วิธีกระตุ้นให้ลูกพูด ลูกไม่ยอมพูดสักที อยากให้ลูกพูดเร็วๆ ต้องทำยังไง

undefined

วิธีกระตุ้นให้ลูกพูด อยากให้ลูกน้อยพูดต้องทำอย่างไร ตอนนี้ลูกไม่ยอมพูดเลย ลูกพ฿ดไม่เป็นประโยค พูดไม่เป็นคำ พูดไม่รู้เรื่อง พ่อแม่ควรทำอย่างไร

วิธีกระตุ้นให้ลูกพูด

วิธีกระตุ้นให้ลูกพูด เทคนิคช่วยให้ลูกพูดเร็ว ๆ สำหรับพ่อแม่ที่เป็นห่วงว่าลูกน้อยไม่ยอมพูดเลย หรือพูดแล้วไม่เป็นประโยค พูดไม่รู้เรื่อง พ่อแม่ต้องสอนลูกอย่างไรดี แล้วลูกจะเริ่มพูดรู้เรื่องเมื่ออายุเท่าไหร่ พ่อแม่ควรสอนลูกอย่างไรให้พูดเป็นเร็วๆ กันนะ มาดูกันค่ะ

พัฒนาการการพูดของเด็ก

การพูดคุยครั้งแรกของทารกมักจะเกิดขึ้นไม่นานหลังจากคลอด แต่จะเป็นการพูดคุยแบบอวัจนภาษา คือ การใช้เสียงกรีดร้องหรือการร้องไห้ออกมานั่นเองค่ะ ทารกมักจะร้องไห้เพื่อบอกว่าตัวเองต้องการอะไร รู้สึกอย่างไร เช่น กลัว หิว ไม่พอใจ และเรียกร้องความสนใจ หลังจากนั้นทารกก็จะมีพัฒนาการทางการพูดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยมีพัฒนาการดังต่อไปนี้ คือ

  • เด็กวัย 3 เดือน: ลูกน้อยจะชอบมองใบหน้าพ่อแม่ขณะที่คุณคุยกับเขา และทารกมักจะชอบหันไปหาเสียงไม่ว่าจะเสียงคนคุยกัน เสียงเพลง หรือเสียงอื่น ๆ รอบข้าง โดยเฉพาะเพลงที่เคยได้ฟังตั้งแต่อยู่ในท้อง ในวัยนี้ทารกจะชอบเสียงผู้หญิงมากกว่าเสียงผู้ชายค่ะ และเริ่มที่จะอ้อแอ้บ้าง
  • เด็กวัย 6 เดือน: ลูกน้อยจะเริ่มพูดด้วยเสียงที่แตกต่างกัน และจะตอบสนองต่อชื่อเรียกของตัวเอง มีการใช้น้ำเสียงที่บอกว่ามีความสุขหรืออารมณ์เสียได้ บางคนเริ่มเรียกพ่อหรือแม่ได้แล้ว
  • เด็กวัย 9 เดือน: ลูกน้อยจะเริ่มเข้าใจความหมายของคำบางคำ เช่น ไม่ ลาก่อน เริ่มรู้จักการใช้โทนเสียงอื่นๆ และการออกเสียงพยัญชนะอื่นๆ
  • เด็กวัย 12 เดือน: ลูกจะเริ่มพูดคำง่ายๆ และเริ่มตอบสนองในสิ่งที่พ่อแม่หรือคนรอบข้างบอก ทั้งยังเข้าใจคำบางคำสั้นๆ
  • เด็กวัย 18 เดือน: ลูกน้อยเข้าใจความหมายของคำมากขึ้น สามารถระบุคน วัตถุ หรือส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ ทั้งยังเลียนแบบคำพูดจากการที่ได้ยินคุณพูด แต่จะเป็นเพียงคำสุดท้ายของประโยค โดยจะพูดซ้ำๆ
  • เด็กวัย 2 ขวบ: ลูกน้อยจะเริ่มพูดเป็นวลีสั้นๆ เพียง 2-3 คำ เข้าใจคำศัพท์เกี่ยวกับวัตถุ และธรรมชาติมากขึ้น รวมถึงสามารถทำตามคำแนะนำหรือคำขอร้องของพ่อแม่ได้
  • เด็กวัย 3 ขวบ: ลูกน้อยจะเริ่มเข้าใจคำศัพท์มากขึ้น เข้าใจสัญลักษณ์ เข้าใจความรู้สึก สามารถพูดได้ยาวมากขึ้น สามารถตอบคำถามที่ซับซ้อนขึ้นได้
วิธีกระตุ้นให้ลูกพูด ลูกไม่ยอมพูดสักที

วิธีกระตุ้นให้ลูกพูด

ลูกไม่พูดควรทำอย่างไร

สำหรับวิธีกระตุ้นให้ลูกพูดนั้น พ่อแม่อาจจะช่วยให้ลูกได้เรียนรู้เกี่ยวกับการพูดให้มากขึ้น โดยมีวิธีการดังต่อไปนี้

  • การดู: พ่อแม่ควรคอยดูปฎิกิริยาของลูกน้อยว่าลูกมีท่าทีอย่างไร เพราะในช่วงแรกๆ ท่าทารกจะใช้ภาษากายในการสื่อสาร เช่น การยื่นของเล่นมาให้คุณ เพื่อบอกว่าเขาอยากเล่นกับคุณ ช่วงนี้พ่อแม่ควรสบตาและทำการตอบสนองลูกตอบค่ะ
  • การฟัง: พออายุลูกโตขึ้นอีกหน่อย เมื่อเขาพูดอ้อแอ้คุณควรพยายามตั้งใจฟังในสิ่งที่เขากำลังพูดให้มากที่สุด เพราะลูกน้อยกำลังที่จะฝึกพูดและพยายามเลียนเสียงตามพ่อแม่ค่ะ

  • การชมเชย: เวลาที่ลูกพยายามคุยด้วย พ่อแม่อาจยิ้มและปรบมือให้เพื่อเป็นการชมเชยถึงความพยายามของเด็ก เมื่อลูกเห็นลูกจะได้มีแรงผลักดันในการที่จะพูดให้มากขึ้น
  • การเลียนแบบ: ทารกมักจะชอบเลียนแบบผู้ใหญ่อยู่แล้ว ดังนั้น พ่อแม่ควรพูดกับลูกบ่อย ๆ โดยพูดช้า ๆ ชัด ๆ คำสั้น ๆ และคำง่ายๆ ก่อน และเว้นจังหวะให้ลูกพูดตามค่ะ
  • การอธิบาย: เวลาพูดคุยกับลูก พ่อแม่อาจจะชี้ไปยังวัตถุรอบตัว แล้วอธิบายให้ลูกเข้าใจมากขึ้น เช่น “นั่นสุนัขดูมันวิ่งซิลูก” หรือ ชี้มาที่ชามแล้วบอกว่า “เอาข้าวเพิ่มไหมลูก”
  • การเล่าเรื่อง: ระหว่างที่พ่อแม่อยู่กับลูก พ่อแม่อาจจะเล่าเรื่องรอบตัว หรือบอกว่าตัวเองจะทำอะไรให้ลูกฟัง เช่น “แม่กำลังตัดเล็บให้ลูกนะ” หรือ “วันนี้ใส่เสื้อสีน้ำเงินไหม มีหมีตัวโตด้วย” การพูดคุยแบบนี้จะเป็นการฝึกความเชื่อมโยงกับให้กับเด็กค่ะ
  • การเล่น: การส่งเสริมให้ลูกเล่นโดยใช้จินตนาการ เป็นเหมือนการช่วยให้ลูกได้ฝึกพูดเหมือนกัน เพราะเด็กมักจะจำลองเหตุการณ์ต่างๆ ออกมา พร้อมกับสร้างบทสนทนาขึ้นมาเองค่ะ
  • การออกเสียง: ฝึกให้ลูกออกเสียง
  • ปล่อยให้ลูกพูด: ทุกครั้งที่พ่อแม่พูดกับลูกต้องพยายามปล่อยให้ลูกพูดบ้าง ไม่ใช่ว่าพูดใส่ลูกอย่างเดียวจนลูกไม่มีจังหวะพูดออกมา และในช่วงแรกอาจชวนลูกพูดในเรื่องที่สนใจ ให้เขาเล่าออกมา

ที่มา: webmd

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ:

ฝึกลูกพูด 2 ภาษา อย่างไรให้ได้ดี วิธีสอนลูกพูดภาษาอังกฤษ สไตล์หมอเด็ก

ลูกไม่พูด ตอนนี้ 3 ขวบแล้ว ทำไงดี?

ลูกพูดไม่เป็นภาษา พูดไม่รู้เรื่อง เกิดจากอะไร ต้องแก้ไขยังไง

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!