ลูกเป็น ปากแหว่งเพดานโหว่ ภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ กลัวลูกเป็นปากแหว่งเพดานโหว่

โรคปากแหว่งเพดานโหว่ สาเหตุเกิดจากอะไรได้บ้าง ลูกเป็นปากแหว่งเพดานโหว่ เพราะอะไร

ลูกเป็น ปากแหว่งเพดานโหว่

แชร์ประสบการณ์ครรภ์เป็นพิษรุนแรงจนต้องผ่าคลอด ลูกเป็น ปากแหว่งเพดานโหว่ ทั้งที่ดูแลตัวเองอย่างดี พบหมอทุกครั้ง

 

แม่โพสต์ครรภ์เป็นพิษรุนแรงจนต้องผ่าคลอด ลูกเป็นปากแหว่ง ทั้งที่แม่ดูแลตอนท้องอย่างดี โดยคุณแม่เล่าเรื่องราวว่า

#สู้ไปพร้อมกับผมนะครับ

#ดูแลตัวเองกันดีๆนะครับ

ผมคลอดวันที่ 7 มีนาคม 62 อายุผม 29 สัปดาห์ น้ำหนัก 1420 กรัม แม่ผมครรภ์เป็นพิษรุนแรง ความดันโลหิตสูงคุมไม่อยู่ คุณหมอเลยเลือกทางออกให้ผมกับแม่ปลอดภัย คุณหมอผ่าแบบบล็อกหลังให้แม่ผม แล้วคุณหมอส่งผมไปอยู่ NICU ใส่ท่อช่วยหายใจ 1 คืน ตอนนี้ผมถอดท่อแล้ว คุณหมอบอกว่าผมเก่ง แข็งแรง รอแค่ปอดกับหัวใจผมทำงานเต็มที่ แต่สิ่งที่แม่ไม่คิดจะเกิดกับผมคือ #ผมมีปากแหว่ง เพราะแม่ผมพาผมหาหมอตลอด อัลตราซาวด์ตลอด กินยาครบตามที่หมอสั่งทุกวัน แม่ผมถามหมอแล้วว่าเกิดจากอะไร คุณหมอก็บอกสาเหตุไม่ได้ แต่คุณหมอบอกป๊ากับแม่ว่า แค่เย็บปิดผมก็หาย แต่ต้องรอผมพร้อมก่อนครับ

ผมอยากให้แม่ ๆ ที่กำลังท้องน้องอยู่ อย่าชะล่าใจนะครับกับการหาหมอ การทำตามสิ่งที่หมอสั่ง

ผมขอให้น้อง ๆ ที่ยังไม่คลอดปลอดภัยและสู้ ๆ ไปกับผมนะครับ

คุณแม่ยังอัพเดตอาการของน้องด้วยว่า ตอนนี้สุขภาพร่างกายโดยรวม ๆ ก็ดี ไม่มีภาวะแทรกซ้อนอื่น แต่คุณหมอก็ให้ดูวันต่อวันค่ะ เพราะเรื่องที่เฝ้าระวังของน้องคือปอดกับหัวใจซึ่งยังทำงานได้ไม่เต็มที่ เรื่องที่ลูกเป็น ปากแหว่งเพดานโหว่ เป็นสิ่งที่แม่ไม่คิดว่าจะเกิดขึ้นเลยค่ะ เพราะระวังตัวเอง ดูแลตัวเองตอนท้องทุกอย่างตามที่คุณหมอสั่ง ไปตามนัดตลอด

“ฝากให้แม่ท้องคนอื่น ๆ อย่ากลัวการไปหาหมอนะคะ เพราะการหาหมอเป็นสิ่งที่ปลอดภัยสำหรับตัวลูกน้อยที่สุด หมอคือคนเดียวที่ดูแลลูกได้ดีที่สุด แม่ ๆ ที่มีอาการผิดปกติ ควรรีบพบแพทย์ เพราะอาการและร่างกายของแม่ท้องไม่เหมือนกันค่ะ คุณหมอจะให้คำตอบได้ดีที่สุดค่ะ”

ทางทีมงานดิเอเชี่ยนพาเร้นท์ขอให้น้องแข็งแรงเร็ว ๆ นะคะ และขอเป็นกำลังใจให้กับคุณแม่และครอบครัวด้วยค่ะ

 

ทำไมลูกเป็นปากแหว่งเพดานโหว่

ลูกเป็นปากแหว่งเพดานโหว่หรือภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ เกิดได้จากหลายสาเหตุ โดยทารกแรกเกิดทุก ๆ 1 ใน 700 คน จะมีลักษณะของโรคปากแหว่งเพดานโหว่ คือ

  • ลักษณะของปากแหว่ง จะมีรอยแยกของริมฝีปากบนไปจนถึงเหงือกและเพดานปากส่วนหน้า อาจเป็นด้านเดียว หรือสองด้าน
  • ลักษณะของเพดานโหว่ เป็นรอยแยกตั้งแต่เพดานอ่อนไปจนถึงเพดานแข็ง

 

สาเหตุที่ทำให้ลูกเป็นปากแหว่งเพดานโหว่

ภาวะปากแหว่งเพดานโหว่เกิดได้จากหลากหลายสาเหตุ อาทิ

  1. การถ่ายทอดทางพันธุกรรม มีโครโมโซมที่ผิดปกติ
  2. จากปัจจัยที่กระทบกับคุณแม่ตั้งครรภ์ในไตรมาสแรก หรือในช่วง 3 เดือนแรกของแม่ท้อง อย่างเช่น
  • แม่ท้องขาดสารอาหารในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์
  • แม่ท้องขาดสารวิตามินบางชนิดในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์
  • แม่ท้องอยู่ใกล้กับสารเคมีบางชนิด หรือทานยาบางอย่าง จนกระทบต่อร่างกายทารกในครรภ์
  • แม่ท้องติดเชื้อจากไวรัสหรือแบคทีเรีย หรืออาจเกิดจากการฉายรังสีเอกซเรย์

 

การดูแลลูกเป็นปากแหว่งเพดานโหว่

  • ทารกที่เป็นปากแหว่งเพดานโหว่ จะไม่สามารถดูดนมได้เหมือน ๆ กับทารกร่างกายปกติ จึงต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ
  • หากลูกเป็นปากแหว่งเพดานโหว่ มักจะมีปัญหาในระบบของร่างกาย เช่น ความพิการทางหัวใจและระบบไหลเวียน ระบบทางเดินอาหาร ระบบขับถ่าย ระบบประสาทและสมอง เด็กบางคนออกเสียงได้ไม่ชัด มีปัญหาในการพูด ต้องตรวจร่างกายอย่างละเอียด และระวังความเสี่ยงต่าง ๆ
  • การรักษาภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ ทำได้โดยการผ่าตัด ซึ่งศัลยแพทย์มักจะให้ทารกในวัย 3 เดือนขึ้นไป เข้ารับการผ่าตัดแก้ไขอวัยวะในช่องปากและจมูก ส่วนการผ่าตัดแก้ไขภาวะเพดานโหว่จะทำได้เมื่อทารกอายุ 12- 18 เดือน

 

ลูกเป็น ปากแหว่งเพดานโหว่ ภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ กลัวลูกเป็นปากแหว่งเพดานโหว่ หาหมอตลอด อัลตราซาวด์ไม่ขาด กินยาวิตามินครบ แต่ลูกก็ยังเป็นปากแหว่งเพดานโหว่

ลูกเป็นปากแหว่งเพดานโหว่

วิธีป้องกันลูกเป็นปากแหว่งเพดานโหว่

เนื่องจากภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ ยังไม่มีสาเหตุที่แน่ชัด สิ่งที่แม่พอจะทำได้ก็คือ ลดความเสี่ยง ดังนี้

  1. ไม่สูบบุหรี่ระหว่างตั้งครรภ์ หรืออยู่ให้ไกลจากควันบุหรี่ เพราะการสูบบุหรี่ของแม่ท้อง เป็นสาเหตุของเด็กที่เกิดมาพิการแต่กำเนิดโดยมีริมฝีปากและเพดานปากแหว่งได้
  2. แม่ท้องไม่ควรดื่มเหล้า งดดื่มเบียร์ ไม่แตะต้องแอลกอฮอล์
  3. แม่ท้องต้องดูแลตัวเองไม่ให้ขาดสารอาหาร โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ แม่ควรเลือกรับประทานอาหารที่ดี มีประโยชน์ต่อร่างกายของแม่ท้องและทารกในครรภ์ โดยเลือกรับประทานอาหารมีประโยชน์ 5 หมู่ เน้นผัก ผลไม้ อาหารที่มีกรดโฟลิคสูง เช่น บรอคโคลี เมล็ดธัญพืช และตับ
  4. ยาบางชนิดแม่ท้องห้ามรับประทาน ดังนั้น ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้ง ไม่ควรซื้อยามากินเอง
  5. ไม่ควรบริโภควิตามินเอในปริมาณมากระหว่างตั้งครรภ์
  6. ออกกำลังกายระหว่างตั้งครรภ์ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ พยายามไม่เครียด
  7. แม่ท้องควรได้รับวิตามินจำเป็น เช่น วิตามิน บี 6 วิตามินบี 12 ธาตุสังกะสี และกรดโฟลิค ก่อนการตั้งครรภ์ 2 เดือน เพื่อให้เกิดการสร้างอวัยวะของโครงสร้างเพดานในตัวอ่อนของทารกในครรภ์ได้สมบูรณ์ ช่วยลดความเสี่ยงภาวะปากแหว่งเพดานโหว่

 

เพื่อป้องกันลูกเป็นปากแหว่งเพดานโหว่ แม่ต้องดูแลตัวเองตอนท้องให้ดี ทานวิตามินสำคัญอย่างกรดโฟลิก ไม่ควรซื้อยามากินเอง และไปพบคุณหมอตามนัดนะคะ

 

ที่มา : https://mgronline.com/

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

โรคในทารกแรกเกิด โรคที่พบบ่อย ทารก 0-1 ปี ปัญหาทารกแรกเกิดที่พบบ่อย การแก้ไขเบื้องต้น

อาหารที่มีไอโอดีนสําหรับคนท้อง ความต้องการไอโอดีน หญิงตั้งครรภ์ ป้องกันลูกในท้องสมองพิการ

ไม่อยากให้ลูกในท้องพิการ ต้องอ่านนะ ลูกพิการแต่กำเนิด สาเหตุเพราะอะไร?

วิธีป้องกันอุบัติเหตุตอนท้อง เกิดอุบัติเหตุระหว่างตั้งครรภ์ อันตรายแค่ไหน วิธีปฐมพยาบาลคนท้องตกเลือด

 

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!