ท้องเสียในช่วงตั้งครรภ์

ท้องเสียในระหว่างที่กำลังตั้งครรภ์ต้องทำอย่างไร? นี่คือสิ่งที่คุณควรรู้และควรทำหากคุณกำลังเผชิญกับอาการดังกล่าว

ท้องเสียในช่วงตั้งครรภ์

ท้องเสียในช่วงตั้งครรภ์

สาเหตุของอาการท้องเสีย

อาการท้องร่วงท้องเสียในช่วงตั้งครรภ์ต่างจากอาการท้องผูกตรงที่มันมักเกิดจากสาเหตุภายนอกซึ่งอาจไม่ใช่เชื้อโรคเสมอไป อาการท้องเสียอาจเกิดจากอาหารมีประโยชน์ที่คุณกำลังกิน น้ำที่คุณดื่มมากขึ้น หรือแม้แต่การออกกำลังกาย ผู้หญิงบางคนอาจท้องเสียเพราะวิตามินเสริมบางชนิด บางครั้งแค่เปลี่ยนยี่ห้อ ก็อาจช่วยแก้ปัญหาได้

อย่างไรก็ตาม อาการท้องเสียในช่วงระหว่างตั้งครรภ์ก็อาจเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับระดับฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงหรือการเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิต เช่น อาหารเป็นพิษ เชื้อโรคในลำไส้ หรือหวัดลงท้อง หากคุณสงสัยว่าอาการท้องเสียอาจเกิดจากสาเหตุดังกล่าว เราแนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อตรวจและรักษาโดยเร็ว

สิ่งที่คุณควรรู้เกี่ยวกับเรื่องท้องเสียตอนตั้งครรภ์

อาการท้องเสียมักไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยอย่างอาการท้องผูกในช่วงตั้งครรภ์และมักเป็นแค่ช่วงสั้น ๆ อันที่จริง หากคุณมีอาการท้องเสียต่อเนื่องติดต่อกัน ไม่ว่าจะเบาแค่ไหน นานกว่าสองสามวัน คุณควรไปพบแพทย์ เพราะนอกจากจะทำให้ไม่สบายตัวแล้ว อาการท้องเสียยังสามารถทำให้ร่างกายขาดน้ำได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจทำให้คุณคลอดก่อนกำหนด ดังนั้นคุณควรพยายามแก้ปัญหาอย่างจริงจัง

ข้อควรทำเมื่อท้องเสีย

หลีกเลี่ยงอาหารที่รังแต่จะทำให้อาการแย่ลง เช่น ผลไม้แห้ง (ลูกพรุน) อาหารมันหรือรสจัด นม โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณย่อยนมไม่ได้ คุณควรกินอาหารอ่อน ๆ เช่น กล้วย ข้าว ซอสแอปเปิ้ล ขนมปัง รวมไปถึงอาหารอื่น ๆ ที่อุดมไปด้วยวิตามินและเกลือแร่ ดังนี้:

– อาหารแป้ง ๆ เช่น มันฝรั่ง ธัญพืชไม่ใส่น้ำตาล และขนมปังกรอบ

– ผัก เช่น แครอทสุก ซุปหรือน้ำแกงที่ไม่ใส่นม ก๋วยเตี๋ยว

– เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน

– โยเกิร์ต โดยเฉพาะที่ยังมีจุลินทรีย์แลกโตบาซิลลัสที่ยังมีชีวิต

พยายามหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลเชิงเดี่ยวมาก ๆ เช่น น้ำแอปเปิ้ล น้ำองุ่น เจลาติน น้ำอัดลม ซึ่งเป็นตัวดูดน้ำเข้าไปในกระเพาะ และจะยิ่งทำให้ท้องเสียนานขึ้น ลองเครื่องดื่มเกลือแร่หรือน้ำเปล่าแทน หลีกเลี่ยงอาหารมัน ๆ อาหารทอด และงดใช้ยาแก้ท้องเสียที่ส่วนผสมของโซเดียมหรือโซเดียมไบคาร์บอเนต ซึ่งเป็นสารต้องห้ามระหว่างตั้งครรภ์

หากคุณมีอาการท้องเสียรุนแรง (มากกว่า 3 ครั้งต่อวัน) หรือถ่ายเป็นเลือด ลิ่มเมือก หรือเป็นของเหลว คุณควรรีบพบแพทย์โดยด่วนที่สุด

วิธีป้องกันการคลอดก่อนกำหนด

อาหารสำหรับคนท้อง

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!