คุณพ่อคุณแม่ต้องรู้! นอนเปิดพัดลม อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพของลูกได้

พัดลม เป็นหนึ่งในวิธีการดับร้อนที่นิยมมากกที่สุด เพราะช่วยให้เย็นสบาย แต่รู้หรือไม่ว่าการ นอนเปิดพัดลม นั้นส่งผลเสียต่อสุขภาพของลูกด้วย

ไม่ว่าจะฤดูอะไร ประเทศไทยก็ไม่เคยหนีความร้อนพ้นเลย ทำให้คุณพ่อคุณแม่ต้องคอยหาวิธีดับร้อนให้เจ้าตัวน้อยอยู่ตลอดเวลา ในระหว่างวันนั้นก็มีวิธีดับร้อนมากมาย ไม่ว่าจะเป็นให้ลูกกินไอศกรีม ดื่มน้ำเย็น ๆ หรือพาลูกไปเล่นน้ำดับร้อน ส่วนในตอนกลางคืนก็ดับร้อนได้ง่าย ๆ ด้วยการเปิดแอร์ หรือเปิดพัดลม เวลานอน แต่คุณพ่อคุณแม่รู้หรือไม่ว่า ถ้า นอนเปิดพัดลม ทั้งคืนอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพของลูกได้นะคะ

 

นอนเปิดพัดลม ผลเสียของการเปิดพัดลม

ผลเสียของการ นอนเปิดพัดลม

  • ทำให้จาม หรือ กระตุ้นให้เกิดภูมิแพ้ เพราะว่าการเปิดพัดลมจะทำให้ฝุ่นในบ้าน รวมถึงฝุ่นที่เกาะอยู่บนพัดลม ฟุ้งกระจายโดยที่เรามองไม่เห็น ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดภูมิแพ้ในคนที่แพ้ฝุ่นได้ ทางที่ดีควรดูแลความสะอาดของห้องนอนให้ปราศจากฝุ่นรวมถึงนำพัดลมไปล้างบ่อย ๆ นะคะ
  • ทำให้ผิวแห้ง คนที่มีผิวที่บอบบางหรือผิวแห้ง อาจจะมีปัญหาผิวได้จากการที่โดนลมเป่าโดยตรงทั้งคืน อย่างเช่น เกิดสิว ผดผื่น หรือคันผิวหนัง ถ้าหากมีอาการเหล่านี้ล่ะก็ควรทาครีมบำรุงก่อนนอนเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการเหล่านี้ค่ะ
  • คัดจมูก ถ้าเปิดพัดลมเป่าหน้าโดยตรง หรือตั้งพัดลมไว้ใกล้เตียงมากเกินไป อาจจะทำให้เกิดอาการคัดจมูกได้ เพราะว่าลมที่เป่าอยู่ตลอดเวลานั้นจะทำให้โพรงจมูกของเราแห้ง จนร่างกายตอบสนองด้วยการสร้างเมือก หรือน้ำมูกมาทดแทน จนกลายเป็นการคัดจมูก
  • ระคายเคืองตา สำหรับคนที่นอนโดยเปลือกตาปิดไม่สนิท หรือ ที่เราเรียกกันว่า หลับตากระต่าย จะมีโอกาสเกิดการระคายเคืองตาได้มาก เนื่องจากดวงตาจะโดนลมเป่าทั้งคืน
  • ปากและคอแห้ง ถ้าหากเจ้าตัวเล็กชอบนอนอ้าปากล่ะก็ อาจจะโดนลมเป่าจนทำให้ปากและคอแห้งได้ ซึ่งนี่เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เด็ก ๆ ตื่นขึ้นมากลางดึกเนื่องจากคอแห้งจนกระหายน้ำนั่นเองค่ะ

ข้อดีของการนอนเปิดพัดลม

การนอนเปิดพัดลมก็ไม่ได้มีแต่ข้อเสียอย่างเดียว แต่มีข้อดีดังนี้ค่ะ

  • ช่วยให้เรารู้สึกเย็นขึ้นทำให้นอนหลับได้อย่างมีประสิทภาพ เพราะถ้าอากาศร้อนแล้วไม่เปิดพัดลมล่ะก็คงได้นอนร้อนกระสับกระส่ายทั้งคืนจนไม่เป็นอันหลับอันนอน ซึ่งการนอนโดยหลับไม่สนิทบ่อย ๆ จะไม่ดีต่อสุขภาพแน่นอนค่ะ
  • เป็นคลื่นเสียงที่เหมาะสม เสียงหมุนของพัดลมนั้นเป็นคลื่นเสียงที่ต่อเนื่องและมีระดับความถี่ที่กำลังดี ซึ่งช่วยให้นอนหลับได้ง่ายขึ้น และมีประโยชน์มากโดยเฉพาะในเด็กที่ชอบตื่นกลางดึก
  • ช่วยให้ห้องสดชื่นปราศจากกลิ่นอับ เพราะพัดลมจะช่วยให้อากาศถ่ายเทได้ดี ทำให้ในห้องนั้นไม่เหม็นอับค่ะ

นอนหลับยังไงให้สบายตัวและไม่ร้อน เปิดพัดลม

นอนเปิดพัดลม ผลเสียของการเปิดพัดลม

ถ้าหากมีอาการตามที่บอกไปข้างต้นล่ะก็ ไม่ได้หมายความคุณพ่อคุณแม่จะต้องรีบไปหาซื้อแอร์มาติดให้ลูกนอนนะคะ เพราะสามารถแก้ได้โดยการหมั่นล้างและทำความสะอาดพัดลมบ่อย ๆ รวมถึงลองปรับตำแหน่งในการวางพัดลมให้ไกลกว่าเดิมก็พอแล้วค่ะ

แต่ถ้าอากาศร้อนมากจนพัดลมก็ยังเอาไม่อยู่ล่ะก็ลองใช้วิธีเหล่านี้ดูค่ะ

  • ใส่เสื้อผ้าที่บาง และระบายอากาศได้ดี เช่นผ้าฝ้าย รวมถึงเปลี่ยนผ้าห่มให้เป็นผ้าที่บางลง
  • ไม่หันพัดลมเข้าบริเวณใบหน้า ให้เป่าไปที่บริเวณลำตัวหรือเปิดระบบส่ายแทน เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกหายใจไม่สะดวก
  • ดื่มน้ำให้เหมาะสม เพราะเด็ก ๆ นั้นเกิดอาการขาดน้ำ และกระหายน้ำได้ง่ายกว่าผู้ใหญ่ คุณพ่อคุณแม่จึงต้องเช็คให้ดีกว่าลูกเราได้ดื่มน้ำหรือนมในปริมาณที่เหมาะสมแล้วหรือยัง เพราะน้ำในร่างกายจะช่วยให้รักษาระดับอุณหภูมิให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมทำให้เด็ก ๆ นอนหลับสบายขึ้น
  • อาบน้ำก่อนนอน การอาบน้ำก่อนนอนจะช่วยขจัดความรู้สึกร้อนและเหนอะหนะตัวออกไปได้ อีกทั้งยังทำให้ร่างกายเย็นขึ้นด้วย เพียงแต่ต้องระวังในเรื่องอุณหภูมิของน้ำไม่ให้เย็นจนเกินไปค่ะ
  • ทำความสะอาดพัดลม ที่นอนบ่อย ๆ เพราะฝุ่นที่สะสมอยู่ตามของเหล่านี้จะเป็นสาเหตุที่ทำให้เด็ก ๆ นอนหลับไม่สนิทได้ค่ะ

Credit : sg.theasianparent.com

ภาพและข้อมูลมีลิขสิทธิ์เจ้าของโดย บริษัท ทิคเกิ้ลมีเดีย จำกัด ไม่อนุญาตให้คัดลอกข้อมูล และรูปภาพนำไปเผยแพร่ต่อ ไม่ว่าวิธีใดๆ ถ้าฝ่าฝืนทางบริษัทฯจะดำเนินการตามกฎหมาย เว้นแต่ได้มีการขออนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรกับทางบริษัทฯเรียบร้อยแล้ว

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

เลี้ยงลูกในห้องแอร์ ลูกจะติดแอร์ไหม ออกข้างนอกยาก เป็นเด็กขี้โรคหรือเปล่า

5 วิธีบำรุงผิวแบบเร่งด่วนสำหรับคุณแม่ นอนน้อยยังไงให้หน้ายังดูใสปิ๊งไม่โทรม

นอนกับลูกดีอย่างไร พ่อแม่ที่นอนเตียงเดียวกับลูกต้องระวังอะไรบ้าง

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!