คนท้องต้องรู้! ท้อง 8 เดือนมีอาการท้องแข็ง ผิดปกติหรือไม่ มาดูกัน!

แม่ท้องสงสัยไหมคะว่าท้องแข็งผิดปกติอะไรไหม? คนท้องต้องรู้! ท้อง 8 เดือนมีอาการท้องแข็ง อันตรายไหม ต้องไปหาหมอหรือเปล่า วันนี้มาดู

เมื่อแม่ท้องอายุครรภ์เพิ่มขึ้น มดลูกก็จะขยายตัวขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งปกติแล้วมันก็มักจะเป็นก้อนนิ่ม ๆ เมื่อคลำไปจะเจอทารกดิ้นอยู่ แต่หากจู่ ๆ มดลูกกลับแข็งเป็นก้อน ๆ บางทีก็รู้สึกแน่นท้อง รู้สึกว่าท้องแข็ง ซึ่งอาการ ท้องแข็งแบบต่างๆ นี้หมายความว่าอะไร คนท้องต้องรู้! ท้อง 8 เดือนมีอาการท้องแข็ง ผิดปกติหรือไม่ มาดูกัน! Impact-Site-Verification: 7f935819-62ad-4620-9466-9285791935de

ท้อง 8 เดือนมีอาการท้องแข็ง

ท้อง 8 เดือนมีอาการท้องแข็ง

คนท้องต้องรู้! ท้อง 8 เดือนมีอาการท้องแข็ง ผิดปกติหรือไม่ มาดูกัน!

การดิ้นของลูก หรือทารกมีการเคลื่อนไหวในช่วงอายุครรภ์ 8 เดือน เป็นสาเหตุที่ทำให้คุณแม่มีอาการท้องแข็งในขณะใกล้คลอด และอาจเป็นสัญญาณเตือนความพร้อมที่จะคลอดใกล้เข้ามาเต็มที แม่บางรายอาจมีการคลอดก่อนกำหนดในช่วงเดือนนี้ได้ เนื่องจากทารกในครรภ์ 8 เดือน มีขนาดที่โตมากพอสมควร จะมีน้ำหนักประมาณ 1500 กรัม ด้วยความสมบูรณ์ของกล้ามเนื้อ การดิ้นของลูกจึงมีความแรง เมื่อดิ้นไปชนกับมดลูกแรง ๆ ทำให้มดลูกเกิดอาการหดตัว ทำให้ท้องเกิดการแข็งเกร็ง ปวดบริเวณท้องน้อย มดลูก หรือหัวหน่าว  คุณแม่สามารถสัมผัสได้เมื่อเอามือวางบริเวณหน้าท้องและรู้สึกได้ว่าเป็นก้อน ๆ ขึ้นมา หรือรู้สึกตึงมากที่หน้าท้องเป็นครั้งคราวในช่วงเวลาสั้น ๆ เป็นวินาที และมีช่วงพักเป็นนาทีเมื่อมดลูกคลายตัว บางครั้งอาจจะมีอาการท้องแข็งอยู่ประมาณทุก 10 นาที/ครั้ง และเป็นสม่ำเสมออยู่ 4-5 ครั้งได้

อาการนี้จะทำให้คุณแม่รู้สึกเจ็บและอึดอัดจากอาการท้องแข็งเกร็ง รวมถึงเริ่มกังวลว่านี่คือการเจ็บเตือนเพื่อคลอด หรือจะคลอดก่อนกำหนดหรือไม่ ซึ่งถึงแม้จะเหลือเวลาอีกหลายสัปดาห์ก่อนจะถึงกำหนดคลอดแต่ก็ไม่ควรประมาท หากมีอาการท้องแข็งบ่อย ถ้าทิ้งไว้นานจะทำให้ปากมดลูกเปิด เกิดการคลอดก่อนกำหนดได้

อย่างไรก็ตาม อาการนี้เป็นเพียงสัญญาณให้คุณแม่คอยเฝ้าระวังและสังเกตตัวเองให้มากขึ้น อย่ากังวลมากไปจนเกิดความเครียดนะคะ คุณแม่ควรดูแลเอาใจใส่ในโภชนาการและสุขภาพอนามัย พักผ่อนให้เพียงพอ ถ้าหากสังเกตว่าลูกดิ้นจนส่งผลให้เกิดอาการท้องแข็งบ่อย ก็ไม่ควรนิ่งนอนใจ รีบไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจครรภ์และคำแนะนำในการดูแลครรภ์ที่ถูกต้องนะคะ

ท้องแข็งแบบต่างๆ แยกอย่างไร

ท้อง 8 เดือนมีอาการท้องแข็ง

ท้อง 8 เดือนมีอาการท้องแข็ง

อาการท้องแข็ง ตามความหมายของคุณหมอมักจะหมายถึง การบีบตัวของมดลูก เป็นอาการที่พบได้ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์ ซึ่งอาการท้องแข็งนี้ มักจะสร้างความกังวลใจให้กับแม่ท้องไม่น้อย บางครั้งพอลุกยืนท้องก็แข็ง ล้มตัวนอนท้องก็แข็งอีก จนแม่ท้องกลัวว่าจะเป็นอันตรายบ้าง กลัวว่าจะเป็นอาการใกล้คลอดบ้าง เรามาดูกันว่า ท้องแข็งแบบต่างๆ แยกอย่างไร มีลักษณะแบบไหนบ้าง

ท้องแข็งเพราะลูกโก่งตัว

อาการท้องแข็งแบบแรกที่เจอกันบ่อย ๆ นั่นก็คือท้องแข็งเพราะลูกโก่งตัว โดยแม่ท้องจะรู้สึกว่ามีอาการท้องแข็งแบบ “แข็งบางที่ นิ่มบางที่” ท้องแข็งแบบนี้ เกิดจากเด็กในท้องดิ้น หรือโก่งตัว โดยอวัยวะของลูกในท้องอย่างเช่น ศอก ไหล่ เข่า หัว หรือก้น จะนูนตรงนั้นตรงนี้ไปทั่ว ส่วนที่มักจะนูนโก่งแข็งจนมดลูกเบี้ยวไปข้างนึงเลยก็มักจะเป็นหลัง กับ ก้น อีกด้านนึงก็จะนิ่มกว่า แล้วก็จะรู้สึกลูกด้นเป็นจุดเล็กจุดน้อย ด้านนั้นก็จะเป็นส่วนของมือ ส่วนของเท้าอาการท้องแข็งแบบนี้ไม่มีอันตรายอะไรนะคะ แม่ท้องไม่ต้องกังวล

ท้องแข็งเพราะกินอิ่ม

สำหรับแม่ท้องบางคน โดยเฉพาะคุณแม่ท้องแก่ อาจจะมีอาการท้องแข็งหลังกินข้าว กินอะไรเข้าไปก็รู้สึกแน่นไปหมด บางครั้งก็แน่นจนแทบหายใจไม่ออก ต้องนั่งสักพัก ยืดตัวยาว ๆ สักพักอาการก็จะดีขึ้นเอง อาการท้องแข็งแบบนี้เกิดจากการที่ความจุของช่องท้องมีพื้นที่จำกัด มดลูกที่โตขึ้นตามอายุครรภ์ไปเบียดแย่งที่กับอวัยวะอื่น ๆ ในช่องท้อง กระเพาะปัสสาวะถูกเบียด กระเพาะอาหารลำไส้ก็ถูกเบียดขึ้นไปจนติดอยู่ใต้กระบังลม  พอกินอะไรเข้าไปก็จะรู้สึกแน่นไปหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณแม่ที่ตัวเล็ก ๆ สั้น ๆ ก็จะมีอาการแบบนี้ง่ายเป็นพิเศษ

อาการท้องแข็งแบบนี้ ไม่ได้มีส่วนทำให้เกิดอาการเจ็บท้องคลอดก่อนกำหนดนะคะ โดยมากจะเป็นความรู้สึกท้องแข็งแน่นท้องมากกว่า ถ้าไปพบคุณหมอเมื่อจับมดลูกดูก็จะพบว่า ท้องไม่ค่อยแข็งมาก หรือเรียกว่าอาการท้องตึงมากกว่า และไม่ได้เกิดจากมดลูกมีการบีบตัว คำแนะนำที่ช่วยลดอาการนี้ คือ ควรกินอาหารอ่อน ย่อยง่าย แบ่งอาหารเป็นมื้อย่อย ๆ รับประทานครั้งละน้อย ๆ หลังทานแล้วก็ต้องนั่งให้เรอออกมาก่อน แล้วพยายามอย่าให้ท้องผูก และควรขับถ่ายเป็นประจำทุกวัน ก็จะแน่นท้องน้อยลงค่ะ

ท้องแข็งเพราะมดลูกบีบตัว

ท้อง 8 เดือนมีอาการท้องแข็ง

ท้อง 8 เดือนมีอาการท้องแข็ง

อาการท้องแข็งแบบนี้ มดลูกในท้องของคุณแม่จะมีอาการแข็งทั้งหมด ไม่แข็งเป็นบางจุดเหมือนอาการท้องแข็งเพราะเด็กโก่งตัว และจะมีอาการปวดท้อง เหมือนปวดประจำเดือน อาการท้องแข็งแบบนี้นี่แหละค่ะที่มักมีปัญหา โดยอาการท้องแข็งเพราะมดลูกบีบตัวนั้น สามารถแยกย่อยได้ดังนี้

1. ท้องแข็งของแท้ (มดลูกบีบตัวก่อนกำหนด)

ปกติแล้ว มักจะไม่ค่อยเกิดขึ้นช่วงก่อน 28 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ ช่วงที่พบว่ามีอาการท้องแข็ง มดลูกบีบตัวก่อนกำหนดบ่อยที่สุด ก็คือช่วงอายุครรภ์ 32 สัปดาห์ ซึ่งก็เป็นช่วงที่ลูกในท้องดิ้นมากที่สุด การที่ลูกดิ้นมาก ๆ ก็อาจมีส่วนไปกระตุ้นทำให้มดลูกบีบตัวบ่อยขึ้นได้ด้วยเหมือนกัน

และถ้าผ่านช่วง 32-34 สัปดาห์นี้ไปแล้ว อาการท้องแข็งก็จะน้อยลง คุณแม่ท้องบางคน พอถึงเวลาครบกำหนดคลอด แต่กลับไม่มีอาการเจ็บท้องคลอด จนบางทีเลยกำหนดไปเลยก็มี

แต่หากแม่ท้องมีอาการท้องแข็งบ่อย และถี่ขึ้น ไม่ได้แข็งเป็นบางจุด และบางทีรู้สึกแข็งมาก หรือแข็งจนรู้สึกแน่นหายใจไม่ออก และอาการไม่ดีขึ้น ควรจะรีบไปพบคุณหมอให้เร็วที่สุด เพราะหากท้องแข็งแล้วไม่ได้รับการดูแลรักษา มดลูกจะบีบตัวจนปากมดลูกเปิด ตามมาด้วยการเจ็บท้องคลอดก่อนกำหนดได้

2. ท้องแข็งตามธรรมชาติ (Braxton Hicks Contraction)

แม่ท้องบางคนอาจมีอาการท้องแข็งที่เกิดจากมดลูกบีบตัวได้ เป็นการแข็งตัวนิด ๆ หน่อย ๆ ที่เกิดขึ้นได้เองเป็นธรรมชาติ หรือที่เรียกกันว่า Braxton Hicks Contraction แบบนี้ไม่เป็นอันตรายค่ะ

ท้องแข็งจากสาเหตุอื่นๆ

จริง ๆ แล้วสาเหตุของอาการท้องแข็งนั้น มีมากมาย โดยอาจเกิดจากคุณแม่ไม่แข็งแรง สุขภาพไม่ดี อาจเป็นเบาหวาน ความดันสูง หรือมดลูกไม่แข็งแรง มดลูกมีโครงสร้างไม่ปกติ มีเนื้องอกของมดลูก หรือเกิดจากครรภ์แฝด เด็กตัวใหญ่ น้ำคร่ำมาก หรือ แม้แต่มีตกขาว มีการอักเสบของปากมดลูกก็เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อย ๆ แต่สาเหตุที่พบมากที่สุด มากกว่า 30% ก็คือ ไม่ทราบสาเหตุก็เป็นไปได้

theAsianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพและสังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น theAsianparent Thailand ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งาน เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุดและผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว 

การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก theAsianparent Thailand เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง

เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ :

จาซินดา อาร์เดิร์น นายกรัฐมนตรีหญิง ที่บริหารประเทศไปพร้อมกับเลี้ยงลูก

เช็คไปพร้อมกัน! นำ้หนักทารก 1-10 สัปดาห์ น้ำหนักและส่วนสูงตามเกณฑ์ของเด็ก

เลี้ยงลูกแบบธรรมชาติ เคล็ดไม่ลับฝึกลูกให้มีความพยายาม พร้อมประสบความสำเร็จในอนาคต

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!