ขนาดอายุครรภ์ ท้องเล็กกว่าอายุครรภ์อันตรายหรือไม่ คุณแม่ท้องควรรู้

ขนาดท้องเล็ก ท้องใหญ่ความสัมพันธ์กับอายุครรภ์ของคุณแม่นั้น แน่นอนว่าทารกควรเจริญเติบโตตามพัฒนาการที่ควรจะเป็น แต่ทำไมแม่ท้องบางคนท้องเล็กแต่อายุครรภ์มาก หรือท้องใหญ่แต่อายุครรภ์น้อยเกิดจากอะไร ร่วมหาคำตอบกันค่ะ

การคาดคะเนอายุกครรภ์จากขนาดของมดลูก

การคะเนอายุครรภ์จากขนาดของมดลูกนั้น ในทางการแพทย์จะแบ่งระยะระหว่างสะดือกับกระดูกหัวหน่าวเป็น 3 ส่วนเท่า ๆ กันและแบ่งระยะระหว่างสะดือกับกระดูกลิ้นปี่เป็น 4 ส่วนเท่า ๆ กัน ความสัมพันธ์ของมดลูกกับอายุครรภ์ดังนี้คือ

อายุครรภ์ 12 สัปดาห์ ยอดมดลูกจะสูงประมาณ 1/3 เหนือกระดูกหัวหน่าว

อายุครรภ์ 16 สัปดาห์ ยอดมดลูกจะสูงประมาณ 2/3 เหนือกระดูกหัวหน่าว

อายุครรภ์ 20 สัปดาห์ ยอดมดลูกอยู่ระดับสะดือ

อายุครรภ์ 24 สัปดาห์ ยอดมดลูกจะสูงกว่าระดับสะดือเล็กน้อย

อายุครรภ์ 28 สัปดาห์ ยอดมดลูกอยู่ 1/4 เหนือระดับสะดือ

อายุครรภ์ 32 สัปดาห์ ยอดมดลูกอยู่ 2/4 เหนือระดับสะดือ

อายุครรภ์ 36 สัปดาห์ ยอดมดลูกอยู่ 3/4 เหนือระดับสะดือ

บทความที่เกี่ยวข้อง : 10 เข็มขัดพยุงครรภ์ ยี่ห้อไหนดี เลคกิ้งคนท้อง น่าใช้งานมากที่สุด

 

ท้องเล็ก ท้องใหญ่ อายุครรภ์, ขนาดท้อง อายุครรภ์

 

การวัดระดับยอดมดลูกจากสายวัด

การวัดระดับยอดมดลูกโดยใช้สายวัด คือ วัดระยะจากรอยต่อของกระดูกหัวหน่าวจนถึงยอดมดลูกแนบตามส่วนโค้งของมดลูก เช่น วัดได้ 27 เซนติเมตร จะเท่ากับอายุครรภ์ 27 สัปดาห์ เป็นต้น ซึ่งวิธีนี้ค่อนข้างใช้ได้ดี และความคลาดเคลื่อนน้อย

 

ท้องเล็ก ท้องใหญ่ อายุครรภ์, ขนาดท้อง อายุครรภ์

ท้อง 6 เดือน ท้อง เล็ก

 

ท้องเล็ก ท้องใหญ่ กับอายุครรภ์ ท้อง 6 เดือน ท้องเล็ก

นพ.ชาญวิทย์ พันธุมะผล สูติแพทย์ กล่าวถึง ขนาดท้องและความสัมพันธ์กับทารกในครรภ์

1. ความสัมพันธ์ของขนาดท้องกับอายุครรภ์เกี่ยวข้องกับขนาดของทารกในครรภ์ ได้แก่ ขนาดของตัวทารก พันธุกรรมและภาวะแวดล้อม

2. สำหรับขนาดของตัวทารกเองนั้น หากครรภ์มีภาวะผิดปกติจะทำให้ทารกมีการเจริญเติบโตช้ากว่าปกติตามไปด้วย

3. ด้านพันธุกรรม ขึ้นอยู่กับว่าร่างกายของพ่อแม่มีรูปร่างขนาดไหน หากพ่อแม่มีรูปร่างเล็ก ทารกที่คลอดออกมามักจะมีขนาดตัวที่เล็กตามไปด้วย แต่ก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยแวดล้อม คือ การรับประทานอาหารของแม่ท้อง การทำงานของรก โรคแทรกซ้อนในระหว่างตั้งครรภ์ หากคุณแม่ได้รับสารอาหารเพียงพอหรือครบถ้วนทารกก็จะมีน้ำหนักและขนาดของร่างกายที่เหมาะสมกับพัฒนาการมากกว่าทารกที่ได้อาหารไม่เพียงพอ

 

ท้องเล็ก ท้องใหญ่ อายุครรภ์, ขนาดท้อง อายุครรภ์

ท้อง 6 เดือน ท้อง เล็ก

 

4. กรณีที่รกทำงานไม่ปกติหรือมีขนาดเล็กก็จะทำให้การส่งผ่านอาหารจากแม่ไปสู่ลูกในครรภ์ได้น้อยลง ส่งผลให้ทารกมีน้ำหนักและขนาดตัวที่เล็กตามไปด้วย

5. โรคแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ เช่น ภาวะครรภ์เป็นพิษ ย่อมส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์โดยตรงทำให้ทารกมีขนาดเล็กและไม่เจริญเติบโตเหมาะสมตามพัฒนาการอีกด้วย

6. สำหรับปัจจัยอื่น ๆ ที่ผลต่อขนาดท้องเล็ก คือ จำนวนการตั้งครรภ์ หากคุณตั้งครรภ์ลูกคนแรก ขนาดครรภ์มักจะไม่โชว์ให้เห็นชัดนักเมื่อเทียบกับว่าที่คุณแม่ที่อายุครรภ์เท่ากัน แต่เคยตั้งครรภ์มาก่อนแล้ว ทั้งนี้เป็นเพราะกล้ามเนื้อหน้าท้องของคุณแม่ครรภ์แรกยังกระชับอยู่นั่นเอง

 

ท้องเล็ก ท้องใหญ่ อายุครรภ์, ขนาดท้อง อายุครรภ์

ท้อง 6 เดือน ท้อง เล็ก

 

7. คุณแม่ที่มีขนาดใหญ่ท้องกว่าคนที่อายุครรภ์เท่า ๆ กัน อาจมีสาเหตุจากหลายประการ เช่น คุณแม่อาจมีน้ำคร่ำมากเกินไป ซึ่งมักเกิดในรายที่คุณแม่มีความเสี่ยงของโรคเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์หรือตั้งครรภ์แฝด

8. ท่าทางของทารกในครรภ์ เมื่ออายุครรภ์มากขึ้น คุณแม่จะสังเกตเห็นว่า บางครั้งรูปร่างครรภ์ของคุณก็เปลี่ยนไปตามท่าทางของลูกในครรภ์ด้วย

9. คุณแม่ที่มีมดลูกคว่ำมาทางด้านหน้า เมื่อตั้งครรภ์จะทำให้ท้องแหลมยื่นออกมาด้านหน้าทำให้ขนาดท้องมองดูเล็ก ส่วนคุณแม่ที่มีลักษณะมดลูกคว่ำค่อนไปทางด้านหลัง ท้องจะมีลักษณะท้องกลม ทำให้มองดูท้องใหญ่ได้ค่ะ

 

วิธีการประเมินความเสี่ยงของแม่ตั้งครรภ์ที่อาจเกิดอันตราย

 

ท้องเล็ก ท้องใหญ่ อายุครรภ์, ขนาดท้อง อายุครรภ์

ท้อง 6 เดือน ท้อง เล็ก

 

  • การตรวจปัสสาวะ เพื่อดูน้ำตาลและโปรตีน โดยการตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะร่วมกับมีความดันโลหิตสูงเป็นการบ่งบอกถึงภาวะครรภ์เป็นพิษ และการตรวจพบน้ำตาลในปัสสาวะเป็นสัญญาณของเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ซึ่งคุณหมอจะทำการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเพื่อยืนยันว่าเป็นเบาหวานหรือไม่ต่อไป
  • ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง
  • วัดความดันโลหิต
  • ตรวจดูยอดมดลูกเพื่อประมาณขนาดทารก
  • การตรวจอื่นๆ ตามความเห็นของแพทย์

ได้ทราบถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อขนาดท้องเล็ก ท้องใหญ่กับอายุครรภ์แล้วนะคะ การดูแลสุขภาพในช่วงตั้งครรภ์มีความสำคัญมาก หากคิดว่าเกิดอาการผิดปกติหรือมีภาวะผิดปกติใด ๆ เกิดขึ้นก็ตามควรปรึกษาคุณหมอเพื่อตรวจรักษาต่อไปค่ะ

ร่วมบอกเล่าและแชร์ประสบการณ์ในช่วงตั้งครรภ์ คลอดบุตร รวมถึงการเลี้ยงดูทารกน้อย เพื่อเป็นประโยชน์ต่อครอบครัวอื่น ๆ กันนะคะ หากมีคำถามหรือข้อสงสัย ทางทีมงานจะหาคำตอบมาให้คุณ

 

อ้างอิงข้อมูลจาก

https://www.bumrungrad.com

https://www.doctor.or.th

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

ท้องโตกว่าอายุครรภ์ เกิดจากอะไร อันตรายหรือไม่

วิธีนับอายุครรภ์ เพื่อรู้กำหนดคลอดที่แม่นยำ

TAP mobile app

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!