ผ่าคลอดแนวยาว ผ่าคลอดแนวขวาง ข้อดีข้อเสีย และวิธีดูแลแผลผ่าคลอด

แม่ท้องต้องรู้ก่อนผ่าคลอด ผ่าคลอดแนวยาว ผ่าคลอดแนวขวาง ต่างกันอย่างไร มีข้อดีข้อเสียไหม และวิธีการดูแลแผลผ่าคลอด ต้องทำยังไง ต้องระวังอะไรเป็นพิเศษ

ผ่าคลอดแนวยาว ผ่าคลอดแนวขวาง

ผ่าคลอดแนวยาว ผ่าคลอดแนวขวาง ต่างกันอย่างไร แบบไหนดีกว่ากัน มีวิธีดูแลแผลผ่าคลอดอย่างไร ต้องระวังอะไรเป็นพิเศษ ฟังคำตอบจากคุณหมอ

ผ่าคลอดแนวยาว กับผ่าคลอดแนวขวาง ต่างกันไหม มีข้อดีข้อเสียอย่างไร

สำหรับการผ่าท้องคลอด การเปิดแผลหน้าท้องตามแนวขวาง หรือที่คุณแม่ชอบเรียกกันว่าแผลแนวบิกินี่ เป็นวิธีที่สูติแพทย์ส่วนใหญ่เลือกที่จะปฏิบัติ เนื่องจากมีข้อดีหลายอย่างเมื่อเทียบกับการเปิดแผลหน้าท้องตามแนวยาว เช่น อาการปวดหลังการผ่าตัดน้อยกว่า ความแข็งแรงและความสวยงามของแผลมากกว่า

แต่การเปิดแผลหน้าท้องตามแนวขวางก็มีข้อเสียเช่นกัน คือ ใช้ระยะเวลาในการเปิดแผลนานกว่า มีการบาดเจ็บต่อเส้นเลือดและเส้นประสาทมากกว่า และไม่สามารถขยายแผลเพื่อเพิ่มบริเวณผ่าตัดได้ ดังนั้นในกรณีที่มีภาวะฉุกเฉินเร่งด่วน ต้องให้ทารกคลอดโดยเร็ว การเปิดแผลหน้าท้องตามแนวยาวจึงอาจเหมาะสมกว่า

ผ่าคลอดแนวยาว ผ่าคลอดแนวขวาง ผ่าคลอดแนวยาว กับผ่าคลอดแนวขวาง ต่างกันอย่างไร

วิธีดูแลแผลผ่าคลอด

สำหรับการดูแลแผลผ่าท้องคลอดนั้น มีวิธีการดังนี้

  1. หลังผ่าตัดได้ 1 วัน คุณหมอจะเริ่มให้คุณแม่เริ่มลุกนั่งและเดินได้ เพิ่อลดการเกิดพังพืดในช่องท้อง และลดอาการท้องอืด ในวันแรกคุณแม่จะยังเจ็บแผลอยู่ แต่ก็จะต้องพยายามขยับตัวและเดินบ่อยๆ
  2. อาการปวดแผล คุณแม่สามารถทานยาแก้ปวดตามที่คุณหมอส่งได้ และการใช้ผ้ารัดหน้าท้องหลังคลอด จะช่วยลดอาการปวดแผลลงได้ด้วย
  3. ทานอาหารตามปกติในปริมาณที่เหมาะสม ไม่จำเป็นต้องงดไข่ งดนม เพราะโปรตีนเป็นสิ่งสำคัญในการรักษาแผลให้หายเป็นปกติ
  4. คุณหมอจะทำความสะอาดแผล และปิดแผลด้วยที่ปิดแผลกันน้ำ คุณแม่ไม่ต้องทำความสะอาดแผล ให้มาพบคุณหมออีกครั้งตามนัด แต่ต้องระวังไม่ให้น้ำซึมเข้าไปในแผลหรือที่ปิดแผล ถ้าพบว่ามีน้ำซึมให้มาพบคุณหมอทันที
  5. ถ้ามีเลือด หรือน้ำเหลืองซึมมาที่ปิดแผลมากกว่า 1/3 ของแผ่น หรือปวดแผลมาก ให้มาพบคุณหมอทันที
  6. หลังแผลแห้งดีแล้ว คุณแม่สามารถใช้ยาทาหรือแผลเจลกันแผลเป็นได้
  7. ในช่วง 1 เดือนแรกหลังผ่าตัด หลีกเลี่ยงการทำงานหนัก การออกกำลังกายที่ต้องเกร็งหน้าท้อง และอาจต้องระวังในการขับรถ เนื่องจากระหว่างขับรถคุณแม่อาจปวดแผลมาก และอาจเกิดอุบัติเหตุได้
  8. หลังผ่าตัด 3-6 เดือน แผลผ่าตัดจะเริ่มแข็งแรงมาก คุณแม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ
  9. คุณแม่สามารถอยู่ไฟหลังผ่าท้องคลอดได้ แต่ให้หลีกเลี่ยงการประคบร้อนที่บริเวณแผลผ่าตัด โดยเฉพาะในช่วง 30 วันแรกหลังผ่าตัด

นพ.อดิศร อักษรภูษิตพงศ์

นพ.อดิศร อักษรภูษิตพงศ์

สูตินรีแพทย์ เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์

ประจำโรงพยาบาลพญาไท 3

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

พ่อแม่เป็นพาหะธาลัสซีเมีย ลูกเสี่ยงตั้งแต่อยู่ในท้อง!

รกเปื่อยยุ่ย หลังจากคลอดลูกออกมา เป็นเพราะอะไร?

ผ่าคลอด ตัดไส้ติ่ง เลยดีไหม ทำพร้อมกันไป แม่จะได้เจ็บแค่ครั้งเดียว

parenttown

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!