ลูกไม่เข้าเต้า ทำไงดี? ปัญหาที่แม่ ๆ กังวล วิธีแก้ปัญหาทำอย่างไรวันนี้มีคำตอบ!
ลูกไม่เข้าเต้า ถือเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่เหล่าคุณแม่นั้นมีความกังวลเป็นอย่างมาก เพราะน้ำนมถือเป็นสารอาหารสำคัญ ขอนำวิธีการแก้ปัญหาลูกไม่เข้าเต้ามาแบ่งปันกัน
ลูกไม่เข้าเต้า ทำไงดี? ปัญหาที่แม่ ๆ กังวล วิธีแก้ปัญหาทำอย่างไรวันนี้มีคำตอบ!
หลังจากคลอดลูกแล้วมาได้สักระยะ คุณแม่หลาย ๆ คนอาจจะพบเจอปัญหาหลาย ๆ อย่าง ไม่ว่าจะเป็นซึมเศร้าหลังคลอด เจ็บแผล เจ็บช่องคลอด และอีกหนึ่งปัญหาที่เกี่ยวกับลูกตัวน้อยของเราคือ ลูกไม่เข้าเต้า ซึ่งถือเป็นปัญหาที่เหล่าคุณแม่มีความกังวลเป็นอย่างมาก เพราะน้ำนมถือเป็นสารอาหารสำคัญของลูกน้อย วันนี้ TheAsianparent Thailand ขอนำวิธีการแก้ปัญหาลูกไม่เข้าเต้ามาแบ่งปันคุณแม่กันค่ะ
สาเหตุที่ทำให้ลูกไม่เข้าเต้า
โดยทั่วไปแล้ว การที่ลูกไม่เข้าเต้า อาจมาจากสาเหตุต่าง ๆ ดังนี้
- ลูกน้อยมีอาการเจ็บเหงือกเพราะฟันกำลังขึ้น หรือเกิดการติดเชื้อในช่องปาก
- เป็นหวัด คัดจมูก ทำให้หายใจลำบากในขณะที่กำลังดูดนม
- มีอาการหูติดเชื้อ ทำให้ลูกเกิดความเจ็บปวดขณะที่กำลังดูดนม
- ลูกถูกเบี่ยงเบนความสนใจจากสิ่งรอบตัว เช่น เสียงต่าง ๆ
- รสชาติของน้ำนมแม่เปลี่ยนไป จากอาหารที่คุณแม่ทาน เช่น อาหารเผ็ด หรือ อาหารที่มีรสใดรสหนึ่งจัดเกินไป เช่น เค็มจัด หวานจัด เป็นต้น
- คุณแม่มีปริมาณน้ำนมลดลงเนื่องจากให้ลูกดูดขวดเพิ่มขึ้น หรือ ดูดจุกหลอกมากเกินไป
- คุณแม่มีน้ำนมมากเกินไป ทำให้น้ำนมไหลออกมามากและเร็วเกินไปทำให้ลูกสำลักจนไม่ยอมกินนมแม่
- เป็นการตอบสนองของลูกจากการที่คุณแม่มีปฏิกิริยาไม่พอใจเมื่อถูกลูกกัดหัวนม
วิธีแก้ปัญหาลูกไม่เข้าเต้าทำอย่างไร
- เปลี่ยนท่าให้นมลูกเพื่อหาท่าที่เหมาะสมสำหรับทั้งแม่และลูก ลองเอนหลังในท่าที่สบายโดยให้ลูกนอนหงายให้ทั้งหน้าสัมผัสกับร่างกายของคุณ ท่านี้มักจะช่วยกระตุ้นสัญชาตญาณของทารกให้แนบและดูดนมได้ดี นอกจากนี้คุณยังสามารถสังเกตสัญญาณของเขาที่กวนและกระตุ้นให้กินนมได้ง่ายขึ้น การใช้สิ่งนี้ร่วมกับการสัมผัสแบบผิวหนังกับผิวหนังจะมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
- ลองให้นมลูกตอนที่เค้าง่วงนอนมาก ๆ เพราะเด็กบางคนที่ไม่เอาเต้าตอนตื่น อาจยอมดูดนมแม่ตอนที่กำลังง่วงก็ได้
- หาสถานที่ให้นมที่ไม่มีสิ่งล่อใจลูก เงียบสงบ ไม่มีของเล่นหรือไม่มีสีสัน เพื่อไม่ให้ลูกถูกเบี่ยงเบนความสนใจและให้ความสนใจในการเข้าเต้ามากขึ้น
- หากสังเกตว่าหลังจากที่คุณแม่ทานอาหารแปลก ๆ เข้าไปแล้วลูกไม่เอาเต้าหรือไม่ยอมเข้าเต้านั้น ให้หลีกเลี่ยงอาหารนั้น และควรหลีกเลี่ยงอาหารรสจัดเกินไป หรือ อาหารที่มีแก๊สมาก
- หลีกเลี่ยงการใช้สบู่หรือครีมทาผิวที่มีกลิ่นแรง เพราะลูกอาจไม่ชอบกลิ่น ซึ่งนี่อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ลูกไม่เข้าเต้า
- สัมผัสลูกให้แนบชิดและกอดลูกให้มากขึ้น เพื่อให้ลูกรู้สึกอบอุ่นและผ่อนคลาย
- พยายามให้นมลูกให้เป็นเวลา
- หากฟันของลูกเริ่มขึ้น ควรใช้วิธีแก้ปัญหาอาการคันเหงือกหรือเจ็บเงือกของลูกก่อน แล้วค่อยให้ลูกดูดนม
- หากสาเหตุที่ลูกไม่เข้าเต้าเกิดจากอาการเจ็บป่วย เมื่อลูกน้อยได้รับการรักษาจนหายป่วยแล้ว ก็จะกลับมาเข้าเต้าตามปกติ
วิธีอุ้มลูกกินนมแม่
- ต้องจับลูกตะแคงลำตัวและศีรษะของลูกให้หันเข้าหาแม่
- ลำตัวลูกจะต้องแนบชิดกับตัวแม่
- ประคองศีรษะ ไหล่ และสะโพกของลูก ควรอยู่ในแนวเส้นตรงเดียวกัน
- ตัวของทารกจะรู้สึกมั่นคง จากการรองรับด้วยมือแม่ที่ประคองหรือหมอนที่รองช้อนไว้
ท่าให้นมลูกอย่างถูกท่าที่สุดต้องเป็นอย่างไร
การให้นมลูกในท่านั่งนั่นมีหลายท่า โดยคุณแม่ประคองลูกไว้ในอ้อมแขน นั่งหลังตรงตามสบาย ไม่ต้องเกร็ง แต่ในขณะให้นมไม่ควรโน้มตัวไปข้างหน้าหรือเอนไปข้างหลังมากเกินไป เพราะจะทำให้เมื่อยหลังได้ ขณะอุ้มลูกคุณแม่สามารถเตรียมหมอนเล็ก ๆ ไว้หลายใบเพื่อรองหลัง รองแขนหรือวางบนตักรองรับตัวลูก ช่วยหนุนลูกให้สูงขึ้นมาถึงบริเวณเต้านม เมื่อหัวตัวลูกเข้าหาแม่ ปากลูกจะอยู่ตรงกับหัวนมแม่พอดี และท่านิยมสำหรับการเอาลูกเข้าเต้า คือ
-
ท่าลูกนอนขวางบนตัก (Cradle hold)
เป็นท่าที่คุณแม่อุ้มลูกวางไว้บนตัก มือและแขนประคองตัวลูกไว้ ท้ายทอยลูกวางอยู่บริเวณแขน โดยศีรษะลูกอยู่สูงกว่าลำตัวแม่เล็กน้อย ให้ลูกนอนตะแคงเข้าหาตัวแม่
-
ท่าลูกนอนขวางบนตักแบบประยุกต์ (Cross cradle hold)
ท่านี้คือการประคองลูกโดยใช้มือรองรับต้นคอและท้ายทอยของลูก และใช้มืออีกข้างประคองเต้านม เมื่อทารกอ้าปากให้เคลื่อนศีรษะลูกเข้าหาเต้านมทันที โดยไม่ใช่ให้ตัวแม่เป็นฝ่ายโน้มเต้าเข้าหาลูกนะคะ ท่านี้ช่วยในการควบคุมการเคลื่อนไหวของศีรษะลูกได้ดี เอาลูกเข้าเต้าแล้วให้ลูกได้อมถึงลานนมได้ ไม่ช่วยทำให้แม่เจ็บหัวนม
-
ท่าอุ้มลูกฟุตบอล (Football hold)
ทารกจะอยู่ในกึ่งตะแคงกึ่งนอนหงาย โดยอยู่ในอ้อมกอดกระชับกับสีข้างแม่ และขาชี้ไปทางด้านหลัง มือแม่ประคองที่ต้นคอและท้ายทอยของลูก ทารกจะดูดเต้าแม่ข้างเดียวกับมือที่ประคองลูก ส่วนมืออีกข้างจับประคองเต้านม ท่านี้เหมาะสำหรับ
- แม่ที่เพิ่งผ่าท้องคลอด เพื่อไม่ให้ตัวของลูกไปสัมผัสกับหน้าท้องแม่ที่มีรอยผ่าตัดอยู่
- แม่ที่มีเต้านมใหญ่ หรือทารกที่ตัวเล็ก ท่านี้จะช่วยให้ลูกเข้าเต้าดูดนมได้ดี
- แม่ที่คลอดลูกแฝด สามารถใช้ท่านี้เพื่อให้ลูกแฝดดูดนมจากทั้งสองเต้าพร้อม ๆ กันได้
-
ท่านอน (Side lying position)
ท่านี้เหมาะสำหรับแม่ที่ผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง หรือตอนที่แม่กำลังรู้สึกเพลีย อยากจะพักผ่อน หรือตอนให้นมลูกเวลากลางคืน โดยแม่ลูกนอนตะแคงเข้าหากัน ศรีษะของแม่ยกสูงเล็กน้อย ให้ปากลูกอยู่ตรงกับหัวนมของแม่ ใช้มือประคองตัวลูกให้ชิดลำตัว หรือใช้หมอนหนุนหลังลูกแทนแขนแม่ เมื่อลูกเข้าเต้าดูดได้ดีอาจจะคลายมือออก ช่วยให้แม่ผ่อนคลายได้ชิล ๆ เมื่อให้นมลูกในท่านี้
The Asianparent Thailand เว็บไซต์และคอมมูนิตี้อันดับหนึ่งที่คุณแม่เลือก นอกจากสาระความรู้ที่เรามอบให้คุณแม่ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ การวางแผนมีลูกแล้ว เรายังมีแอพพลิเคชั่นรวมถึงสื่อมัลติมีเดียหลากหลายที่ช่วยตอบโจทย์ทุกความต้องการของคุณแม่ยุคใหม่ ที่ต้องทำงานและดูแลลูกไปพร้อมกัน ให้มีความมั่นใจและพร้อมในการดูแลลูกทุกช่วงเวลา ตั้งแต่การให้นมบุตร การดูแลตนเองหลังคลอด ท่าออกกำลังกายหลังคลอดเพื่อให้หุ่นของแม่หลังคลอดกลับมาฟิตแอนเฟิร์มอีกครั้ง The Asianparent Thailand ขอเป็นส่วนหนึ่งที่จะสนับสนุนคุณพ่อคุณแม่ในเรื่องการดูแลลูก ความรู้แม่และเด็กที่เต็มเปี่ยม และตอบทุกข้อสงสัยในแอพพลิเคชั่นที่เป็นสื่อกลาง และกิจกรรมส่งเสริมความสัมพันธ์ในครอบครัวไทย
Source : www.thaibreastfeeding.org
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
ประโยชน์ของน้ำนมแม่ ที่มีต่อสมองของลูกน้อย
10 อาหารเรียกน้ำนม อาหารบำรุงน้ำนมแม่ แม่หลังคลอดกินแล้วน้ำนมพุ่งปรี๊ด
9 ผลไม้แม่ลูกอ่อน ผลไม้เรียกน้ำนม ผลไม้บำรุงน้ำนม ของกินสำหรับแม่ลูกอ่อน