สัญญาณบ่งบอกว่าลูกกินนมแม่อิ่มหรือไม่ จะรู้ได้ไงว่าลูกกินนมแม่อิ่มหรือเปล่า

undefined

นอกจากการเริ่มต้นให้นมลูกแล้ว เราจะรู้ได้อย่างไรว่าลูกกินนมแม่อิ่มหรือเปล่า

สัญญาณบ่งบอกว่าลูกกินนมแม่อิ่มหรือไม่

เรื่องกังวลของคุณแม่มือใหม่อีกเรื่องหนึ่ง คือเรื่อง สัญญาณบ่งบอกว่าลูกกินนมแม่อิ่มหรือไม่ นอกจากการเริ่มต้นให้นมลูกแล้ว เราจะรู้ได้อย่างไรว่าลูกกินนมแม่อิ่มหรือเปล่า เพราะการที่ลูกกินนมแม่ทำให้ไม่สามารถคำนวนปริมาณน้ำนมที่ลูกกินได้ ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาที่คุณแม่จะสงสัยว่าลูกได้รับน้ำนมเพียงพอหรือไม่ แต่เรื่องมหัศจรรย์ของเด็กทารกก็คือ เขามีความสามารถพิเศษที่จะบอกให้เรารู้ว่าพวกเขาอิ่มแล้วหรือยังไม่อิ่ม มาสังเกตสัญญาณของลูกน้อยกันว่า ลูกกินนมแม่อิ่มหรือไม่

สัญญาณบ่งบอกว่าลูกกินนมแม่อิ่มหรือไม่

สัญญาณบ่งบอกว่าลูกกินนมแม่อิ่มหรือไม่

สัญญาณบ่งบอกว่าลูกได้รับน้ำนมเพียงพอ 

โดยทั่วไป ถ้าลูกได้รับน้ำนมเพียงพอ เขาจะคายหัวนมออกเมื่ออิ่มแล้ว แต่บางครั้ง ลูกอาจหยุดดูดระหว่างที่กินนมแม่ ดังนั้นจึงควรให้เวลาลูกตัดสินใจว่าพอหรือไม่ คุณแม่อาจสังเกตุว่าลูกได้รับน้ำนมเพียงพอได้จาก

  • ลูกมีท่าทางพอใจหลังจากเวลาการกินนมใกล้สิ้นสุดลง
  • รู้สึกว่าเต้านมโล่งและเบาขึ้นหลังจากให้ลูกกินนม
  • คุณไม่รู้สึกเจ็บที่เต้านมและหัวนมจนเกินไป
  • ถ้าลูกได้รับน้ำนมแม่เพียงพอ ลูกจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นหลังผ่านไปสองสัปดาห์แรก
  • ลูกมีสีผิวที่แสดงถึงการมีสุขภาพดี และผิวตึงกระชับ โดยเมื่อกดลงไปผิวลูกจะเด้งขึ้น
  • หลังจากผ่านไปสองถึงสามวันแรก ลูกควรจะฉี่อย่างน้อยหกครั้งต่อวัน
  • หลังจากนั้น 2-3 วัน ลูกควรจะอึอย่างน้อย 2 ครั้งต่อวัน โดยมีสีเหลืองหรือสีคล้ำ และสีเริ่มอ่อนลงหลังจาก 5 วันผ่านไป

สัญญาณบ่งบอกว่าลูกอาจต้องการนมเพิ่ม

หากลูกไม่ได้รับน้ำนมเพียงพอ คุณแม่อาจสังเกตเห็นอาการต่อไปนี้

  • ลูกดูไม่กระปรี้กระเปร่าและร้องกวนตลอดเวลา รวมทั้งหงุดหงิดหลังจากกินนมแล้ว นอกจากนี้ยังดูเหมือนลูกจะไม่พอใจและไม่ร่าเริง
  • ขณะกินนม ลูกดูดเสียงดังจ๊วบ ๆ หรือคุณไม่ได้ยินเสียงกลืน ซึ่งแสดงว่าลูกดูดนมไม่ถูกวิธี
  • สีผิวของลูกเหลืองขึ้น
  • ผิวลูกยังดูย่นอยู่หลังจากผ่านไปหนึ่งสัปดาห์
  • หากคุณกังวลว่าลูกได้รับน้ำนมเพียงพอหรือไม่ ลองให้ลูกดูดนมบ่อยขึ้น และควรอุ้มลูกไว้แนบตัว ถ้าลูกยังอยากกินนมอีก เขาจะหันหน้าเข้าหาเต้านมเอง
  • ลองสังเกตว่า หลังจากกินนมแล้วลูกยังหิวอยู่หรือไม่ บางครั้งคุณแม่อาจพบว่าลูกยังไม่อิ่มแม้จะให้นมถี่ขึ้นแล้ว หากเป็นกรณีนี้ ควรปรึกษากุมารแพทย์
  • เมื่อลูกอายุเกิน 6 เดือน ก็ถึงเวลาที่เขาอาจพร้อมจะเริ่มทานอาหารเสริมตามวัยสำหรับทารกและเด็กเล็กได้

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

นมแม่สกัดกั้นเชื้อโรค ผลวิจัยยืนยันลูกกินนมแม่ได้นานหลายปี ประโยชน์นมแม่ไม่มีเสียคุณค่า

คู่มือดูแลลูก สำหรับทารกแรกเกิด – 12 ปี แจกฟรี..ดาวน์โหลดกันเลย!

เล่นกับลูก 1-3 ปี กิจกรรมเสริมพัฒนาการ วัย 1-3 ปี วิธีเล่นกับลูกเสริมพัฒนาการตามวัย

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!