วิธีเล่นกับทารกในครรภ์ เล่นกับลูกในท้อง กระตุ้นพัฒนาการ เสริมสร้างความฉลาดตั้งแต่อยู่ในครรภ์

คุณแม่รู้ไหมคะ ว่าการเล่นกับลูกในท้อง สามารถกระตุ้นพัฒนาการของลูกได้ด้วย ทำให้ลูกสามารถเรียนรู้พัฒนาการ และประสาทในการรับรู้สิ่งต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดีเลยค่ะ ซึ่งวันนี้เรามี วิธีเล่นกับทารกในครรภ์ เพื่อกระตุ้นพัฒนาการทารกในครรภ์ง่าย ๆ สามารถทำได้ทุกวัน และแนะนำให้คุณพ่อทำร่วมกันด้วย จะทำได้อย่างไรบ้าง เรามาดูคำแนะนำจากคุณหมอกันค่ะ

 

ทำไมถึงควรเล่นกับทารกในครรภ์

การเล่นกับลูกในท้อง หรือทารกในครรภ์ มีประโยชน์มากมาย ทั้งทำให้พ่อแม่รู้สึกสนุก กระตุ้นพัฒนาการทารกในครรภ์ การเล่นระหว่างพ่อแม่ลูกจึงสำคัญ และทำได้ตั้งแต่ลูกยังอยู่ในท้อง นอกจากนี้ การทำกิจกรรมร่วมกันระหว่างพ่อแม่ลูก ยังช่วยสร้างความผูกพัน ทำให้เกิดความมั่นคงทางอารมณ์ ก่อเกิดเป็นพื้นฐานสำคัญด้านการเรียนรู้ของทารก

 

วิธีเล่นกับทารกในครรภ์ หลักการสำคัญในการเล่นกับลูกในท้อง

หลักการสำคัญในการเล่นกับลูก ไม่ใช่ว่าต้องเลือก วิธีเล่นกับทารกในครรภ์ แล้วฉลาดหรือกระตุ้นพัฒนาการเท่านั้น แต่การได้ใช้เวลาร่วมกัน ตั้งแต่ทารกยังอยู่ในท้อง เป็นเรื่องที่สำคัญมากกว่า ไม่จำเป็นต้องรอให้ลูกคลอดออกมาก่อนแล้วค่อยใกล้ชิด เพราะทารกในครรภ์ สามารถรับรู้ ได้ยิน และมองเห็น ตั้งแต่ในท้อง ดังนั้น การเล่นกับทารกในครรภ์ จึงสามารถกระตุ้นพัฒนาการได้ พร้อม ๆ กันนั้นยังเป็นการสร้างความรัก ความผูกพัน ก่อร่างสร้างสายใยรักเป็นสัมพันธ์อันแน่นแฟ้น

บทความที่เกี่ยวข้อง : การกระตุ้นสมองลูกน้อย เทคนิคสร้างความฉลาดให้ลูก ตั้งแต่อยู่ในท้องแม่

ประสาทการรับรู้เสียงและการได้ยิน

ลูกได้ยินเสียงตั้งแต่ยังอยู่ในท้องแม่ เมื่ออายุครรภ์ 8 สัปดาห์ เสียงแรกที่ทารกในครรภ์ได้ยินคือ เสียงหัวใจเต้น เสียงท้องร้อง เมื่ออายุครรภ์ 26 สัปดาห์ ประสาทการรับรู้เสียงและการได้ยินจะตอบสนองได้ดีขึ้น ลูกในท้องเริ่มได้ยินเสียงภายนอกร่างกายของแม่ ลูกจะได้ยินเสียงที่แม่พูดชัดขึ้น ซึ่งทารกจะสามารถได้ยินทุกเสียงรอบ ๆ ตัว เมื่อทารกในครรภ์ได้ฟังบ่อย ๆ ก็จะคุ้นเคยและสามารถจดจำได้ ยกตัวอย่างเช่น เสียงเพลงเดิมที่แม่ชอบร้องให้ฟังตั้งแต่อยู่ในท้อง เสียงของพ่อที่คอยพูดคุยด้วย เป็นต้น

 

วิธีกระตุ้นประสาทการรับรู้เสียงและการได้ยิน

เมื่ออายุครรภ์ 18 สัปดาห์ พ่อแม่ลองคุย ร้องเพลงให้ลูกฟังบ่อย ๆ หรือลองเปิดเพลงให้ลูกในท้องฟัง ก็สามารถช่วยได้ค่ะ  คุณพ่อคุณแม่ลองกระซิบใกล้ ๆ ท้อง ก็ดีนะคะ จากนั้น สังเกตปฏิกิริยาของลูกในท้องว่าตอบสนองกับเสียงอย่างไร ทารกบางคนจะดิ้นเมื่อได้ยินเสียงที่คุ้นเคยค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง : วิธีคุยกับลูกในท้อง เพิ่มทักษะและพัฒนาการทารกในครรภ์ก่อนคลอด

 

วิธีเล่นกับทารกในครรภ์

 

ประสาทการมองเห็นและสายตา

ประสาทการมองเห็นของทารกในครรภ์ เริ่มทำงานได้เมื่ออายุครรภ์ 20 สัปดาห์ ลูกจะสามารถลืมตาได้ตั้งแต่อยู่ในท้อง และเมื่ออายุครรภ์ครบ 20 สัปดาห์ ประสาทตาจะรับรู้ถึงแสงรอบ ๆ ตัวได้

 

วิธีกระตุ้นประสาทการมองเห็นและสายตา

พ่อแม่ลองเล่นกับแสงด้วยการใช้ไฟฉายที่มีกำลังไฟน้อย ๆ โดยส่องบริเวณหน้าท้องของคุณแม่ แล้วหมุนไปหมุนมา ลองลูบท้อง และพูดคุยกับลูกไปด้วย ข้อควรระวังคือ ถ้าจะส่องไฟฉายให้แค่แป๊บ ๆ เปิดแล้วปิด ไม่ควรใช้ไฟฉายส่องหน้าท้องนาน ๆ แค่กระตุ้นด้วยเวลาสั้น ๆ ก็เพียงพอ การเล่นกับแสงนี้ สามารถทำได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 6 เดือนขึ้นไป การส่องไฟยังเป็นการกระตุ้นเซลล์สมอง และเส้นประสาทส่วนการรับภาพและการมองเห็นของลูกได้เป็นอย่างดีค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง : ไฟฉายส่องท้องกระตุ้นพัฒนาการด้านการมองเห็น

วิธีเล่นกับทารกในครรภ์ สามารถทำได้อย่างไรบ้าง

เมื่ออายุครรภ์ 18 สัปดาห์ ทารกในครรภ์มักจะนอนหลับในเวลาที่คุณแม่ตื่น เพราะการขยับตัว เคลื่อนไหวร่างกายของแม่ตั้งครรภ์เป็นเสมือนการไกวเปล ทำให้ทารกรู้สึกง่วงนอน อย่างไรก็ตาม ทารกในครรภ์จะมีปฏิกิริยาตอบสนองกับการสัมผัส ให้คุณแม่ลองสัมผัสเบา ๆ ที่หน้าท้อง วิธีนี้จะทำให้ลูกรู้สึกได้ถึงสัมผัสด้วยนะคะ สามารถทำได้โดยการ

1. ให้คุณแม่ จับ สัมผัส ลูบท้อง ตั้งแต่อายุครรภ์ 18 สัปดาห์ คุณพ่อเองก็สามารถทำได้ โดยลูบท้องวนไปมาอย่างเบามือ ลูกจะรู้สึกถึงสัมผัสนี้ อีกทั้งยังเป็นการพัฒนาเส้นใยประสาทของสมองส่วนรับรู้ความรู้สึกของลูก ในทุก ๆ ครั้งที่คุณแม่ลูบท้อง หรือสัมผัสผ่านหน้าท้องเลยค่ะ นอกจากจะเป็นการเล่นกับลูกแล้ว ยังเป็นการสร้างความพร้อมทางจิตใจ สร้างความผูกพันเมื่อใกล้ให้กำเนิดลูกน้อย ให้กับแม่ท้องอีกด้วย

2. เล่นกับทารกในครรภ์ตอนลูกดิ้น พ่อแม่เล่นได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 6 เดือนขึ้นไป ลองเอานิ้วมือแตะเบา ๆ ตรงจุดที่ลูกเตะ หรือใช้มือลูบตรงบริเวณที่ลูกเตะ เพื่อเป็นการตอบสนองสัมผัสของเขานะคะ

 

วิธีเล่นกับทารกในครรภ์

 

โดยสรุปแล้ว วิธีเล่นกับทารกในครรภ์ จะช่วยกระตุ้นพัฒนาการทารกในครรภ์ได้ คุณพ่ออย่ามัวแต่เล่นกับลูกในท้อง ควรพูดคุย ดูแล คุณแม่ไปพร้อม ๆ กันด้วย เพราะแม่ท้องมักจะมีความเครียดจากการที่ฮอร์โมนแปรปรวนตอนตั้งท้อง การดูแลเอาใจใส่ จะช่วยทำให้แม่มีความรู้สึกผ่อนคลาย อย่าลืมนะคะว่า แม่ตั้งครรภ์ที่มีความเครียดจะส่งผลต่อพัฒนาการของลูกในท้องได้ อย่าลืมหมั่นเอาใจใส่ด้วยนะคะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

วิธีลูบท้องกระตุ้นสมองและพัฒนาการทารกในครรภ์

อยากให้ลูกฉลาดต้องกินอะไร ? 7 อาหารบำรุงสมองลูก ให้ลูกกินบ่อย ๆ แล้วฉลาด ความจำดี

10 วิธีกระตุ้นพัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจให้ลูกในท้อง

ที่มา : parentsone

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!