พัฒนาการการตั้งครรภ์ประจำสัปดาห์ที่ 35

พัฒนาการการตั้งครรภ์ประจำสัปดาห์ 35 ร่างกายของลูกจะเป็นอย่างไรบ้าง ทำไมคุณหมอต้องตรวจหาเชื้อแบคทีเรีย Group B streptococcus (GBS) ด้วยนะ เราลองมาดูกัน

พัฒนาการตั้งครรภ์,

พัฒนาการการตั้งครรภ์ประจำสัปดาห์ที่ 35

พัฒนาการของทารกในครรภ์ช่วงสัปดาห์ที่ 35

ตอนนี้ในท้องของคุณไม่ค่อยมีพื้นที่ให้ลูกดิ้นสักเท่าไหร่แล้วค่ะ เพราะว่าลูกในท้องมีความยาวประมาณ 45 เซนติเมตรและมีน้ำหนักประมาณ 2,300 กรัม เนื่องจากในท้องของคุณเป็นที่ปลอดภัยและแสนอบอุ่นของลูก เขาเลยอาจจะไม่แสดงแม่ไม้มวยไทยทำท่าจระเข้ฟาดหางหรือตีลังกาเหมือนเคยให้ แต่ความถี่ในการขยับตัวควรจะเหมือนเดิม ตอนนี้ไตของลูกน้อยพัฒนาเต็มที่แล้ว ตับก็สามารถกำจัดของเสียได้บ้าง ลักษณะทางกายภาพต่าง ๆ ก็สมบูรณ์ ตอนนี้ลูกก็แค่เพิ่มน้ำหนักจนถึงครบกำหนดคลอดนั่นเองค่ะ

จากที่มดลูกเคยอยู่ในอุ้งเชิงกรานตอนที่คุณเริ่มตั้งครรภ์อ่อน ๆ ตอนนี้มดลูกขยายขนาดออกมาจนอยู่ใต้ซี่โครงของคุณแล้วค่ะ เวลาคุณหมออัลตร้าซาวด์เพื่อดูเจ้าตัวน้อยในท้องของคุณ เราจะพบว่าลูกมีขนาดมากกว่าน้ำคร่ำ นอกจากนี้มดลูกก็ขยายขนาดทับอวัยวะภายในอื่น ๆ ด้วย และนั่นก็คือสาเหตุที่คุณต้องเข้าห้องบ่อยนั่นเองค่ะ นอกจากนี้ยังมีปัญหาอยากจุดเสียดยอดอก ระบบทางเดินอาหารทำงานน้อยลง แต่หากคุณไม่มีอาการเหล่านี้ก็ต้องยอมรับเลยค่ะว่าคุณเป็นคนส่วนน้อยที่โชคดีมาก

สิ่งที่คุณทำได้

หลังจากนี้ไป หมอที่ดูแลครรภ์ของคุณจะนัดคุณไปตรวจทุก ๆ สัปดาห์ คุณหมออาจทำการตรวจปากมดลูกและทวารหนักเพื่อหาเชื้อแบคทีเรีย Group B streptococcus (GBS) เชื้อตัวนี้ไม่มีอันตรายกับผู้ใหญ่ ผู้หญิงร้อยละ 30 มีเชื้อแบคทีเรียตัวนี้และสามารถส่งผ่านลูกขณะคลอด เชื้อตัวนี้เป็นสาเหตุสําคัญของการติดเชื้อต่าง ๆ เช่น ปอดบวม การติดเชื้อในกระแสเลือดและทําให้เกิดความพิการหรือเสียชีวิตในทารกแรกเกิด หากตรวจพบว่าคุณมีเชื้อตัวนี้ หมอจะให้ยาฆ่าเชื้อผ่านน้ำเกลือในขณะที่คุณเจ็บท้องคลอดเพื่อลดความเสี่ยงการติดเชื้อของลูกนั่นเอง

ที่สำคัญอย่าลืมเตรียมวางแผนคลอดนะคะ เช่น สามีจะเข้าห้องคลอดกับคุณหรือเปล่า คุณจะบล็อกหลังไหม เมื่อลูกคลอดแล้วจะให้ลูกอยู่ที่ห้องกับคุณไหม หากคุณเตรียมแผนคลอดไว้แต่เนิ่น ๆ คุณเองจะได้มีเวลาปรึกษาคุณหมอและทีมแพทย์ เนื่องจากเราไม่รู้ว่าลูกจะคลอดเมื่อไหร่ พอถึงเวลาทุกคนจะได้ทำตามแผนที่คุณวางเอาไว้นั่นเอง

น้ำหนักทารกในครรภ์ตลอด 40 สัปดาห์

ความกังวลช่วงตั้งครรภ์: แรงกดช่วงเชิงกราน

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!