจ็บ ครรภ์ เตือน สาเหตุและอาการ เจ็บครรภ์เตือน เป็นยังไง

เจ็บครรภ์เตือน VS เจ็บครรภ์จริง

อ.พญ.วิรดา ดุลยพัชร์ ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ให้ความรู้เรื่องการเจ็บครรภ์เตือน เจ็บครรภ์จริง และอาการท้องแข็ง ว่า

บทความที่เกี่ยวข้อง : อาการปวดท้องคลอดลูกเป็นอย่างไร อาการใกล้คลอด เจ็บท้องจริง เจ็บท้องหลอก

 

เจ็บครรภ์จริง

อาการเจ็บท้องจริงนั้น เกิดจากการบีบตัวของมดลูก ที่ได้เตรียมพร้อมสำหรับการคลอดแล้ว โดยจะมีอาการแบบไม่ตายตัว จะแตกต่างกันออกไปในแต่ละคนนั้นเอง ซึ่งอาการที่เจ็บท้องจริงมักจะพบบ่อย ๆ ก็คือ ปวดท้องตื้อ ๆ บริเวณหลัง และท้องส่วนล่าง คุณแม่บางรายนั้นอาจจะมีอาการปวดบริเวณแถว ๆ ข้างลำตัว และต้นขา และอาการปวดจะคล้าย ๆ กับอาการปวดประจำเดือน หรือท้องเสีย แต่จะมีความรุนแรงมากกว่านั้นเอง ทั้งนี้ อาการเจ็บท้องจริงจะเกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ และจะมีความถี่มากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งอาการจะค่อย ๆ รุนแรงขึ้นตามการบีบตัวของมดลูก

สาเหตุการเจ็บครรภ์จริง

  • มดลูกหดรัดตัวเพื่อเข้าสู่ระยะคลอด

อาการเจ็บครรภ์จริง

  • อาการเจ็บครรภ์จริงจะเกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ อาจปวดหลังใกล้บั้นเอวร้าวมาบริเวณที่หน้าท้องได้
  • ระยะห่างของอาการเจ็บครรภ์จริงจะค่อย ๆ ถี่ขึ้น เช่น อาการเจ็บครรภ์ทุก ๆ 15 นาที เป็นทุก ๆ 5-10 นาที
  • ความรุนแรงของอาการเจ็บท้องเพิ่มมากขึ้น เจ็บท้องนานขึ้น จากที่เจ็บท้อง 15-20 วินาที เป็นเจ็บท้องนาน 45-50 วินาที
  • มีมูกหรือมูกปนเลือดไหลออกจากช่องคลอด
  • อาการเจ็บครรภ์จริงจะเจ็บเรื่อย ๆ ไม่หายไป ควรรีบไปพบแพทย์หรือไปโรงพยาบาลทันที
  • เมื่อแพทย์ตรวจภายในจะพบว่า ปากมดลูกมีการเปิดขยายและคอมดลูกมีความบางลง

 

เจ็บครรภ์เตือน อาการเจ็บครรภ์จริง

อาการเจ็บท้องเตือนนั้น จะเกิดจากการที่กล้ามเนื้อนั้นเตรียมพร้อมสำหรับการคลอดที่ใกล้เข้ามาเรื่อย ๆ โดยที่คุณแม่นั้นจะรู้สึกแน่นที่บริเวณช่วงท้อง และจะรู้สึกเป็นช่วง ๆ แต่ละช่วงจะมีความเจ็บปวด และระยะเวลาจะไม่เท่ากัน รวมถึงบริเวณที่เจ็บอาจจะเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ ซึ่งอาการจะหายไปเมื่อคุณแม่นั้นเดิน เปลี่ยนอิริยาบถ หรือหยุดพัก

สาเหตุการเจ็บครรภ์เตือน

  • ทารกดิ้นแรง
  • แม่ท้องทำงานหนัก
  • แม่ท้องเดินมาก
  • มดลูกหดรัดตัวตามปกติระหว่างตั้งครรภ์ Braxton Hick Contraction

อาการเจ็บครรภ์เตือน

  • อาการเจ็บเกิดขึ้นไม่สม่ำเสมอ
  • เจ็บครรภ์เตือนมักจะปวดแค่บริเวณท้องน้อย
  • ระยะห่างของอาการปวดเจ็บครรภ์เตือนไม่ถี่ อาจเจ็บทุก ๆ 15-20 นาที
  • ความรุนแรงของอาการเจ็บครรภ์เตือนเท่า ๆ เดิม อาการเจ็บท้องไม่รุนแรงมาก
  • ไม่มีอาการอื่น ๆ เช่น มูกหรือมูกปนเลือดไหลออกจากช่องคลอด
  • อาการเจ็บครรภ์เตือนสามารถทุเลาหรือหายได้เอง หลังจากที่นอนพัก หรือทานยาแก้ปวด
  • การเจ็บครรภ์เตือนจะไม่ทำให้ปากมดลูกเปิดหรือปากมดลูกขยาย

บทความที่เกี่ยวข้อง : เจ็บท้องหลอก ต่างจากเจ็บท้องจริงอย่างไร เจ็บแบบไหนเรียกว่าปวดท้องใกล้คลอด

 

เจ็บครรภ์เตือน 1

อาการท้องแข็ง หรือเจ็บครรภ์ เจ็บ ครรภ์ เตือน เจ็บครรภ์เตือน เป็นยังไง

อาการท้องแข็งหรือเจ็บครรภ์

อาการท้องแข็งเกิดจากการบีบตัวของมดลูก เกิดขึ้นได้เสมอในระหว่างตั้งครรภ์ ความสำคัญคือต้องแยกให้ได้ว่าเป็นเพียงการเจ็บครรภ์เตือนหรือเจ็บครรภ์จริง โดยมีสาเหตุและลักษณะดังต่อไปนี้

 

วิธีดูแลตัวเองเมื่อท้องแข็ง

  • การดูแลเมื่อมีอาการท้องแข็งขณะตั้งครรภ์ แม่ท้องควรนั่งหรือนอนพักเฉย ๆ อยู่นิ่ง ๆ ซักระยะ อาการจะค่อย ๆ ดีขึ้นเอง
  • ถ้าท้องแข็งควรสังเกตอาการให้ดีว่า ลักษณะอาการเป็นการเจ็บครรภ์เตือนหรือเจ็บครรภ์จริง หากอาการเจ็บท้องถี่ขึ้น เจ็บท้องนานขึ้น ไม่หายไปแม้ว่าจะนอนพักหรือทานยาแก้ปวด ให้รีบไปโรงพยาบาล
  • อาการอื่น ๆ ประกอบการเจ็บครรภ์จริง เช่น น้ำเดิน ทารกดิ้นน้อยลง แม้ว่าไม่มีอาการท้องแข็ง แต่มีอาการเหล่านี้ ก็ควรไปโรงพยาบาล

อาการเจ็บครรภ์เตือน เจ็บครรภ์จริง นั้นแตกต่างกัน แม่สามารถสังเกตว่า ถ้าท้องแข็ง น้ำเดิน เจ็บท้องถี่ ให้รีบไปโรงพยาบาล

บทความที่เกี่ยวข้อง : คนท้องต้องรู้! ท้อง 8 เดือนมีอาการท้องแข็ง ผิดปกติหรือไม่ มาดูกัน!

 

 

ขอขอบคุณข้อมูลเพิ่มเติมจาก : pobpad

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

วิธีดูแลลูกในท้องให้แข็งแรง การดูแลทารกในครรภ์ บำรุงครรภ์ คนท้องดูแลตัวเอง อย่างไร

อาหารคนท้อง แต่ละไตรมาส คนท้อง ควรกินกี่มื้อ กับข้าวแม่ท้อง กินบำรุงทารกในครรภ์ ทุกไตรมาส

ลูกในท้องได้อะไรจากพ่อ ความเก่ง อารมณ์ หรือรูปร่างหน้าตา เช็คเลย!!

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!