อาการริดสีดวงทวารขณะตั้งครรภ์ เป็นริดสีดวงตอนท้อง ควรดูแลอย่างไร

การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน และปริมาณการไหลเวียนของโลหิตที่เพิ่มมากขึ้นในร่างกาย ส่งผลให้เส้นเลือดดำที่อยู่รอบๆ บริเวณทวารหนักขยายตัว จนทำให้เกิดอาการบวม ยิ่งเฉพาะในช่วงที่มดลูกเริ่มมีขนาดใหญ่ขึ้นตามพัฒนาการของทารกในครรภ์ ก็ยิ่งทำให้เกิดภาวะเลือดคั่งในเส้นเลือดดำจนทำให้ทวารหนักบวมขึ้น และด้วยเหตุนี้จึงส่งผลให้คุณแม่ตั้งครรภ์มักจะมีอาการริดสีดวงทวารกันในระหว่างที่ตั้งครรภ์

อาการริดสีดวงทวารขณะตั้งครรภ์ เป็นเรื่องที่คนท้องกังวลมาก เนื่องจากตรงบริเวณรูทวารหนักจะมีหลอดเลือดดำมาหล่อเลี้ยงในลักษณะเป็นกระจุก หากหลอดเลือดดำตรงบริเวณทวารหนักมีการไหลเวียนของเลือดเข้าและออกไม่ดี ก็สามารถทำให้เกิดการคั่งของเลือดในกระจุกของหลอดเลือดได้ ส่งผลให้ความดันในหลอดเลือดสูงขึ้น ทำให้หลอดเลือดโป่งออกมา เรียกอาการนี้ว่า “ริดสีดวงทวาร”

 

 

ริดสีดวง คน ท้อง ทำไมจึงเกิด อาการริดสีดวงทวารขณะตั้งครรภ์ ?

  • ริดสีดวงคนท้อง จะทำให้มดลูกที่ขยายใหญ่ขึ้นจะไปกดหลอดเลือดดำในช่องท้องทำให้หลอดเลือดดำที่อยู่ปลายทาง เช่น บริเวณเท้า ขา และก้น มีการไหลเวียนกลับเข้าสู่หัวใจยากขึ้น จึงทำให้เกิดการคั่งของเลือดในบริเวณเหล่านั้นขึ้นได้ การคั่งของเลือดที่กระจุกเลือดที่บริเวณก้นจะเห็นเป็นริดสีดวงทวารขึ้นมา
  • เมื่อตั้งครรภ์ร่างกายจะมีการสร้างฮอร์โมนขึ้นมาหลายชนิด ซึ่งฮอร์โมนต่างๆ นี้ส่วนมากจะทำให้หลอดเลือดดำมีการขยายตัวมากขึ้น เป็นผลให้ไปเพิ่มการคั่งของเลือดมากขึ้นไปอีก
  • อาการท้องผูกที่เกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ก็มีส่วนทำให้เกิดอาการริดสีดวงทวารขึ้นได้ นั่นเพราะเวลาที่คุณแม่ท้องผูกแล้วต้องเบ่งเวลาถ่ายอุจจาระทำให้ต้องใช้แรงเบ่งมาก พอสะสมเข้าบ่อยๆ ก็ไปทำให้หลอดเลือดบริเวณก้นปูดออกมาเป็นริดสีดวงทวาร
  • การนั่ง หรือยืนนานๆ ก็เป็นผลให้เกิดอาการริดสีดวงทวารขึ้นได้เช่นกัน เพราะเลือดจะไปรวมอยู่ตรงส่วนที่ต่ำของร่างกายที่เกิดจากแรงโน้มถ่วง จึงทำให้เลือดไปคั่งที่เท้าทำให้เกิดอาการเท้าบวม หรือเส้นเลือดขอดขึ้นได้ ส่วนตรงบริเวณทวารหนักก็ทำให้เกิดอาการริดสีดวงทวารขึ้นมาได้

อาการของริดสีดวงทวารจะสังเกตได้อย่างไร และควรดูแลรักษาอย่างไรหากเกิดขึ้นในขณะตั้งครรภ์

 

อาหารเสริมที่แม่ท้องควรกิน

อาหารเสริม ที่แม่ท้องควรกิน

 

อาการริดสีดวงทวาร ที่สามารถสังเกตได้ขณะตั้งครรภ์ หรือ ริดสีดวงคนท้อง

ริดสีดวงคนท้อง หากคุณแม่ท้องเป็นริดสีดวงทวารที่ไม่มีอาการมากนัก ก็อาจแค่มีอาการคันที่ก้นเล็กน้อย แต่หากมีอาการมาก ก็จะพบว่ามีก้อนปูดออกมา และมีอาการปวดร่วมด้วยตรงบริเวณก้น ในคุณแม่ท้องบางรายอาจมีอาการปวดระบมทำให้ไม่สามารถนั่งเก้าอี้ได้ เวลาที่ถ่ายอุจจาระจะไปครูดกับติ่งริดสีดวงจนทำให้มีเลือดติดออกมาด้วย

ริดสีดวงทวารขณะตั้งครรภ์  หรือ ริดสีดวงคนท้อง รักษาได้อย่างไร ?

สำหรับคุณแม่ท้องที่พบว่าตัวเองมีอาการริดสีดวงทวารเกิดขึ้น อย่างแรกแนะนำว่าควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจดูอาการก่อน เพื่อคุณแพทย์จะได้จัดยารักษาได้ตามอาการ หากไม่จำเป็นก็ไม่ควรไปซื้อยามาใช้เอง ซึ่งการรักษาสามารถรักษาได้หลายวิธี ดังนี้

  • ประคบเย็นตรงบริเวณก้อนริดสีดวง สามารถประคบด้วยแผ่นผ้า หรือแผ่นเจลประคบ ความเย็นจะช่วยทำให้หลอดเลือดมีการหดรัดตัว ทำให้ขนาดของริดสีดวงเล็กลงได้
  • เอาก้นนั่งแช่ในน้ำอุ่น ซึ่งวิธีนี้จะช่วยลดความเจ็บปวดตรงบริเวณทวารหนักได้ดี และช่วยให้การไหลเวียนเลือดสะดวกมากขึ้น
  • เหน็บยาและทายา (แพทย์ที่ดูแลรักษาให้จะเป็นผู้แนะนำการใช้ยาให้กับคุณแม่แต่ละรายอย่างละเอียด) ซึ่งส่วนมากแล้วยาเหน็บและยาทาจะมีตัวยาที่เป็นยาชาและตัวยาลดการบวม ที่ช่วยบรรเทาอาการริดสีดวงได้อย่างมาก

 

อาการริดสีดวงทวารขณะตั้งครรภ์ ควรดูแลและป้องกันได้อย่างไร ?

  1. ไม่ควรกลั้นอุจจาระ เพราะการกลั้นอุจจาระเวลาที่ปวดอยากถ่ายแต่ไม่ได้ถ่าย จะส่งผลให้เกิดอาการท้องผูก เวลาถ่ายทีต้องเบ่งแรง ยิ่งทำให้ไปกระตุ้นการเกิดริดสีดวงทวาร
  2. คุณแม่ท้องควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เช่น ว่ายน้ำ เพราะการออกกำลังกายจะช่วยทำให้ลำไส้ได้เคลื่อนไหว ส่งผลให้ระบบการขับถ่ายดีตามไปด้วย
  3. ควรรับประทานอาหารที่มีกากใยสูง เช่น ผักใบเขียวต่างๆ และผลไม้ จำพวก ส้ม สับปะรด แอปเปิ้ล แก้วมังกร เป็นต้น
  4. ควรดื่มน้ำมาก ๆ อย่างน้อยวันละ 2 ลิตร หรือมากกว่านี้
  5. คุณแม่ท้องควรงดการดื่ม ชา กาแฟ และน้ำอัดลมต่างๆ รวมทั้งเครื่องที่มีแอลกอฮอล์ด้วย
อ้างอิงข้อมูลจาก : รศ.นพ.วิทยา ถิฐาพันธ์ คู่มือตั้งครรภ์และเตรียมคลอด

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

โรคเลือดจางธาลัสซีเมีย ที่ควรรู้ก่อนตั้งครรภ์

อาการท้องแข็ง เรื่องน่ากังวลขณะตั้งครรภ์

แชร์ประสบการณ์หรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับริดสีดวงขณะตั้งครรภ์ ได้ที่นี่!

ริดสีดวงตอนท้อง อันตรายไหมคะ จะมีผลกับลูกในท้องรึเปล่า

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!