ประจำเดือนไม่มา อย่าชะล่าใจ เช็ก 8 สาเหตุที่อันตรายกว่าที่คิด

สาว ๆ ต้องระวัง หากประจำเดือนมาไม่ปกติ หรือ ประจำเดือนไม่มา ประจำเดือนไม่มาแต่ไม่ท้อง ประจำเดือนไม่มา 2 เดือน ประจำเดือนไม่มา 4 เดือน สาเหตุคืออะไร อาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพได้ สาเหตุที่ ประจำเดือนไม่มา ประจำเดือนผิดปกติ เป็นเพราะอะไรได้บ้าง

 

สาเหตุที่ประจำเดือนไม่มา

ประจำเดือนไม่มา 2 เดือน ประจำเดือนไม่มา 4 เดือน เกิดจากอะไรได้บ้าง ?

การนับรอบเดือนแบบง่าย ๆ คือ นับจากวันแรกของการมีประจำเดือนไปอีกประมาณ 28 – 30 วัน หากเกินกว่านั้น ประจำเดือนอาจจะมาช้า หรือหากขาดไปเกินกว่า 6 สัปดาห์ นั่นหมายความว่า ประจำเดือนขาด ประจำเดือนไม่มา4 เดือน การขาดช่วงของรอบเดือน อาจเกิดขึ้นได้จากเหตุผลเหล่านี้

 

  • เหตุเกิดจากความเครียด ทำให้ประจำเดือนไม่มา

ความเครียดส่งผลกระทบหลายอย่างต่อชีวิต และจิตใจ รวมถึง ความผิดปกติของประจำเดือนด้วย บางครั้งที่เราเครียดมาก ๆ ร่างกายจะผลิตฮอร์โมน GnRH น้อยลง ทำให้ไม่เกิดการตกไข่ตามรอบของประจำเดือน ลองปรึกษาคุณหมอเพื่อรับคำแนะนำว่า ควรจะทำอะไร เพื่อเป็นการผ่อนคลายได้บ้าง นั่นอาจจะช่วยให้ประจำเดือนกลับมาตรงตามรอบเดือนได้ดังเดิม แม้ว่าจะต้องใช้เวลา 2 – 3 เดือนขึ้นไปก็ตาม

 

  • สัญญาณของสุขภาพ และโรคร้ายบางอย่าง

การเจ็บป่วยต่าง ๆ ที่กระทบต่อประจำเดือน เช่น ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ จะกระทบต่อการผลิตฮอร์โมน GnRH ซึ่งทำให้ประจำเดือนมาผิดปกติ ภาวะ PCOS หรือถุงน้ำรังไข่ ทำให้ประจำเดือนจะมาไม่สม่ำเสมอ 2 – 3 เดือน ประจำเดือนไม่มา4 เดือน เป็นประจำเดือน 1 ครั้ง มักจะทำให้น้ำหนักขึ้น ขนดก หรือมีหนวดเพิ่มขึ้นด้วย

 

  • นาฬิกาชีวิตที่เปลี่ยนไป

หากนาฬิกาชีวิตเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในการทำงานเป็นกะ เปลี่ยนจากการทำงานกลางวัน เป็นกลางคืน หรือกลางคืน เป็นกลางวันบ่อย ๆ อาจพบปัญหารอบเดือนเปลี่ยนแปลงได้ หากเป็นไปได้ควรหลีกเลี่ยงงาน ที่ทำให้ตารางชีวิตคุณผันผวน รอบเดือนก็จะกลับมาเป็นปกติได้

 

ประจำเดือนไม่มา

 

  • ผลจากการใช้ยาบางชนิด

การได้รับยาบางอย่าง อาจเป็นสาเหตุให้ประจำเดือนขาด หรือประจำเดือนมาช้ากว่าปกติ ประจำเดือนไม่มา4 เดือน เช่น การฉายรังสี เพื่อรักษาโรคมะเร็งปากมดลูก หรือการให้ยาเคมีบำบัดในการรักษาโรคมะเร็งทุกชนิด จะไปทำลายรังไข่ ทำให้รังไข่ไม่สามารถสร้างฮอร์โมนได้ จึงไม่มีประจำเดือน รวมถึงการใช้ยาคุมกำเนิดเป็นเวลานาน เช่น ยาฉีดคุมกำเนิด หรือ ยาเม็ดคุมกำเนิด

 

  • น้ำหนักมากเกินเกณฑ์ หรือความอ้วน

โรคอ้วนส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมน ทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ ประจำเดือนขาดไปครั้งละหลายเดือน เนื่องจากผิวหนังเปลี่ยนเซลล์ไขมัน ไปเป็นฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งมีผลต่อการหลั่งของฮอร์โมน FSH และฮอร์โมน LH ทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ คุณแม่ส่วนใหญ่ที่ลดน้ำหนักลงมาได้ ก็จะสามารถกลับมามีรอบเดือนปกติได้

 

  • ผอมเกินไป ร่างกายขาดสารอาหาร

ถ้าร่างกายคุณมีไขมันน้อยเกินไป อาจทำให้ประจำเดือนผิดปกติได้เช่นกัน การเพิ่มน้ำหนักตัวจะช่วยให้ประจำเดือนกลับมาเป็นปกติ นอกจากนี้อาการประจำเดือนขาด มักพบบ่อยในผู้หญิงที่ออกกำลังกายอย่างหนัก หรือเป็นนักกีฬา รวมถึงคนที่มีภาวะ anorexia ที่ไม่ยอมรับประทานอาหารเนื่องจากกลัวอ้วน ก็มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน GnRH เช่นกัน

 

  • การคำนวณรอบเดือนผิด

รอบประจำเดือนของผู้หญิงแต่ละคนแตกต่างกัน โดยเฉลี่ยมักจะอยู่ที่ 28 วัน แต่บางคนอาจสั้น หรือยาวกว่านั้น และก็ไม่ได้คงที่ในทุกเดือนเสียด้วย บางเดือนก็มาเร็ว บางเดือนก็มาช้า ทำให้คุณอาจคำนวณรอบเดือนคลาดเคลื่อน แต่หากคุณรู้วันที่ไข่ตก คุณก็จะสามารถคาดการณ์ได้ว่าวันที่ประจำเดือนจะมาได้ ซึ่งก็คือประมาณ 2 สัปดาห์หลังจากวันไข่ตก

บทความที่เกี่ยวข้อง : ประจำเดือนไม่มา เช็กด่วน! 8 สาเหตุ อย่าชะล่าใจ อาจอันตรายกว่าที่คิด

 

  • อาการเริ่มต้นของวัยทอง

สัญญาณหนึ่งที่บอกว่าคุณอยู่ในวัยใกล้หมดประจำเดือน ก็คือ ความผันผวนของฮอร์โมน อันเกิดจากรังไข่ทำงานผิดปกติ ซึ่งอาการวัยทองนี้ เกิดขึ้นตั้งแต่อายุ 40 ปีเป็นต้นไป คุณอาจพบว่า ประจำเดือนมีสีจางลง หรือเข้มขึ้น ประจำเดือนมาบ่อยขึ้น หรือบางทีก็ทิ้งช่วงไปนาน หากไม่ต้องการมีบุตร ก็ต้องแน่ใจว่าได้คุมกำเนิดแล้ว เพราะแม้ว่าจะไม่มีประจำเดือน แต่ก็ยังถือว่าอยู่ในวัยเจริญพันธุ์

 

ประจำเดือนไม่มา

 

หากประจำเดือนมาไม่ปกติ ควรทำอย่างไร ?

หากประจำเดือนขาด หรือ ประจำเดือนไม่มา4 เดือน โดยไม่ทราบสาเหตุ และแน่ใจว่าไม่ได้ตั้งครรภ์ ถ้าหากประจำเดือนไม่มา4 เดือน ในขั้นแรกแนะนำให้รออีกสักหนึ่งสัปดาห์ และทำการทดสอบการตั้งครรภ์อีกครั้ง หากผลยังเหมือนเดิม ควรไปพบแพทย์ เพื่อตรวจหาต้นเหตุที่ทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ เพราะรอบเดือนเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดที่จะบอกได้ว่า ร่างกายมีสุขภาพที่ดีหรือไม่ อย่างไร

บทความที่เกี่ยวข้อง : น้ำหนักขึ้น ประจำเดือนมาไม่ปกติภัยเงียบจาก PCOS

 

บันทึกหนึ่งรอบเดือน ดูอย่างไรว่าวันไหนไข่ตก ?

โดยทั่วไป รอบเดือนของผู้หญิงจะอยู่ที่ 28 – 30 วัน ในหนึ่งรอบเดือนนั้น มีเพียงไม่กี่วันที่การมีเพศสัมพันธ์ จะทำให้มีการตั้งครรภ์ได้ มาดูกันว่า ในหนึ่งรอบเดือนนั้น เกิดอะไรขึ้นกับรังไข่ของเราบ้าง

  • วันที่ 1 – 5 วันแรกของการมีประจำเดือน นับเป็นวันที่ 1 ของรอบเดือน ผู้หญิงส่วนใหญ่จะมีประจำเดือนนาน 3 – 8 วัน หรือ 5 วันโดยเฉลี่ย ซึ่งวันที่ 2 มักจะเป็นวันที่ประจำเดือนมามากที่สุด
  • ในวันที่ 6 – 14 หลังจากหมดระดู เยื่อบุโพรงมดลูกจะเริ่มทำงานอีกครั้ง หนาขึ้น อุดมไปด้วยเลือด และสารอาหาร เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเจริญพันธุ์
  • ตั้งแต่วันที่ 14-25 ของรอบเดือน จะเป็นวันตกไข่ (Ovulation day) โดยไข่ที่ตกลงมาจะนำตัวเองเดินทางผ่านท่อนำไข่ เพื่อไปยังมดลูก หากไข่ได้พบกับอสุจิในวันนี้ การปฏิสนธิก็จะเกิดขึ้น และไข่ก็เคลื่อนที่ไปฝังตัวบนผนังมดลูกในที่สุด
  • วันที่ 25 – 28 แต่หากการปฏิสนธิไม่ได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่เหมาะสม ไข่ที่ไม่ได้รับการผสม ก็จะฝ่อ และหลุดล่อนออกมาพร้อม ๆ กับผนังมดลูก กลายเป็นระดู หรือประจำเดือน เป็นการเริ่มต้นรอบเดือนรอบใหม่นั่นเอง

 

การจดบันทึกรอบเดือนให้แม่นยำ ทำอย่างไร ?

สาว ๆ ควรจะมีการจดบันทึกรอบเดือนของตัวเอง เพื่อให้สามารถที่จะติดตามได้ว่า ประจำเดือนมาเป็นปกติหรือไม่ ประจำเดือนไม่มา 4 เดือน การจดบันทึกรอบเดือน ควรจะมีการบันทึก เรื่องต่าง ๆ เหล่านี้ด้วย

  • วันแรก และวันสุดท้ายที่ประจำเดือนมา
  • ปริมาณของประจำเดือนในแต่ละวัน มาก หรือน้อยอย่างไร
  • อาการต่าง ๆ เช่น ท้องอืด เจ็บหน้าอก เป็นต้น
  • อารมณ์ หรือพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลง เช่น หงุดหงิด อ่อนไหว อยากอาหารบางอย่างมาก ๆ เป็นต้น

 

ประจำเดือนไม่มา

 

หากประจำเดือนไม่มา4 เดือน หรือ ประจำเดือนมาไม่ตรงกับวันที่จดบันทึกเอาไว้ อาจจะเกิดจากสาเหตุที่กล่าวมาในข้างต้น เช่น ความเครียด การรับประทานอาหาร การดำเนินชีวิตในช่วงนั้น ๆ ก็เป็นได้ ประจำเดือนอาจจะมาช้า หรือเร็วกว่ากำหนดบ้าง 1 – 2 ครั้งต่อปี ขึ้นอยู่กับวิถีชีวิตในช่วงนั้นด้วย

หากสงสัยว่าประจำเดือนไม่มา 4 เดือน แล้วตั้งครรภ์หรือไม่ สามารถใช้ชุดตรวจสอบการตั้งครรภ์ หลังจากวันที่ประจำเดือนขาดไปประมาณ 1 สัปดาห์ หรือหลังจากการมีเพศสัมพันธ์ 1 – 2 สัปดาห์ เนื่องจากร่างกายต้องมีการพัฒนาฮอร์โมนสำหรับการตั้งครรภ์ก่อน ชุดตรวจครรภ์จึงจะสามารถตรวจสอบการตั้งครรภ์ได้อย่างแม่นยำ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

สัญญาณเตือนโรคอันตราย บอกได้จากประจำเดือน

ช่วงให้นมลูกแต่ประจำเดือนไม่มา…ปกติไหม?

คนท้องประจำเดือนขาดกี่วัน ถึงจะตรวจพบว่าตั้งครรภ์ 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 1

ที่มา : verywellhealth, haamor


theAsianparent Community

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!